ส่งสุข ภัคเกษม
ส่งสุข ภัคเกษม | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 เมษายน พ.ศ. 2476 อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ |
เสียชีวิต | 3 เมษายน พ.ศ. 2541 (64 ปี)[1] |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ผณินทรา ภัคเกษม |
ส่งสุข ภัคเกษม (30 เมษายน พ.ศ. 2476 – 3 เมษายน พ.ศ. 2541) เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นสามีของผณินทรา ภัคเกษม[2] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดเดียวกัน นอกจากนี้เคยเป็นประธานกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 11[3]
ประวัติ
[แก้]ส่งสุขเกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2476 ที่ย่านถนนเจริญประเทศ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของนายจันทร์ กับนางเลียบ ภัคเกษม บิดามีอาชีพค้าไม้ มีพี่น้อง 3 คน แต่บิดามารดาเสียชีวิตตั้งแต่ส่งสุขยังเด็ก จึงอยู่ในความดูแลของป้า และอาศัยอยู่ที่อำเภอจอมทอง[4] นายส่งสุข สมรสกับนางผณินทรา ภัคเกษม มีบุตรสาว 1 คน ชื่อภควดี ภัคเกษม
ส่งสุขเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จากนั้นได้ย้ายเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร ที่วิทยาลัยพระนคร[5]
เขามีส่วนในการทำลายขบวนการนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา โดยโจมตีนักศึกษาผ่านสถานีวิทยุยานเกราะ[ต้องการอ้างอิง]
การทำงาน
[แก้]ส่งสุขประกอบอาชีพนักหนังสือพิมพ์หลังจากที่จบการศึกษา เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวสยาม ต่อมาได้หันมาทำงานด้านสื่อสารมวลชน ทำรายการโทรทัศน์ที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ลำปาง ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 จึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์[6] โดยการชักชวนของนายไกรสร ตันติพงศ์[5] เพื่อนสนิทเมื่อครั้งทำงานหนังสือพิมพ์แผ่นดินไทย และได้รับเลือกตั้งต่อมาอีกในปี พ.ศ. 2519 สมัยที่ 3 พ.ศ. 2529[7] และสมัยที่ 4-5 ในปี พ.ศ. 2535
ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย มีบทบาทสำคัญในพรรคดังกล่าว[8] จนกระทั่งได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคในปีถัดมา[9] และเข้าร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ ลงสมัคร ส.ส.เขต 2 เชียงใหม่ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เป็นลำดับที่ 4 จากจำนวน ส.ส.3 ที่นั่ง[10]
นอกจากงานการเมืองและงานสื่อมวลชนแล้ว ส่งสุขยังมีผลงานในการแต่งเพลง เช่น เพลงต๋าเหินลา[11] ซึ่งขับร้องโดย อบเชย เวียงพิงค์
ถึงแก่กรรม
[แก้]ส่งสุขเสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2541 ขณะมีอายุ 64 ปี[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ฝากไว้ในแผ่นดิน ต่อสู้เผชิญความจริงคือเกียรติ
- ↑ ดราม่าแม่เกิบ'ศรีเรศ' ส.ส.อมก๋อย
- ↑ http://drmlib.parliament.go.th/securepdf/p_73303.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ ย่ายเจริญประเทศ(14)[ลิงก์เสีย]
- ↑ 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อkpi
- ↑ http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
- ↑ รายงานวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529. กรมการปกครอง. 2529
- ↑ เปิดแฟ้มย้อนรอย : เส้นทางการเมืองของทักษิณ ชินวัตร (3)
- ↑ ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคชาติไทยเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค (นายพินิจ จันทรสุรินทร์ และนายส่งสุข ภัคเกษม พ้นจากการเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย)
- ↑ ผลการเลือกตั้ง เก็บถาวร 2004-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเว็บไซต์กรมการปกครอง
- ↑ เพลงต๋าเหินลาจากเว็บไซต์ ยูทูป
- ↑ ฝากไว้ในแผ่นดิน \"ต่อสู้เผชิญความจริงคือ เกียรติ\" อนุสรณ์หนังสืองานศพ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2476
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2541
- บุคคลจากอำเภอเมืองเชียงใหม่
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคเอกภาพ
- พรรคสหประชาธิปไตย
- พรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)
- นักการเมืองพรรคสามัคคีธรรม
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- บุคคลจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
- นักหนังสือพิมพ์ชาวไทย
- นักจัดรายการโทรทัศน์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.