หม่อมราชวงศ์ทองน้อย ทองใหญ่
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
หม่อมราชวงศ์ทองน้อย ทองใหญ่ ที่ปรึกษาส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และอดีตรองราชเลขาธิการ
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ม.ร.ว.ทองน้อย ทองใหญ่ สมรสกับนางบุษกร ทองใหญ่ ณ อยุธยา มีบุตรี 1 คน คือ ม.ล.แพรวทอง ทองใหญ่ จบการศึกษาจากโรงเรียนจิตรลดา รุ่นที่ 33 และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การศึกษา
[แก้]ม.ร.ว.ทองน้อย ทองใหญ่ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยม เน้นทางด้านภาษาสมัยใหม่ และปริญญาโท สาขาเดียวกัน จากวิทยาลัยเพมโบรก มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ที่เดียวกับหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
การทำงาน
[แก้]ม.ร.ว.ทองน้อย ทองใหญ่ เคยปฏิบัติหน้าที่รักษาราชการในตำแหน่งเลขาธิการคณะองคมนตรี ระหว่างปี พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2539 และปฏิบัติหน้าที่รองราชเลขาธิการ ระหว่างปี พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2544 จากนั้นจึงได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่เมื่อครั้งดำรงอิศริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร[1]
นอกจากนั้นแล้ว ม.ร.ว.ทองน้อย ยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น และปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการตรวจสอบ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]ม.ร.ว.ทองน้อย ทองใหญ่ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[6]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เยอรมนี :
- พ.ศ. 2527 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1[8]
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1[9]
- บริเตนใหญ่ :
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน ชั้นที่ 2[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ แถลงการณ์กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ 28 ตุลาคม 2549
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๐๙, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๕๒ ง หน้า ๒๔๓๗, ๑๔ มิถุนายน ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๒๗ ง หน้า ๒๒๓๒, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๔, ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙