ข้ามไปเนื้อหา

ไซยาโนแบคทีเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไซยาโนแบคทีเรีย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 2100–0Ma (น่าจะมีบันทึกถึงมหายุคพาลีโออาร์เคียน)
ภาพจุลทรรศน์ของ Cylindrospermum
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: แบคทีเรีย
Bacteria
ไม่ได้จัดลำดับ: Terrabacteria
ไม่ได้จัดลำดับ: Cyanobacteria-Melainabacteria group
ไฟลัม: ไซยาโนแบคทีเรีย
Cyanobacteria
Stanier, 1973
ชั้น: Cyanophyceae
อันดับ[3]

ข้อมูลเมื่อ 2014 อนุกรมวิธานยังอยู่ระหว่างการปรับปรุง[1][2]

ชื่อพ้อง
รายชื่อ
  • Chloroxybacteria Margulis & Schwartz 1982
  • "Cyanophycota" Parker, Schanen & Renner 1969
  • "Cyanophyta" Steinecke 1931
  • "Diploschizophyta" Dillon 1963
  • "Endoschizophyta" Dillon 1963
  • "Exoschizophyta" Dillon 1963
  • Gonidiophyta Schaffner 1909
  • "Phycobacteria" Cavalier-Smith 1998
  • Phycochromaceae Rabenhorst 1865
  • Prochlorobacteria Jeffrey 1982
  • Prochlorophycota Shameel 2008
  • Prochlorophyta Lewin 1976
  • Chroococcophyceae Starmach 1966
  • Chamaesiphonophyceae Starmach 1966
  • "Cyanobacteriia"
  • Cyanophyceae Sachs 1874
  • Cyanophyta Steinecke 1931
  • Hormogoniophyceae Starmach 1966
  • Myxophyceae Wallroth 1833
  • Nostocophyceae Christensen 1978
  • Pleurocapsophyceae Starmach 1966
  • Prochlorophyceae Lewin 1977
  • Scandophyceae Vologdin 1962
  • Phycochromaceae Rabenhorst 1865
  • Oxyphotobacteria Gibbons & Murray 1978
  • Schizophyceae Cohn 1879

ไซยาโนแบคทีเรีย หรือ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue-green algae หรือ cyanobacteria) จัดอยู่ในไฟลัม Cyanophyta ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้[4] สาหร่ายชนิดนี้มีโครงสร้างของนิวเคลียสคล้ายคลึงกับนิวเคลียสของแบคทีเรีย และบางชนิดยังมีคุณสมบัติตรึงไนโตรเจนในอากาศได้ นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติทางชีวเคมีคล้ายแบคทีเรียด้วย แต่ต่างจากแบคทีเรีย เพราะสาหร่ายชนิดนี้มีคลอโรฟิลล์เอ และมีการปล่อยออกซิเจนออกสู่สิ่งแวดล้อมจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งไม่พบในแบคทีเรีย

ไซยาโนแบคทีเรีย เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว รูปแบบโครงสร้างเซลล์มีสารพันธุกรรมทั้งตัวและไม่มีเยื่อหุ้มนิวนิวเคลียส (โพรแคริโอต) ทำให้สามารถเจริญแบบเพิ่มจำนวนได้โดยการแบ่งตัว เนื่องจากโลกยังร้อนจัด ไม่มีออกซิเจน มีแต่คาร์บอนไดออกไซด์ สารประกอบจำพวก ไนโตเจน มีเทน แอมโมเนีย ไซยาโนแบคทีเรีย สามารถปรับตัวได้สูงมากโดยการ สร้างเมือกห่อหุ้มเซลล์ และในเซลล์จะมีถุงลมเพื่อเพิ่มการพยุงตัว หากภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์แสง มีเม็ดสีช่วยในการต่อต้านแสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ และเริ่มสังเคราะห์ด้วยแสง เกาะอาศัยอยู่บนสโตรมาโตไลต์ ทั่วไปบริเวณชายฝั่งทะเลสมัยพัฒนาเป็นสิ่งมีชีวิต

ประเภท

[แก้]

จากการวิวัฒนาการของ ไซยาโนแบคทีเรีย มีทั้งแบบ สายตรงและแบบผสมกับเซลล์อื่น เช่น รา (รวมยีสต์) และสาหร่ายชั้นสูง จากลักษณะทางสัณฐานวิทยา สามารถแบ่งไซยาโนแบคทีเรียได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

ลักษณะ

[แก้]
  1. กลุ่มที่ไม่เป็นเส้นสาย (Non-filamentous form หรือ unicellular cyanobacteria) ส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็นทรงกลม (coccoid form) พบทั้งที่เป็นเซลล์เดี่ยว และอยู่กันเป็นกลุ่มแบบ palmelloid colonies ที่มีเมือกหุ้มอยู่ (firm mucilaginous envelopes) มีการแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2, จาก 2 เป็น 3,… (amitotic) เช่น Microcystis sp. เป็นต้น
  2. กลุ่มที่เป็นเส้นสาย (Filamentous form) กลุ่มนี้เซลล์จะเรียงต่อกันเป็นเส้นสาย เรียกว่า trichome พบได้หลายลักษณะ เช่น สกุล Oscillatoria จัดเป็นกลุ่มที่มีเส้นสายอย่างง่ายมีเซลล์ชนิดเดียวกัน (vegetative cell) มาเรียงต่อกัน เช่นเดียวกับ Lyngbya เรียกว่า homocystous forms ส่วนกลุ่มเส้นสายที่มีเซลล์มากกกว่า 1 ชนิด มาเรียงต่อกัน โดยนอกจากจะมี vegetative cell แล้วยังมี heterocyst cell ซึ่งมีหนังเซลล์หนา 2 ชั้น ชั้นนอกเป็น polysaccharide ส่วนชั้นในเป็น glycolipid เพื่อจำกัดการเข้าของออกซิเจน เรียงสลับหรืออยู่ปลายสุดของเส้นสาย trichome เรียกว่า heterocystous forms เช่น Nostoc sp. และ Anabaena sp. เป็นต้น บางชนิดมีลักษณะเป็น spirally coiled ได้แก่ Arthrospira sp. และ Spirulina sp. บางชนิดมีลักษณะเป็น tube-like ที่มีเมือกหุ้ม (mucilaginous sheath) ได้แก่ Lyngbya sp. และยิ่งไปกว่านั้นยังแบ่งเป็นลักษณะที่ไม่มีกิ่งก้าน (unbranched group) เช่น Oscillatoria sp. และ Lyngbya sp. และมีกิ่งก้าน (branched group) เช่น Scytonema sp. และ Tolypothrix sp.

การดำรงชีวิต

[แก้]
  1. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินพวกที่ดำรงชีวิตอยู่อย่างอิสระ : 1; Anabaena sp. (www.intranet.dalton.org/), 2; Nostoc sp. (www.recursos.cnice.mec.es/):พวกที่ดำรงชีวิตอยู่อย่างอิสระ (Free-living cyanobacteria) กลุ่มนี้จะตรึงไนโตรเจนจากบรรยากาศมาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแอมโมเนีย และมี enzyme ที่ช่วยในการเปลี่ยนแอมโมเนียไปเป็น glutamine คือ glutamate dehydrogenase (GDH) และ glutamine synthase (GS) - glutamate synthase (GOGAT) จากนั้นเปลี่ยนให้เป็น glutamine แล้วจึงส่งไปยังเซลล์ข้างเคียง (vegetative cell) เช่น Nostoc sp. และ Anabaena sp. เป็นต้น
  2. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินพวกที่ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น : 1; Nostoc sp. กับ ปรง (www.botany.hawaii.edu), 2; lichen (www.adventurist.net):พวกที่ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น (Symbiotic cynobacteria) กลุ่มนี้จะสามารถอยู่ร่วมกันได้กับพืช, สัตว์ และเชื้อรา มีทั้งที่เป็น endophytic และ ectophytic cynobacteria เช่น Anabaena azollae กับ แหนแดง, Nostoc sp. กับ ปรง และ ไลเคนส์ เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Silva PC, Moe RL (Dec 2019). "Cyanophyceae". AccessScience. McGraw Hill Education. doi:10.1036/1097-8542.175300. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-21. สืบค้นเมื่อ 21 April 2011.
  2. Oren A (September 2004). "A proposal for further integration of the cyanobacteria under the Bacteriological Code". International Journal of Systematic and Evolutionary Microbiology. 54 (Pt 5): 1895–1902. doi:10.1099/ijs.0.03008-0. PMID 15388760.
  3. Komárek J, Kaštovský J, Mareš J, Johansen JR (2014). "Taxonomic classification of cyanoprokaryotes (cyanobacterial genera) 2014, using a polyphasic approach" (PDF). Preslia. 86: 295–335.
  4. "Life History and Ecology of Cyanobacteria". University of California Museum of Paleontology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2012. สืบค้นเมื่อ 17 July 2012.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]