ข้ามไปเนื้อหา

สรุปเหรียญพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหรียญรางวัลพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024
ที่ตั้งฝรั่งเศส ปารีส ฝรั่งเศส
ไฮไลต์
เจ้าเหรียญทอง จีน (94)
เหรียญรางวัลรวมมากที่สุด จีน (220)
← 2020 · ตารางสรุปเหรียญรางวัลพาราลิมปิก · 2028 →


ตารางเหรียญการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024 จัดอันดับชาติที่มีส่วนร่วมของคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งชาติ (NPCs) ที่เข้าร่วมตามจำนวนเหรียญทองที่นักกีฬาได้รับในระหว่างการแข่งขันพาราลิมปิก 2024 ถือเป็นการแข่งขันครั้งที่ 17 โดยเป็นการแข่งขันทุกๆ 4 ปี สำหรับนักกีฬาที่มีความพิการทางกายภาพและความบกพร่องทางสติปัญญา การแข่งขันจัดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม ถึง 8 กันยายน พ.ศ. 2567 โดยมีการแข่งขันชิงเหรียญรางวัลจำนวน 549 รายการ

มอริเชียส เนปาล และทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัย คว้าเหรียญพาราลิมปิกเหรียญแรกได้สำเร็จในครั้งนี้[1][2] โดย ณ ปี พ.ศ. 2567 เนปาลยังไม่มีเหรียญรางวัลโอลิมปิก

ยูโด เทเบิลเทนนิส และเทควันโด มีรางวัลเหรียญทองแดง 2 เหรียญต่อแต่ละประเภทกีฬา โดยประเภทกีฬาเทเบิลเทนนิสมอบให้แก่ผู้แพ้ในรอบรองชนะเลิศ ส่วนเหรียญทองแดงในประเภทกีฬายูโดและเทควันโดจะแข่งกันในรอบแก้ตัว ซึ่งนักกีฬาที่แพ้ในรอบรองชนะเลิศจะต้องกลับมาแข่งขันเพื่อชิงเหรียญทองแดง

ตารางสรุปเหรียญ

[แก้]

มีการมอบเหรียญเงิน 2 เหรียญสำหรับอันดับที่ 2 ร่วมทั้งสองคนในการแข่งขันฟรีสไตล์ 50 เมตร ชาย - S11 จึงไม่มีเหรียญทองแดงในการแข่งขันประเภทนี้ และมีการเหรียญทองแดง 2 เหรียญสำหรับอันดับที่ 3 ร่วมในการแข่งขันกระโดดสูงชาย - T64 และมีการมอบเหรียญทองแดง 2 เหรียญในประเภทกรีฑาวิ่ง 100 เมตรหญิง T63 อีกด้วย

  *  เจ้าภาพ ( ฝรั่งเศส)

สรุปเหรียญการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024[A]
ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1 จีน947650220
2 สหราชอาณาจักร494431124
3 สหรัฐ364227105
4 เนเธอร์แลนด์27171256
นักกีฬาพาราลิมปิกที่เป็นกลาง26222371
5 บราซิล25263889
6 อิตาลี24153271
7 ยูเครน22283282
8 ฝรั่งเศส*19282875
9 ออสเตรเลีย18172863
10 ญี่ปุ่น14101741
11 เยอรมนี10142549
12 แคนาดา1091029
13 อุซเบกิสถาน109726
14 อิหร่าน810725
15 สวิตเซอร์แลนด์88521
16 โปแลนด์86923
17 สเปน7112240
18 อินเดีย791329
19 โคลอมเบีย771428
20 เบลเยียม74314
21 ไทย6111330
22 เกาหลีใต้6101430
23 ตุรกี6101228
24 คิวบา63110
25 แอลจีเรีย60511
26 ฮังการี56415
27 ตูนิเซีย53311
28 อาเซอร์ไบจาน42511
29 อิสราเอล42410
30 เม็กซิโก36817
31 โมร็อกโก36615
32 ฮ่องกง3418
33 กรีซ33713
34 เวเนซุเอลา3216
35 สโลวาเกีย3205
36 ลัตเวีย3104
37 อาร์เจนตินา23813
38 เดนมาร์ก23510
39 คาซัคสถาน2349
40 ไนจีเรีย2327
41 อียิปต์2237
42 มาเลเซีย2215
43 โปรตุเกส2147
44 สิงคโปร์2103
เอธิโอเปีย2103
46 แอฟริกาใต้2046
47 เอกวาดอร์2024
48 จอร์แดน2013
49 คอสตาริกา2002
50 อินโดนีเซีย18514
51 จอร์เจีย1449
นิวซีแลนด์1449
53 เช็กเกีย1438
54 นอร์เวย์1337
55 ไอร์แลนด์1326
เซอร์เบีย1326
57 มองโกเลีย1304
58 อิรัก1135
59 โครเอเชีย1124
60 ชิลี1056
61 โรมาเนีย1012
สโลวีเนีย1012
นามิเบีย1012
คูเวต1012
65 ซาอุดีอาระเบีย1001
บัลแกเรีย1001
เปรู1001
68 จีนไทเป0325
69 ออสเตรีย0314
70 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา0202
71 ฟินแลนด์0134
72 สวีเดน0123
73 ไซปรัส0112
มอลโดวา0112
75 ตรินิแดดและโตเบโก0101
เคนยา0101
ศรีลังกา0101
78 ทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัย0022
79 ลักเซมเบิร์ก0011
เวียดนาม0011
ลิทัวเนีย0011
เนปาล0011
ปากีสถาน0011
มอริเชียส0011
มอนเตเนโกร0011
รวม (85 ประเทศ)5495516071707


นักกีฬาพาราลิมปิกที่เป็นกลาง

[แก้]

นักกีฬาพาราลิมปิกเป็นกลาง เป็นชื่อที่ใช้แทนนักกีฬารัสเซียและเบลารุส ที่ได้รับการรับรองในการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024 หลังจากที่คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล (IPC) ได้สั่งห้ามใช้ชื่อประเทศของนักกีฬาเหล่านี้เนื่องจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2565

นักกีฬาเป็นกลางแข่งขันภายใต้ธงขาวซึ่งมีตัวอักษรสีดำเขียนว่า NPA การใช้ธงนี้จำกัดเฉพาะกราฟิกการนำเสนอทางทีวีและกีฬาและในพิธีมอบเหรียญรางวัล การได้รับเหรียญรางวัลไม่ได้ถูกบันทึกในตารางเหรียญรางวัลของการแข่งขันพาราลิมปิก 2024 ที่ปารีส และเมื่อนักกีฬาที่เป็นกลางได้รับเหรียญทอง เพลงชาติพาราลิมปิกจะบรรเลงขึ้น แต่เหรียญรางวัลของพวกเขาจะไม่ถูกเพิ่มในตารางเหรียญรางวัลอย่างเป็นทางการ [3]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. แม้คณะกรรมการพาราลิมปิกสากลจะไม่จัดอันดับนักกีฬาพาราลิมปิกที่เป็นกลางในตารางเหรียญรางวัลทางการ[3] ตารางนี้ได้ใส่ข้อมูลเพื่อการเปรียบเทียบเท่านั้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. "PALESHA GOVERDHAN WINS HISTORIC MEDAL FOR NEPAL AT PARIS 2024 PARALYMPICS". สืบค้นเมื่อ 31 August 2024.
  2. "Paris 2024: Khudadadi wins first-ever medal for Refugee Paralympic Team". International Paralympic Committee (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-08-29.
  3. 3.0 3.1 "IPC publish Neutral Paralympic Athletes regulations for the Paris 2024 Paralympics". 6 March 2024. สืบค้นเมื่อ 29 August 2024.