ข้ามไปเนื้อหา

สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์

เกิด28 มิถุนายน พ.ศ. 2485 (82 ปี)
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย
คู่สมรสศ.คุณหญิง ดร.มธุรส รุจิรวัฒน์
บุตรนายอธิศ รุจิรวัฒน์

ศาสตราจารย์ สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ เกิดวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2485 นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ผู้เชี่ยวชาญในสาขาเคมีอินทรีย์ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2547 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนายาสังเคราะห์ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (ฝ่ายวิจัย) และอธิการบดีของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ สมรสกับ ศ.คุณหญิง ดร.มธุรส รุจิรวัฒน์ มีบุตร 1 คน คือ นายอธิศ รุจิรวัฒน์

ประวัติ

[แก้]

การศึกษา

[แก้]
  • จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
  • เข้าศึกษาเตรียมแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน)
  • พ.ศ. 2506-2512 - ได้รับทุนโคลัมโบ (The Colombo Plan Scholarship) จากรัฐบาลอังกฤษ ไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ จนจบปริญญาตรี สาขาเคมี (เกียรตินิยม) เมื่อปี พ.ศ. 2509 และปริญญาเอก สาขาเคมีอินทรีย์ ในปี พ.ศ. 2512 โดยทำวิทยานิพนธ์หัวข้อเรื่อง "Studies on the Biosynthesis of Hasubanonine"
  • พ.ศ. 2513-2514 - ได้รับทุนจาก South-East Asia Treaty Organization (SEATO) Fellowship ไปทำวิจัยหลังปริญญาเอก (posdoctoral training) ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา

ประวัติการทำงาน

[แก้]

ตำแหน่งวิชาการ

ตำแหน่งบริหาร

เกียรติคุณและรางวัล

[แก้]

ผลงานวิจัย

[แก้]

ศาสตราจารย์ สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ หรือ ศ.ดร.สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ ทำงานวิจัยด้านการสังเคราะห์ การหาสูตรโครงสร้าง และฤทธิ์ทางยาของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ได้จากสมุนไพร และมีความสนใจในสารประกอบพวก Nitrogen Heterocycles โดยเฉพาะสารประเภทอัลคาลอยด์ เป็นพิเศษ นอกจากนั้นยังได้ร่วมวิจัยในหลายโครงการกับนักวิจัยในแขนงวิชาอื่น ๆ โดยทำหน้าที่แยกสาร หาสูตรโครงสร้าง หรือสังเคราะห์สาร ที่ใช้ประโยชน์ในโครงการต่าง ๆ เช่น ศึกษาสารประเภท cyanogenic glycosides จากต้นมันสำปะหลัง การศึกษาและสังเคราะห์สารประกอบ sulphonamides เพื่อใช้ทดสอบฤทธิ์ในการใช้เป็นยาหมันชาย และศึกษากลไกในการเป็นหมัน การหาสารที่เป็นยารักษาโรคมาเลเรีย ได้หาวิธีการใหม่และประสบความสำเร็จในการสังเคราะห์ mefloquine และอนุพันธ์ต่าง ๆ ผลจากงานวิจัยนี้ได้พบสารที่ฆ่าเชื้อมาเลเรียที่ดีมากตัวหนึ่ง และได้รับสิทธิบัตรภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โครงการสังเคราะห์และฤทธิ์ทางยาของ praziquantel และอนุพันธ์จำนวนมาก โครงการวิจัยอนุพันธ์ colchicine จากต้นดองดึง ได้หาสูตรโครงสร้างอนุพันธ์ colchicine หลายตัว พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนสูตรโครงสร้างโดยการสังเคราะห์เพื่อใช้ในการทดสอบมะเร็ง cell line ต่าง ๆ รวมถึง cell line ของมะเร็งท่อน้ำดี โครงการพัฒนาและการผลิตน้ำยาอิมมูโนเคมี เพื่อตรวจสอบหาสารแอมเฟตามีน (ยาม้าและยาอี) โดยสังเคราะห์อนุพันธ์ ของแอมเฟตามีนใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการเตรียมน้ำยา เพื่อใช้ตรวจวินิจฉัยยาม้า และยาอี เป็นต้น

ศ.ดร.สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติจำนวน 95 เรื่อง เขียนบทความทางวิชาการในหนังสือตำราต่างประเทศจำนวน 4 เรื่อง และมีผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรจำนวน 2 เรื่อง และบทความที่นำเสนอในที่ประชุมวิชาการทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติจำนวนกว่า 90 เรื่อง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๘๕, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๐๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๕๘๙, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘