เสือดาวอินโดจีน
เสือดาวอินโดจีน | |
---|---|
เสือดาวอินโดจีนในสวนพฤษศาสตร์และสวนสัตว์ไซง่อน เวียดนาม | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Felidae |
สกุล: | Panthera |
สปีชีส์: | P. pardus |
สปีชีส์ย่อย: | P. p. delacouri |
Trinomial name | |
Panthera pardus delacouri Pocock, 1930 |
เสือดาวอินโดจีน หรือ เสือดาวจีนใต้[1] (อังกฤษ: Indochinese leopard, South-Chinese leopard; ชื่อวิทยาศาสตร์: Panthera pardus delacouri) เป็นชนิดย่อยของเสือดาว (P. pardus) ชนิดหนึ่ง โดยชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ฌ็อง เตออดอร์ เดอลากูร์ นักปักษีวิทยาชาวฝรั่งเศส-อเมริกัน[2]
เสือดาวอินโดจีนมีรูปร่างและลักษณะคล้ายกับเสือดาวอินเดีย (P. pardus fusca) ที่พบในภูมิภาคอนุทวีปอินเดีย แต่มีขนาดลำตัวใหญ่กว่าเล็กน้อย โดยมีสีขนออกเป็นสีแดงเข้ม แต้มจุดรอบนอกของลายขยุ้มตีนหมาค่อนข้างหนา ขนาดของลายขยุ้มตีนหมาโดยเฉลี่ยเล็กกว่าของเสือดาวอามูร์ (P. pardus orientalis) และเสือดาวจีนเหนือ (P. pardus japonensis) พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของจีน ภาคตะวันออกของอินเดีย และหลายประเทศในภูมิภาคอินโดจีนรวมถึงประเทศไทย[3]
เสือดาวอินโดจีนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าชะตี้นของพม่ามีปริมาณลดลงอย่างมากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940–1980 จนกระทั่งมีสถานะเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ในท้องถิ่นเมื่อถึงปี ค.ศ. 2000[4]
ในประเทศไทย พบกระจายพันธุ์ที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในจังหวัดเพชรบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งในจังหวัดอุทัยธานีและกาญจนบุรี โดยการศึกษาด้วยปลอกคอวิทยุในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พบว่าเสือดาวอินโดจีนตัวผู้มีพื้นที่หากินประมาณ 14.6–18.0 ตารางกิโลเมตร (5.6–6.9 ตารางไมล์) และตัวเมียที่ 8.8 ตารางกิโลเมตร (3.4 ตารางไมล์) เสือดาวอินโดจีนต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เป็นป่าอุดมสมบูรณ์มีปริมาณอาหารที่เพียงพอ ในระดับต่ำกว่า 500–600 เมตร (1,600–2,000 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล ในช่วงฤดูฝนถิ่นที่อยู่จะขยายกว้างออกไป[5]
จากการติดตามศึกษาเสือดาวอินโดจีนจำนวน 10 ตัวในพื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นระยะเวลา 9–41 เดือน พบว่าตัวผู้มีพื้นที่หากิน 35.2–64.6 กิโลเมตร (13.6–24.9 ตารางไมล์) และตัวเมียขนาดใหญ่ 6 ตัว 17.8–34.2 กิโลเมตร 2 (6.9–13.2 ตารางไมล์) และทั้งหมดได้ขยายถิ่นที่อยู่ในช่วงฤดูแล้งราวเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน เสือดาวอินโดจีนทั้งหมดอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบที่มีความลาดชันและอยู่ใกล้แหล่งน้ำ[6]
ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลาที่อยู่ในแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย พบเพียง 2 ตัวเท่านั้นที่เดินผ่านกล้องในปี ค.ศ. 2004 และในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007[7]
เสือดาวอินโดจีนในไทยไม่มีพฤติกรรมซ่อนเหยื่อบนต้นไม้มากเหมือนเสือดาวแอฟริกา (P. pardus pardus) ในทวีปแอฟริกา และในพื้นที่ภาคใต้ พบเสือดาวที่เป็นเสือดำมาก สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะสภาพพื้นที่เป็นป่ารกทึบ[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หน้า 100-119, ก้าวย่างจากเงื้อมเงา โดย ริชาร์ด คอนนิฟฟ์. เนชั่นแนลจีโอกราฟิก ฉบับภาษาไทย ฉบับที่ 173: ธันวาคม 2558
- ↑ Beolens, Bo; Watkins, Michael; Michael, Grayson. "The Eponym Dictionary of Mammals" (PDF) (1): 105.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 3.0 3.1 วงศ์ถิรวัฒน์, สวัสดิ์. "เสือดาว" (PDF). wildlifenew (1): 11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-29. สืบค้นเมื่อ 2016-01-08.
- ↑ Aung, M.; Swe, K. K.; Oo, T.; Moe, K. K.; Leimgruber, P.; Allendorf, T.; Duncan, C.; Wemmer, C. (2004). "The environmental history of Chatthin Wildlife Sanctuary, a protected area in Myanmar (Burma)". Journal of Environmental Management. 72: 205–216. doi:10.1016/j.jenvman.2004.04.013. CiteSeerx: 10.1.1.61.3531.
- ↑ Grassman, L. (1999). Ecology and behavior of the Indochinese leopard in Kaeng Krachan National Park, Thailand เก็บถาวร 2008-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Natural History Bulletin Siam Society 47: 77–93
- ↑ Simcharoen, S., Barlow, A.C.D., Simcharoen, A., Smith, J.L.D. (2008). Home range size and daytime habitat selection of leopards in Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary, Thailand. Biological Conservation 141 (9/2008): 2242–2250.
- ↑ Kitamura, S., Thong-Aree, S., Madsri; S., Pooswad, P. (2010). Mammal diversity and conservation in a small isolated forest os southern Thailand เก็บถาวร 2014-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Raffles Bulletin of Zoology 2010 58 (1): 145–156.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ เสือดาวอินโดจีน ที่วิกิสปีชีส์