สามเจ้าผู้พรอง
สามเจ้าผู้พรอง[1] (พรอง แปลว่า "ปกครอง") เป็นตำแหน่งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของอาณาจักรอาหม มีทั้งหมดสามตำแหน่งจึงเรียกกันว่า "สามเจ้าผู้พรอง" เรียงตามลำดับดังนี้
- เจ้าพรองเมือง[1] (อังกฤษ: Burhagohain) ปกครองดินแดนทางตอนบนของแม่น้ำทีเคาถึงเมืองซาดียา (Sadia)
- เถ้าเมืองหลวง[1] (อังกฤษ: Borgohain) ปกครองดินแดนทางตอนใต้ของแม่น้ำทีเคาจนถึงโกลีอาบอร์ (Koliabor)
- เจ้าสึงหลวง[1] (อังกฤษ: Barpatragohain) ปกครองตั้งแต่ทิวเขาทาฟารา (Dafara) แถบลุ่มน้ำพรหมบุตร และระหว่างเมืองเคเรลัวกับแม่น้ำปิจาลัว
ประวัติ
[แก้]สามเจ้าผู้พรองจะผูกขาดอยู่แต่ในบุคคลตระกูลเดียวกันตามปกติตำแหน่งนี้สืบจากบิดาจนถึงบุตร แต่กษัตริย์ก็ทรงมีสิทธิที่จะเลือกสมาชิกคนหนึ่งคนใดในตระกูลนั้นแทนก็ได้หรืออาจจะปลดขุนนางออกก็ทรงทำได้ แต่เดิมเมื่อก่อตั้งอาณาจักรอาหมเจ้าหลวงเสือก่าฟ้าทรงสถาปนาตำแหน่งนายทหารชั้นผู้ใหญ่สองตำแหน่ง คือ เถ้าเมืองหลวง และเจ้าพรองเมือง แต่ในรัชสมัยของเจ้าฟ้าเสือห่มเมือง ได้แต่งตั้งตำแหน่ง เจ้าสึงหลวง ขึ้นอีกหนึ่งตำแหน่ง ซึ่งผู้ที่ได้รับตำแหน่งคนแรกก็คืออนุชาต่างชนนีของพระองค์เอง แต่ภายหลังตำแหน่งดังกล่าวตกไปอยู่กับบุคคลที่มิใช่ชาวอาหม[2]
สามเจ้าผู้พรองแต่ละคนได้รับมอบชาวอาหมหลายครัวเรือนในอยู่ในการครอบครอง คนเหล่านี้ขึ้นตรงต่อเจ้าผู้พรองผู้เป็นนาย ขุนนางอื่นจะพิจารณาพิพากษาลงโทษไม่ได้ ตามคำบอกเล่าของ เดวิด สกอต เจ้าผู้พรองทั้งสามใช้จ่ายเงินสำหรับไพร่ (paiks) 10,000 คน เป็นจำนวนเงิน 90,000 รูปีต่อหนึ่งปี
อนึ่งชื่อตำแหน่ง เถ้าเมืองหลวง นั้น ใกล้เคียงกับตำแหน่ง "เถ้าหลวง" หรือ "เถ้าเมือง" ซึ่งเป็นตำแหน่งข้าราชการของอาณาจักรล้านนาในอดีต[3][4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และเรณู วิชาศิลป์, หน้า 116
- ↑ Barua 1993, p26
- ↑ "จารึกวัดพระคำ". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์มหาชน). สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "จารึกวัดเชียงสา". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์มหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 250.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และเรณู วิชาศิลป์. การศึกษาประวัติศาสตร์ไทอาหม. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ:สร้างสรรค์, 2552. ISBN 978-974-9936-15-3
- Barua, S L (1993) Last Days of Ahom Monarchy, New Delhi