ข้ามไปเนื้อหา

สมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรป
สํานักงานใหญ่ลูกาโน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สมาชิก
15,000 ราย
ภาษาทางการ
อังกฤษ
พนักงาน
75 ราย
เว็บไซต์esmo.org

สมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรป (อังกฤษ: European Society for Medical Oncology; อักษรย่อ: ESMO)[1] เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรด้านมะเร็งวิทยาในทวีปยุโรป[2]

สมาคมนี้เสนอการศึกษาและฝึกอบรมด้านการดูแลและวิจัยโรคมะเร็งทางคลินิค และให้คำแนะนำตามหลักฐานสำหรับมาตรฐานขั้นพื้นฐานในการดูแลรักษาโรคมะเร็ง

ในขณะที่สมาชิกส่วนใหญ่ของสมาคมจำนวน 40,000 คนเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้องอกวิทยา แท้ที่จริง มีสมาชิกครอบคลุมกว่า 177 ประเทศ[3] ซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยาทางการฉายรังสีและการผ่าตัด รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษา, วิจัย และดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างจริงจัง

สมาคมนี้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1975 โดยจอร์จ มาตี และมอริส ชไนเดอร์ ในเมืองนิส ประเทศฝรั่งเศส ในฐานะสมาคมอายุรศาสตร์โรคมะเร็ง (Société de Médicine Interne Cancérologique) ก่อนที่จะใช้ชื่อสมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรปในปี ค.ศ. 1980

ภารกิจของสมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรป

[แก้]
  • เพื่อปรับปรุงคุณภาพ ของการป้องกัน, การวินิจฉัยโรค, การรักษา, ค้ำจุน และการดูแลแบบประคับประคอง เช่นเดียวกับการติดตามผลของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของมะเร็ง
  • เพื่อพัฒนา ทางฝีมือ, วิทยาศาสตร์, การได้รับการยอมรับ และการปฏิบัติด้านมะเร็งวิทยา
  • เพื่อเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับมะเร็งวิทยาให้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งและประชาชนทั่วไป
  • เพื่อการศึกษาและฝึกอบรม บุคคลที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาและการวิจัยโรคมะเร็งทางคลินิก
  • เพื่อส่งเสริมการศึกษา ด้านมะเร็งวิทยาเพื่อให้แน่ใจต่อมาตรฐานของผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยาทางการแพทย์ภายในทีมสหสาขาวิชาชีพ
  • เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง ต่อการดูแลรักษามะเร็งที่เหมาะสมกับผู้ป่วยทั้งหมด
  • เพื่อรักษาความสัมพันธ์ กับผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา, สหพันธ์โรคมะเร็ง, มหาวิทยาลัย, กลุ่มผู้ป่วย และอุตสาหกรรมยาอื่น ๆ ที่เหมาะสม

แอนนัลส์ออฟออนโคโลจี

[แก้]

แอนนัลส์ออฟออนโคโลจี ซึ่งเป็นวารสารวิทยาศาสตร์ของสมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรป ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1990 โดยตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับมะเร็งวิทยา, ศัลยศาสตร์, รังสีบำบัด, มะเร็งวิทยาในเด็ก, การวิจัยขั้นพื้นฐาน และและการจัดการที่ครอบคลุมผู้ป่วยกับโรคร้าย แอนนัลส์ออฟออนโคโลจีเป็นวารสารทางการของสมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรป และจากปี ค.ศ. 2008 ของสมาคมมะเร็งวิทยาแห่งประเทศญี่ปุ่น (JSMO)

แนวทางการปฏิบัติทางคลินิกของสมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรป

[แก้]

แนวทางการปฏิบัติทางคลินิกของสมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรป (CPG) มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยามีชุดคำแนะนำสำหรับมาตรฐานการรักษามะเร็งที่ดีที่สุด โดยขึ้นอยู่กับการค้นพบทางการแพทย์ตามหลักฐาน หลักเกณฑ์การปฏิบัติทางคลินิกแต่ละข้อประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติการณ์ของโรคมะเร็ง, เกณฑ์การวินิจฉัย, ระยะของโรคและการประเมินความเสี่ยง, แผนการรักษา และการติดตามผลที่ออกแบบมาเพื่อช่วยนักมะเร็งวิทยาให้การดูแลที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับผู้ป่วย

การประชุมสมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรป

[แก้]

การพบปะกันของสมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรปประจำปี ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในการเป็นพันธมิตรกับองค์การมะเร็งแห่งยุโรป (ECCO) โดยมีผู้เข้าร่วม 15,000 คน การพบปะนี้ได้นำเสนอพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดในขั้นพื้นฐาน, เกี่ยวกับการแปลและการวิจัยโรคมะเร็งทางคลินิก ตลอดจนนำเสนอผลการวิจัยใหม่ ๆ [4] เพื่อนำไปใช้ในทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยแต่ละวัน

สมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรปร่วมกับสมาคมยุโรปด้านมะเร็งวิทยาอื่น ๆ จัดประชุมในขอบเขตพิเศษสี่ด้าน ได้แก่ มะเร็งเต้านม, มะเร็งในทางเดินอาหาร, มะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ และมะเร็งปอด สมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรปยังจัดการประชุมสัมมนาการศึกษาเกี่ยวกับหัวข้อที่เป็นนวัตกรรมด้านมะเร็งวิทยา[4] นอกจากนี้ สมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรปยังมีคณะวิทยากรและรับรองอีเวนต์ด้านมะเร็งวิทยาที่มีคุณภาพสูงด้วยป้ายกำกับของสมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรป

รวมถึงทางสมาคม ยังได้จัดสัมมนาผู้ป่วยในการประชุมประจำปี สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง, ครอบครัว และผู้ดูแล[3]

ทรัพยากรทางการศึกษาเพิ่มเติม

[แก้]

สมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรปเผยแพร่หนังสือคู่มือ, รายงานการประชุมทางวิทยาศาสตร์ และแนวทางการฝึกอบรมด้านมะเร็งวิทยา ตลอดจนให้ทุนการศึกษาสำหรับการฝึกอบรมแก่นักมะเร็งวิทยาวัยหนุ่มสาว, การทดสอบด้านมะเร็งวิทยา รวมถึงโครงการรับรองวิทยฐานะสำหรับสถาบันที่ให้บริการผู้ป่วยแบบบูรณาการและการดูแลแบบประคับประคอง ผ่านความร่วมมือเครือข่ายออนไลน์ของสมาชิกสมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรปแบบมืออาชีพ, ปฏิสัมพันธ์และแบ่งปันความรู้ในหัวข้อการวิจัยและการปฏิบัติทางคลินิก[2]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]