สุกิจ อัถโถปกรณ์
สุกิจ อัถโถปกรณ์ | |
---|---|
สุกิจ ใน พ.ศ. 2563 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2529–ปัจจุบัน) |
นายแพทย์ สุกิจ อัถโถปกรณ์ (เกิด 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2496) อดีตที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายชวน หลีกภัย)[1] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง 3 สมัย
ประวัติ
[แก้]นายแพทย์ สุกิจ อัถโถปกรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานการเมือง
[แก้]อดีตเคยรับราชการเป็นนายแพทย์ที่โรงพยาบาลตรัง และ เปิดคลีนิคส่วนตัว ต่อมาลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้ง
พ.ศ. 2549 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และได้รับเลือกตั้ง แต่ทำหน้าที่ได้เพียง 5 เดือนเท่านั้นก็ต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยการถูกรัฐประหาร
นายแพทย์ สุกิจ กลับมาลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง ใน พ.ศ. 2550 และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมารวม 3 สมัย[2] เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดตรังในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[3] ก่อนที่จะวางมือทางการเมือง หลังจากที่พ่ายแพ้การเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]นายแพทย์ สุกิจ อัถโถปกรณ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
สมาชิกวุฒิสภา
[แก้]นายแพทย์ สุกิจ อัถโถปกรณ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภามาแล้ว 1 สมัย คือ
เครื่อราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- บุคคลจากอำเภอเมืองตรัง
- แพทย์ชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดตรัง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตรัง
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนวิเชียรมาตุ
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- นิสิตเก่าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.