สวัสดิ์ โอสถานุเคราะห์
สวัสดิ์ โอสถานุเคราะห์ ทายาทรุ่นที่สองของเจ้าของกิจการบริษัท โอสถสภา (เต็กเฮงหยู) จำกัด เป็นบุตรนายแป๊ะ โอสถานุเคราะห์ ผู้ก่อตั้งธุรกิจขายยา ที่ชื่อว่า ยากฤษณากลั่นตรากิเลน
ประวัติ
[แก้]สวัสดิ์ศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยะสอบได้เป็นอันดับ 19 ของประเทศ ตอนอายุ 16 ปี แต่เรียนได้ 2 ปี บิดาเสียชีวิตกะทันหันในวัยเพียง 45 ปี ทำให้เขาจึงต้องรับหน้าที่เป็นเจ้าของร้านเต็กเฮงหยูตั้งแต่อายุไม่ถึง 20 ปี การบริหารของสวัสดิ์ ส่งผลให้โอสถสภากลายเป็นหนึ่งบริษัทที่มีมาตรฐานสากล เช่นการเป็นบริษัทไทยแห่งแรก ๆ ที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือการนำระบบโฆษณาและการตลาดเข้ามาใช้จริงจัง[1]
สวัสดิ์มักบริจาคเงินสร้างวัด สร้างโรงพยาบาล อุดหนุนนักกีฬาไทย
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]สมรสกับคุณหญิงล้อม โอสถานุเคราะห์ มีบุตรชายคือร้อยตำรวจเอกสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สวัสดิ์ โอสถานุเคราะห์ : โอสถสภา ตำนานนายห้างยาไทย".
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๗๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๒๔