ข้ามไปเนื้อหา

สถาปัตยกรรมโหยสฬะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทวาลัยยุคโหยสฬะที่โสมนาถปุระ

สถาปัตยกรรมโหยสฬะ (กันนาดา: ಹೊಯ್ಸಳ ವಾಸ್ತುಶಿಲ್ಪ; โหยสลฬ วาสตุศิลป) เป็นรูปแบบหนึ่งของสถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์ ที่เกิดขึ้นในยุคของจักรวรรดิโหยสฬะ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11-14 ซึ่งปกครองบริเวณที่ในปัจจุบันอยู่ในรัฐกรณาฏกะ อิทธิพลของโหยสฬะมาถึงจุดสูงสุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 สมัยที่ปกครองบริเวณที่ราบสูงเดกกัน ตัวอย่างเทวาลัยยุคโหยสละที่สำคัญ เช่น เจนนเกศวเทวาลัยที่เบลูร์, โหยสเลศวรเทวาลัยที่หเลพีฑู และเจนนเกศวเทวาลัยที่โสมนาถปุระ[1][2][3][4] การศึกษาสถาปัตยกรรมโหยสละพบว่าได้รับอิทธิพลบ้างจากชาวอินโด-อารยัน และอิทธิพลของงานศิลป์แบบอินเดียใต้ ทำให้สถาปัตยกรรมโหยสละมีความโดดเด่นเฉพาะตัว[5]

เทวาลัยที่สร้างก่อนสมัยจักรวรรดิโหยสละในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมจลุกยะตะวันตก ส่วนเทวาลัยในยุคถัด ๆ มาจึงเริ่มมีงานศิลป์แบบโหยสฬะเสริมเข้าไป ปัจจุบันมีเทวาลัยจำนวนกว่าสามร้อยแห่งที่หลงเหลืออยู่ภายในพื้นที่ของรัฐกรณาฏกะ และอีกหลายแห่งที่ปรากฏในงานเขียนและเอกสารโบราณ เทวาลัยจำนวนมากกระจุกตัวอยู่ในอำเภอมเลนาฑู ซึ่งเคยเป็นเขตพระราชฐานของกษัตริย์โหยสฬะ[6]

สถาปัตยกรรมโหยสฬะได้รับการขัดแบ่งโดยอาดัม ฮาร์ดดี นักวิชาการที่ทรงอิทธิพล ว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมเนียม กรณาฏกทราวิฑ ซึ่งเป็นกระแสหนึ่งในสถาปัตยกรรมทราวิฑในที่ราบสูงเดกกันที่ต่างจากรูปแบบทมิฬที่อยู่ลึกลงไปทางใต้ ชื่ออื่น ๆ สำหรับธรรมเนียมนี้ รวมถึง เวสระ และสถาปัตยกรรมจาลุกยะ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสถาปัตยกรรมพทามิจาลุกยะ และกัลยาณีจาลุกยะ ซึ่งมีมาก่อนโหยสฬะไม่นาน ธรรมเนียมนี้โดยรยมครอบคลุมยุคสมัยราวเจ็ดศตวรรษที่เริ่มต้นในศตวรรษที่ 7 ภายใต้การอุปถัมภ์ของจักรวรรดิจาลุกยะแห่งพทามิ ต่อมามีการพัฒนารูปแบบต่อในสมัยจักรวรรดิราษฏรกูฏแห่งมันยาเขตในศตวรรษที่ 9-10 และ กัลยาณีจาลุกยะแห่งพสาวกัลยาณในศตวรรษที่ 11-12 ระยะการพัฒนาสุดท้ายก่อนจะแปรสภาพมาเป็นรูปแบบเฉพาะตัวมีขึ้นในสมัยปกครองของโหยสฬะในศตวรรษที่ 12-13[7] จารึกจากสมัยยุคกลางที่ปรากฏเป็นหลักตามเทวาลัยต่าง ๆ ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยใกีบการบริจาคเพื่อทำนุบำรุงศาสนสถาน รายละเอียดเกี่ยวกับการประกอบพิธีอุทิศ และในบางครั้งแม้แต่รายละเอียดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม[8]

เทพเจ้าประจำเทวาลัย

[แก้]
พระวิษณุและพระลักษมี (ลักษมีนารายณ์) ที่หเลพิฑู

เทวาลัยในศาสนาฮินดูเริ่มแรกเป็นศาลเจ้าอย่างง่ายที่ภายในประดิษฐานเทพเจ้า ในยุคสมัยของชาวโหยสฬะ เทวาลัยได้พัฒนามาเป็นสิ่งปลูกสร้างใหญ่โตที่มีการประกอบสร้างขึ้นอย่างบรรจง ที่ซึ่งศาสนิกชนเสาะหาความยิ่งใหญ่เหนือธรรมชาติในโลกมนุษย์ เทวาลัยแบบโหยสฬะไม่เพีนงแต่จำกัดอยู่เฉพาะในธรรมเนียมอันเป็นระบบของศาสนาฮินดู แต่ยังรวมถึงผู้มีศรัทธาจากขบวนการบูชาธรรมเนียมฮินดูอื่น ๆ ชายโหยสฬะมักจะอุทิศเทวาลัยของตนแก่พระศิวะหรือพระวิษณุ สองเทพเจ้าที้มีกาาเคารพบูชาอย่างแพร่หลายในศาสนาฮินดู กระนั้นก็มีบางโอกาสที่สร้างเทวถานบูชาศาสนบุคคลในลัทธิไชนะเช่นกัน ผู้บูชาพระศิวะเรียกว่า “ไศวะ” และผู้บูชาพระวิษณุเรียกว่า “ไวษณวะ[9][10] ในขณะที่กษัตริย์วิษณุวรรธนะและผู้สืบทอดเป็นผู้นับถือลัทธิไวษณวะ[11] กลับปรากฏหลักฐานบันทึกว่าชาวโหยสฬะยังคงไว้ซึ่งความกลมเกลียวทางศาสนา ผ่านทางการสร้างเทวาลัยบูชาพระศิวะ เช่นเดียวกับที่ได้สร้างเทวาลัยบูชาพระวิษณุ[12]

เทวาลัยส่วนใหญ่มีองค์ประกอบทางโลกวิสัย และเรื่องราวที่กว้างดังที่ปรากฏในงานประติมากรรมต่าง ๆ ดังที่สามารถพบได้ในเจนนเกศวเทวาลัยในเพลูรุซึ่งบูชาพระวิษณุ และโหยสเฬศวรเทวาลัยที่หเลพิฑูซึ่งบูชาพระศิวะ เกศวเทวาลัยที่โสมนาถปุระแตกต่างไปด้วยลักษณะการประดับที่เป็นไวษณวะอย่างเคร่งครัด โดยทั่วไปแล้ว เทวาลัยไวษณวะจะบูชาพระเกศวะ (หรือในบริบทของเจนนเกศวะ หมายถึง “พระวิษณุรูปงาม”) ในขณะที่จำนวนน้อยปรากฏบูชาพระลักษมีนารายณ์ และ ลักษมีนรสิงห์ (พระนารายณ์ และ พระนรสิงห์ ล้วนเป็นอวตารของพระวิษณุ) ประกอบกับพระลักษมี พระชายาของพระวิษณุ ประทับที่เบื้องบาทของพระวิษณุ เทวาลัยพระวิษณุจะตั้งชื่อตามเทพเจ้าเสมอ[13]

เทวาลัยของไศวะจะปรากฏศิวลึงค์ สัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองและสัญลักษณ์สากลของพระศิวะ ในห้องบูชาของเทวาลัย ชื่อของเทวาลัยพระศิวะสามารถลงท้ายด้วยคำต่อท้านว่า -เอศวร ซึ่งแปลว่า ”เจ้าแห่ง“ เช่น ”โหยสเฬศวร“ แปลว่า เจ้าแห่งโหยสฬะ เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจตั้งชื่อตามผู้ศรัทธาที่ก่อสร้างเทวาลัยขึ้น เช่น พุเจศวรเทวาลัย (Bucesvara temple) ที่ โกรวังคัล (Koravangala) ตั้งชื่อตามศรัทธาชนนามว่า พุจิ (Buci)[14] การประดับด้วยประติมากรรมที่โดดเด่นอยู่บนแถวแนวนอนของมุมอาคาร ที่ซึ่งภาพสลักนูนต่ำ ตลอดจนประติมากรรมรูปเทพเจ้าที่แกะสลักอย่างวิจิตรปราฏตามผนังของเทวาลัยส่วนนอก[15]

เทวาลัยโทฑฑฆัฑฑวัลลีลักษมีเทวี ("เทวีแห่งความมั่งคั่ง") เป็นข้อยกเว้นพิเศษ เนื่องจากไม่ได้อุทิศแด่ทั้งพระวิษณุหรือพระศิวะ หลังการพ่ายแพ่ของไชนะในจักรวรรดิคงคา (ปัจจุบันคือกรณาฏกะใต้) ให้แก่ชาวโจฬะในต้นศตวรรษที่ 11 ประกอบกับจำนวนศาสนิกชนของลัทธิไวษณวะและวีรไวษณวะในศตวรรษที่ 12 เกิดขึ้นควบคู่กับความสนใจในศาสนาไชนะที่ลดถอยลง[16] อย่างไรก็ตาม ปรากฏเทวาลัยของไชนะที่สำคัญสองแห่งในอาณาเขตของโหยสฬะ ซึ่งคือ ศรวัณเพลโคละ และ กัมพทหัลลี ชาวโหยสฬะได้สร้างศาสนสถานไชนะขึ้นเพื่อให้ประชากรชาวไชนะพึงพอใจ มีอยู่ไม่มากที่ยังหลงเหลืออยู่ในหเลพิฑู ที่ซึ่งภายในประดิษฐานเทวรูปของตีรถังกรในศาสนาไชนะ ชาวโหยสฬะยังก่อสร้างอ่างเก็บน้ำซึ่งมีขั้นบันไดลงไป เรียกว่า ปุษกรณี (Pushkarni) หรือ กัลยาณี (Kalyani) ดังที่ปรากฏพบที่เทวาลัยในหุเลเกเร (Hulikere) อ่างเก็บน้ำที่หุลิเกเรยังประกอบด้วยศาล 12 ศาลบูชาเทพเจ้าตั้งอยู่โดยรอบ[17]

เทพเจ้าหลักสององค์ที่ปรากฏในประติมากรรมเทวาลัยโหยสฬะ ได้แก่พระศิวะและพระวิษณุในรูปปางและอวตารต่าง ๆ พระศิวะมักปรากฏแสดงในปางสี่กร ทรงตรีศูล กองเล็ก และสัญลักษณ์อื่น ๆ ซึ่งมีการบูชาแยกเป็นของตัวเองในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้อง[18] เทวรูปบุรุษใด ๆ ที่แสดงในลักษณะนี้จะถือว่าเป็นพระศิวะ กระนั้นก็พบรูปเคารพสตรีที่บางครั้งอาจปรากฏในรูปลักษณ์ดังกล่าวในฐานะพระชายาของพระศิวะ ซึ่งคือพระปารวตี สำหรับเทวรูปพระศิวะมีปรากฏอยู่หลายลักษณะ เช่น ในรูปเปลือยพระองค์ทั้งพระองค์หรือบางส่วน, ในรูปปางขณะสังหารอสูร (อานธกะ) หรือร่ายรำบนหัวของช้างที่ถูกสังหาร (คชาสูร) และดึงหนังขึ้นมาหลังคอ มักปรากฏพระองค์เคียงกับพระปารวตีซึ่งเป็นพระชายา หรือกับโคนนทิ นอกจากนี้ยังสามารถพบในรูปพระไภรวะซึ่งเป็นอวตารหนึ่งของพระองค์[18]

เทวรูปบุรุษที่ในมือถือวัตถุบางประการ เช่น หอยสังข์ (สัญลักษณ์ของความเป็นนิรันดร์, พื้นที่อันเป็นสวรรค์) และจักร (เวลาอันเป็นนิรันดร์และพลังแห่งการทำลายล้าง) ถือเป็นพระวิษณุ หากปรากฏในรูปสตรีทรงวัตถุเหล่านี้ จะถือว่าเป็นพระชายาของพระวิษณุ ซึ่งคือพระลักษมี ในทุกรูปปางจะปรากฏพระวิษณุทรงของสี่อย่าง ได้แก่ หอยสังข์ จักร บัว และคฑาเกาโมฑกี ซึ่งสามารถทรงในหัตถ์ใดก็ได้ ทำให้มีรูปปางที่เป็นไปได้อยู่ 24 รูปที่ต่างกัน อันล้วนมีชื่อเรียกของตนเองเป็นเฉพาะ[19] นอกจากนี้ ยังปรากฏพระวิษณุในรูปปางใด ๆ ในสิบอวตาร ซค่งรวมถึงพระวิษณุประทับบนนาคอานันทะ หรือที่รู้จักในชื่อ นาคเศศะ), พระวิษณุประทับเคียงพระลักษมี โดยพระลักษมีประทับบนตัก (ลักษมีนารายณ์), ในรูปที่มีเศียรเป็นสิงโตกระชากเครื่องในออกจากตัวของอสูรอยู่บนตัก (ลักษมีนรสิงห์), ในรูปที่เศียรเป็นหมูป่าเดินเหยียบอสูร (วราหะ), ในปางพระกฤษณะ [ในรูปเวณุโคปาลหรือคนเลี้ยงวัวเป่าเวณุ (ขลุ่ย)), ร่ายรำบนหัวงูกาลิยะ, ยกเขาเช่นเขาวรรธนะ, มีเท้าอยู่เหาือศีรษะของตัวบุคคลขนาดเล็กกว่า (วามนะ), ในรูปเคียงข้างพระอินทร์ทรงช้าง, กับพระลักษมีประทับบนครุฑ และเหยียว (เพื่อขโมยต้นปาริชาต[19]

หมู่สิ่งปลูกสร้างในเทวาลัย

[แก้]

จุดสำคัญของเทวาลัยอยู่ที่ครรภคฤห์หรือโถงบูชากลาง ที่ประดิษฐานเทวรูป การออกแบบสถาปัตยกรรมของเทวาลัยจึงเป็นการขยับผู้สักการะจากด้านนอกสู่ครรภคฤห์ผ่านทางทางเดินซึ่งมีไว้เดินรอบ และห้องโถง (มณฑป) ซึ่งยิ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเมื่อยิ่งเข้าใกล้องค์เทพเจ้า เทวาลัยแบบโหยสฬะมีองค์ประกอบที่โดดเด่นเป็นพิเศษที่ถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งส่วน ตรงข้ามกันกับเทวาลัยแบบแคว้นทมิฬซึ่งองค์ประกอบต่าง ๆ ของเทวาลัยอยู่แยกเป็นเอกเทศจากกัน[20] แม้ว่าจะมีลกษณะภายนอกที่แตกต่างเป็นพิเศษ เทวาลัยแบบโหยสฬะมีลักษณะคล้ายกันในเชิงโครงสร้าง ซึ่งประกอบด้วยประติมากรรมจำนวนมหาศาลประดับทุกส่วนของเทวาลัย ประติมากรรมเหล่านี้แกะสลักมาจากหินปูนอ่อน (chloritic schist) อันเป็นวัสดุชั้นเยี่ยมสำหรับการแกะสลักหินที่มีความวิจิตร ทำขึ้นโดยช่างฝีมือท้องถิ่น และแสดงถึงลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นจากสถาปัตยกรรมเทวาลัยอื่น ๆ ในอินเดียใต้[21]

เทวาลัยโหยสฬะส่วนใหญ่มีระเบียงทางเดินทางเข้าที่มีหลังคาปกคลุม รับน้ำหนักด้วยเสาทรงบิดกลึง ซึ่งบางครั้งก็มีแกะสลักหรือประกอบแม่ลายประดับเข้าไป ตัวเทวาลัยอาจสร้างขึ้นบนฐานที่ยกสูงจากพื้นขึ้นมาราวหนึ่งเมตร เรียแว่า "ชคตี" ซึ่งนอกจากจะให้รูปลักษณ์เหมือนอาคารยกสูงแล้ว ยังเป็น ประทักษิณปาถ หรือเส้นทางเดินสำหรับเดินวนรอบเทวาลัย ในขณะที่ครรภคฤห์จะไม่มีลักษณะดังกล่าว[22] เทวาลัยในลักษณะดังกล่าวจะมีขั้นบันไดเพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งเปิดออกภายในมณฑป (โถงเปิด) ซึ่งเปิดโล่ง และมีกำแพงลายลูกกรง ตัวอย่างชิ้นเยี่ยมของเทวาลัยแบบนี้คือเกศวเทวาลัยที่โสมนาถปุระ ที่ซึ่ง ชคตี มีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งปลูกสร้างที่เหลือของเทวาลัย[23] ซึ่งมีการออกแบบแปลนเป็นรูปดาว และมีผนังเป็นแบบลายซิกแซ็ก ลักษณะเช่นนี้ถือเป็นประดิษฐกรรมของโหยสฬะ[24]

ผู้เดินทางมาสักการะสามารถเริ่มต้นด้วยการทำการทำพิธีเดินวนรอบส่วนฐาน ชคตี โดยเริ่มจากทางเข้าหลักและเดินไปในทิศตามเข็มนาฬิกา (หรือเดินไปทางซ้ายมือ) ก่อนจะเดินเข้าส่วนมณฑป งานประติมากรรมแกะสล้กนูนต่ำบนผนังของกำแพงส่วนนอกก็จัดเรียงลำดับการเล่าเรื่องมหากาพย์ฮินดูในทิศตามเข็มนาฬิกาเช่นกัน เทวลายัที่ไม่ได้สร้างบนฐานชคตีสามารถมีบันไดที่ขนาบข้างด้วยฐานซี่รั้ว (balustrades) ที่แกะสลักเป็นรูปช้าง อันนำพาเข้าไปสู่ในมณฑปจากชั้นระดับพื้นดิน ตัวอย่างเทวาลัยที่ไม่ปรากฏฐานยก คือเทวาลัยพุเจศวรในอำเภอหัสสาน เทวาลัยที่มีสองศาลภายใน (ทวิกูฏ) จะมี วิมาน ตั้งอยู่ข้างกันหรือตรงกันข้ามกันกับแต่ละศาลได้เช่นกัน[25] ลักษมีเทวีเทวาลัยที่โฑททฆัฑฑวัฬฬิ เป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมโหยสฬะที่โดดเด่นเฉพาะตัว ด้วยศาลสี่ศาล และศาลร่วมตรงกลางเป็นศาลที่ห้า (ซึ่งบูชาพระไภรวะ) ภายในหมู่สิ่งปลูกสร้างเดียวกัน[26] นอกจากนี้ยังมีศาลย่อยอีกสี่ศาลตั้งอยู่ที่มุมขอบทั้งสี่ของลานกลาง (ปราการัม)[27]

องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม

[แก้]

มณฑป

[แก้]

มณฑป หมายถึงโถงซึ่งผู้คนมารวมตัวกันเพื่อสวดภาวนา ทางเข้าสู่มณฑปโดยทั่วไปมีชิ้นประติมากรรมประดับอย่างวิจิตรเหนือขื่อประตู เรียกว่า มกรโตรณะ (มกร เป็นสัตว์ในตำนาน และ โตรณะ หมายถึงเครื่องประดับที่อยู่เหนือศีรษะ)[22] มณฑปมีลักษณะเปิด จึงมีบทบาทในฐานะห้องโถงชั้นนอก ลักษณะเช่นนี้ปรากฏในเทวาลัยโหยสฬะขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีทางเดินไปสู่กับมณฑปปิดขนาดเล็ก และบรรดาศาลภายใน มณฑปเปิดซึ่งมักจะมีพื้นที่ขนาดใหญ่นี้มักมีพื้นที่นั่ง (อาสนะ) ทำมาจากหิน ส่วนผนังลายลูกกรงเป็นพนักพิงหลัง ที่นั่งอาจจัดวางไปตามรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่สับเื่อมกันตามลายผนังลูกกรง[28][29] เพดานของมณฑปมักมีเสาจำนวนมากค้ำยัน ทำให้เกิดช่วงเสา (bays) ขึ้นมากมาย[30] รูปทรงของมณฑปเปิดเช่นนี้สามารถบรรยายว่าเป็รลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัสสลับเหลื่อม (staggered-square) และถือเป็นรูปแบบที่ปรากฏในเทวาลัยโหยสฬะส่วนใหญ่[31] แม้มณฑปเปิดที่มีขนาดเล็กที่สุดยังพบว่ามีช่วงเสารวม 13 ส่วน ผนังราวลูกกรงซึ่งมีเสาครึ่งหนึ่งช่วยรับน้ำหนักขอบปลายส่วนนอกของหลังคา และยังช่วยให้มีแสงสว่างเข้าถึงภาพในเพียงพอ อันช่วยให้สามารถมองเห็นรายละเอียดของงานประติมากรรมได้ทั้งหมด เพดานของมณฑปมักประดับอย่างวิจิตรด้วยงานประติมากรรม ทั้งจากปรัมปราและรูปพันธุ์ไม้ดอกต่าง ๆ เพดานยังอาจประกอบด้วยพื้นผิวลึกและพื้นผิวทรงโดมซึ่งภายในมีงานประติมากรรมรูปหน่อกล้วยไปจนถึงงานประดับอื่น ๆ[32]

ในกรณีที่เทวาลัยมีชนาดเล็กจะประกอบด้วยเพียง มณฑป แบบปิด กล่าวคือมีผนังปิดตั้งแต่พื้นจรดเพดาน อยู่หลังเดียว และตัวศาล สำหรับมณฑปทรงปิดซึ่งมีการตกแต่งอย่างดีทั้งด้านในและภายนอก มีขนาดใหญ่กว่าเพียงห้องทางเข้า (vestibule) ที่เชื่อมต่อเข้ากับศาล นอกจากนี้ ตัว มณฑป ยังประกอบด้วยเสากลึงเป็นรูปกลม (lathe-turned pillars) สี่เสา ซึ่งรับน้ำหนักของเพดาน ส่วนเพดานอาจมีลักษณะเป็นทรงโดมอย่างลึก (deeply domed) เสาสี่เสานี้แบ่งพื้นที่ห้องของมณฑปออกเป็นเก้าส่วน (bays) ที่ซึ่งมีเพดานอันประดับตกแต่งเก้าเพดาน[33] ผนังหินฉลุลาย (ฌาฬิ หรือ งานแลททิซ) ซึ่งใช้งานเป็นหน้าต่างใน นวรงค์ (navaranga; โถง) และ สภามณฑป (Sabhamantapa; โถงรวมตัว, โถงพบปะ) เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบเชิงรูปแบบที่เฉพาะต่อสถาปัตยกรรมโหยสฬะ[22]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hardy (1995), pp243–245
  2. Foekema (1996), p47, p59, p87
  3. Hardy (1995), p320, p321, p324, p325, p329, p332, p334, p339, p340, p346
  4. Foekema (1996), p53, p37, p71, p81, p41, p43, p83
  5. Percy Brown in Kamath (2001), p134
  6. Hardy (1995), p244
  7. Hardy (1995), pp. 6–7, section Introduction-Dynasties and Periods
  8. Foekema (2003), p. 18
  9. Foekema (1996), pp. 19–20, chapter-The dedications and names of temples
  10. Hardy (1995), p. 245
  11. Kamath (2001), p. 132
  12. Foekema (1996), p. 19
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ramayana1
  14. Foekema (1996), p. 19–20
  15. Kamath (2001), p. 134
  16. Kamath (2001), pp 112, 132
  17. Foekema (1996), plate 27
  18. 18.0 18.1 Foekema (1996), p. 31, chapter:Recognizing the most important deities
  19. 19.0 19.1 Foekema (1996), p. 32, chapter:Recognizing the most important deities
  20. Foekema (1996), p. 21
  21. Kamath (2001), p. 136
  22. 22.0 22.1 22.2 Kamath (2001), p. 135
  23. Foekema (1996), p. 25
  24. Arthikaje. "History of Karnataka-Religion, Literature, Art and Architecture in Hoysala Empire". 1998–2000 OurKarnataka.Com, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2006. สืบค้นเมื่อ 13 November 2006.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  25. The Hoysaleswara shrine and the Shantaleswara shrine in the Hoysaleswara Temple in Halebidu are examples. (Foekema 1996, p. 59)
  26. Foekema (1996), p. 25, p. 57, section:Dodda Gadduvalli
  27. Hardy (1995), p. 246
  28. Foekema (1996), pp. 22–23
  29. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ quad
  30. A bay is a square or rectangular compartment in the hall (Foekema 1996, p. 93)
  31. This is also called "cross-in-square" style and is not a square (Foekema, 1996, p. 22)
  32. Githa U.B. (11 May 2004). "Here, the past unfolds itself in all its glory & might—Hoyasala architecture in Somanathapura". Deccan Herald. Chitralakshana. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-04. สืบค้นเมื่อ 13 November 2006.
  33. The four pillars and nine bays of a closed mantapa is a norm in Hoysala temples (Foekema 1996, p. 22)

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Settar S. "Hoysala heritage". history and craftsmanship of Belur and Halebid temples. Frontline. สืบค้นเมื่อ 13 November 2006.
  • "Monuments of Bangalore Circle". Archaeological Survey of India, Bengaluru Circle. ASI Bengaluru Circle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2015.
  • Arthikaje. "Architecture in Hoysala Empire". History of karnataka. OurKarnataka.Com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2006. สืบค้นเมื่อ 13 November 2006.
  • Kamiya Takeo. "Architecture of Indian Subcontinent". Indian Architecture. Architecture Autonomous. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 13 November 2006.
  • Ragavendra, Srinidhi. "In need of support". Spectrum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ตุลาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2006.
  • Githa U.B. "Hoyasala architecture in Somanathapura". History of Indian art. chitralakshana. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มิถุนายน 2006. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2006.
  • Review by: Ajay J. Sinha of Hardy, Adam. "Indian Temple Architecture: Form and Transformation—The Karnata Dravida Tradition 7th to 13th Centuries". Art History. 58: 358–362. JSTOR 3250027.
  • Premakumar, B.P. "Architectural marvel". Deccan Herald. Spectrum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2006.