สวัสดิ์ ตันตระรัตน์
ศาสตราจารย์ สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ (4 ตุลาคม พ.ศ. 2492 - ) เป็นนักวิชาการด้านโทรคมนาคมและการประมวลผลสัญญาณดิจิทัล คนสำคัญคนหนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันเป็นราชบัณฑิต ประจำสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา และผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ประวัติ
[แก้]ศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ จบการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้า (เกียรตินิยมดีเด่น) จากมหาวิทยาลัยมินนิโซตา สหรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2514, ปริญญาโทวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ในปี พ.ศ. 2515 และปริญญาเอกในสาขาเดียวกัน จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เมื่อ พ.ศ. 2520
เคยเป็นอาจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยออเบิร์น รัฐแอละแบมา, และไปเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ แอมเฮิสต์ 10 ปี นอกจากนี้เป็นนักวิทยาศาสตร์เยี่ยมเยือนที่ มหาวิทยาลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเปญจน์ รัฐอิลลินอย, และเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของห้องปฏิบัติการ AT&T Bell สหรัฐ ก่อนจะกลับประเทศไทยมาทำงานวิจัยที่เนคเทค และในปี พ.ศ. 2540 ได้เข้าทำงานที่สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในตำแหน่งศาสตราจารย์วิศวกรรมไฟฟ้า และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรสองสมัย
หัวข้อวิจัยที่เขาสนใจอยู่ขณะนี้รวมถึงการประมวลผลสัญญาณ การออกแบบและสร้างตัวกรองดิจิทัล ระบบการสื่อสาร ระบบ spread-spectrum และเทคโนโลยีโทรศัพท์ยุคที่ 3 (3G)
สวัสดิ์เคยเป็นรองบรรณาธิการวารสาร IEEE Transactions on Signal Processing ในช่วง พ.ศ. 2538-2540
พ.ศ. 2549 สวัสดิ์ได้รับรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมูลนิธิโทเร ประเทศไทย ครั้งที่ 13 จาก มูลนิธิโทเร เพื่อส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ซึ่งมอบให้แก่บุคคล คณะบุคคล หรือหน่วยงานที่มีความสามารถสูงและประสบความสำเร็จในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทบาททางวิชาการในปัจจุบัน
[แก้]- ผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- ราชบัณฑิต ประจำสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา
- สมาชิก บัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
- สมาชิกอาวุโส สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE)
- ประธาน สมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศแห่งประเทศไทย (ECTI)
- ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
- หัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีโทรศัพท์ยุคที่ 3 (3 จี) เนคเทค
ประวัติการทำงาน
[แก้]- 2552-2556 : ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
- 2543-2552 : ผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- 2540-2552 : ศาสตราจารย์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- 2539-2540 : นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ประเทศไทย
- 2529-2539 : รองศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ แอมเฮิสต์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ
- 2527-2529 : ทีมงานเทคนิค ห้องปฏิบัติการ AT&T Bell, Holmdel, รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐ
- 2524-2527 : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยออเบิร์น รัฐแอละแบมา สหรัฐ
- 2523-2524 : ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเปญจน์ รัฐอิลลินอย สหรัฐ
- 2515-2523 : อาจารย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, และหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- 2517-2520 : ผู้ช่วยสอนและผู้ช่วยวิจัย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[1]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นตํ่ากว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๒๔๐, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นตํ่ากว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๘๓, ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูลที่ Computer Science Bibliography เก็บถาวร 2009-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- ศาสตราจารย์
- นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย
- ราชบัณฑิต
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยมินนิโซตา
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยออเบิร์น
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยออเบิร์น
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเปญจน์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ แอมเฮิสต์
- บุคคลจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
- บุคคลจากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492