ข้ามไปเนื้อหา

สแต็ก (กีฬา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาสแต็ค
สแต็กเรียงซ้อนแบบ 1–10–1
สมาพันธ์สูงสุดInternational Sport Stacking Federation (ISSF) สหพันธ์กีฬาสแต็คนานาชาติ
ชื่ออื่นกีฬาสแต็ค
เล่นครั้งแรก1981, โอเชียนไซด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ[1]
ผู้เล่นที่ขึ้นทะเบียนhttps://issf.online/ISSF-international/mobile/


618,394 (จำนวนผู้เข้าร่วมทั่วโลกกินเนสส์บุ๊กปี 2015)[2]
ลักษณะเฉพาะ
การปะทะไม่
ผู้เล่นในทีมเดี่ยว, คู่, ทีม 4-5 คน
แข่งรวมชายหญิงใช่ แข่งแยกกัน
หมวดหมู่ในร่ม กลางแจ้ง
อุปกรณ์แก้ว, แผ่นรอง, ตัวจับเวลา
จัดแข่งขัน
ประเทศ ภูมิภาคทั่วโลก
โอลิมปิกAAU Junior Olympic Games

สแต็ค (อังกฤษ: sport stacking, cup stacking, speed stacking, flash cup, cheetah cup, stack titan) คือกีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง เกี่ยวข้องกับการเรียงแก้วหรือถ้วยพลาสติกที่ออกแบบมาพิเศษ ตามรูปแบบลำดับเฉพาะ โดยใช้เวลาให้น้อยที่สุด ซึ่งปัจจุบันกีฬาสแต็คได้เปิดกว้างและจัดการแก้ปัญหาเรื่องการผูกขาดทางธุรกิจอุปกรณ์กีฬา โดยการนำขององค์กรจัดตั้งเพื่อกำกับดูแลอย่างเป็นธรรมที่มีชื่อว่า สหพันธ์กีฬาสแต็คนานาชาติ (International Sport Stacking Federation)

ซึ่งแต่เดิมมี สมาคมกีฬาสแต็คโลก (World Sport Stacking Association: WSSA)[3] เป็นผู้เริ่มต้น แต่มีเงื่อนไขการผูกขาดของยี่ห้ออุปกรณ์กีฬา จึงได้มีองค์กรที่กำกับดูแลกีฬาสแต็ค 2 องค์กรหลักที่ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศในปัจจุบัน


ผู้เข้าร่วมการแข่งขันสแต็คจะต้องเรียงซ้อนแก้วพลาสติกในลำดับที่กำหนดมาแล้ว ตัดสินแพ้ชนะโดยการจับเวลา ลำดับนั้นมักจะเป็นการเรียงซ้อนในรูปแบบพีระมิดแบบสามใบ หกใบ หรือสิบใบ กีฬานี้ทำให้เกิดประชาคมขนาดใหญ่ในยูทูบ ซึ่งผู้เล่นสแต็กจะอัปโหลดวิดีโอในเวลาที่ทำได้เร็วที่สุดของตนแบ่งปันให้ผู้อื่น

ประวัติ

[แก้]

กีฬานี้เดิมเป็นกิจกรรมชนิดหนึ่งในสมาคมเพื่อเด็กหญิงและเด็กชายแห่งอเมริกา (Boys & Girls Clubs of America) ในแคลิฟอร์เนียใต้ และได้รับความสนใจระดับชาติเมื่อ พ.ศ. 2533 ในรายการโทรทัศน์ เดอะทูไนต์โชว์สตาร์ริงจอห์นนี คาร์สัน (The Tonight Show starring Johnny Carson) [4] กีฬานี้คิดค้นโดยเวย์น กอดิเนต (Wayne Godinet) [5] ผู้ซึ่งแนะนำรูปแบบแรกสุดของการจัดเรียงและเรียกขานกีฬานี้ว่า "คารังโกคัปสแต็ก" (Karango Cup Stack) ในเวลาไม่นานกอดิเนตก็ได้รวมกลุ่มผู้เล่นในชื่อกลุ่มคัปสแต็ก หลังจากนั้น บ็อบ ฟอกซ์ (Bob Fox) ครูพละศึกษาได้นำกิจกรรมนี้มาพัฒนาให้เป็นกีฬาโดยกำหนดกฎกติกา และก่อตั้งสมาคมกีฬาสแต็กโลกขึ้นมาเพื่อดูแล เขายังก่อตั้งบริษัทสปีดสแต็กส์ (Speed Stacks) ร่วมกับหุ้นส่วน แลร์รี โกเออส์ (Larry Goers) เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์กรรมสิทธิ์ที่เกี่ยวกับกีฬาสแต็ก รวมทั้งระบบจับเวลาที่จดสิทธิบัตรแล้วเรียกว่า สแต็กแมต (StackMat) ซึ่งนำไปใช้ในการแข่งขันปั่นลูกบาศก์ (speedcubing) ด้วย

การแข่งขันครั้งแรก ๆ ของกิจกรรมนี้จัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2541 ที่โอเชียนไซด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย และเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด ปัจจุบันสมาคมกีฬาสแต็กโลกเป็นผู้จัดการการแข่งขันระดับโลกทั้งหมด ซึ่งครั้งแรกแนะนำโดยบ็อบ ฟอกซ์ [6] เมื่อ พ.ศ. 2547 สมาคมเปลี่ยนชื่อกีฬานี้จาก cup stacking เป็น sport stacking ซึ่งอธิบายถึงความพยายามกำหนดให้เป็น "กีฬาแข่งขันชนิดหนึ่ง"

สมาคมกีฬาสแต็คประเทศไทย เป็นผู้เดียวที่ได้รับสิทธิในการจัดการแข่งขันกีฬาสแต็กในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2551 สมาคมนี้เป็นผู้จัดหาคัดเลือกตัวแทนของประเทศไทยเพื่อไปแข่งขันในระดับโลกต่อไปและเป็นกีฬาที่หลายประเทศชื่นชอบมาก

รูปแบบการแข่งขันทางการ

[แก้]

รูปแบบการแข่งขันกีฬาสแต็ก

  • แบบทั่วไป : 3-3-3, 3-6-3 และ Cycle
  • แบบพิเศษ : เล่นคู่และเล่นเป็นทีม

อ้างอิง

[แก้]
  1. Filippe, Lynn (1990-12-20). "In Their Cups and Proud of It". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2015-07-02.
  2. "2015 WSSA STACK UP!". World Sport Stacking Association. 2015-11-12. สืบค้นเมื่อ 2015-11-25.
  3. "สมาคมกีฬาสแต็กโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-08. สืบค้นเมื่อ 2021-08-30.
  4. "Cup stacking, street credibility". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 2008-12-11.
  5. "The stacks of life - Offbeat sport developed in Oceanside teaches lessons and improves dexterity". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-13. สืบค้นเมื่อ 2008-12-11.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-30. สืบค้นเมื่อ 2010-09-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]