สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม
สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา กลุ่มวิทยาศาสตร์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | อิสระ |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | พลังประชารัฐ (2561–2567) |
ว่าที่พันตรี สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม (เกิด 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503) สมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองบัวลำภู 2 สมัย อดีตคณะทำงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[1]
ประวัติ
[แก้]สรชาติ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 เป็นบุตรของนายเลิศ และ นางคำเลี่ยน สุวรรณพรหม
สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรี จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท จากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และปริญญาเอก ด้านการบริหารการจัดการ จากAdamson University
งานการเมือง
[แก้]ว่าที่พันตรีสรชาติ ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกติดต่อกันจนถึง พ.ศ. 2539 รวม 2 สมัย
ในปี พ.ศ. 2550 สรชาติได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
พ.ศ. 2554 ว่าที่พันตรีสรชาติ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 1 จังหวัดหนองบัวลำภู ในนามพรรคภูมิใจไทย แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยพ่ายแพ้ให้กับ นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ จากพรรคเพื่อไทย
ในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ลำดับที่ 56[2] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
มนปี 2566 ว่าที่พันตรีสรชาติ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 2 จังหวัดหนองบัวลำภู ในนามพรรคพลังประชารัฐ แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยพ่ายแพ้ให้กับ นายไชยา พรหมา จากพรรคเพื่อไทย ปีต่อมาเขาลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา และได้รับเลือกเข้ามาในกลุ่มที่ 13 ในอันดับที่ 1[3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ว่าที่พันตรีสรชาติ วิชย สุวรรณพรหม ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดพรรคความหวังใหม่
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ‘พปชร.’ เตือนฝ่ายค้าน ถ้าขุดอดีต เจอแฉกลับ ‘จำนำข้าว-พ.ร.บ.นิรโทษกรรมสุดซอย’
- ↑ เปิดชื่อ 120 ปาร์ตี้ลิสต์พลังประชารัฐ หลังผู้มีอำนาจใน รบ.ทุบโต๊ะเปลี่ยนเบอร์ 1
- ↑ "เปิดรายชื่อ 200 สว. "สมชาย" ตกรอบ "ศรีวราห์-ทนายตั้ม" ติดสำรอง". ไทยพีบีเอส.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๖๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2503
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอศรีบุญเรือง
- ทหารบกชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองบัวลำภู
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคเอกภาพ
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคมัชฌิมาธิปไตย
- พรรคภูมิใจไทย
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.