สุภาพร กำเนิดผล
สุภาพร กำเนิดผล | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 16 มกราคม พ.ศ. 2565 (2 ปี 338 วัน) | |
ก่อนหน้า | ถาวร เสนเนียม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 มกราคม พ.ศ. 2525 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | เดชอิศม์ ขาวทอง |
ชื่อเล่น | น้ำหอม |
สุภาพร กำเนิดผล (เกิด 17 มกราคม พ.ศ. 2525) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 2 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
ประวัติ
[แก้]สุภาพร กำเนิดผล เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2525 เป็นบุตรีของ นายวีระพนธ์ และ นางชนานาถ กำเนิดผล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา[1] สมรสกับเดชอิศม์ ขาวทอง และมีธิดา 2 คน
งานการเมือง
[แก้]สุภาพรเข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นเลขานุการของอนุมัติ อาหมัด ขณะดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสงขลา จากนั้นเข้ารับตำแหน่งเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาในช่วงปลาย พ.ศ. 2563[2]
ปลาย พ.ศ. 2564 เมื่อถาวร เสนเนียม ต้องพ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ สุภาพรได้รับคัดเลือกจากพรรคประชาธิปัตย์ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมแทนถาวรในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขต 6 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2565 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งดังกล่าว ซึ่งสุภาพรเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีคนแรกของจังหวัดสงขลา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]สุภาพร กำเนิดผล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขต 6 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2565 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[3]
- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นางสาวสุภาพร กำเนิดผล
- ↑ เปิดประวัติพลิกปูม "น้ำหอม" สุภาพร กำเนิดผล ว่าที่ ส.ส.สงขลา เขต 6
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๖, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖