สมหมาย เกาฏีระ
สมหมาย เกาฏีระ | |
---|---|
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 | |
ก่อนหน้า | พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร |
ถัดไป | พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ |
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 มีนาคม พ.ศ. 2499 |
คู่สมรส | พลตรีหญิง รัชดา เกาฏีระ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองบัญชาการกองทัพไทย |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก |
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สมหมาย เกาฏีระ (9 มีนาคม พ.ศ. 2499) เป็นนายทหารชาวไทย และนักการเมือง อดีตเสนาธิการทหาร, อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด, สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 และราชองครักษ์พิเศษ
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พล.อ. สมหมาย เกาฏีระ มีชื่อเล่นว่า เต้ หรือทางสื่อจะเรียกว่า บิ๊กเต้ เกิดวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของนายสมประสงค์ และนางไสว เกาฏีระ เป็นบุตรลำดับที่ 4 จาก 9 คน
พล.อ. สมหมาย เกาฏีระ ได้สมรสกับ พล.ต.หญิง รัชดา เกาฏีระ มีบุตรด้วยกัน 1 คน
การศึกษา
[แก้]พล.อ. สมหมาย เกาฏีระ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ในปี พ.ศ. 2515 จากนั้นเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 15 รุ่นเดียวกับ
และเข้ารับการศึกษาต่อเนื่องที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 26 โดยสำเร็จการศึกษาด้วยผลคะแนน เป็นลำดับที่ 5 ของรุ่น มีเพื่อนร่วมรุ่น คือ
พล.อ. สมหมาย จบหลักสูตร ดังนี้
- หลักสูตรเสนาธิการทหารบก หลักสูตรประจำ ชุดที่ 66
- หลักสูตรภาษาอเมริกัน ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
- หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารด้านลอจิสติกส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ผลคะแนนการศึกษา เป็นลำดับที่ 1
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ผลคะแนนการศึกษา เป็นลำดับที่ 1
- หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 47
- หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 12
- หลักสูตรผู้บริหาร สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 14
การทำงาน
[แก้]ราชการทหาร
[แก้]- พ.ศ. 2549 : เจ้ากรมยุทธบริการทหาร[1]
- พ.ศ. 2551 : ปลัดบัญชีทหาร[2]
- พ.ศ. 2554 : หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารสูงสุด[3]
- พ.ศ. 2555 : ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา[4]
- พ.ศ. 2557 : เสนาธิการทหาร[5]
- พ.ศ. 2558 : ผู้บัญชาการทหารสูงสุด[6]
ราชการพิเศษ
[แก้]- ตุลาการศาลทหารสูงสุด[7]
- อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[8]
- กรรมการในคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบูรณาการการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง[9]
- นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์[10]
- อดีตราชองครักษ์พิเศษ[11]
- สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
รางวัล
[แก้]- พ.ศ. 2557 : รางวัลเกียรติยศจักรดาว สาขาพัฒนาสังคม[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2524 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[15]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[16]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[17]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๓ ตอน ๕๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๕ ตอน พิเศษ ๑๖๓ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๘ ตอน พิเศษ ๑๑๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๙ ตอน พิเศษ ๑๔๓ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๑ ตอน พิเศษ ๑๗๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๒ ตอน พิเศษ ๑๙๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
- ↑ ประกาศแต่งตั้งตุลาการศาลทหารสูงสุด
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารและแต่งตั้งนายทหารพิเศษ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-19. สืบค้นเมื่อ 2016-03-07.
- ↑ นายทหารพิเศษประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์
- ↑ ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ รายนามผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศจักดาว ประจำปี 2557 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์โรงเรียนเตรียมทหาร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑๑, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๖, ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๖ มกราคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓
- ↑ "Top Military Award Conferred on Thai Defence Chief". www.mindef.gov.sg (ภาษาอังกฤษ).
ก่อนหน้า | สมหมาย เกาฏีระ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559) |
พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2499
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- ทหารบกชาวไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไทย
- สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- บุคคลจากจังหวัดนนทบุรี
- บุคคลจากโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา