ข้ามไปเนื้อหา

สารประกอบอะลิฟาติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สารประกอบแอลิฟาติก)

สารประกอบอะลิฟาติก (อังกฤษ: Aliphatic Compound IPA: [ˌæləˈfætɪk]; G. aleiphar, fat, oil) คือสารประกอบในศาสตร์เคมีอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอนและไฮโดรเจน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอน) ประเภทที่ไม่มีวงอะโรมาติก[1] สารประกอบอะลิฟาติกสามารถประกอบด้วยวง (cyclic) เช่นไซโคลเฮกเซนหรืออไซคลิก สารประกอบอาจอยู่ในรูปอิ่มตัว เช่น เฮกเซนหรือไม่อิ่มตัว เช่น เฮกซีน ก็ได้

ในสารประกอบอะลิฟาติก อะตอมของคาร์บอนจะสร้างพันธะแก่กันอาจอยู่ในแบบโซ่ตรง (straight chains), โซ่กิ่ง (branched chains), หรือไม่เป็นวงอะโรมาติกก็ได้ (อะลิไซคลิก) และอาจสร้างพันธะเดี่ยว (แอลเคน), พันธะคู่ (แอลคีน) หรือพันธะสาม (แอลไคน์) นอกเหนือจากไฮโดรเจนนั้น ยังมีอะตอมของธาตุอื่นๆสามารถสร้างพันธะกับคาร์บอนได้ โดยส่วนมากจะได้แก่อะตอมของออกซิเจน, ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ และโคลรีน

สารประกอบอะลิฟาติกอย่างง่ายที่สุดคือมีเทน (CH4) อะลิฟาติกยังรวมไปถึงสารจำพวกแอลเคน อาทิ พาราฟิน ไฮโดรคาร์บอน, แอลคีน อาทิ เอทิลีน และแอลไคน์ เช่น อะเซทิลีน กรดไขมัน ซึ่งจะประกอบด้วยอะลิฟาติกแบบไม่มีกิ่งต่อเข้ากับหมู่คาร์บอกซิล


ตัวอย่าง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. IUPAC, Compendium of Chemical Terminology, 2nd ed. (the "Gold Book") (1997). Online corrected version:  (1995) "Aliphatic compounds".