ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เลสเตอร์ซิตี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี
ฉายาThe Foxes
ก่อตั้ง1884; 141 ปีที่แล้ว (1884)
(ในชื่อ เลสเตอร์ฟอสส์)
สนามคิงเพาเวอร์สเตเดียม
ความจุ32,312
เจ้าของคิง พาวเวอร์
ประธานอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา
ผู้จัดการรืด ฟัน นิสเติลโรย
ลีกพรีเมียร์ลีก
2023–24อีเอฟแอลแชมเปียนชิป อันดับที่ 1 จาก 24 (เลื่อนชั้น)
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี (อังกฤษ: Leicester City Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพของประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่ในนครเลสเตอร์ ภูมิภาคอีสต์มิดแลนส์ ปัจจุบันลงเล่นในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2024–25 ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษในฐานะผู้ชนะการแข่งขันอีเอฟแอลแชมเปียนชิปฤดูกาล 2023–24 มีสนามเหย้าคือ คิงเพาเวอร์สเตเดียม[1] ความจุ 32,312 ที่นั่ง

สโมสรก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1884 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ฟอสส์ โดยลงเล่นในสนามละแวกถนนฟอสส์ ก่อนจะย้ายไปย่านฟิลเบิร์ตใน ค.ศ. 1891 และได้รับเลือกให้ลงแข่งขันในอิงกลิชฟุตบอลลีกใน ค.ศ. 1894 และเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น เลสเตอร์ซิตี ใน ค.ศ. 1919 สโมสรย้ายไปเล่นที่ วอล์กเกอร์ สเตเดียม ใน ค.ศ. 2002 ซึ่งได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นคิงเพาเวอร์สเตเดียมเมื่อ ค.ศ. 2011[2]

เลสเตอร์ซิตีชนะเลิศพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2015–16 ซึ่งเป็นแชมป์ลีกสูงสุดเพียงครั้งเดียว พวกเขาเป็นหนึ่งในเจ็ดสโมสรที่ชนะเลิศพรีเมียร์ลีกนับตั้งแต่ก่อตั้งการแข่งขันใน ค.ศ. 1992 โดยอันดับที่ดีที่สุดของพวกเขาก่อนหน้านั้นคือการจบอันดับสองในอิงกลิชฟุตบอลลีก ฤดูกาล 1928–29 เลสเตอร์ซิตียังครองสถิติชนะเลิศการแข่งขันลีกระดับสองของฟุตบอลอังกฤษมากที่สุด 8 ครั้ง และเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพอีกห้าครั้ง โดยคว้าแชมป์ครั้งแรกใน ค.ศ. 2021 เลสเตอร์ซิตีชนะเลิศลีกคัพสามครั้งใน ค.ศ. 1964, 1997 และ 2000 และเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์สองครั้ง ใน ค.ศ. 1971 และ 2021 สโมสรร่วมแข่งขันฟุตบอลยุโรปเจ็ดครั้ง ผลงานดีที่สุดคือรอบก่อนรองชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2016–17 และรอบรองชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก ฤดูกาล 2021–22 สัญลักษณ์ของสโมสรเป็นรูปสุนัขจิ้งจอก เนื่องจากเดิมทีนั้นเมืองเลสเตอร์มีจิ้งจอกอาศัยเป็นจำนวนมาก สีประจำสโมสรคือสีน้ำเงินและสีขาว คำขวัญประจำสโมสรคือ "Foxes Never Quit" แปลว่า "จิ้งจอกไม่เคยยอมแพ้"[3]

ประวัติ

[แก้]

ยุคแรก (1884–1949)

[แก้]
ผู้เล่นของสโมสร "เลสเตอร์ฟอสส์" ใน ค.ศ. 1892

สโมสรก่อตั้งใน ค.ศ. 1884 โดยใช้ชื่อว่า เลสเตอร์ฟอสส์ (Leicester Fosse)[4] โดยเด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่เรียนอยู่ในโรงเรียนโบสถ์ที่เคร่งครัด ลงขันกันเพื่อซื้อลูกฟุตบอลราคา 9 เพนนีมาเตะเล่น โดยการแข่งขันนัดแรกของสโมสร ตามที่บันทึกไว้ในหนังสือพิมพ์เดอะมิร์เรอร์ว่า เลสเตอร์ฟอสซี เป็นฝ่ายชนะ ซิสตันฟอสส์ (Syston Fosse) ในวันที่ 1 พฤศจิกายนปีเดียวกัน โดยเล่นในสนามละแวกถนนฟอสส์ ชื่อ วิกตอเรียพาร์ก (Victoria Park)

ต่อมาในปี ค.ศ. 1887 สโมสรมีเหตุจำเป็นที่ต้องย้ายไปสนามเบลเกรจโรดสปอร์ตส์ (Belgrave Road Sports) ก่อนที่ปีนั้นสนามแห่งนี้ได้ตกเป็นของสหพันธ์รักบี้ สโมสรจึงต้องย้ายกลับไปวิกตอเรียพาร์กอีกครั้งหนึ่ง สโมสรได้เข้าร่วมแข่งขันมิตแลนด์ฟุตบอลลีกใน ค.ศ. 1891 ก่อนจะได้รับเลือกเข้าสู่ฟุตบอลลีกเซคันด์ดิวิชันใน ค.ศ. 1894 การแข่งขันในฟุตบอลลีกนัดแรกของพวกเขาคือการแพ้ต่อสโมสรฟุตบอลกริมสบี ทาวน์ ด้วยผลประตู 3–4 ก่อนจะคว้าชัยชนะนัดแรกในลีกด้วยการเอาชนะรอเทอรัมยูไนเต็ดในย่านฟิลเบิร์ต ในฤดูกาลนั้นสโมสรยังชนะด้วยผลประตูที่มากที่สุดจนถึงปัจจุบัน หลังจากเอาชนะ สโมสรนอตส์ โอลิมปิก ในรอบคัดเลือกการแข่งขันเอฟเอคัพด้วยผลประตู 13–0[5] ถัดมาในฤดูกาล 1907–08 เลสเตอร์จบในอันดับสองในฟุตบอลดิวิชันสอง ทำให้ได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่ฟุตบอลดิวิชันหนึ่ง แต่ก็ลงเล่นได้เพียงฤดูกาลเดียวและต้องตกชั้น ซึ่งพวกเขายังพบกับความพ่ายแพ้ที่ขาดลอยที่สุดในประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบันด้วยการแพ้ต่อ นอตทิงแฮมฟอเรสต์ ด้วยผลประตู 0–12[6]

ใน ค.ศ. 1919 ฟุตบอลลีกได้กลับมาแข่งขันกันต่อหลังจากระงับไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เลสเตอร์ฟอสส์ประสบปัญหาทางการเงินทำให้ไม่สามารถทำการค้าในตลาดซื้อขายได้ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี มาถึงปัจจุบันซึ่งได้รับการยอมรับอย่างมาก เนื่องด้วยในช่วงเวลาดังกล่าว นครเลสเตอร์ได้รับการยกฐานะให้กลายเป็นเมืองอย่างเป็นทางการ ภายหลังเปลี่ยนชื่อสโมสร เลสเตอร์ซิตีเริ่มประสบความสำเร็จในทศวรรษ 1920 ภายใต้ผู้จัดการทีมอย่าง ปีเตอร์ ฮอดจ์ ผู้พาทีมชนะเลิศฟุตบอลเซคันด์ดิวิชันในฤดูกาล 1924–25 ก่อนที่เขาจะลาทีมในฤดูกาลต่อมา วิลลี ออร์ เข้ามาคุมทีมต่อ ทีมชุดนั้นมีกองหน้าคนสำคัญอย่าง อาเทอร์ แชนด์เลอร์ ซึ่งครองสถิติทำประตูสูงสุดของสโมสรจนถึงปัจจุบัน[7] เลสเตอร์ซิตียังทำอันดับดีที่สุดบนลีกสูงสุดเป็นครั้งแรก เมื่อพวกเขาคว้าอันดับสองในฤดูกาล 1928–29 โดยเป็นรองทีมแชมป์อย่างเชฟฟีลด์เวนส์เดย์เพียงคะแนนเดียว

อย่างไรก็ดี เลสเตอร์ซิตีต้องเข้าสู่ช่วงตกต่ำในทศวรรษ 1930 เมื่อพวกเขาต้องตกชั้นจากลีกสูงสุดในฤดูกาล 1934–35[8] และแม้จะเลื่อนชั้นขึ้นมาในฤดูกาล 1936–37 พวกเขาต้องตกชั้นอีกครั้งในฤดูกาล 1938–39 และจบการแข่งขันในทศวรรษนี้ด้วยการลงเล่นในเซคันด์ดิวิชัน

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง (1949–2000)

[แก้]

เลสเตอร์ซิตีเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลเอฟเอคัพครั้งแรกใน ค.ศ. 1949[9] แต่ก็แพ้วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ด้วยผลประตู 1–3 แต่สโมสรยังอยู่รอดในการแข่งขันดิวิชันสองในฤดูกาลนั้น[10] สโมสรคว้าแชมป์ดิวิชันสองได้อีกครั้งใน ค.ศ. 1954[11] จากผลงานอันโดดเด่นของกองหน้าอย่างอาเทอร์ โรว์ลีย์ ผู้ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในกองหน้าที่ดีที่สุดตลอดกาลของสโมสร และแม้พวกเขาจะตกชั้นจากฟุตบอลดิวิชันหนึ่งในฤดูกาลต่อมา ทว่าผู้จัดการทีมอย่าง เดฟ ฮาลลีเดย์ ก็พาทีมเลื่อนชั้นกลับมาใน ค.ศ. 1957[12] ซึ่งโรว์ลีย์ทำสถิติยิง 44 ประตูในหนึ่งฤดูกาล เลสเตอร์ซิตีอยู่รอดในฟุตบอลดิวิชันหนึ่งจนถึง ค.ศ. 1969 ซึ่งเป็นสถิติที่ยาวนานที่สุดในขณะนั้น

ภายใต้การคุมทีมของแมตต์ จิลลีส์ และผู้ช่วยผู้จัดการทีมอย่าง เบิร์ต จอห์นสัน สโมสรเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพได้อีกสองครั้งในฤดูกาล 1961 และ 1963 แต่ก็แพ้ไปทั้งสองครั้ง แต่จากการที่แพ้ทอตนัมฮอตสเปอร์ซึ่งคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกและเอฟเอคัพได้ทั้งสองรายการใน ค.ศ. 1961 ส่งผลให้เลสเตอร์ซิตีได้สิทธิ์แข่งขันฟุตบอลยูโรเปียนคัพเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 1961–62 ถัดมาในฤดูกาล 1962–63 เลสเตอร์ซิตีเป็นทีมนำในลีกในช่วงฤดูหนาว และด้วยรูปแบบการเล่นที่น่าตื่นตาตื่นใจ กอปรกับการที่สโมสรของอังกฤษต้องลงเล่นบนพื้นสนามที่เต็มไปด้วยน้ำแข็ง และภูมิอากาศที่หนาวเย็นทำให้เลสเตอร์ซิตีได้รับการขนานนามว่าเป็น "ราชาน้ำแข็ง" และสโมสรจบในอันดับที่สี่ซึ่งเป็นอันดับที่ดีที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จิลลีส์ยังพาทีมประสบความสำเร็จคว้าถ้วยลีกคัพเป็นครั้งแรกโดยการเอาชนะสโตกซิตีด้วยผลประตูรวมสองนัด 4–3 และยังเข้าชิงชนะเลิศได้อีกครั้งในปีถัดมา แต่แพ้เชลซีด้วยผลประตูรวมสองนัด 2–3 ก่อนที่จิลลีส์จะลาทีมในฤดูกาล 1968 หลังเริ่มต้นฤดูกาลได้ไม่ดีนัก แฟรงก์ โอฟาร์เรลล์ ไม่สามารถพาทีมรอดตกชั้นได้ แต่สโมสรเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพอีกครั้งใน ค.ศ. 1969 แต่ก็แพ้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 0–1

ในค.ศ. 1971 เลสเตอร์ซิตีเลื่อนชั้นกลับสู่ฟุตบอลดิวิชันหนึ่งอีกครั้ง และยังชนะการแข่งขันเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ (แชริตีชีลด์ในขณะนั้น) เป็นครั้งแรก โดยเอาชนะลิเวอร์พูลไป 1–0 จากการทำประตูของนักเตะชื่อดังอย่าง สตีฟ วิตเวิร์ธ ในฤดูกาลนั้น จิมมี บลูมฟิลด์ ได้รับการแต่งตั้งเข้ามาคุมทีม และสโมสรอยู่รอดในฟุตบอลดิวิชันหนึ่งได้ต่อเนื่อง รวมทั้งเข้ารอบรองชนะเลิศเอฟเอคัพในฤดูกาล 1973–74 แฟรงค์ แมคลินท็อค อดีตผู้เล่นคนสำคัญของสโมสรในช่วงกลางทศวรรษ 1960 เข้ามาคุมทีมต่อ แต่ก็ทำผลงานย่ำแย่และพาทีมตกชั้นเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 1977–78 ส่งผลให้แมคลินท็อคอำลาทีม และจ็อค วอลเลซ จูเนียร์ นักฟุตบอลและผู้จัดการทีมชาวสกอตเข้ามารับหน้าที่ต่อ และพาทีมชนะเลิศฟุตบอลดิวิชันสองได้ใน ค.ศ. 1980[13] กระนั้นสโมสรก็ไม่สามารถอยู่รอดบนลีกสูงสุดได้แม้จะเข้ารอบรองชนะเลิศเอฟเอคัพใน ค.ศ. 1982 ทีมชุดนั้นยังมีผู้เล่นคนสำคัญที่ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในกำลังหลักได้แก่ แกรี ลินิเกอร์ กองหน้าชื่อดังชาวอังกฤษ กอร์ดอน มิลเนอ สามารถพาทีมเลื่อนชั้นกลับมาได้ในฤดูกาล 1983 และกองหน้าอย่างลินิเกอร์พาทีมทำผลงานยอดเยี่ยมก่อนจะถูกขายให้แก่เอฟเวอร์ตันใน ค.ศ. 1985 ส่งผลให้เลสเตอร์ซิตีต้องตกชั้นอีกครั้งในอีกสองฤดูกาลถัดมา และยังต้องเสียกองหน้าอีกคนอย่าง อลัน สมิธ ซึ่งย้ายร่วมทีมอาร์เซนอล

เดวิด พลีท เข้ามาคุมทีมต่อ ก่อนจะถูดปลดในเดือนมกราคม ค.ศ. 1991 เมื่อสโมสรอยู่ในอันดับที่สุ่มเสี่ยงต่อการตกชั้นสู่ดิวิชันสาม กอร์ดอน ลี เข้ามารักษาการจนจบฤดูกาล และพาทีมรอดพ้นการตกชั้นได้แม้จะต้องลุ้นถึงนัดสุดท้าย ไบรอัน ลิตเทิล เข้ามาคุมทีมต่อ และในช่วงสิ้นสุดฤดูกาล 1991–92 เลสเตอร์ซิตีได้สิทธิ์แข่งขันรอบเพลย์ออฟในโควตาทีมสุดท้าย เพื่อหาผู้ชนะไปร่วมการแข่งขันพรีเมียร์ลีกซึ่งเพิ่งจัดตั้งขึ้น แต่พวกเขาก็แพ้แบล็กเบิร์นโรเวอส์จากลูกจุดโทษของอดีตกองหน้าเลสเตอร์ซิตีอย่าง ไมค์ นิวเวลล์ ก่อนจะได้ลงแข่งขันรอบเพลย์ออฟอีกครั้งในฤดูกาลต่อมาแต่ก็แพ้สวินดันทาวน์ด้วยผลประตู 3–4 แต่พวกเขาก็ยังกลับมาเล่นเพลย์ออฟได้อีกในฤดูกาล 1993–94 และครั้งนี้พวกเขาเอาชนะดาร์บีเคาน์ตีในรอบชิงชนะเลิศด้วยผลประตู 2–1 แต่ลิตเทิลได้อำลาทีมเพื่อไปเป็นผู้จัดการทีมแอสตันวิลลา เขาถูกแทนที่โดย มาร์ก แมคจี ซึ่งไม่สามารถพาทีมอยู่รอดในพรีเมียร์ลีกได้โดยจบอันดับ 21

การแข่งขันระหว่างเลสเตอร์ซิตี และ บาร์นสลีย์ ในฤดูกาล 1997–98

แมคจีอำลาสโมสรอย่างกะทันหันในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1995 และถูกแทนที่โดยมาร์ติน โอนีลล์ ซึ่งพาทีมเลื่อนชั้นกลับสู่พรีเมียร์ลีกอีกครั้ง หลังจากเอาชนะคริสตัลพาเลซในรอบชิงชนะเลิศเพลย์ออฟ 2–1 ด้วยประตูชัยในช่วงต่อเวลาพิเศษของสตีฟ คลาริดจ์ และเลสเตอร์ซิตีสามารถทำผลงานในลีกสูงสุดได้ดีต่อเนื่อง ด้วยการติดหนึ่งในสิบอันดับแรกติดต่อกันสี่ฤดูกาล และโอนีลล์ยังพาสโมสรกลับมาชนะเลิศถ้วยรางวัลเป็นครั้งแรกในรอบ 33 ปี เมื่อพวกเขาคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกคัพเพิ่มอีกสองสมัยใน ค.ศ. 1997 (ชนะมิดเดิลส์เบรอ) และ ค.ศ. 2000 (ชนะแทรนเมียร์โรเวอส์) และยังได้รองแชมป์ใน ค.ศ. 1999 (แพ้สเปอร์) ส่งผลให้สโมสรได้ร่วมแข่งขันยูฟ่าคัพในฤดูกาล 1997–98 และ 2000–01 ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ค.ศ. 1961 ที่พวกเขาได้ลงแข่งขันในรายการยุโรป ก่อนที่โอนีลล์จะลาทีมเพื่อไปเป็นผู้จัดการทีมเซลติก

ตกต่ำ (2000–2008)

[แก้]
อัฒจันทร์ฝั่งตะวันออกของสนามวอล์กเกอร์ สเตเดียม หรือ คิงเพาเวอร์สเตเดียม ในปัจจุบัน

โอนีลล์ถูกแทนที่โดย ปีเตอร์ เทย์เลอร์ อดีตผู้ฝึกสอนทีมชาติอังกฤษรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี ในช่วงเวลานั้นเลสเตอร์ซิตีต้องยุติเส้นทางในรายการยุโรป เมื่อพวกเขาแพ้ต่อเรดสตาร์ เบลเกรด ในวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2000 ในยูฟ่าคัพ[14] แต่เทย์เลอร์ก็พาทีมทำผลงานในลีกได้ดี โดยเคยขึ้นเป็นทีมนำในช่วงฤดูหนาว และยังมีลุ้นพื้นที่ฟุตบอลยุโรปตลอดช่วงที่เหลือของฤดูกาล ก่อนที่ผลงานจะตกลงและจบอันดับ 13 ก่อนที่เทย์เลอร์จะถูกปลดหลังจากเริ่มต้นฤดูกาล 2001–02 เดฟ บาสเซ็ตต์ เข้ามารับช่วงต่อแต่ก็คุมทีมได้เพียงหกเดือน และ มิคกี อดัมส์ เข้ามารับช่วงต่อซึ่งสโมสรต้องตกชั้นในฤดูกาลนั้นโดยชนะได้เพียงห้านัดตลอดทั้งฤดูกาล

เข้าสู่ฤดูกาล 2002–03 เลสเตอร์ซิตีได้ย้ายสู่สนามใหม่อย่าง วอล์กเกอร์ สเตเดียม ยุติช่วงเวลากว่า 111 ปี ณ สนามฟิลเบิร์ต โดยสนามแห่งใหม่ถูกตั้งชื่อตามผู้สนับสนุนอย่างวอล์กเกอร์ บริษัทผู้ผลิตมันฝรั่งทอดชื่อดังของสหราชอาณาจักร[15] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2002 สโมสรตกเป็นหนี้จำนวน 30 ล้านปอนด์ สาเหตุหลักมาจากการสูญเสียค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด (ไอทีวีดิจิตอลซึ่งบริหารงานเองได้ให้คำมั่นว่าจะให้เงินแก่สโมสรจากลิขสิทธิ์การถ่ายทอดดิวิชัน) รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรายรับที่น้อยลง และค่าใช้จ่ายในการย้ายสู่สนามแห่งใหม่ด้วยจำนวนเงิน 37 ล้านปอนด์[16] สโมสรไม่สามารถดำเนินกิจกรรมในตลาดซื้อขายได้ แม้จะได้รับการช่วยเหลือจากกลุ่มบริษัทที่นำโดย แกรี ลินิเกอร์ แต่อดัมส์ก็สามารถพาทีมเลื่อนชั้นกลับสู่พรีเมียร์ลีกได้ด้วยการจบอันดับสองในฟุตบอลดิวิชันหนึ่ง (ลีกอันดับสองในขณะนั้น) ด้วยการทำมากกว่า 90 คะแนน แต่ก็ลงเล่นได้เพียงฤดูกาลเดียวและต้องตกชั้นสู่ฟุตบอลดิวิชันสองอีกครั้ง (ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นแชมเปียนชิปในฤดูกาลต่อมา)

อดัมส์ลาออกจากตำแหน่งในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 เคร็ก เลเวน รับตำแหน่งต่อแต่ก็ทำผลงานย่ำแย่และโดนปลดในอีก 15 เดือนต่อมา และผู้ช่วยผู้จัดการทีมอย่าง ร็อบ เคลลี เข้ามารักษาการ และได้สัญญาชั่วคราวให้คุมทีมจนสิ้นสุดฤดูกาลหลังจากพาทีมชนะสามจากสี่นัดแรกก่อนจะได้รับการแต่งตั้งถาวรหลังพาทีมรอดตกชั้น ต่อมา ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006 มิลาน แมนดาริช อดีตประธานสโมสรพอร์ตสมัท แสดงเจตนารมณ์ในการซื้อทีมเลสเตอร์ซิตี ก่อนที่การควบคุมกิจการจะแล้วเสร็จในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007[17] ไนเจล เวิร์ธธิงตัน เข้ามาคุมทีมชั่วคราวต่อจากเคลลีที่ถูกปลดและสามารถพาทีมรอดตกชั้น แต่ไม่ได้รับการเสนอสัญญาถาวร มาร์ติน อัลเลน เข้ามาคุมทีมต่อด้วยสัญญาสามปี แต่ก็ถูกยกเลิกสัญญาอย่างรวดเร็วหลังจากผ่านไปเพียงสี่นัดแรก จากการขัดแย้งกับประธานสโมสรอย่างแมนดาริช แกรี เม็กสัน ได้รับการแต่งตั้งเข้ามาคุมทีม แต่ก็อยู่ได้เพียงหนึ่งเดือนก่อนจะย้ายไปคุมทีมโบลตันวอนเดอเรอส์ สองผู้จัดการทีมอย่าง แฟรงก์ เบอร์โรว์ส และ เจอร์รี แทกการ์ต เข้ามารักษาการในช่วงสั้น ๆ

ในวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เอียน ฮอลโลเวย์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ และเขาเป็นผู้จัดการทีมคนแรกในรอบ 50 ปีที่พาเลสเตอร์ซิตีชนะในการคุมทีมนัดแรก หลังจากเอาชนะบริสตอลซิตีด้วยผลประตู 2–0 อย่างไรก็ตาม ผลงานของทีมก็ตกต่ำลงเรื่อย ๆ นำไปสู่การตกชั้นจากฟุตบอลแชมเปียนชิปเมื่อจบฤดูกาล 2007–08 ฮอลโลเวย์ยกเลิกสัญญาโดยสมัครใจและถูกแทนที่โดย ไนเจล เพียร์สัน

การบริหารของครอบครัวศรีวัฒนประภา (2010–ปัจจุบัน)

[แก้]
มิลาน แมนดาริช และ ไนเจล เพียร์สัน เฉลิมฉลองในโอกาสที่สโมสรคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกวันฤดูกาล 2008–09

ฤดูกาล 2008–09 ถือเป็นฤดูกาลแรกที่เลสเตอร์ซิตีไม่ได้ลงเล่นในลีกสูงสุดสองอันดับแรกของฟุตบอลอังกฤษ กระนั้นพวกเขาก็ใช้เวลาเพียงหนึ่งฤดูกาลในการเลื่อนชั้นกลับสู่ฟุตบอลแชมเปียนชิป หลังจากเอาชนะเซาธ์เอ็นด์ ยูไนเต็ดด้วยผลประตู 2–0 ทั้งที่ยังเหลือการแข่งขันอีกสองนัด และเพียร์สันพาทีมจบในอันดับห้าในแชมเปียนชิปได้สิทธิ์แข่งขันรอบเพลย์ออฟเพื่อเลื่อนชั้นสู่พรีเมียร์ลีกแต่ก็แพ้ในรอบรองชนะเลิศ เพียร์สันลาทีมเพื่อไปคุมทีมฮัลล์ซิตี โดยให้เหตุผลว่าสโมสรไม่แสดงความพยายามที่จะรั้งเขาให้อยู่ในตำแหน่งต่อ ก่อนที่ เปาลู ซูซา จะเข้ามาคุมทีม[18]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 ภายหลังจากการเจรจาเพื่อเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนบนเสื้อแข่งขันโดย กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชันแนล บริษัทด้านธุรกิจค้าปลีกสินค้าปลอดอากรของประเทศไทยแล้วเสร็จด้วยสัญญาสามปี แมนดาริชได้ประกาศขายทีมให้แก่ กลุ่มบริษัทชั้นนำของทวีปเอเชีย นำโดยวิชัย ศรีวัฒนประภา และบุตรชายอย่างอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา แต่แมนดาริชซึ่งได้ร่วมลงทุนในกิจการสโมสรยังดำรงตำแหน่งประธานสโมสรอยู่ และในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2010 หลังจากเริ่มต้นฤดูกาลอย่างน่าผิดหวังโดยเอาชนะได้เพียงหนึ่งนัดในเก้านัดแรก ซูซาได้พ้นจากตำแหน่งไป และ สเวน-เยอราน เอริกซอน ผู้จัดการทีมชื่อดังชาวสวีเดนเข้ามาแทน หลังจากซูซาพาทีมแพ้ต่อพอร์ตสมัทอย่างขาดลอย 1–6 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ แมนดาริชได้ก้าวลงจากตำแหน่งเพื่อไปรับบทบาทเป็นผู้บริหารสโมสรเชฟฟีลด์เวนส์เดย์ ส่งผลให้วิชัยขึ้นเป็นประธานสโมสรคนใหม่[19]

เลสเตอร์ซิตีเป็นหนึ่งในทีมที่ได้รับการคาดหมายว่าจะเลื่อนชั้นสู่พรีเมียร์ลีกได้ แต่ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011 ในช่วงที่สโมสรทำผลงานย่ำแย่โดยชนะได้เพียง 5 นัดจาก 13 นัดแรกในลีก เอริกซอนก็ถูกยุติสัญญา ก่อนที่เพียร์สันจะกลับมารับตำแหน่งอีกครั้งในอีกสามสัปดาห์ต่อมา[20] และพาทีมจบอันดับหกในฤดูกาล 2012–13 การันตีพื้นที่เพลย์ออฟเพื่อเลื่อนชั้น แต่พวกเขาก็ต้องผิดหวังเมื่อแพ้ต่อวอตฟอร์ดในรอบรองชนะเลิศด้วยผลระตูรวม 2–3 หลังจากการพลาดจุดโทษโดย อ็องโตนี น็อคการ์ต

ใน ค.ศ. 2014 เลสเตอร์ซิตีเลื่อนชั้นสู่พรีเมียร์ลีกได้เป็นครั้งแรกในรอบสิบปี หลังจากเอาชนะเชฟฟีลด์เวนส์เดย์ และสองคู่แข่งอย่างควีนส์พาร์กเรนเจอส์ และ ดาร์บีเคาน์ตีต่างก็ไม่ชนะทั้งคู่ และพวกเขายังจบฤดูกาลด้วยการคว้าแชมป์แชมป์ฟุตบอลเปียนชิปฤดูกาล 2013–14 ทำสถิติชนะเลิศการแข่งขันลีกระดับสองของฟุตบอลอังกฤษเป็นครั้งที่ 7 ก่อนที่พวกเขาจะเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ในพรีเมียร์ลีกได้อย่างยอดเยี่ยมในช่วงแรก เริ่มจากการเสมอเอฟเวอร์ตันในนัดเปิดฤดูกาล 2–2 และคว้าชัยชนะนัดแรกในพรีเมียร์ลีกนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2004 โดยเอาชนะสโตกซิตีด้วยผลประตู 1–0 และในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2014 พวกเขากลับมาคว้าชัยชนะได้ในนัดที่สำคัญที่สุดนัดหนึ่ง ด้วยการกลับมาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดด้วยผลประตู 5–3 ณ สนามคิงเพาเวอร์สเตเดียม หลังจากตกเป็นรองไปก่อน 1–3 โดยพวกเขาใช้เวลาเพียง 30 นาทีในการทำสี่ประตู และยังสร้างสถิติใหม่ด้วยการเป็นทีมแรกที่เอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้หลังจากตามหลังสองประตู นับตั้งแต่มีการก่อตั้งพรีเมียร์ลีกใน ค.ศ. 1992[21]

เลสเตอร์ซิตีมีผลงานที่ตกลงไปในช่วงครึ่งฤดูกาลหลัง ด้วยการมีเพียง 19 คะแนนจาก 29 นัด และพวกเขาอยู่ห่างจากอันดับที่ปลอดภัยจากการตกชั้นถึงเจ็ดคะแนน และส่อแววที่จะตกชั้นอีกครั้ง กระนั้น ชัยชนะเจ็ดจากเก้านัดสุดท้ายก็เพียงพอต่อการรอดตกชั้น พวกเขาจบฤดูกาลที่อันดับ 14 และมี 41 คะแนน ลงเล่นนัดสุดท้ายของฤดูกาลด้วยการเอาชนะควีนส์พาร์กเรนเจอส์ 5–1 ทำให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในการรอดพ้นการตกชั้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการฟุตบอลอังกฤษ[22] พวกเขายังถือเป็นสโมสรที่สามในยุคพรีเมียร์ลีกที่รอดพ้นจากการตกชั้นแม้จะเป็นทีมอันดับสุดท้ายในช่วงคริสต์มาส (ต่อจากเวสต์บรอมมิชอัลเบียนใน ค.ศ. 2005 และ ซันเดอร์แลนด์ ค.ศ. 2014) รวมทั้งเป็นทีมแรกที่ทำคะแนนได้น้อยกว่า 20 คะแนนในการแข่งขัน 29 นัดแรกแต่สามารถรอดพ้นการตกชั้น

สร้างประวัติศาสตร์ (2015–16)

[แก้]
เลสเตอร์ซิตีฉลองแชมป์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2015–16

ในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2015 เพียร์สันพ้นจากตำแหน่งสืบเนื่องจากความขัดแย้งกับผู้บริหาร นอกจากนี้ การพ้นจากตำแหน่งของเพียร์สันยังได้รับการรายงานจากสื่อว่าเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของ เจมส์ เพียร์สัน บุตรชายของเขารวมทั้งผู้เล่นสำรองของสโมสรจำนวนสามราย ซึ่งได้อัดคลิปวิดีโอแสดงออกถึงการเหยียดผิวและเพศขณะมาทัวร์หลังจบฤดูกาล ณ ประเทศไทย[23][24][25] เกลาดีโอ รานีเอรี อดีตผู้จัดการทีมเชลซีและผู้จัดการทีมหลายสโมสรในอิตาลีได้รับการแต่งตั้ง[26] แม้จะได้รับเสียงวิจารณ์เชิงลบจากสื่อและกลุ่มผู้สนับสนุนในช่วงแรก แต่รานีเอรีก็พาทีมทำผลงานยอดเยี่ยมตั้งแต่ช่วงเปิดฤดูกาล กองหน้าตัวหลักอย่าง เจมี วาร์ดี ทำไปถึง 13 ประตูจากการลงสนาม 11 นัดติดต่อกันตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน ทำลายสถิติของ รืด ฟัน นิสเติลโรย ในการทำประตู 10 นัดติดต่อกัน[27] ในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2015 เลสเตอร์บุกไปชนะเอฟเวอร์ตันด้วยผลประตู 3–2 ขึ้นเป็นทีมนำของลีกในช่วงคริสต์มาสและจากชัยชนะต่อซันเดอร์แลนด์ 2–0 ในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 2016 ส่งผลให้พวกเขาได้รับสิทธิ์แข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรก

เลสเตอร์ซิตีคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกอย่างยิ่งใหญ่ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 เมื่อสเปอร์ทำได้เพียงบุกไปเสมอเชลซีด้วยผลประตู 2–2 ในการแข่งขันที่ดุเดือดที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก[28][29] พวกเขายังทำลายสถิติในการใช้เวลาน้อยที่สุดหลังจากตกชั้นและกลับมาคว้าแชมป์ลีกสูงสุดได้ นับตั้งแต่อิปสวิชทาวน์ทำไว้ใน ค.ศ. 1962 บริษัทรับพนันอย่างถูกกฎหมายไม่มีใครคาดหมายว่าเลสเตอร์จะคว้าแชมป์ได้ โดยตั้งอัตราต่อรองในการคว้าแชมป์ก่อนเปิดฤดูกาลอยู่ที่ 5,000-1 นำไปสู่การจ่ายเงินรางวัลครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การรับพนันการแข่งขันกีฬาของอังกฤษจำนวน 25 ล้านปอนด์[30][31][32] หนังสือพิมพ์หลายฉบับลงข่าวการคว้าแชมป์ครั้งนี้ว่าเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่สุดครั้งหนึ่งในวงการกีฬาโลก[33][34]

ทีมชุดนี้ได้รับการขนานนามว่า "The Unbelievables" เพื่อให้มีความคล้ายคลึงกับชื่อเรียกของทีมอาร์เซนอลชุดที่ชนะเลิศพรีเมียร์ลีกโดยไม่แพ้ทีมใดตลอดทั้งฤดูกาล 2003–04 ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "The Invincibles"[35] ผู้สันทัดกรณีหลายรายได้ยกย่องว่าการคว้าแชมป์ครั้งนี้อาจถือเป็นแรงบันดาลใจให้แก่สโมสรอื่น ๆ ในการทำผลงานยอดเยี่ยมแม้จะมีความคาดหวังไม่สูง ในฤดูกาลนี้เลสเตอร์ซิตียังได้รับการยกย่องในแง่ของการเล่นเกมโต้กลับได้อย่างยอดเยี่ยม รวมถึงการมีเกมรับที่แข็งแกร่ง[36] อดีตผู้จัดการทีมอย่างไนเจล เพียร์สัน ยังได้รับการยกย่องในฐานะผู้วางรากฐานให้แก่สโมสรตลอดหลายฤดูกาลหลัง

2016–2020

[แก้]
เจมี วาร์ดี กองหน้าคนสำคัญของสโมสรตั้งแต่ ค.ศ. 2012

แม้จะมีฤดูกาลที่ยิ่งใหญ่ แต่เลสเตอร์ซิตีมีฤดูกาลที่ยากลำบากในปีต่อมา โดยอันดับของพวกเขามักอยู่กลางตารางค่อนไปท้ายตารางเป็นส่วนมาก ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2016 รานีเอรี และ เลสเตอร์ซิตี ได้รับรางวัลผู้จัดการทีมยอดเยี่ยม และ ทีมยอดเยี่ยมประจำปีโดยบีบีซี สปอร์ตส์ เพอร์ซันนอลลิตี[37] อย่างไรก็ดี รานีเอรีก็พ้นจากตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 หลังทำผลงานย่ำแย่ต่อเนื่องโดยมีคะแนนนำหน้าทีมตกชั้นเพียงคะแนนเดียว ซึ่งการปลดเขาจากตำแหน่งนำไปสู่เสียงวิจารณ์เชิงลบจากสื่อและผู้สนับสนุน ท่ามกลางกระแสข่าวว่าผู้เล่นหลายรายได้เข้าพบประธานสโมสรเพื่อให้พิจารณาปลดรานีเอรีโดยที่เจ้าตัวไม่ทราบ ซึ่งจุดชนวนให้เกิดความไม่พอใจอย่างกว้างขวางในสื่อสังคมออนไลน์ แต่เรื่องนี้ก็ปราศจากหลักฐานที่แน่ชัด[38]

เคร็ก เชกสเปียร์ เข้ามารักษาการแทน และการคุมทีมนัดแรกของเขาคือการชนะทีมอันดับห้าอย่างลิเวอร์พูล 3–1 จากสองประตูของวาร์ดี[39] ตามด้วยการชนะฮัลล์ซิตี ส่งผลให้เขาได้รับความไว้วางใจให้คุมทีมไปจนจบฤดูกาล[40] ฤดูกาล 2016–17 ยังเป็นฤดูกาลแรกในรอบ 15 ปีที่เลสเตอร์ซิตีได้ลงแข่งขันฟุตบอลยุโรป พวกเขาอยู่ในกลุ่มจีร่วมกับโปร์ตู, โคเปนเฮเกน และ กลึบบรึคเคอ กาเฟ และผ่านเข้าสู่รอบต่อไปในฐานะแชมป์กลุ่ม[41] เข้าไปเอาชนะเซบิยาด้วยผลประตูรวมสองนัด 3–2 ก่อนจะเข้าไปแพ้อัตเลติโกเดมาดริดในรอบก่องรองชนะเลิศด้วยผลประตูรวม 1–2[42]

เชกสเปียร์ได้รับการแต่งตั้งถาวรด้วยสัญญาสามปี[43] แต่จากการทำผลงานย่ำแย่ในฤดูกาลใหม่ส่งผลให้เขาพ้นจากตำแหน่งในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2017 ซึ่งเลสเตอร์อยู่ในอันดับ 18 ของตาราง โกลด ปุแอล เข้ามาคุมทีมต่อและพาทีมจบอันดับ 9 แม้จะตกเป็นข่าวว่าปุแอลจะพ้นจากตำแหน่งเขายังได้รับโอกาสต่อ ต่อมา ในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2018 สโมสรต้องพบกับความสูญเสียครั้งใหญ่ เมื่อคุณวิชัย ประธานสโมสร ได้เสียชีวิตลงจากเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตกนอกสนาม คิง เพาเวอร์ สเตเดียม หลังจบการแข่งขันระหว่างเลสเตอร์ซิตีและเวสต์แฮมยูไนเต็ดไม่นาน โดยเฮลิคอปเตอร์ได้เสียการทรงตัวและตกกระแทกพื้นบริเวณลานจอดรถของสนามเมื่อเวลา 20.30 น. สโมสรได้ออกแถลงการณ์ยืนยันการเสียชีวิตในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2018 รวมทั้งได้ประกาศแผนการที่จะสร้างรูปปั้นเพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงคุณวิชัย และอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา บุตรชายของเขาได้ขึ้นเป็นประธานสโมสรต่อ[44][45][46][47] ในส่วนของผลงานในสนาม แม้ปุแอลพาทีมทำผลงานดีขึ้น แต่ก็แย่ลงอีกครั้งใน ค.ศ. 2019 รวมถึงการแพ้ในบ้าน 4 นัดติดต่อกัน และหลังจากแพ้คริสตัลพาเลซ 1–4 ปุแอลถูกปลดในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 โดยเลสเตอร์ซิตีอยู่ในอันดับ 12 ในขณะนั้นนำไปสู่การแต่งตั้งอดีตผู้จัดการทีมลิเวอร์พูลซึ่งก็คือ เบรนดัน ร็อดเจอส์ ซึ่งประคองทีมจบในอันดับ 9

แชมป์เอฟเอคัพ และตกชั้นอีกครั้ง (2021–2024)

[แก้]

ร็อดเจอส์พาทีมทำผลงานยอดเยี่ยมในฤดูกาล 2019–20 โดยทำไปถึง 38 คะแนนจากการลงเล่น 16 นัด รวมทั้งการชนะติดต่อกัน 8 นัดตั้งแต่ 19 ตุลาคม ถึง 8 ธันวาคม ค.ศ. 2019 นอกจากนี้ในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2019 สโมสรยังทำสถิติด้วยการบุกไปเอาชนะเซาแทมป์ตันด้วยผลประตู 9–0 ถือเป็นสถิติร่วมในการชนะมากที่สุดในพรีเมียร์ลีก และเป็นสถิติใหม่ในการชนะเกมเยือนด้วยผลประตูที่มากที่สุดของพรีเมียร์ลีก[48] และแม้จะติด 1 ใน 4 อันดับแรกของตารางเป็นส่วนมาก ทว่าพวกเขาก็มีผลงานที่ตกลงไปในช่วงท้ายฤดูกาล โดยเอาชนะได้เพียงสองจากเก้านัดหลังจากฟุตบอลอังกฤษกลับมาแข่งขันจากการหยุดพักในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 และจากความพ่ายแพ้ 3 ใน 4 นัดสุดท้ายของฤดูกาลทำให้พวกเขาจบอันดับห้า ได้สิทธิ์แข่งขันยูฟ่ายูโรปาลีก[49]

เลสเตอร์ซิตีคว้าแชมป์เอฟเอคัพครั้งแรกในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 โดยเอาชนะเชลซี 1–0 จากประตูของยูรี ตีเลอมันส์ หลังจากแพ้ในรอบชิงชนะเลิศรายการนี้มา 4 ครั้ง และพวกเขาจบในอันดับห้าเป็นปีที่สองติดต่อกันได้แข่งขันยูโรปาลีกอีกครั้ง ฤดูกาลต่อมาพวกเขาคว้าแชมป์เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2021 ด้วยการเอาชนะแมนเชสเตอร์ซิตี 1–0 คว้าแชมป์สมัยที่สอง และในการแข่งขันฟุตบอลยุโรป พวกเขาอยู่ร่วมกลุ่มกับนาโปลี, สปาร์ตัคมอสโก และ ลีเกีย วอร์ซอว์ แต่ทำได้เพียงจบอันดับสามทำให้ต้องลงไปแข่งขันรายการใหม่ซึ่งก็คือ ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก และตกรอบรองชนะเลิศโดยแพ้โรมาด้วยประตูรวมสองนัด 1–2 และจบฤดูกาลในพรีเมียร์ลีกด้วยอันดับแปดไม่ได้แข่งขันฟุตบอลยุโรป

ในช่วงเวลานี้ ฐานะการเงินของบริษัทคิง เพาเวอร์ได้รับผลกระทบจากโควิด-19[50] ส่งผลให้สโมสรต้องจำกัดงบประมาณในการซื้อตัวผู้เล่นใน ค.ศ. 2022 กอปรกับข้อกังวลเกี่ยวกับการละเมิดกฏไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์ โดยผู้บริหารต้องการเน้นการลงทุนในระยาวมากขึ้น[51][52] และจากผลงานอันย่ำแย่ในพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2022–23 ส่งผลให้ร็อดเจอส์ถูกปลดในวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 2023 โดยสโมสรตกไปอยู่ท้ายตาราง และเหลือการแข่งขันอีกสิบนัด[53] ดีน สมิท ได้รับการแต่งตั้งให้คุมทีมจนจบฤดูกาล[54] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2023 สโมสรต้องตกชั้นโดยจบในอันดับที่ 18 แม้จะเอาชนะเวสต์แฮมในนัดสุดท้าย[55] ยุติการลงเล่นในลีกสูงสุดจำนวนเก้าฤดูกาลติดต่อกัน เลสเตอร์ถือเป็นสโมสรที่สองในยุคพรีเมียร์ลีกที่เคยคว้าแชมป์แต่ต้องตกชั้น ต่อจากแบล็กเบิร์นโรเวอส์ซึ่งคว้าแชมป์ในฤดูกาล 1994–95 ก่อนจะตกชั้นใน ค.ศ. 1999[56] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2023 เอนโซ มาเรสกา ได้รับการแต่งตั้งเพื่อคุมทีมในอีเอฟแอลแชมเปียนชิป ฤดูกาล 2023–24[57] โดยเลสเตอร์ทำผลงานได้ยอดเยี่ยมตั้งแต่เปิดฤดูกาล ด้วยการชนะได้ถึง 9 จาก 10 นัดแรก ถือเป็นสถิติที่ดีที่สุดนับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อการแข่งขันมาเป็นฟุตบอลแชมเปียนชิปในฤดูกาล 2004–05[58]

กลับสู่พรีเมียร์ลีกอีกครั้ง (2024–ปัจจุบัน)

[แก้]
เลสเตอร์ซิตีฉลองแชมป์อีเอฟแอลแชมเปียนชิป ฤดูกาล 2023–24

เลสเตอร์ได้เลื่อนชั้นกลับสู่พรีเมียร์ลีกโดยคว้าแชมป์อีเอฟแอลแชมเปียนชิปเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 ถือเป็นการเลื่อนชั้นกลับมาภายในหนึ่งปี และยังเป็นการคว้าแชมป์ลีกระดับสองของอังกฤษเป็นครั้งที่แปดซึ่งเป็นสถิติสูงสุด[59] ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2024 มาเรสกาอำลาทีมเพื่อไปคุมเชลซี สตีฟ คูเปอร์เข้ามารับตำแหน่งแทนแต่ก็ถูกปลดหลังผ่านไปเพียง 5 เดือน โดยทำผลงานย่ำแย่จากการชนะเพียง 3 จาก 15 นัดในทุกรายการ[60][61] สโมสรแต่งตั้งรืด ฟัน นิสเติลโรยเป็นผู้จัดการคนใหม่ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ด้วยสัญญาจ้างถึงปี 2027[62]

สีชุดแข่งและตราสโมสร

[แก้]

ผู้ผลิตชุดและผู้สนับสนุนบนเสื้อ

[แก้]
ช่วงเวลา ผู้ผลิตชุด ผู้สนับสนุน (หน้าอก) ผู้สนับสนุน (แขนเสื้อ)
1962–1964 Bukta none none
1976–1979 Admiral
1979–1983 อัมโบร
1983–1986 Admiral Ind Coope
1986–1987 John Bull
1987 Walkers Crisps
1988–1990 Scoreline
1990–1992 Bukta
1992–2000 Fox Leisure
2000–2001 Le Coq Sportif
2001–2003 แอลจี
2003–2005 Alliance & Leicester
2005–2007 JJB Sports
2007–2009 Jako Topps Tiles
2009–2010 โจมา LOROS
2010–2012 Burrda คิง เพาเวอร์
2012–2016 พูมา
2017–2018 ธนาคารไทยพาณิชย์
2018–2020 อาดิดาส Bia Saigon
2020–2021 คิง เพาเวอร์ และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
2021–2023 FBS (international brokerage company)
2023–2024 คิง เพาเวอร์
2024– BC.GAME

คู่แข่ง

[แก้]

สโมสรตั้งอยู่ในภาคมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษ และถือว่าทีมคู่แข่งร่วมภูมิภาค ได้แก่ ดาร์บีเคาน์ตี และนอตติงแฮมฟอเรสต์ แต่ทีมที่ถือว่าเป็นคู่แข่งสำคัญ ดาร์บีเคาน์ตี ทุกครั้งที่พบกันนั้น จะไม่มีสโมสรใดยอมอ่อนข้อให้เป็นศึกแห่งศักดิ์ศรี ที่มันดุเดือด สนุกถูกใจแฟนบอล (ชิงชัย แข่งกันเป็นเจ้าแห่งมิดแลนด์ตะวันออก) อีกหนึ่งทีม คือโคเวนทรีซิตี ที่ถึงแม้ว่าจะอยู่ในภาคมิดแลนด์สตะวันตก ซึ่งถือว่าอยู่คนละภูมิภาคกันและอยู่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง แต่ก็อยู่ห่างออกไปเพียง 24 ไมล์ หรือประมาณ 38.6 กิโลเมตร และทั้งสองเมืองเชื่อมต่อกันด้วยทางหลวงสาย M69 [63] สื่อจึงมักขนานนามการแข่งขันระหว่างทั้งสองทีมว่า เอ็ม 69 ดาร์บี้แมตช์

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]
ณ วันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2024[64]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK เวลส์ แดนนี วอร์ด
2 DF อังกฤษ เจมส์ จัสติน
3 DF เบลเยียม วูท ฟาเอส
4 DF อังกฤษ คอเนอร์ โคอาดี
5 DF อิตาลี คาเลบ โอโคลี
6 MF ไนจีเรีย วิลเฟร็ด เอ็นดิดิ
7 FW กานา อับดุล ฟาตาวู
8 MF อังกฤษ แฮร์รี วิงส์
9 FW อังกฤษ เจมี วาร์ดี (กัปตันทีม)
10 FW อังกฤษ สเตฟี มาวิดิดี
11 MF โมร็อกโก บิลัล เอล คานนูส
14 FW จาเมกา บ็อบบี เดอ คอร์โดวา-รีด
16 DF เดนมาร์ก วิกเตอร์ คริสเตียนเซน
17 MF อังกฤษ ฮัมซา เชาฮ์ดรี
18 FW กานา จอร์แดน อายิว
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
19 FW ฝรั่งเศส ออดซอน เอดัวร์ (ยืมตัวจาก คริสตัลพาเลซ)
20 FW แซมเบีย แพตสัน ดากา
21 DF โปรตุเกส รีการ์ดู ปึไรรา
22 MF อังกฤษ โอลิเวอร์ สกิปป์
23 DF เดนมาร์ก แยนิก เวสเตอร์กอร์
24 MF ฝรั่งเศส บูบาการี ซูมาเร
30 GK เดนมาร์ก แมดส์ เฮอร์มันเชน
31 GK เดนมาร์ก แดเนียล ไอเวอร์เซน
33 DF อังกฤษ ลุก ทอมัส
34 MF อังกฤษ ไมเคิล โกลดิง
35 MF อังกฤษ เคซีย์ แม็คเอเทียร์
37 MF อังกฤษ วิลล์ อัลเวส
40 MF อาร์เจนตินา ฟาคุนโด บัวนานอตเต (ยืมตัวจาก ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน)
41 GK โปแลนด์ ยาคุบ สโตลาร์ชิค

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
15 DF ออสเตรเลีย แฮร์รี ซูตตาร์ (ไป เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2025)
26 DF อังกฤษ เบน เนลสัน (ไป ออกซฟอร์ดยูไนเต็ด จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2025)
27 MF โปรตุเกส วานยา มาร์ซัล (ไป เดอ กราฟสคัป จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2025)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
28 FW สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ทอม แคนนอน (ไป สโตกซิตี จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2025)
44 MF อังกฤษ แซมมี เบรย์บรูก (ไป ดันดี จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2025)

บุคลากร

[แก้]
สมาชิกคณะกรรมการ และ กรรมการ
ตำแหน่ง ชื่อ
ประธาน ไทย อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา
รองประธาน ไทย อภิเชษฐ์ ศรีวัฒนประภา
ผู้บริหารระดับสูง ไทย มารุต บีนิทรา
กรรมการบริหาร สกอตแลนด์ Malcolm Stewart-Smith
ผู้อำนวยการฟุตบอล อังกฤษ จอน รัดกิน
Football Operations Director อังกฤษ Andrew Neville
Finance Director อังกฤษ Simon Capper
Operations Director อังกฤษ Kevin Barclay
การจัดการทีมชุดใหญ่
ตำแหน่ง ชื่อ
ผู้จัดการทีมชุดใหญ่ เนเธอร์แลนด์ รืด ฟัน นิสเติลโรย
ผู้ช่วยผู้จัดการ & Goalkeeping Coach เนเธอร์แลนด์ Jelle ten Rouwelaar
First Team Coach อังกฤษ Ben Dawson
Set Piece Coach อังกฤษ Andrew Hughes
Goalkeeping Coach อังกฤษ Danny Alcock
Head of Fitness & Conditioning อังกฤษ Matt Reeves
Head of Medicine อังกฤษ Dr. Simon Morris
First Team Physiotherapist อังกฤษ Gary Silk
First Team Physiotherapist อังกฤษ Niall Stevens
Kit Manager อังกฤษ Paul McAndrew
Head of Senior Player Recruitment อังกฤษ Martyn Glover
Academy Director อังกฤษ จอน รัดกิน

สถิติผู้เล่น

[แก้]

กัปตัน

[แก้]
วัน ชื่อ
1987–1992 สกอตแลนด์ Ally Mauchlen
1992–1993 อังกฤษ สตีฟ วอล์ช
1993–1994 อังกฤษ Gary Mills
1995–1996 อังกฤษ Garry Parker
1996–1999 อังกฤษ สตีฟ วอล์ช
1999–2005 สกอตแลนด์ Matt Elliott
2005–2006 ออสเตรเลีย Danny Tiatto
2006–2007 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ Paddy McCarthy
2007–2008 อังกฤษ Stephen Clemence
2008–2011 อังกฤษ Matt Oakley
2011–2012 อังกฤษ Matt Mills
2012–2021 จาเมกา เวส มอร์แกน
2021–2022 เดนมาร์ก แคสเปอร์ สไมเกิล
2022–2023 ไอร์แลนด์เหนือ จอนนี เอฟวันส์
2023–ปัจจุบัน อังกฤษ เจมี วาร์ดี

ผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปี

[แก้]
ฤดูกาล ผู้ชนะ
1987–88 อังกฤษ สตีฟ วอล์ช
1988–89 อังกฤษ Alan Paris
1989–90 อังกฤษ Leoneil messi
1990–91 อังกฤษ Tony James
1991–92 อังกฤษ Gary Mills
1992–93 ไอร์แลนด์เหนือ Colin Hill
1993–94 อังกฤษ Simon Grayson
1994–95 อังกฤษ Kevin Poole
1995–96 อังกฤษ Garry Parker
1996–97 อังกฤษ Simon Grayson
1997–98 สกอตแลนด์ Matt Elliott
1998–99 อังกฤษ Tony Cottee
1999–2000 ไอร์แลนด์เหนือ Gerry Taggart
2000–01 เวลส์ Robbie Savage
 
ฤดูกาล ผู้ชนะ
2001–02 เวลส์ Robbie Savage
2002–03 สกอตแลนด์ Paul Dickov
2003–04 อังกฤษ เลส เฟอร์ดินานด์
2004–05 ออสเตรเลีย Danny Tiatto
2005–06 ไอซ์แลนด์ Joey Guðjónsson
2006–07 แคนาดา Iain Hume
2007–08 อังกฤษ ริชาร์ด สเตียร์แมน
2008–09 สกอตแลนด์ สตีฟ ฮาวเวิร์ด
2009–10 อังกฤษ Jack Hobbs
2010–11 อังกฤษ Richie Wellens
2011–12 เดนมาร์ก แคสเปอร์ สไมเกิล
2012–13 จาเมกา เวส มอร์แกน
2013–14 อังกฤษ แดนนี่ ดริงค์วอเตอร์
2014–15 อาร์เจนตินา เอสเตบัน กัมบิอัสโซ
ฤดูกาล ผู้ชนะ
2015–16 แอลจีเรีย ริยาฎ มะห์รัซ
2016–17 เดนมาร์ก แคสเปอร์ สไมเกิล
2017–18 อังกฤษ แฮร์รี แมไกวร์
2018–19 โปรตุเกส รีการ์ดู ปึไรรา
2019–20 อังกฤษ เจมี วาร์ดี
2020–21 เบลเยียม ยูรี ตีเลอมันส์
2021–22 อังกฤษ เจมส์ แมดดิสัน
2022–23 ไนจีเรีย เกเลชี อิเฮอานาชอ

ผู้เล่นฟุตบอลโลก

[แก้]

ผู้เล่นที่ลงเล่น 300 นัดขึ้นไปให้เลสเตอร์

[แก้]
     

ผู้เล่นที่ยิงประตู 50 ลูกขึ้นไปให้เลสเตอร์

[แก้]
     

เกียรติประวัติ

[แก้]

ระดับประเทศ

[แก้]

ระดับทวีปยุโรป

[แก้]

สถิติ

[แก้]
  • นักเตะที่ทำประตูได้ 11 นัดติดต่อกันใน 1 ฤดูกาล : เจมี วาร์ดี ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015
  • แชมป์พรีเมียร์ลีกที่มีมูลค่าทีมน้อยที่สุด
  • นักเตะที่เล่นให้เลสเตอร์ซิตีแล้วได้แชมป์ลีก 3 ดิวิชัน : แอนดี คิง
  • ผู้จัดการทีมที่ได้แชมป์พรีเมียร์ลีกเร็วที่สุด : เกลาดีโอ รานีเอรี โดยใช้ระยะเวลา 294 วัน ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 ถึง 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2016
  • สถิติแพ้น้อยที่สุดในประวัติศาศตร์ของสโมสรในหนึ่งฤดูกาลและสถิติแพ้นอกบ้านน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสรต่อการเล่นหนึ่งฤดูกาล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "King Power Stadium - Leicester - The Stadium Guide". web.archive.org. 2017-06-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-30. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. "Leicester rename Walkers Stadium". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  3. "10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ จิ้งจอกสยาม 137 ปี "เลสเตอร์ ซิตี้"". springnews. 2021-05-16.
  4. "The History of Leicester City Football Club". Leicester City Official Website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-21. สืบค้นเมื่อ 31 October 2013.
  5. "Leicester City | Club | History | The History Of Leicester City Football Club". web.archive.org. 2009-06-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-21. สืบค้นเมื่อ 2021-08-30.
  6. "English Division 1 (old) Betting | 1908/09 | Soccer Base". www.soccerbase.com.
  7. "All Time Leicester Records & Achievements | Soccer Base". www.soccerbase.com.
  8. "Leicester City 1934-1935 English Division One (old) Table - statto.com". web.archive.org. 2013-11-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-02. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  9. "FA Cup Betting | 1948/49 | Soccer Base". web.archive.org. 2013-11-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-02. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  10. "Leicester City 1948-1949 Results - statto.com". web.archive.org. 2013-11-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-02. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  11. "Leicester City 1953-1954 English Division Two (old) Table - statto.com". web.archive.org. 2013-11-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-02. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  12. "Queen of the South FC - Official Website". web.archive.org. 2013-10-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-20. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  13. "New Straits Times - Google ค้นคลังข่าว". news.google.com.
  14. "BBC SPORT | UEFA CUP | Red Star end Leicester dreams". news.bbc.co.uk.
  15. "Questions for Mr Davies". web.archive.org. 2016-03-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  16. "Leicester City put into administration" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2002-10-22. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  17. "Mandaric seals Leicester takeover" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2007-02-13. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  18. "Sousa confirmed as Leicester boss" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2010-07-07. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  19. "Raksriaksorn named Foxes chairman" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2011-02-10. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  20. "Pearson appointed Leicester boss". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  21. "Leicester City 5-3 Manchester United". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  22. "Sunderland vs Leicester City reaction: Foxes secure perhaps the". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2015-05-17.
  23. "Leicester City Parts Company With Nigel Pearson". web.archive.org. 2015-06-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-30. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  24. "Leicester sack manager Pearson". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  25. "Pearson sacking linked to son's exit". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  26. "Ranieri appointed Leicester manager". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  27. "Vardy breaks goalscoring record". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  28. "Leicester win Premier League title". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  29. "Leicester celebrate first title after Chelsea recover for Tottenham draw". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2016-05-02.
  30. Rayner, Gordon; Brown, Oliver (2016-05-02). "Leicester City win Premier League and cost bookies biggest ever payout". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  31. "The 5,000-1 payouts on Leicester only tell part of Premier League betting story | Greg Wood". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2016-05-03.
  32. "Bookies set to hand over £15m if Leicester win title". ITV News (ภาษาอังกฤษ). 2016-05-02.
  33. "Leicester's Premier League triumph considered the greatest ever sporting upset | Football News | Betting Tips, Live Scores, Transfer News | Sporting Life". web.archive.org. 2016-05-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-03. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  34. "Why Leicester City could become biggest long-shot champion in sports history". web.archive.org. 2016-05-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-03. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  35. Bevan, David "The Unbelievables: The Amazing Story of Leicester's 2015/16 Season", 30 June 2016.
  36. Bull, J. J. (2016-12-21). "The return of 4-4-2, non-striking strikers and keepers who can play: The tactical trends of 2016". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  37. "No Foxes title without Kante - Lineker". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  38. "Bayern Munich plot Kane move - Monday's gossip". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  39. "Leicester City 3-1 Liverpool". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  40. "Craig Shakespeare Takes Charge Of Leicester City Until The End Of The Season". www.lcfc.com (ภาษาอังกฤษ).
  41. "Champions League (Sky Sports)". SkySports (ภาษาอังกฤษ).
  42. "Leicester City 1-1 Atlético Madrid". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  43. "Shakespeare named Leicester manager". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
  44. "Leicester City helicopter crash pilot families sue rotor company". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-10-29. สืบค้นเมื่อ 2022-09-07.
  45. Limited, Bangkok Post Public Company. "King Power chief Vichai feared dead in helicopter crash". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-07.
  46. "Leicester City crash victims 'had minimal opportunity to escape'". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2018-11-06.
  47. "Aiyawatt Srivaddhanaprabha Named Leicester City Chairman". www.lcfc.com (ภาษาอังกฤษ).
  48. "Premier League: Ruthless Leicester City rout Southampton 9-0 to notch joint biggest away win in league history-Sports News , Firstpost". Firstpost (ภาษาอังกฤษ). 2019-10-26.
  49. Blackwell, Jordan; Watson, Chris (2020-07-26). "Leicester 0-2 Man Utd - report and reaction as Foxes miss out". LeicestershireLive (ภาษาอังกฤษ).
  50. Pegden, Tom (2022-02-17). "LCFC owners stand with club after revealing extent of Covid losses". Business Live (ภาษาอังกฤษ).
  51. Henson, Ethan (2022-08-03). "A nightmarish transfer window for Leicester City". Foxes of Leicester (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  52. Blackwell, Jordan (2023-03-08). "Leicester City's finances, the summer window and Maddison's future explained". Leicestershire Live (ภาษาอังกฤษ).
  53. "Leicester sack Rodgers after Crystal Palace loss". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-04-03.
  54. "เลสเตอร์ ซิตี้ ประกาศแต่งตั้ง ดีน สมิธ ทำหน้าที่ผู้จัดการทีม". www.lcfc.com (ภาษาอังกฤษ).
  55. Fisher, Ben (2023-05-28). "Leicester relegated from Premier League despite victory over West Ham". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-11-06.
  56. Grez, Matias (2023-05-28). "Premier League: Everton avoids relegation on dramatic final day as Leicester City and Leeds United drop down to Championship". CNN (ภาษาอังกฤษ).
  57. "เลสเตอร์ ซิตี้ ประกาศแต่งตั้ง เอ็นโซ่ มาเรสก้า เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่". www.lcfc.com (ภาษาอังกฤษ).
  58. "จิ้งจอกสยาม บุกชนะ หงส์ขาว นำจ่าฝูงต่อ". www.lcfc.com (ภาษาอังกฤษ).
  59. "Leicester City: Matt Piper on a 'wonderful' season". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2024-05-06.
  60. "Steve Cooper: Why Leicester City boss was sacked five months into reign". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2024-11-24.
  61. Tanner, Rob; Davis, Callum. "Leicester City sack manager Steve Cooper after defeat by Chelsea". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2024-11-27.
  62. www.lcfc.com https://www.lcfc.com/pages/en/media-article/leicester-city-name-ruud-van-nistelrooy-as-new-first-team-manager. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  63. Sinclair, John (17 February 2007). "Leicester v Coventry". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 2009-06-17.
  64. "LCFC Men". Leicester City F.C. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2017. สืบค้นเมื่อ 23 July 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]