ข้ามไปเนื้อหา

สไปรูลินา (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สไปรูไลนาอัดเม็ด

สไปรูไลนา เป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์หรือเป็นอาหารเสริมซึ่งผลิตจากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสองชนิด คือ Arthrospira platensis และ Arthrospira maxima

Arthrospira พบปลูกทั่วโลก และใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในมนุษย์ เช่นเดียวกับเป็นอาหาร และพบได้ทั้งในรูปเม็ด แผ่นและผง มันยังใช้เป็นสารเสริมอาหารสัตว์ในการเลี้ยงสัตว์น้ำ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำและอุตสาหกรรมสัตว์ปีก[1]

นิรุกติศาสตร์

[แก้]

สปีชีส์ maxima และ platensis เคยถูกจัดอยู่ในจีนัส สไปรูไลนา ปัจจุบันตกลงกันว่าพวกมันแท้จริงแล้วอยู่ในจีนัส Arthrospira แต่ถึงแม้กระนั้น ยังค่อนข้างน่าสงสัยอยู่ว่า คำ "สไปรูไลนา" เดิม ยังใช้กันอยู่ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์[1][2]

การใช้ในประวัติศาสตร์

[แก้]

สไปรูไลนาเป็นแหล่งอาหารของชาวแอซเท็กและอารยธรรมเมโสอเมริกาอื่นกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 16 สไปรูไลนาพบได้ดาษดื่นที่ทะเลสาบเตซโกโก (Lake Texcoco) โดยนักวิจัยชาวฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1960 แต่ไม่มีการอ้างอิงถึงประเด็นที่ว่ามันเป็นแหล่งอาหารประจำวันหลังคริสต์ศตวรรษที่ 16[2] แหล่งผลิตสไปรูไลนาขนาดใหญ่แห่งแรก ดำเนินการโดยโซซา เทซโกโก (Sosa Texcoco) ก่อตั้งขึ้นที่ทะเลสาบต้นคริสต์ทศวรรษ 1970[1]

สไปรูไลนายังอาจมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่านี้ในชาด โดยสืบย้อนไปได้ไกลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 มันยังคงใช้ในชีวิตประจำวันในปัจจุบัน โดยถูกทำให้แห้งเป็นก้อนเรียกว่า dihé ซึ่งถูกใช้ทำซุปสำหรับมื้ออาหาร และขายในตลาด สไปรูไลนายังถูกเก็บเกี่ยวจากทะเลสาบและสระน้ำขนาดเล็กรอบทะเลสาบชาด[3]

การเพาะ

[แก้]

สไปรูไลนาที่ถูกเพาะส่วนใหญ่กระทำในระบบน้ำวนทางเปิด (open-channel raceway pond) โดยมีใบจักรคอยกวนน้ำ ผู้ผลิตสไปรูไลนาเชิงพาณิชย์รายใหญ่ที่สุดอยู่ในสหรัฐอเมริกา ไทย อินเดีย ไต้หวัน จีน ปากีสถาน พม่า และชิลี[1]

โภชนาการและสารวิตามิน

[แก้]

สไปรูไลนามีโปรตีนอยู่ราว 60% (51-71%)[4] ในสไปรูไลนามีโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็นทุกชนิด แม้ว่าจะมีปริมาณเมไทโอนีน ซีสเตอีนและไลซีนเมื่อเทียบกับโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ ไข่และนม อย่างไรก็ตาม สไปรูไลนาเหนือกว่าโปรตีนพืชตัวอย่าง อย่างเช่นที่ได้จากพืชตระกูลถั่ว (legume)[2][5] ในภาพรวม ขณะที่สไปรูไลนามักถูกโฆษณาว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่ยอดเยี่ยม แต่มันก็ไม่ได้ดีไปกว่านมหรือเนื้อสัตว์ (เว้นเสียแต่มันมีโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบ) และเป็นโปรตีนที่ราคาต่อกรัมแพงกว่าโปรตีนแหล่งอื่นอย่างน้อย 30 เท่า[6]

สไปรูไลนาไม่ถูกมองว่าเป็นแหล่งวิตามินบี12 ที่ดีนัก การวิเคราะห์ทางเคมีบี12 มาตรฐาน โดยใช้ Lactobacillus leichmannii แสดงให้เห็นว่าสไปรูไลนาเป็นแหล่งที่ให้วิตามินบี12 ที่มีชีวประสิทธิผลน้อยมาก[7] อาหารเสริมสไปรูไลนามีวิตามินเทียม บี12 ซึ่งใช้การไม่ได้ทางชีววิทยาในมนุษย์[8] บริษัทซึ่งปลูกและจัดจำหน่ายสไปรูไลนาอ้างว่า เป็นแหล่งสำคัญของบี12 ตามการวิเคราะห์ทางเคมีอีกชุดหนึ่งและไม่ได้ตีพิมพ์ แม้ว่าการอ้างดังกล่าวจะไม่ได้รับการยอมรับจากองค์การวิทยาศาสตร์เลยก็ตาม สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งสหรัฐอเมริกา และนักโภชนาการแคนาดา ระบุในเอกสารแสดงจุดยืนว่าด้วยเรื่องอาหารมังสวิรัติ ว่า สไปรูไลนาไม่สามารถถูกนับได้ว่าเป็นแหล่งวิตามินบี12 ที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้[9] งานตีพิมพ์ทางการแพทย์ก็แนะนำคล้ายกันว่าสไปรูไลนาไม่เหมาะสมจะใช้เป็นแหล่งบี12[8][10]

สารอาหารลิพิดของสไปรูไลนามีอยู่ราว 7% โดยน้ำหนัก[11] และอุดมไปด้วยกรดแกมมาไลโนเลนิก และยังพบกรดอัลฟาไลโนเลนิก, กรดไลโนเลอิก, กรดสเตียริโดนิก, กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก, กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิกและกรดอะราคิโดนิก[5][12] สไปรูไลนามีวิตามินบี1 (ไทอามีน), บี2 (ไรโบฟลาวิน), บี3 (ไนโคไทนาไมด์), บี6 (ไพริโดซีน), บี9 (กรดโฟลิก), วิตามินซี, วิตามินดี, วิตามินเอ และวิตามินอี[5][12] นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งโพแทสเซียม, แคลเซียม, โครเมียม, ทองแดง, เหล็ก, แมกนีเซียม, แมงกานีส, ฟอสฟอรัส, เซเลเนียม, โซเดียม และสังกะสี[5][12] สไปรูไลนามีรงควัตถุหลากหลายซึ่งอาจมีทั้งประโยชน์และชีวประสิทธิผล รวมทั้งบีตา-แคโรทีน, ซีแซนทีน, คลอโรฟิลล์-เอ, แซนโทฟิลล์, เอคินีโนน, ไมโซแซนโทฟิลล์, แคนทาแซนทิน, ไดอาโทแซนทิน, 3'-ไฮดรอกซีเอคินีโนน, บีตา-คริปโตแซนทิน และออสซิลาแซนทิน บวกกับไฟโคบิลิโปรตีน ซี-ไซโคไซยานินและอัลโลไซโคไซยานิน[1]

ประโยชน์และโทษที่อาจเกิดแก่สุขภาพ

[แก้]

สไปรูไลนามีฟีนิลอะลานีน ซึ่งควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่มีอาการผิดปกติของเมตาโบลิซึม ที่ชื่อ ฟีนิลคีโตนูเรีย โดยร่างกายไม่สามารถเผาผลาญกรดอะมิโนชนิดดังกล่าวได้ ทำให้กรดอะมิโนไปสะสมอยู่ในสมอง ซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย[13] เนื่องจากสไปรูไลนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาจึงไม่ได้วางระเบียบคุ้มครองและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ สไปรูไลนาเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินแบบหนึ่ง ซึ่งทราบกันว่ามีบางชนิดที่ผลิตพิษ อาทิ ไมโครซิสติน, BMAA และอื่น ๆ ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานใดมาวางระเบียบความปลอดภัยของสไปรูไลนา[14]

การวิจัยสภาพแวดล้อมเทียม

[แก้]

สไปรูไลนาสกัดการถ่ายแบบเอชไอวี ในทีเซลล์ของมนุษย์, เม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์เดียว (PBMC) และเซลล์แลงเกอร์ฮานส์[15]

ในการศึกษาสภาพแวดล้อมเทียมใน พ.ศ. 2551 สรุปว่าสไปรูไลนาอาจมีคุณสมบัติคีเลชั่นอย่างเหล็ก เซลล์นิวโรบลาสโตมาของมนุษย์ถูกรักษาโดยเหล็กในปริมาณที่เป็นพิษ จากนั้นจึงค่อยรักษาด้วยสไปรูไลนา เมื่อรักษาแล้ว ภาวะอนุมูลอิสระเกิน (oxidative stress) ที่เกิดจากเหล็กนั้นก็ลดลง[16]

การวิจัยในสัตว์

[แก้]

สไปรูไลนาช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย (heart damamge) จากเคมีบำบัดโดยใช้ดอกโซรูบิซิน โดยไม่เข้าไปแทรกแซงกิจกรรมออกฤทธิ์ต้านเนื้องอกของยาเลย[17] สไปรูไลนายังลดความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองและช่วยฟื้นฟูการควบคุมการเคลื่อนไหวหลังเกิดโรค[18] ลดความเสื่อมถอยของความจำและการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับอายุ[19] ตลอดจนป้องกันและรักษาไข้ละอองฟาง[20]

การศึกษาเมตาบอลิซึมในหนูชี้ว่า สไปรูไลนามีผลกระทบน้อยมากต่อเมตาบอลิซึมของพวกมัน และดังนั้นจึงอาจมีผลอย่างเดียวกันในมนุษย์ด้วย[21]

การศึกษากับหนูที่ป่วยเบาหวาน สรุปว่า Spirulina maxima มีประสิทธิภาพในการแก้ไขเมตาบอลิซึมคาร์บอไฮเดรตและลิพิดที่ผิดปกติ ซึ่งเกิดจากฟรักโทสเกินในร่างกาย[22]

การศึกษา พ.ศ. 2553 สรุปว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสไปรูไลนาแสดงให้เห็นว่า ชะลออาการของระบบกล้ามเนื้อระยะเริ่มต้นและพัฒนาการของโรค ลดตัวชี้วัดสภาวะการอักเสบและเซลล์ประสาทสั่งการตายในหนูต้นแบบโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง[23]

การวิจัยในมนุษย์

[แก้]

ในเด็กโรคขาดสารอาหาร ไม่ว่าจะติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ก็ตาม พบว่าสไปรูไลนาเพิ่มน้ำหนักและแก้ไขภาวะโลหิตจางได้[24] ยังมีรายงานด้วยว่าสไปรูไลนาเป็นการบำบัดเมลาโนซิสและเคราโทซิสเนื่องจากการได้รับพิษสารหนูเรื้อรัง[25]

การศึกษาใน พ.ศ. 2548 พบว่า สไปรูไลนาสามารถป้องกันไข้ละอองฟางได้[26] การศึกษาใหม่กว่าที่เป็นแบบปิดสองทางและมียาหลอกเป็นตัวควบคุม (double blind, placebo controlled) ใน พ.ศ. 2551 ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จมูก 150 คน พบว่า Spirulina platensis สามารถลดการหลั่งอินเตอร์ลิวคิน-4 ที่เป็นเหตุให้เกิดการอักเสบ ได้ 32% และผู้ป่วยมีอาการบรรเทาลง[27] ยิ่งไปกว่านั้น สไปรูไลนาถูกพบว่าลดการอักเสบที่เกี่ยวกับภาวะข้ออักเสบในผู้ป่วยสูงอายุ โดยกระตุ้นการหลั่งอินเตอร์ลิวติน-2 ซึ่งช่วยควบคุมการตอบสนองการอักเสบ[28]

การศึกษา พ.ศ. 2550 พบว่า อาสาสมัคร 36 คนที่ได้รับสไปรูไลนา 4.5 กรัมต่อวัน เป็นเวลานานกว่าหกสัปดาห์ มีความเปลี่ยนแปลงในคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตอย่างสำคัญ คือ (1) ลดคอเลสตอรอลรวม (2) เพิ่ม HDL คอเลสเตอรอล (3) ลดไตรกลีเซอไรด์ และ (4) ลดความดันโลหิตทั้งขณะบีบและคลาย[29] อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ไม่มีกลุ่มควบคุม นักวิจัยจึงไม่อาจมั่นใจได้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้นี่เป็นผลทั้งหมด หรือแม้กระทั่งบางส่วน ของการได้รับ Spirulina maxima ซึ่งตรงกันข้ามกับตัวแปรรบกวน (นั่นคือ ความตรงภายในและคุณลักษณะอุปสงค์) การศึกษาแบบสุ่ม อำพรางสองฝ่าย และมีการแทรกแซงด้วยยาหลอก (randomized, double-blind, placebo-controlled intervention) ในผู้ป่วยสูงอายุพบว่า สไปรูไลนาช่วยลดอัตราส่วน LDL ต่อ HDL ลงอย่างมากหลังได้รับเป็นเวลาสี่เดือน[28]

การศึกษาอีกชิ้นหนึ่งใน พ.ศ. 2550 สรุปว่าสไปรูไลนาพัฒนาศักยะต้านอนุมูลอิสระในผู้ป่วยสูงอายุหลายคนซึ่งได้รับการให้สไปรูไลนาเป็นเวลา 16 สัปดาห์ พลาสมาของผู้ป่วยเหล่านี้แสดงให้เห็นระดับที่เพิ่มขึ้นของสถานะต้านอนุมูลอิสระ[28] การศึกษาแบบปิดสองทางและมียาหลอกเป็นตัวควบคุมใน พ.ศ. 2549 พบว่า การให้สไปรูไลนาเป็นกสารเสริมลดปริมาณของเอตินไคเนส (ตัวชี้วัดภาวะการสูญเสียกล้ามเนื้อ) ในบุคคลหลังออกกำลังกาย ยิ่งไปกว่านั้น เวลาของกลุ่มทดลองที่จะเหนื่อยระหว่างการวิ่งบนสายพานเพิ่มขึ้น 52 วินาที ซึ่งผลกระทบเหล่านี้คาดกันว่าเป็นศักยะต้านอนุมูลอิสระของสไปรูไลนา[30]

ตามการวิเคราะห์ผลการวิจัยของสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ การได้รับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินดูเหมือนจะไม่ช่วยในการลดน้ำหนักแต่อย่างใด[31]

การสนับสนุน

[แก้]

ในที่ประชุมอาหารโลกสหประชาชาติใน พ.ศ. 2517 ได้สนับสนุนสไปรูไลนาว่าเป็น "อาหารที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต" โดยตระหนักถึงศักยะภายในของสไปรูไลนาในวาระพัฒนาอย่างยั่งยืน สมาชิกสหประชาชาติหลายประเทศร่วมมือกันก่อตั้งองค์การระหว่างรัฐขึ้น ชื่อว่า สถาบันระหว่างรัฐเพื่อการใช้สาหร่ายจุลสาหร่ายสไปรูไลนากับทุพโภชนาการ (IIMSAM)[32] IIMSAM ต้องการสร้างมติกับรัฐสมาชิกสหประชาชาติ ประชาคมระหว่างประเทศและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นเพื่อทำให้สไปรูไลนาเป็นกุญแจสำคัญขับเคลื่อนสู่การกำจัดทุพโภชนาการ บรรลุความมั่นคงด้านอาหารและเชื่อมช่องว่างด้านสุขภาพทั่วโลก

ทั้งนาซาและองค์การอวกาศยุโรป เสนอให้สไปรูไลนาเป็นหนึ่งในอาหารหลักที่จะเพาะระหว่างภารกิจอวกาศระยะยาว[33][34]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Vonshak, A. (ed.). Spirulina platensis (Arthrospira): Physiology, Cell-biology and Biotechnology. London: Taylor & Francis, 1997.
  2. 2.0 2.1 2.2 Ciferri O (December 1983). "Spirulina, the edible microorganism". Microbiol. Rev. 47 (4): 551–78. PMC 283708. PMID 6420655.
  3. Abdulqader, G., Barsanti, L., Tredici, M. "Harvest of Arthrospira platensis from Lake Kossorom (Chad) and its household usage among the Kanembu." Journal of Applied Phycology. 12: 493-498. 2000.[ลิงก์เสีย]
  4. "Worldwide Studies Involving Spirulina". Intergovernmental Institution for the Use of Micro-Algae Spirulina Against Malnutrition (IIMSAM). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-14. สืบค้นเมื่อ 2011-06-25.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Babadzhanov A.S.; และคณะ. "Chemical Composition of Spirulina Platensis Cultivated in Uzbekistan". Chemistry of Natural Compounds. 40 (3): 2004.
  6. "Blue-green algae". MedlinePlus. U.S. National Library of Medicine. November 18, 2010. สืบค้นเมื่อ April 15, 2011.
  7. Watanabe F, Takenaka S, Kittaka-Katsura H, Ebara S, Miyamoto E (2002). "Characterization and bioavailability of vitamin B12-compounds from edible algae". J. Nutr. Sci. Vitaminol. 48 (5): 325–31. PMID 12656203.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 Watanabe F (2007). "Vitamin B12 sources and bioavailability". Exp. Biol. Med. (Maywood). 232 (10): 1266–74. doi:10.3181/0703-MR-67. PMID 17959839. Most of the edible blue-green algae (cyanobacteria) used for human supplements predominantly contain pseudovitamin B(12), which is inactive in humans. The edible cyanobacteria are not suitable for use as vitamin B(12) sources, especially in vegans.
  9. Position of the American Dietetic Association and Dietitians of Canada: Vegetarian diets
  10. Watanabe F, Katsura H, Takenaka S, Fujita T, Abe K, Tamura Y, Nakatsuka T, Nakano Y (1999). "Pseudovitamin B(12) is the predominant cobamide of an algal health food, spirulina tablets". J. Agric. Food Chem. 47 (11): 4736–41. doi:10.1021/jf990541b. PMID 10552882. The results presented here strongly suggest that spirulina tablet algal health food is not suitable for use as a B12 source, especially in vegetarians.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-28. สืบค้นเมื่อ 2011-08-14.
  12. 12.0 12.1 12.2 Tokusoglu O., Unal M.K. "Biomass Nutrient Profiles of Three Microalgae: Spirulina platensis, Chlorella vulgaris, and Isochrisis galbana". Journal of Food Science. 68 (4): 2003.
  13. Robb-Nicholson, C. (2006). "By the way, doctor". Harvard Women's Health Watch. 8.
  14. Gilroy, D., Kauffman, K., Hall, D., Huang, X., & Chu, F. (2000). "Assessing potential health risks from microcystin toxins in blue-green algae dietary supplements". Environmental Health Perspectives. 108 (5): 435–439. doi:10.2307/3454384. JSTOR 3454384. PMC 1638057. PMID 10811570.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. Ayehunie, S. et al. "Inhibition of HIV-1 Replication by an Aqueous Extract of Spirulina platensis (Arthrospira platensis)." JAIDS: Journal of Acquired Immune Deficiency Syndromes & Human Retrovirology. 18, 1, May 1998: 7-12.
  16. Barmejo-Bescós, P., Piñero-Estrada, E., &Villar del Fresno, A. (2008). "Neuroprotection by Spirulina platensis protean extract and phycocyanin against iron-induced toxicity in SH-SY5Y neuroblastoma cells". Toxicology in Vitro. 22 (6): 1496–1502. doi:10.1016/j.tiv.2008.05.004. PMID 18572379.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  17. Khan M.; และคณะ (December 2005). "Protective effect of Spirulina against doxorubicin-induced cardiotoxicity". Phytotherapy Research. 19 (12): 1030–7. doi:10.1002/ptr.1783. PMID 16372368.
  18. Wang, Y., et al. "Dietary supplementation with blueberries, spinach, or spirulina reduces ischemic brain damage." Experimental Neurology. May, 2005 ;193(1):75-84.
  19. Gemma, C., et al. "Diets enriched in foods with high antioxidant activity reverse age-induced decreases in cerebellar beta-adrenergic function and increases in proinflammatory cytokines." Experimental Neurology. July 15, 2002; 22(14):6114-20.
  20. Chen, LL, et al. "Experimental study of spirulina platensis in treating allergic rhinitis in rats." 中南大学学报(医学版) = Journal of Central South University (Medical Sciences). Feb. 2005. 30(1):96-8.
  21. Yin, J; Zuberi, A; Gao, Z; Liu, D; Liu, Z; Cefalu, WT; Ye, J (Jul 2008). "Effect of Shilianhua extract and its fractions on body weight of obese mice". Metabolism: clinical and experimental. 57 (7 Suppl 1): S47–51. doi:10.1016/j.metabol.2008.03.004. ISSN 0026-0495. PMC 2504524. PMID 18555854.
  22. Kulshreshtha, A., Zacharia, J., Jarouliya, U.,Bhadauriya, P., Prasad, G.B.K.S., & Bisen, P.S. (2008). "Spirulina in Health Care Management". Current Pharmaceutical Biotechnology. 9 (5): 400–405. doi:10.2174/138920108785915111. PMID 18855693.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  23. USF scientists test blue-green algae for treating ALS
  24. Simpore, J., et al. "Nutrition Rehabilitation of HIV-Infected and HIV-Negative Undernourished Children Utilizing Spirulina." Annals of Nutrition & Metabolism. 49, 2005: 373-380.
  25. Mir Misbahuddin, AZM Maidul Islam, Salamat Khandker, Ifthaker-Al-Mahmud, Nazrul Islam and Anjumanara. Efficacy of spirulina extract plus zinc in patients of chronic arsenic poisoning: a randomized placebo-controlled study. (Risk factors ). Journal of Toxicology: Clinical Toxicology. 44.2 (March 2006): p135(7).
  26. Mao TK; และคณะ (Spring 2005). "Effects of a Spirulina-based dietary supplement on cytokine production from allergic rhinitis patients". Journal of Medicinal Food. 8 (1): 27–30. doi:10.1089/jmf.2005.8.27. PMID 15857205.
  27. Cingi, C., Conk-Dalay, M., Cakli, H., & Bal, C. (2008). "The effects of Spirulina on allergic rhinitis". European Archives of Oto-Rhino-Larynology. 265 (10): 1219–1223. doi:10.1007/s00405-008-0642-8. PMID 18343939.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  28. 28.0 28.1 28.2 doi:10.1159/000151486
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  29. Torres-Duran, Ferreira-Hermosillo, & Juarez-Oropeza. (2007). Antihyperlipemic and antihypertensive effects of Spirulina maxima in an open sample of mexican population: A preliminary report. Lipids in Health and Disease. 6, 33
  30. Lu, H.K., Hsieh, C.C. Hsu, J.J., Yang, Y.K., & Chou, H.N. (2006). "Preventative effects of Spirulina platensis on skeletal muscle damage under exercise induced oxidative stress". European Journal of Applied Physiology. 98 (2): 220–226. doi:10.1007/s00421-006-0263-0. PMID 16944194.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  31. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/natural/923.html
  32. "IIMSAM, Intergovernmental Institution for the use of Micro-algae Spirulina Against Malnutrition". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-04. สืบค้นเมื่อ 2011-08-14.
  33. Characterization of Spirulina biomass for CELSS diet potential. Normal, Al.: Alabama A&M University, 1988.
  34. Cornet J.F., Dubertret G. "The cyanobacterium Spirulina in the photosynthetic compartment of the MELISSA artificial ecosystem." Workshop on artificial ecological systems, DARA-CNES, Marseille, France, October 24–26, 1990