ข้ามไปเนื้อหา

หมีเซิน

พิกัด: 15°45′51.4″N 108°07′27.8″E / 15.764278°N 108.124389°E / 15.764278; 108.124389
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์หมีเซิน *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
อาคารโกดัง (storehouse) (รหัส B5) หนึ่งในองค์ประกอบอาคารโดยรอบปราสาทหมีเซิน ที่ยังหลงเหลือและมีความสมบูรณ์มากที่สุด
พิกัด15°45′51.4″N 108°07′27.8″E / 15.764278°N 108.124389°E / 15.764278; 108.124389
ประเทศ เวียดนาม
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(ii), (iii)
อ้างอิง949
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2542 (คณะกรรมการสมัยที่ 23)
พื้นที่142 ha
หมีเซินตั้งอยู่ในประเทศเวียดนาม
หมีเซิน
ที่ตั้งของหมีเซิน ในประเทศเวียดนาม
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

หมีเซิน (เวียดนาม: Mỹ Sơn) เป็นโบราณสถานในจังหวัดกว๋างนาม ภาคกลางของประเทศเวียดนาม สร้างด้วยศิลปะจามโบราณในสมัยศตวรรษที่ 4 เพื่อใช้เป็นศาสนสถานสำหรับบูชาพระศิวะ ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู ได้จัดให้เป็นแหล่งมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก หมีเซินเคยเป็นนครศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ ของอาณาจักรจามปาตั้งแต่ศตวรรษที่ 4–15 ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 900 ปี ทำให้โบราณสถานแห่งนี้เป็นที่รวบรวมลักษณะทางด้านศิลปกรรมที่หลากหลาย จัดเป็นกลุ่มโบราณสถานในศาสนาฮินดูที่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดในอินโดจีน กลุ่มปราสาทหมีเซินตั้งอยู่บริเวณที่ราบต่ำ มีภูเขาโอบล้อม เนื้อที่ประมาณ 2 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยปราสาททั้งหมด 73 หลัง แต่ในช่วงสงครามเวียดนาม ทหารเวียดนามได้ใช้ปราสาทหมีเซินเป็นกองบัญชาการ ฝ่ายอเมริกันจึงได้นำเครื่องบินทิ้งระเบิดบริเวณนี้ โบราณสถานจำนวนมากถูกทำลาย ทำให้ปัจจุบันเหลือปราสาทเพียง 22 หลัง

มรดกโลก

[แก้]

ปราสาทหมีเซินได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 23 เมื่อปี พ.ศ. 2542 ที่เมืองมาร์ราเกช ประเทศโมร็อกโก ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

อ้างอิง

[แก้]