สวิชญา วาทะพุกกะณะ
สวิชญา วาทะพุกกะณะ | |
---|---|
เกิด | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 วิจิตรา ตริยะกุล ประเทศไทย |
อาชีพ | นักแสดง, นักการเมือง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน |
ผลงานเด่น | แป๋ม - เสียดาย (พ.ศ. 2537) ปุ๊ย - เดอะเมีย (2548) |
สุพรรณหงส์ | รางวัลดาราประกอบหญิงยอดเยี่ยม พ.ศ. 2537- เสียดาย รางวัลดาราประกอบหญิงยอดเยี่ยม พ.ศ. 2540- ท้าฟ้าลิขิต |
ฐานข้อมูล | |
IMDb | |
ThaiFilmDb |
สวิชญา วาทะพุกกะณะ [1]หรือที่คุ้นเคยในชื่อเดิม วิจิตรา ตริยะกุล (ชื่อเล่น: แนน; เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522) เป็นนักแสดงหญิงชาวไทย
ประวัติ
[แก้]สวิชญา วาทะพุกกะณะ หรือ วิจิตรา ตริยะกุล เข้าวงการจากภาพยนตร์เรื่องเสียดาย กำกับการแสดงโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล โดยรับบทเป็น แป๋ม ใน พ.ศ. 2537[2] จากการชักชวนของวิยะดา อุมารินทร์ ผู้เป็นอาแท้ ๆ[1] จนทำให้ วิจิตรา ตริยะกุล มีผลงานทางภาพยนตร์ ตามมาเป็นจำนวนมากได้แก่ น้ำเต้าหู้และครูระเบียบ 2 (พ.ศ. 2538), กลิ่นสีและทีแปรง (พ.ศ. 2539), ท้าฟ้าลิขิต (พ.ศ. 2540), กุมภาพันธ์ (พ.ศ. 2546)[3], เดอะเมีย (พ.ศ. 2548)[4][5] เป็นต้น นอกผลงานด้านภาพยนตร์ วิจิตรา ตริยะกุล ได้มีผลงานละครเป็นระยะ ได้แก่ แก้วตาหวานใจ (ช่อง 7), หัวใจในสุญญากาศ (ช่อง 7)[6], มัจจุราชจำแลง (ช่อง 7), ฉลุย (ช่อง 3), วัยอลวน (ช่อง 3), วัยร้ายไฮสคูล (ช่อง 3) เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีผลงานด้านพิธีกร รายการ Sign Variety ออกอากาศทางเนชั่น แชนแนล[7] มีผลงานภาพยนตร์เรื่อง วงจรปิด รับบท หญิงสาวในลิฟท์ (พ.ศ. 2555)
นอกจากผลงานบันเทิงแล้ว ในทางการเมือง ยังเป็นผู้ที่สนใจติดตามการเมืองมาตั้งแต่เด็ก เคยผ่านการทำงานในคณะทำงานของพรรคการเมืองต่าง ๆ ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ได้ลงรับสมัครรับเลือกตั้งในเขต 21 กรุงเทพมหานคร (บางนา, พระโขนง) ในสังกัดพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย[1] ปัจจุบันได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติพัฒนากล้า ซึ่งเธอได้รับคำชื่นชมจากการใช้ภาษามือสื่อสารกับผู้มีปัญหาทางการได้ยินในงาน ๆ หนึ่ง
การศึกษา
[แก้]- มัธยมศึกษา : โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
- ปริญญาตรี : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ปริญญาโท : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผลงาน
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]- เสียดาย รับบท แป๋ม (พ.ศ. 2537)
- น้ำเต้าหู้และครูระเบียบ 2 (พ.ศ. 2539)
- กลิ่นสีและทีแปรง (พ.ศ. 2539)
- ถนนนี้หัวใจข้าจอง (พ.ศ. 2540)
- ท้าฟ้าลิขิต (พ.ศ. 2540)
- กุมภาพันธ์ รับบท เหมียว (พ.ศ. 2546)
- บุปผาราตรี รับบท ครู (พ.ศ. 2546)
- เดอะเมีย รับบท ปุ๊ย (พ.ศ. 2548)
- วงจรปิด รับบท หญิงสาวในลิฟท์ (พ.ศ. 2555)
ละครโทรทัศน์
[แก้]- 2538 เขย่าขวัญวันพุธ (ช่อง 3)
- 2540 สาวใช้ไฮเทค (ช่อง 3)
- 2541 ฉลุย (ช่อง 3)
- 2542 วัยอลวน อลวนหนนี้...ไม่มีถอย (ช่อง 3)
- 2543 เจ้าสัวน้อย (ช่อง 7)
- 2543 มัจจุราชจำแลง (ช่อง 7)
- 2544 หัวใจในสุญญากาศ (ช่อง 7)
- 2544 วัยร้ายไฮสคูล (ช่อง 3)
- 2546 แก้วตาหวานใจ (ช่อง 7)
- 2546 หนึ่งฤทัย (ช่อง 3)
- 2547 ผักบุ้งกับกุ้งนาง (ช่อง 7)
- 2548 มิตร ชัยบัญชา มายาชีวิต (ช่อง 7)
- แรกรุ่นวุ่นรัก (ช่อง 3)
- อยากเก็บเธอไว้คนเดียว (ช่อง 5)
- วัยอลวน (ช่อง 3)
- รักเกิน100
- สืบจากศพ
พิธีกร
[แก้]- รายการ แอท ไซน์ วาไรตี้ (@Sign Variety) ออกอากาศทาง เนชั่น แชนแนล
มิวสิควีดีโอ
[แก้]- เพลง "ครูกระดาษทราย" ของ ทราย เจริญปุระ
รางวัล
[แก้]- รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2537) สาขา ดาราประกอบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่องเสียดาย [8]
- รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2540) สาขา ดาราประกอบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่องท้าฟ้าลิขิต [9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 หน้า 2 เลือกตั้ง-ต่อข่าวหน้า 1, ส่งสนามเลือกตั้ง. เดลินิวส์ฉบับที่ 25,319: วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ
- ↑ ข้อมูลภาพยนตร์เรื่อง เสียดาย
- ↑ ข้อมูลภาพยนตร์เรื่อง กุมภาพันธ์
- ↑ ข้อมูลภาพยนตร์เรื่อง เดอะเมีย
- ↑ แข่งขันดวลปืนระหว่าง เดอะ เมีย ชิงถ้วยทองครองใจสามี
- ↑ "ข้อมูลละครเรื่อง หัวใจในสุญญากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-02. สืบค้นเมื่อ 2012-12-20.
- ↑ วิจิตรา ตริยะกุล พิธีกรเลือดใหม่ยุคไอที ในรายการแอทไซน์วาไรตี้
- ↑ ผลการตัดสินรางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2537[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผลการตัดสินรางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2540[ลิงก์เสีย]