สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ
สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ | |
---|---|
สุณัฐชา ใน พ.ศ. 2562 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 234 วัน) | |
ก่อนหน้า | สมชาย โล่สถาพรพิพิธ |
รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (0 ปี 340 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 มีนาคม พ.ศ. 2534 อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2555–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | จักรดุลย์ แซ่ลิ่ม |
ชื่อเล่น | ท่ามเฮง |
สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ (เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2534) ชื่อเล่น ท่ามเฮง เป็นรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง เขต 3 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 2 สมัย และอดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
ประวัติ
[แก้]สุณัฐชา เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2534 เกิดที่อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นบุตรสาวของนายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ นางรัชดาพร โล่สถาพรพิพิธ ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนายจักรดุลย์ แซ่ลิ่ม นักธุรกิจชาวจังหวัดสงขลา
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท 2 ใบ ได้แก่ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประกันภัย (เกียรตินิยมดี) จาก วิทยาลัยควีนแมรี มหาวิทยาลัยลอนดอน และ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (เกียรตินิยมดีมาก) จาก มหาวิทยาลัยเคนต์[1]
งานการเมือง
[แก้]สุณัฐชา เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็น เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง ในสมัยที่นายกิจ หลีกภัย ดำรงตำแหน่ง[2] ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อายุน้อยที่สุดในภาคใต้ และเป็นสุภาพสตรีคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง
ในปี 2565 เธอได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[3]
และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เธอยังได้รับเลือกตั้งอีกเป็นสมัยที่ 2 นอกจากนี้ยังได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ
- ↑ สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ เผยความในใจ “กว่าจะได้เป็น…ผู้แทน”
- ↑ ประชาธิปัตย์ ไฟเขียว สุณัฐชา-ฮูวัยดีย๊ะ นั่ง กก.บห. คนใหม่
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2534
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดตรัง
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศิษย์เก่าจากวิทยาลัยควีนแมรี มหาวิทยาลัยลอนดอน
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเคนต์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.