ข้ามไปเนื้อหา

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
ชื่อย่อสจล. วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ / KMITL Prince of Chumphon
คติพจน์การศึกษา วิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ
ประเภทวิทยาเขต
สถาปนาพ.ศ. 2534
สถาบันหลักสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
รองอธิการบดีรศ.ดร.คำรณวิทย์ ทิพย์มณี
ที่ตั้ง
17/1 หมู่6 ตำบลโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 86160
สี   สีแสด-สีขาว
เว็บไซต์เว็บไซต์วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

ประวัติ

[แก้]

วิทยาเขตชุมพร เริ่มก่อตั้งจากแนวความคิดในการขยายพื้นที่ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังไปสู่ภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2526 ได้ทำการศึกษาพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร จำนวนประมาณ 11,224 ไร่ และได้ทำการขออนุญาตจากกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทั่งเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้สถาบันฯ เข้าทำประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าว สถาบันฯ จึงได้จัดตั้งหน่วยงานต่อทบวงมหาวิทยาลัย และได้รับอนุมัติให้จัดตั้ง "สถานีวิจัยการเกษตรชุมพร" เป็นหน่วยงานเทียบเท่าภาควิชา ในสังกัดคณะเทคโนโลยีการเกษตร แต่สถาบันฯ ได้ขอทบทวนและเปลี่ยนแปลงหน่วยงานเป็น "สำนักศึกษาและวิจัยชุมพร" มีฐานะเทียบเท่าคณะ และได้รับความเห็นชอบเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2534 โดยให้วิทยาเขตสารสนเทศเป็นทางเลือกที่เหมาะสม ดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกล โดยใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาจารย์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 จังหวัดชุมพร ได้ขอใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของวิทยาเขตชุมพร ในการจัดตั้งสนามบินภายในประเทศของกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม จำนวน 4,994 ไร่ และให้ราษฎรใช้ทำกิน (สปก.) ทำให้วิทยาเขตฯ เหลือพื้นที่อยู่จำนวน 3,500 ไร่ ซึ่งวิทยาเขตได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสถานที่ โดยวิทยาเขตฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนรวม และพระราชทานนามว่า "อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา" และ "อาคารสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" พร้อมเปิดป้ายวิทยาเขต เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2541

วิทยาเขตชุมพร เริ่มเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2539 โดยเปิดสอนในระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช และได้ขยายการศึกษาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พศ. 2556 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนาม "ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์" เป็นชื่อของ วิทยาเขตชุมพร ว่า "วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร"

หลักสูตร

[แก้]

ปัจจุบัน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร รับสมัครนักศึกษาใหม่

สาขาวิชา หลักสูตร ค่าบำรุงการศึกษาต่อหนึ่งภาคการศึกษา

วิศวกรรมศาสตร์

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี)

  • วศ.บ. วิศวกรรมเครื่องกล แขนงวิศวกรรมเครื่องกล
  • วศ.บ. วิศวกรรมไฟฟ้า แขนงวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
  • วศ.บ. วิศวกรรมไฟฟ้า แขนงวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • วศ.บ. วิศวกรรมไฟฟ้า แขนงวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
  • วศ.บ. วิศวกรรมหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
  • วศ.บ. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท)

  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก)

  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วศ.ด.) สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
ปริญญาตรี 20,000 บาท

ปริญญาโท 27,000 บาท

ปริญญาเอก

- นักศึกษาไทย 32,000 บาท

- นักศึกษาต่างชาติ 120,000 บาท

เทคโนโลยีการเกษตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี)

  • วท.บ. เทคโนโลยีการจัดการผลิตพืช
  • วท.บ. สัตวศาสตร์ แขนงการผลิตและธุรกิจปศุสัตว์
  • วท.บ. สัตวศาสตร์ แขนงการผลิตและธุรกิจสัตว์เลี้ยง
  • วท.บ. วิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท)

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
ปริญญาตรี 15,000 บาท

ปริญญาโท 20,000 บาท

พื้นฐานทั่วไป

วิทยาศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี)

  • วท.บ. นวัตกรรมอาหารและการจัดการ

บริหารธุรกิจบัณฑิต (ปริญญาตรี)

  • บธ.บ. บริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ปริญญาโท)

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก)

  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
ปริญญาตรี

- นวัตกรรมอาหารและการจัดการ 19,000 บาท

- บริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ 16,000 บาท

ปริญญาโท บริหารธุรกิจ 32,000 บาท

ปริญญาเอก บริหารธุรกิจ

- นักศึกษาไทย 79,000 บาท

- นักศึกษาต่างชาติ 150,000 บาท

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]