นรธาเมงสอ
นรธาเมงสอ | |
---|---|
พระเจ้าเชียงใหม่ ภายใต้การปกครองของพม่า | |
ครองราชย์ | 28 มกราคม พ.ศ. 2122 – 2150 |
ราชาภิเษก | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2122 |
ก่อนหน้า | พระนางวิสุทธิเทวี |
ถัดไป | พระช้อย |
ประสูติ | พ.ศ. 2094/5 ตองอู |
พิราลัย | พ.ศ. 2150 เวียงเชียงใหม่ แคว้นล้านนา |
ฝังพระศพ | วัดกู่เต้า |
มเหสี | พระนางสิ่นผยู่ฉิ่งแหม่ด่อ[1] |
พระราชบุตร | โยธยามิบะยา[1] (บาเยงนมะด่อ) พระธิดา พระมเหสีในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระทุลอง (มิงตาตุลอง) พระโอรส พระชัยทิพ (มิงแยทิปปะ) พระโอรส พระช้อย (สโดจอ) พระโอรส มิงแย นรธา พระโอรส เจ้าเมืองพินยา ขิ่งมแวมิ พระธิดา มิงอะ-ลัต พระธิดา มิงอะ-ทเว พระธิดา มิงอะ-เง พระธิดา ฉิ่งแม-ควา พระธิดา มเหสีพระหน่อแก้วกุมารแห่งล้านช้าง ฉิ่งซา พระโอรส |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ตองอู |
พระราชบิดา | พระเจ้าบุเรงนอง |
พระราชมารดา | พระนางราชเทวีแห่งหงสาวดี[2][3] |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
นรธาเมงสอ[3] หรือ นรทามางจอ[4] (พม่า: နော်ရထာ မင်းစော, ออกเสียง: [nɔ̀jətʰà mɪ́ɰ̃ sɔ́] นอยะทามี่นซอ) หรือ สาวัตถีนรถามังคะยอ[5] (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่) หรือ เมงซานรธามังคุย[6] (พงศาวดารโยนก) พระนามเดิมว่ามังสาจัจ (မင်းသားစစ်)[ต้องการอ้างอิง] เป็นพระเจ้าเชียงใหม่ผู้ปกครองแคว้นล้านนา ในช่วง พ.ศ. 2121–2150 (29 ปี) พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าบุเรงนองกับพระนางราชเทวีแห่งหงสาวดี ที่ส่งมาปกครองล้านนา จนกระทั่ง พ.ศ. 2127 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงประกาศอิสรภาพจากพม่า จึงทรงพยายามรวบรวมแผ่นดินอีกครั้ง พระองค์ทรงตีแคว้นล้านนาได้ทั้งหมด นรธาเมงสอต่อสู้มิได้ จึงทรงยอมสวามิภักดิ์เป็นประเทศราชในปี พ.ศ. 2139 แต่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ทรงให้นรธาเมงสอปกครองต่อไป อย่างไรก็ตาม พระองค์ได้ถวายพระธิดาเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วย โดยปรากฏในโคลงบทที่ 21 ความว่า
นอเรศขอเจื่องเจ้า | สาวกระสัตร | |
เทียมแท่นเสวยสมบัติ | โกถเคล้า | |
แล้วเล่าลูกชายถัด | เป็นแขก เขรยเอย | |
หวังว่าจักบางเส้า | เล่าซ้ำแถมถม ฯ[7] |
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
[แก้]มีนักแสดงผู้รับบท นรธาเมงสอ ได้แก่
- ณพสิทธิ์ เที่ยงธรรม จากละครเรื่อง กษัตริยา (2546)
- ชลิต เฟื่องอารมย์ จากภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (2550 – 2558)
- สุรจิต บุญญานนท์ จากละครเรื่อง ขุนศึก (2555)
- ปวริศร์ มงคลพิสิฐ จากภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ (2560)
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของนรธาเมงสอ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 กิตติ วัฒนะมหาตม์. ตำนานนางกษัตริย์. กรุงเทพฯ:สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2553. หน้า 234 ISBN 978-974-341-666-8
- ↑ สุเนตร ชุตินธรานนท์. "พระวิสุทธิเทวี กษัตรีย์แห่งล้านนา". ขัตติยานีศรีล้านนา. เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ บรรณาธิการ (เชียงใหม่:วิทอินดีไซน์,2547) หน้า 64
- ↑ 3.0 3.1 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2553. 634 หน้า. หน้า 276-279. ISBN 978-974-8132-15-0
- ↑ นายต่อ (แปล). มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์, 2562, หน้า 434
- ↑ คณะอนุกรรมการตรวจสอบและชำระตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, 2538. 320 หน้า. หน้า 96-7. ISBN 974-8150-62-3
- ↑ พระยาประชากิจกรจักร. พงศาวดารโยนก. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2557. 496 หน้า. หน้า 390-393. ISBN 978-616-7146-62-1
- ↑ สิงฆะ วรรณสัย, ปริวรรต, โคลงเรื่อง มังทรารบเชียงใหม่, หน้า 14
ก่อนหน้า | นรธาเมงสอ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระนางวิสุทธิเทวี | พระเจ้าเชียงใหม่ (พ.ศ. 2121–2139 (ใต้การปกครองของพม่า) พ.ศ. 2139–2150 (ใต้การปกครองของอยุธยา)) |
พระช้อย (ครั้งที่ 1) |