ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลชาร์ลตันแอธเลติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาร์ลตันแอธเลติก
Charlton Athletic
ชื่อเต็มCharlton Athletic Football Club
ฉายาThe Addicks
ดาบอัศวิน (ภาษาไทย)
ก่อตั้งค.ศ. 1905
สนามเดอะ วัลเลย์
ลอนดอน
ความจุ27,798 คน
เจ้าของโรลังด์ ดูชาเตอเลต์ เบลเยียม
ประธานริชาร์ด อลัน เมอร์เรย์ อังกฤษ
ผู้จัดการJohnnie Jackson อังกฤษ
ลีกลีกวัน
2018–19อันดับที่ 3 ในลีกวัน (เลื่อนชั้นผ่านการเพลย์ออฟ)
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลชาร์ลตันแอธเลติก เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพของอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1905 ตั้งอยู่ในย่านชาร์ลตัน ในเขตการปกครองกรีนิช ทางตะวันออกเฉียงใต้ของลอนดอน สัญลักษณ์เป็นรูปมือถือดาบ โดยมีฉายาในประเทศไทยว่า ดาบอัศวิน ปัจจุบันเล่นอยู่ในระดับ ฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป

โดยสโมสรฟุตบอลชาร์ลตัน แอธเลติก ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ.1905 เมื่อสโมสรฟุตบอลระดับเยาวชนในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของลอนดอน รวมถึงย่านอีสต์ สตรีท และบลุนเดลล์ ได้รวมตัวกันก่อตั้งสโมสรขึ้นมาใหม่ในชื่อ ชาร์ลตัน แอธเลติก โดยมีสนาม ซีเมนส์ มีโดว์ เป็นสนามเหย้าแห่งแรก จากนั้นสโมสรได้เปลี่ยนสนามเหย้าอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1919 ได้ใช้สนาม เดอะ วัลเลย์ เป็นสนามเหย้าจนถึงปัจจุบัน

ชุดแข่งขันของสโมสรจะใช้เสื้อสีแดง กางเกงสีขาว และถุงเท้าสีแดง โดยมีไนกี้เป็นผู้ผลิต สโมสรมีฉายาในภาษาอังกฤษว่า ดิ แอดดิกส์ (The Addicks) โดยที่สื่อกีฬาในประเทศไทยตั้งฉายาให้ว่า ดาบอัศวิน และเป็นฉายาที่นิยมเรียกกันในประเทศไทย

ชาร์ลตัน แอธเลติก ได้รับสถานะเป็นสโมสรฟุตบอลระดับอาชีพในปี ค.ศ.1920 และเข้าสู่ระบบฟุตบอลลีก ในปี ค.ศ.1921 นับตั้งแต่ช่วงเวลาดังกล่าวสโมสรได้อยู่บนลีกสูงสุดของอังกฤษทั้งสิ้น 4 ยุคด้วยกัน ได้แก่ ช่วงปี ค.ศ. 1936–1957, 1986–1990, 1998–1999 และ 2000–2007

ในประวัติศาสตร์ของสโมสรฟุตบอลชาร์ลตัน แอธเลติก ถือได้ว่าสโมสรประสบความสำเร็จสูงที่สุดในยุค 1930 เมื่อได้ตำแหน่งรองแชมป์ดิวิชัน 1 (เดิม) ในฤดูกาล 1936–37 และหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สโมสรเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ 2 ครั้ง โดยได้รองแชมป์เอฟเอคัพ ในปี 1946 และคว้าแชมป์ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1947 เมื่อสามารถเอาชนะสโมสรฟุตบอลเบิร์นลีย์ ในรอบชิงชนะเลิศ ที่สนามกีฬาเวมบลีย์

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]
ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2015.[1][2]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน ฤดูกาล 2015–16

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK สาธารณรัฐไอร์แลนด์ สตีเฟน เฮนเดอร์สัน (กัปตัน ลำดับ 3)
3 MF แอลจีเรีย อาเหม็ด คาชี
4 FW อัฟกานิสถาน มาริโอ ซิลวา (กัปตัน)
5 DF เยอรมนี แพททริก เบาเออร์
6 DF ฝรั่งเศส มูอามาดู นาบี ซาร์
7 MF ไอซ์แลนด์ โยฮันน์ เบิร์ก กุดมุนด์สัน
8 MF อังกฤษ จอร์แดน คูซินส์
9 FW เดนมาร์ก ไซมอน มาคีนอค (ยืมตัวจาก ปาแลร์โม)
10 MF สเปน คริสเตียน เซบัลลอส
12 DF ฝรั่งเศส อาลู ดิยารา
14 FW แองโกลา อิกอร์ เวโตเกเล
16 FW อิหร่าน เรซา กูชานเนจฮัด
17 DF อังกฤษ ทาริก โฮล์ม-เดนนิส
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
18 FW อังกฤษ คาร์ลัน อะเฮียเน-แกรนต์
19 DF โมร็อกโก ซาคาร์ยา เบิร์กดิช
20 DF อังกฤษ คริส โซลลี
21 DF เวลส์ มอร์แกน ฟอกซ์
22 MF ฝรั่งเศส เอล ฮัดจิ บา
24 MF อังกฤษ เรแกน ชาร์ลส์-คุ้ก
27 GK บัลแกเรีย ดิมิทาร์ มิตอฟ
28 FW อังกฤษ คอเนอร์ แม็คอะเลียนี (ยืมตัวจาก เอฟเวอร์ตัน)
30 GK อังกฤษ นิค โป๊ป
32 FW สกอตแลนด์ โทนี วัตต์
44 MF เบลเยียม ฟรองก์ มูซา
-- FW โรมาเนีย จอร์จ ตูคูดีน

ยืมตัวไปทีมอื่น

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
-- GK อังกฤษ ดิลลอน ฟิลลิปส์ (ไป เชลต์นัม ทาวน์ ถึง 2 มกราคม 2016)
-- GK เซอร์เบีย มาร์โก ดีมิโตรวิช (ไป อัลคอร์คอน ถึง 30 มิถุนายน 2016)
-- DF อังกฤษ อะโย โอบิเลเย (ไป ดาเกแนม แอนด์ เรดบริดจ์ ถึง 2 มกราคม 2016)
-- FW กานา แซค อันซาห์ (ไป นิวพอร์ต เคาน์ตี)
34 DF อังกฤษ เทเรล โธมัส (ไป โวคกิง ถึง 3 ตุลาคม 2015)
26 DF อังกฤษ แฮร์รี เลนนอน (ไป จิลลิงแฮม ถึง 2 พฤศจิกายน 2015)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
11 MF อังกฤษ คัลลัม แฮร์ริออต (ไป โคลเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ถึง 2 มกราคม 2016)
23 FW อังกฤษ โจ พิกอตต์ (ไป เซาท์เอนด์ ยูไนเต็ด ถึง 2 มกราคม 2016)
-- FW โปแลนด์ ปีเตอร์ พาร์ซิสเซค (ไป แรนเดอส์ เอฟซี ถึง 30 มิถุนายน 2016)
-- FW อังกฤษ โทบี โช-ซิลวา (at อินเวอร์เนส คาเลโดเนียน ถึง 1 มกราคม 2016)

ผู้เล่นชุดอายุต่ำกว่า 21 ปี

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
-- DF อังกฤษ อารอน บาร์นส์
-- DF อังกฤษ อาชี เอ็ดเวิร์ดส์
-- DF อังกฤษ โจช สตอนตัน
33 MF อังกฤษ โอลิเวอร์ มัลดูน
-- MF อังกฤษ โจ อะรีโบ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
-- MF อังกฤษ อเล็กซ์ เคลลี
31 FW ไอร์แลนด์เหนือ มิกาอิล เคนเนดี
-- FW อังกฤษ แบรนดอน แฮนแลน
35 FW อังกฤษ โจชัว อูเมราห์


ผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีของสโมสร

[แก้]
ปี ผู้เล่น สัญชาติ
1971 พอล เวนต์ อังกฤษ
1972 คีธ พีค็อก อังกฤษ
1973 อาร์เทอร์ ฮอร์สฟิลด์ อังกฤษ
1974 จอห์น ดันน์ อังกฤษ
1975 ริชี โบว์แมน อังกฤษ
1976 ดีเรค เฮลส์ อังกฤษ
1977 ไมค์ ฟลานาแกน อังกฤษ
1978 คีธ พีค็อก อังกฤษ
1979 คีธ พีค็อก อังกฤษ
1980 เลส แบร์รี อังกฤษ
 
ปี ผู้เล่น สัญชาติ
1981 นิคกี จอห์นส์ อังกฤษ
1982 เทอร์รี เนย์เลอร์ อังกฤษ
1983 นิคกี จอห์นส์ อังกฤษ
1984 นิคกี จอห์นส์ อังกฤษ
1985 มาร์ค ไอเซิลวูด เวลส์
1986 มาร์ค ไอเซิลวูด เวลส์
1987 บ็อบ โบลเดอร์ อังกฤษ
1988 จอห์น ฮัมฟรีย์ อังกฤษ
1989 จอห์น ฮัมฟรีย์ อังกฤษ
1990 จอห์น ฮัมฟรีย์ อังกฤษ
 
ปี ผู้เล่น สัญชาติ
1991 โรเบิร์ต ลี อังกฤษ
1992 ไซมอน เว็บสเตอร์ อังกฤษ
1993 สจ๊วต บัลเมอร์ สกอตแลนด์
1994 คาร์ล ลีเบิร์น อังกฤษ
1995 ริชาร์ด รูฟัส อังกฤษ
1996 จอห์น โรบินสัน เวลส์
1997 แอนดี เพทเทอร์สัน ออสเตรเลีย
1998 มาร์ค คินเซลลา สาธารณรัฐไอร์แลนด์
1999 มาร์ค คินเซลลา สาธารณรัฐไอร์แลนด์
2000 ริชาร์ด รูฟัส อังกฤษ
 
ปี ผู้เล่น สัญชาติ
2001 ริชาร์ด รูฟัส อังกฤษ
2002 ดีน ไคลี สาธารณรัฐไอร์แลนด์
2003 สก็อต พาร์กเกอร์ อังกฤษ
2004 ดีน ไคลี สาธารณรัฐไอร์แลนด์
2005 ลุค ยัง อังกฤษ
2006 ดาร์เรน เบนต์ อังกฤษ
2007 สกอตต์ คาร์สัน อังกฤษ
2008 แม็ตต์ ฮอลล์แลนด์ สาธารณรัฐไอร์แลนด์
2009 นิคกี ไบลีย์ อังกฤษ
2010 คริสเตียน เดลลี สกอตแลนด์
 
ปี ผู้เล่น สัญชาติ
2011 ฌูแซ เซเมดู โปรตุเกส
2012 คริส โซลลี อังกฤษ
2013 คริส โซลลี อังกฤษ
2014 เดียโก โปเยต์ อุรุกวัย
2015 จอร์แดน คูซินส์ อังกฤษ

ชุดที่แข่งใช้และผู้สนับสนุน

[แก้]

[3]

ปี ผู้ผลิต ผู้สนับสนุนหลัก
บนเสื้อ หลังเสื้อ ผู้สนับสนุนบนกางเกง
1974–80 บัคตา สหราชอาณาจักร ไม่มี ไม่มี
1980–81 อาดิดาส เยอรมนี
1981–82 FADS
1982–83 ไม่มี
1983–84 Osca
1984–86 The Woolwich
1986–88 อาดิดาส เยอรมนี
1988–92 แอดมิรัล สหราชอาณาจักร
1992–93 ริเบโร สหราชอาณาจักร ไม่มี
1993–94 Viglen
1994–98 Quaser
1998–00 เลอ ค็อก สปอร์ติฟ ฝรั่งเศส MESH
2000–02 Redbus
2002–03 All:Sports
2003–05 โจมา สเปน
2005–08 Llanera
2008–09 Carbrini Sportswear
2009 Kent Reliance Building Society
2010–12 มาครอน อิตาลี
2012–14 ไนกี้ สหรัฐ Andrews Sykes
2014– มหาวิทยาลัยกรีนวิช Andrews Sykes มิตซูบิชิ อิเล็คทรอนิกส์ ญี่ปุ่น

อ้างอิง

[แก้]
  1. "First-team profiles". Charlton Athletic F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-02. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2012.
  2. "2013/14 squad numbers revealed". Charlton Athletic F.C. 27 กรกฎาคม 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-27. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2013.
  3. "Charlton Athletic". Historical Football Kits. สืบค้นเมื่อ 16 June 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]