ฐานทัพอากาศ
ฐานทัพอากาศ หรือ ฐานบิน (อังกฤษ: airbase[1][2], air base ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน) บางครั้งเรียกว่า ฐานทัพอากาศทหาร (military airbase), สนามบินทหาร (military airfield), ท่าอากาศยานทหาร (military airport), สถานีอากาศ (air station), กองบินทหารเรือ (naval air station), สถานีกองทัพอากาศ (air force station) หรือฐานทัพอากาศ (air force base) เป็นสนามบินหรือท่าอากาศยานที่ใช้เป็นฐานทัพทหารโดยกองกำลังทหารในการปฏิบัติการของอากาศยานทางการทหาร และอากาศยานของบุคคลสำคัญต่าง ๆ ที่ต้องใช้ระบบรักษาความปลอดภัยสูง อาทิ พระมหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ หรือ นายกรัฐมนตรี เป็นต้น
สิ่งอำนวยความสะดวก
[แก้]โดยทั่วไปแล้วฐานทัพอากาศจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกบางอย่างคล้ายคลึงกับท่าอากาศยานพลเรือน เช่น การควบคุมจราจรทางอากาศและการดับเพลิง สนามบินทหารบางแห่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสาร เช่น ฐานทัพอากาศบริซ นอร์ตัน ในอังกฤษมีอาคารผู้โดยสารที่ใช้สำหรับเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารของกองทัพอากาศ ฐานทัพอากาศทหารหลายแห่งอาจมีพื้นที่พลเรือนสำหรับเที่ยวบินโดยสารเชิงพาณิชย์ เช่น ท่าอากาศยานปักกิ่ง นานหยวน (จีน), ท่าอากาศยานจัณฑีครห์ (อินเดีย), ท่าอากาศยานอิบารากิ (ญี่ปุ่น), ท่าอากาศยานนานาชาติเบอร์ลิงตัน (สหรัฐ), ท่าอากาศยานนานาชาติชีคอุล-อาลัม ศรีนาการ์ (อินเดีย), สนามบินไทเป ซงซาน (ไต้หวัน), ท่าอากาศยานไอนด์โฮเฟน (เนเธอร์แลนด์) ในทำนองเดียวกัน ท่าอากาศยานพลเรือนขนาดใหญ่อาจมีฐานทัพอากาศทหารขนาดเล็กอยู่ภายในบริเวณท่าอากาศยาน เช่น ฐานทัพอากาศบรูไน ริมบา (ตั้งอยู่ภายในท่าอากาศยานนานาชาติบรูไน)
ฐานทัพอากาศบางแห่งมีการกระจายการจอดอากาศยาน, โรงเก็บเครื่องบิน (revetment), โรงเก็บเครื่องบินเสริมความแข็งแกร่ง (hardened aircraft shelter) หรือแม้แต่โรงเก็บเครื่องบินใต้ดิน (underground hangars) เพื่อปกป้องเครื่องบินจากการโจมตีของศัตรู อากาศยานรบจำเป็นต้องมีการจัดเก็บอาวุธยุทโธปกรณ์อากาศยานและเครื่องกระสุนอย่างปลอดภัย สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ อาจรวมถึงอาคารทางเทคนิคสำหรับการบริการและการสนับสนุนอุปกรณ์เอาชีวิตรอด (รวมถึงหมวกนักบินและออกซิเจนเหลวส่วนบุคคล) เครื่องจำลองการบินสำหรับการฝึกแบบสังเคราะห์ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับบริการสำหรับระบบเครื่องบินทุกระบบ (โครงเครื่องบิน ระบบขับเคลื่อน ระบบการบิน ระบบอาวุธ)[3] และการสนับสนุนภาคพื้นดินที่เกี่ยวข้องกับระบบ (รวมถึงการขนส่งเชิงกล) ฐานทัพอากาศทหารทั้งหมดจะมีอาคารสำหรับการบริหารงานทหาร (สำนักงานใหญ่ของสถานี การบรรยายสรุปฝูงบิน และการปฏิบัติการ) และฐานที่ใหญ่กว่าจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์และทันตกรรมสำหรับบุคลากรทางทหาร (และบางครั้งก็อยู่ในความดูแลของฐาน) พร้อมด้วยอาหาร (สูทกรรม หรือที่รู้จักกันอย่างไม่เป็นทางการว่า โรงครัว), ที่พัก (ที่พักเดี่ยวสำหรับยศระดับปฏิบัติการ, จ่าสิบเอกและนายทหารสูทกรรม สำหรับนายทหารชั้นประทวนอาวุโสและนายทหารชั้นสัญญาบัตร), สิ่งอำนวยความสะดวกด้านสันทนาการ (คลับเฮาส์สำหรับสังสรรค์), แหล่งช้อปปิ้ง (ร้านค้า NAAFI, การแลกเปลี่ยนระหว่างฐาน, ร้านเสบียง) และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา (ห้องออกกำลังกาย สระว่ายน้ำ สนามกีฬา) ฐานทัพอากาศอาจได้รับการปกป้องด้วยอาวุธต่อต้านอากาศยานและกองกำลังป้องกันกำลังรบ
ฐานแบบกระจายตัว
[แก้]ฐานทัพอากาศแบบกระจาย (หรือกระจายตัว) เป็นสนามบินที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการกระจายหน่วยกำลังทางอากาศในกรณีที่เกิดความขัดแย้ง เพื่อลดความเปราะบางของอากาศยานและหน่วยสนับสนุนในขณะที่อยู่บนพื้นดิน[4] โดยปกติแล้ว ฐานทัพอากาศแบบกระจายตัวไม่จำเป็นต้องปฏิบัติการในช่วงเวลาสงบ ซึ่งอาจจะเปิดใช้งานเมื่อถึงเวลาจำเป็นเท่านั้น สนามบินที่ใช้เป็นฐานกระจายกำลังอาจเป็นสนามบินทหารช่วยรบ ท่าอากาศยานพลเรือน หรือลานบินบนหลวงก็ได้ ตัวอย่างของการใช้ฐานกระจาย ได้แก่ ระบบบาส 60 และบาส 90 ของสวีเดน ฐานกระจายระเบิด วี-บอมเบอร์ ของอังกฤษ และฐานปฏิบัติการแบบกระจายตัวของเนโทในฝรั่งเศส
ฐานบนถนน
[แก้]ฐานทัพอากาศบนถนน เป็นทางหลวงที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นฐานทัพอากาศเสริมในสภาวะสงคราม ประเทศที่เป็นที่รู้กันว่าใช้กลยุทธ์ดังกล่าว ได้แก่ อินเดีย[6], สวีเดน[7], ฟินแลนด์, เยอรมนี (เดิม)[5], สิงคโปร์, สวิตเซอร์แลนด์[8], เกาหลีใต้, ตุรกี, โปแลนด์, ปากีสถาน และสาธารณรัฐเช็ก ในกรณีของฐานทัพอากาศบนถนนของฟินแลนด์ พื้นที่ที่จำเป็นสำหรับการลงจอดเครื่องบินจะลดลงโดยใช้ลวดจับ คล้ายกับการใช้งานเรือบรรทุกเครื่องบินบางลำ (กองทัพอากาศฟินแลนด์ใช้ เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท ซึ่งสามารถลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้)[9]
เรือบรรทุกอากาศยาน
[แก้]เรือบรรทุกอากาศยานเป็นเรือนาวีประเภทหนึ่งของกองทัพเรือซึ่งทำหน้าที่เป็นฐานทัพอากาศในทะเล ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวได้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพอากาศและการบินทหารเรือสมัยใหม่อย่างมาก ในหลายประเทศ ปัจจุบัน พวกเขาเป็นส่วนสำคัญของกองทัพ ทำให้อากาศยานทางทหารของพวกเขาสามารถเข้าใกล้พื้นที่ที่มีความขัดแย้งได้มากขึ้น เรือบรรทุกเครื่องบินมีความสำคัญต่อสหรัฐในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อสหราชอาณาจักรในสงครามฟอล์กแลนด์ พ.ศ. 2525 พวกเขายังคงมีบทบาทสมัยใหม่ เช่นเดียวกับ "ดินแดนอธิปไตยหลายเอเคอร์ที่ประเทศสามารถเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ" ซึ่งช่วยให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการทูตและกิจการทางทหาร เรือบรรทุกอากาศยานอาจจะถูกใช้ในการบรรเทาสาธารณภัยได้เช่นกัน
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "airbase". Dictionary.Cambridge.org. Cambridge, England: Cambridge Dictionary. n.d. สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
- ↑ "airbase". CollinsDictionary.com. Collins Dictionary. n.d. สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
- ↑ Ronald V. (20 December 2010). "Brüggen". ForgottenAirfields.com. Netherlands: Abandoned forgotten & little known airfields in Europe. สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
- ↑ Halliday, John M. (February 1987). "Tactical Dispersal of Fighter Aircraft" (PDF). RAND Corporation.
- ↑ 5.0 5.1 Ronald V. (9 September 2011). "Ahlhorn highway strip". ForgottenAirfields.com. Netherlands: Abandoned forgotten & little known airfields in Europe. สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
- ↑ "Mirage 2000 fighter jet test-lands on Yamuna Expressway near Delhi as part of trials". ndtv.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2016. สืบค้นเมื่อ 6 May 2018.
- ↑ [1] เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 2, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Uno Zero Zero – Ein Jahrhundert Schweizer Luftwaffe". lw.admin.ch. Aeropublications, 324 pages, Swiss Air Force. 2013. ISBN 978-3-9524239-0-5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2016.
- ↑ "Puolustusvoimat – Försvarsmakten – The Finnish Defence Forces". Finnish Defence Forces. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2009. สืบค้นเมื่อ 26 November 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Airbases