พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน)
พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) | |
---|---|
เกิด | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2433 เมืองธนบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 8 มีนาคม พ.ศ. 2517 (83 ปี) |
อาชีพ | นักหนังสือพิมพ์ ข้าราชการ |
คู่สมรส | ปฤกษ์ โชติกเสถียร |
บุตร | 12 คน |
มหาอำมาตย์ตรี นายกองโท พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) (27 มิถุนายน พ.ศ. 2433 – 8 มีนาคม พ.ศ. 2517) อดีตปลัดทูลฉลอง กระทรวงศึกษาธิการ ผู้บังคับการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เชียงใหม่ รักษาการผู้บังคับการโรงเรียนราชวิทยาลัย เจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ในสมัยรัชกาลที่๖ อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย อดีตนายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นบิดาของนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย
ประวัติ
[แก้]พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) เกิดที่บ้านริมคลองบางหลวง ธนบุรี ในครอบครัวเชื้อสายมอญ[1] เป็นบุตรของพระยาเทพประชุน (ปั้น ปันยารชุน) (12 มกราคม พ.ศ. 2364 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2437) กับคุณหญิงจัน จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2452
หลังจบการศึกษา ได้กลับมาเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนสวนกุหลาบ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง[2]และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นนาคหลวงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2462[3] และได้เป็นผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2469 – 2476 และได้เป็นรักษาราชการแทนปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ พ.ศ. 2476 ก่อนจะถูกปลดออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2476 ฐานหย่อนความสามารถโดยมี พระตีรณสารวิศวกรรม (ตี๋ ศรีสุข) มารักษาราชการแทนสืบต่อไป[4]
พระยาปรีชานุสาสน์ หลังจากลาออกจากราชการได้ก่อตั้งบริษัท สยามพาณิชยการ จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจการพิมพ์ และออกหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน เช่น "สยามนิกร" "บางกอกครอนิเคิล" "สุภาพสตรี" "ไทยฮั้วเซียงป่อ" มีนักหนังสือพิมพ์ในสังกัด เช่น โชติ แพร่พันธุ์ มาลัย ชูพินิจ สุภา ศิริมานนท์ เฉลิม วุฒิโฆษิต ประภาศรี ศิริวรสาร มาลี พันธุมจินดา (สนิทวงศ์) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ไทยพาณิชยการ และขายกิจการให้แก่ อารีย์ ลีวีระ
ในปี พ.ศ. 2484 กลุ่มนักหนังสือพิมพ์ของไทย ได้รวมตัวกันจัดตั้ง สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และคัดเลือกพระยาปรีชานุสาสน์ เป็นนายกสมาคมคนแรก จนถึง พ.ศ. 2485
พระยาปรีชานุสาสน์ สมรสกับคุณหญิงปรีชานุสาสน์ (ปฤกษ์ โชติกเสถียร) มีบุตรธิดา 12 คน คือ
- พันตรี รักษ์ ปันยารชุน (2457 – 2550) สมรสกับจีรวัสส์ พิบูลสงคราม
- สุธีรา เกษมศรี ณ อยุธยา (2458 – 2552) สมรสกับหม่อมราชวงศ์ระพีพรรณ เกษมศรี มารดาของหม่อมหลวงพีรพงศ์ เกษมศรี
- ปฤถา วัชราภัย (2459 – 2549) สมรสกับกระแสร์ วัชราภัย
- กุนตี พิชเยนทรโยธิน (2460 – 2555) สมรสกับเกริกอิทธิ์ พิชเยนทร์โยธิน
- กุศะ ปันยารชุน (2461 – 2565) สมรสกับสุพรรณี เบญจฤทธิ์ และนฤวร ทวีสิน
- หม่อมจิตรา วรวรรณ ณ อยุธยา (2462 – 2551) สมรสกับหม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ
- ดุษฎี โอสถานนท์ สมรสกับ ศ.นพ.ชัชวาลย์ โอสถานนท์
- พันตำรวจเอก ประสัตถ์ ปันยารชุน (2466 – 2561) สมรสกับสุขศรี ปันยารชุน
- กรรถนา อิศรเสนา ณ อยุธยา (2467 – 2562) สมรสกับอายุศ อิศรเสนา ณ อยุธยา
- สุภาพรรณ ชุมพล ณ อยุธยา สมรสกับนายแพทย์ หม่อมราชวงศ์พัชรีสาณ ชุมพล
- ชัช ปันยารชุน สมรสกับมัลลิกา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- อานันท์ ปันยารชุน สมรสกับหม่อมราชวงศ์สดศรีสุริยา จักรพันธุ์
พระยาปรีชานุสาสน์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2517 อายุ 83 ปี
ยศและบรรดาศักดิ์
[แก้]- 24 สิงหาคม 2455 – หลวงราชดรุณรักษ์ ถือศักดินา 400[5]
- 11 กันยายน 2456 – เสวกตรี[6]
- – จ่า
- 9 กันยายน 2458 – พระราชดรุณรักษ์ ถือศักดินา 600[7]
- 11 กันยายน 2458 – รองหัวหมื่น[8]
- 8 พฤศจิกายน 2458 – นายหมู่ใหญ่[9]
- 27 กุมภาพันธ์ 2458 – นายหมวดตรี[10]
- 5 ธันวาคม 2459 – นายหมวดเอก[11]
- กุมภาพันธ์ 2460 – หัวหมื่น[12]
- 28 พฤศจิกายน 2461 – พระยาราชดรุณรักษ์ ถือศักดินา 1600[13]
- 3 มีนาคม 2461 – นายกองตรี[14]
- 2 มีนาคม 2467 – นายกองโท[15]
ตำแหน่ง
[แก้]- – อาจารย์ใหญ่ฝ่ายปกครองโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
- 4 ธันวาคม 2459 – ผู้บังคับการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงจังหวัดเชียงใหม่[16]
- 26 ตุลาคม 2461 – เจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์[17]
- 5 มีนาคม 2461 – ผู้บังคับการโรงเรียนราชวิทยาลัยอีกตำแหน่งหนึ่ง[18]
- 21 มกราคม 2462 – รักษาราชการแทนอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข[19]
- 8 มิถุนายน 2463 – พ้นจากการรักษาราชการแทนอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข[20]
- 23 มิถุนายน 2463 – อาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[21]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2485 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[22]
- พ.ศ. 2468 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[23]
- พ.ศ. 2466 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[24]
- พ.ศ. 2457 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[25]
- พ.ศ. 2479 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[26]
- พ.ศ. 2455 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[27]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[28]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[29]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[30]
- พ.ศ. 2455 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[31]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ วิรัตน์ แสงทองคำ (16 เมษายน 2557). "อานันท์ ปันยารชุน (1)". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ย้ายตำแหน่งหน้าที่ข้าราชการ
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม 2462
- ↑ ประกาศปลดและตั้งผู้รักษาการตำแหน่งปลัดกระทรวงธรรมการ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็ก เรื่อง เลื่อนยศและแต่งเครื่องยศ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานยศพลเรือนและเลื่อนยศ
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ "พระราชทานยศเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 3435. 9 มีนาคม 1918. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2024.
- ↑ พระราชทานยศนายเสือป่า
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
- ↑ แจ้งความกระทรวงคมนาคม
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 1061. 27 มิถุนายน 1920.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๒๙๗๘, ๑ ธันวาคม ๒๔๘๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๕๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๗๑, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖, ๔ เมษายน ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๙, ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๗๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๓๙, ๑๙ มกราคม ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๐, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๒๕๖๗, ๑๔ กรกฎาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๐๕, ๒๙ มกราคม ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๙, ๑๙ พฤษภาคม ๑๓๑
- ประวัติจาก สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
- แถมสิน รัตนพันธุ์. ตำนาน "ลึก (ไม่) ลับ"' ฉบับ ทระนง ฅนหนังสือพิมพ์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน, พ.ศ. 2548. 160 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9785-33-9
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2433
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2517
- นักหนังสือพิมพ์ชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- ปลัดกระทรวงศึกษาธิการไทย
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
- ครูชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
- ชาวไทยเชื้อสายมอญ
- สกุลปันยารชุน
- สมาชิกกองเสือป่า
- บุคคลจากเขตบางกอกใหญ่
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์