ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระมหามุนีวงศ์

(สนั่น จนฺทปชฺโชโต)
ส่วนบุคคล
เกิด8 กันยายน พ.ศ. 2451 (90 ปี 55 วัน ปี)
มรณภาพ2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก
เปรียญธรรม 9 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพมหานคร
อุปสมบทพ.ศ. 2471
พรรษา71
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนรนาถสุนทริการาม

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ ฉายา จนฺทปชฺโชโต (นามเดิม: สนั่น สรรพสาร) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าอาวาสวัดนรนาถสุนทริการาม กรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าคณะภาค 8 และ 10 (ธรรมยุต)

ประวัติ

[แก้]

ชาติกำเนิด

[แก้]

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ มีนามเดิมว่า สนั่น สรรพสาร เกิดเมื่อวันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2451 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก ภูมิลำเนาอยู่บ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โยมบิดาเป็นกำนันตำบลหนองบ่อชื่อนายคำพ่วย โยมมารดาชื่อนางแอ้ม ตอนที่ท่านคลอด เกิดเหตุลมกรรโชกแรง และมีฟ้าแลบฟ้าร้องดังสนั่น กำนันคำพ่วยจึงตั้งชื่อบุตรคนที่ 6 นี้ว่าสนั่น ต่อมานางแก้ว พี่สาวของโยมมารดาได้รับท่านไปเลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรมเพราะตนกับนายเคน สามีไม่มีบุตร ท่านจึงเรียกลุงกับป้าว่าพ่อแม่[1]

ท่านมีอุปนิสัยน้อมไปทางเพศบรรพชิตมาตั้งแต่ยังเด็ก มักปรารถว่าอยากบวชเป็นสามเณร ชอบอยู่กับผู้ใหญ่มากกว่ากับเด็กในวัยเดียวกัน

บรรพชา

[แก้]

ปี พ.ศ. 2460 ป้าแก้วได้ถึงแก่กรรมลง เด็กชายสนั่นจึงบวชเณรหน้าไฟอุทิศให้ป้า ณ วัดบูรพาพิสัย จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระอธิการเคน คมฺภีรปญฺโญ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วท่านพอใจในสมณเพศมาก มากจึงดำรงสมณเพศต่อมาโดยไม่ลาสิกขาบท เมื่ออยู่วัดบูรพาพิสัยได้ 4 ปี พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) ได้พาท่านมาอยู่วัดศรีทอง (ปัจจุบันคือวัดศรีอุบลรัตนาราม) และได้เรียนภาษาไทยและภาษาบาลีกับพระศรีธรรมวงศาจารย์ (ทองจันทร์ เกสโร)[1]

การศึกษาและอุปสมบท

[แก้]

พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) เห็นว่าสามเณรสนั่นมีความประพฤติดี มีความเพียร ความอดทน และใฝ่เรียน[2] จึงได้ได้พาท่านมาฝากกับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร ในปี พ.ศ. 2468 เพื่อเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ถึง พ.ศ. 2471 ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดบรมนิวาส โดยมีพระครูศีลวรคุณ (อ่ำ ภทฺราวุโธ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอมราภิรักขิต (ชัย ชิตมาโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้นามฉายาว่า จนฺทปชฺโชโต[1]

ท่านศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้ตามลำดับดังนี้

ตำแหน่ง

[แก้]
  • พ.ศ. 2486 สมาชิกสังฆสภา
  • พ.ศ. 2501 เจ้าอาวาสนรนาถสุนทริการาม
  • พ.ศ. 2510 เจ้าคณะภาค 8 และ 10(ธรรมยุต)
  • พ.ศ. 2512 กรรมการมหาเถรสมาคม
  • พ.ศ. 2520 เจ้าคณะภาค 8 (ธรรมยุต)

สมณศักดิ์

[แก้]

มรณภาพ

[แก้]

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์อาพาธด้วยโรคไตและโรคปอด ต่อมามีอาการรุนแรงขึ้น และมีโรคเบาหวานและหอบเกิดขึ้นแทรกซ้อน[2] และถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชรา ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เมื่อวันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 เวลา 13:40 น. สิริอายุได้ 90 ปี 55 วัน พรรษา 71 ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ ตึกสามัคคีเนรมิตร วัดนรนาถสุนทริการาม ได้รับพระราชทานโกศไม้สิบสองบรรจุศพ รับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด และมีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเวลากลางคืนกำหนด 7 คืน[1]

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะดำรงพระยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จฯ แทนพระองค์ไปพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2542 เวลา 17:30 น.[1]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 สมเด็จพระมหามุนีวงศ์, หน้า 1-10
  2. 2.0 2.1 เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 171-4
  3. ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระภิกษุสามเณรเปรียญที่จะได้รับพระราชทานพัดยศ แผนกพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมเด็นพะรสังฆราชเจ้าประทาน, เล่ม ๔๖, ตอน ง, ๒ มิถุนายน ๒๔๗๒, หน้า ๖๗๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระภิกษุสามเณรเปรียญที่ได้รับพระราชทานพัดยศเปรียญ แผนกทรงตั้ง พุทธศักราช ๒๔๗๔, เล่ม ๔๘, ตอน ง, ๗ มิถุนายน ๒๔๗๔, หน้า ๗๐๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระภิกษุสามเณรเปรียญที่ได้รับพระราชทาน พัดเปรียญ แผนกทรงตั้ง พุทธศักราช ๒๔๗๕, เล่ม ๔๙, ตอน ง, ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๗๕, หน้า ๖๔๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๖๓, ตอนที่ ๑๕ ง, ๑๙ มีนาคม ๒๔๘๙, หน้า ๓๕๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๗๕, ตอนที่ ๑๐๙ ง, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๑, หน้า ๓๑๓๓-๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๘๐, ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖, หน้า ๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๙๔, ตอนที่ ๓ ก ฉบับพิเศษ, ๖ มกราคม ๒๕๒๐, หน้า ๕-๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๗, ตอนที่ ๑๓๘ ก ฉบับพิเศษ, ๖ สิงหาคม ๒๕๓๓, หน้า ๖-๙
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 145-148. ISBN 974-417-530-3
  • วัดนรนาถสุนทริการาม. สมเด็จพระมหามุนีวงศ์. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2542. 222 หน้า. หน้า 1-10. [อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต)]