ข้ามไปเนื้อหา

ถนนนี้หัวใจข้าจอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถนนนี้หัวใจข้าจอง
กำกับคิด สุวรรณศร
เขียนบทคิด สุวรรณศร
สมพล สังขะเวส
อำนวยการสร้างสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ
นักแสดงนำมณฑล จิรา
วรรณพร ฉิมบรรจง
วิจิตรา ตริยะกุล
โกวิท วัฒนกุล
สีเทา
มีศักดิ์ นาครัตน์
อนุสรณ์ เดชะปัญญา
ปวีณา ชารีฟสกุล
กำกับภาพบุญเลิศ ธนะปลื้ม
ตัดต่อคิด สุวรรณศร
ผู้จัดจำหน่ายสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
วันฉาย1 พฤษภาคม 2540 (2540-05-01)
ความยาว102 นาที[1]
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย

ถนนนี้หัวใจข้าจอง (อังกฤษ: Mean Street Blues) ภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2540

คำโปรย

[แก้]

วินาทีแห่งความทรงจำด้วยศักดิ์ศรี..ความรัก..เพื่อน..สถาบัน และความทรนงที่อยู่ในหัวใจของพวกเขาทุกคน

เนื้อเรื่อง

[แก้]

บู๊ต เด็กหนุ่มหน้าละอ่อน ที่เป็นลูกของนายทหารจากต่างจังหวัด สอบเข้าเรียนต่อโรงเรียนช่างกลธนิยะได้ พร้อมกับได้ทุนการศึกษา บู๊ตจึงได้ย้ายมาอาศัยอยู่ในกรุงเทพ และเริ่มเรียนรู้ชีวิตความเป็นนักเรียนช่างกลนับแต่วันรับน้อง การได้สวมเสื้อช้อป และท่องคำปฏิญาณว่าจะรักเพื่อนยิ่งกว่าชีวิต นอกจากนั้นบู๊ตยังได้รับการสอนสั่งว่าศัตรูที่เจอหน้าปุ๊บต้องฆ่ากันให้ตาย นั่น คือ โรงเรียนก่อสร้างไทยพัฒนา แต่คนที่มีธาตุความดีอย่างบู๊ตก็ยังซื่อตรงกับความถูกต้องอยู่ในตัวอยู่ดี

วันหนึ่ง บู๊ตกับเพื่อนบังเอิญข้ามถิ่นไปในเขตพวกไทยพัฒนา จึงได้ถูกคู่อริไล่ตีกลางถนนแต่หนีมาได้ นักข่าวมาถ่ายภาพบู๊ตได้ทัน จึงทำให้บู๊ตกลายเป็นคนดังในหมู่เพื่อน ๆ โดยไม่ตั้งใจ แต่บู๊ตไม่สนใจลูกยุรุ่นพี่ที่สอนให้รู้จักหันหน้าเข้าสู้แบบลูกผู้ชายซะบ้าง ระหว่างนั้นบู๊ตใช้วิชาช่างของตัวเองไปบูรณะสนามกีฬาซึ่งอยู่ในเขตของพวกไทยพัฒนา จึงได้ถูกพวกไทยพัฒนาเข้ามาหาเรื่อง แต่บู๊ตก็ไม่คิดสร้างศัตรูกับไทยพัฒนาเพราะต้องการทำความดีเพื่อสังคมเงียบ ๆ มากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม สงครามระหว่างสองสถาบันคู่อริก็ไม่อาจหยุดยั้งได้ เพราะพวกมาเฟียโต๊ะสนุ๊กต้องการจะให้ทั้งสองฝ่ายตีกันเพื่อจะได้ประโยชน์ครั้งใหญ่ในการขายอาวุธและยา และในที่สุด ในคอนเสิร์ตร็อกกลางเมือง ก็กลายเป็นสมรภูมิลูกผู้ชายของทั้งสองฝ่ายจริง ๆ

นักแสดงนำ

[แก้]

การสร้างและคำวิจารณ์

[แก้]

ถนนนี้หัวใจข้าจอง เป็นผลงานการสร้างของสหมงคลฟิล์ม กำกับโดย คิด สุวรรณศร ออกฉายในปี พ.ศ. 2540 โดยได้นายแบบวัยรุ่นชื่อดัง คือ เจ มณฑล จิรา มารับบทนำและถือเป็นบทบาทการแสดงครั้งแรกด้วย โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาการยกพวกตีกันของนักเรียนอาชีวะ ซึ่งคล้ายคลึงกับ 2499 อันธพาลครองเมือง ภาพยนตร์ไทยอีกเรื่องหนึ่งที่มีเนื้อหาคล้ายกันที่ฉายไปก่อนหน้านั้นไม่นาน และประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง [2] [1]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]