ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อภิมงคล โสณกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 เมษายน พ.ศ. 2521 (46 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2546–ปัจจุบัน)
คู่สมรสนาเดีย โสณกุล (สมรส 2554)
บุพการีหม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล
คุณหญิงบูลย์วิภา โสณกุล ณ อยุธยา

หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล (เกิด 30 เมษายน พ.ศ. 2521) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร อดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานกิจการเยาวชนพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ

[แก้]

หม่อมหลวงอภิมงคล มีชื่อเล่นว่า "คุณภิ" เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กับคุณหญิงบูลย์วิภา โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ทองไข่มุกข์)

หม่อมหลวงอภิมงคลเคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6 ว. สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน และเคยได้รับการประเมินให้เป็น ข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (Fast Track) คนเดียวของสำนักงานอีกด้วย [1]

หม่อมหลวงอภิมงคลชอบการแข่งรถ โดยมีทีมของตัวเองในชื่อ "หม่อมเต่าเรสซิ่ง"

หม่อมหลวงอภิมงคลได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "หล่อจิ๋ว" จากหน้าตาที่หล่อเหลา น่าเอ็นดู ทั้งนี้หม่อมหลวงอภิมงคล มีศักดิ์เป็นพระนัดดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน และพระปนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

การศึกษา

[แก้]

ผลงานทางการเมือง

[แก้]

หม่อมหลวงอภิมงคลเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 6 (เขตบางรัก เขตสาทร และเขตปทุมวัน) ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับคะแนนเสียง 34,931 เสียง จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ชนะอรทัย ฐานะจาโร ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยไปได้[2]

ต่อมาได้รับตำแหน่งรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์และผู้อำนวยการสำนักงานกิจการเยาวชนของพรรคประชาธิปัตย์

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 1 (เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางรัก เขตสาทร เขตปทุมวัน เขตดุสิต และเขตราชเทวี) สังกัดพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง คู่กับอรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ และเจิมมาศ จึงเลิศศิริ ซึ่งได้รับเลือกตั้งทั้งสามคน

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ที่กลับมาใช้การเลือกตั้งแบบเขตเดียว เบอร์เดียวอีกครั้ง หม่อมหลวงอภิมงคลได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 3 (เขตยานนาวา และเขตบางคอแหลม) ก็ได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งหลังจากเดิมที่เคยตั้งใจว่าจะลงสมัครในเขต 5 คือ เขตดุสิต และเขตราชเทวี[3][4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ชีวิตครอบครัว

[แก้]

หม่อมหลวงอภิมงคลสมรสกับนาเดีย โสณกุล (สกุลเดิม นิมิตรวานิช) พิธีกรและนักแสดงหญิงชาวไทยเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ที่โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ หลังจากคบหากันมาระยะหนึ่ง[5] ทั้งสองมีบุตร-ธิดาสองคน คือ นพมงคล โสณกุล ณ อยุธยา[6] และอภิญมงคล โสณกุล ณ อยุธยา[7][8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Fast Track เก็บถาวร 2017-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก เว็บไซต์ส่วนตัว หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล
  2. หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล : ขับช้ามาที่หลังอาจได้ที่ 1เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากผู้จัดการออนไลน์
  3. อภิมงคลน้ำตาคลอแถลงหลีกทางให้อรอนงค์
  4. เปิดผลการเลือกตั้ง ส.ส.กรุงเทพ ปชป. 23 เพื่อไทย 10 ที่นั่ง จากมติชน
  5. “นาเดีย” แต่ง “คุณภิ” 18 ก.ค.นี้ ปัดตอบเรื่องฝ่ายชายต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามตาม จากผู้จัดการออนไลน์
  6. นาเดีย เผยลูกชาย 1 เดือน เลี้ยงง่ายตั้งชื่อ นพมงคล
  7. "นาเดีย ภรรยา ม.ล.อภิมงคล คลอดลูกสาว น้องโมนา ปลอดภัยทั้งแม่ลูก". ไทยรัฐออนไลน์. 29 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "น่าเอ็นดู "นาเดีย โสณกุล" กับโมเมนต์พาลูกเที่ยวทะเลพัทยา". ผู้จัดการออนไลน์. 12 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๗, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓