สถานีรถไฟพระตะบอง
สถานีรถไฟพระตะบอง | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีรถไฟพระตะบองใน พ.ศ. 2557 | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | พระตะบอง จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา | ||||||||||
พิกัด | 13°05′52″N 103°11′40″E / 13.097868°N 103.194539°E | ||||||||||
เจ้าของ | รอยัลเรลเวย์ | ||||||||||
สาย | ตะวันตก (เดิมทางรถไฟสายอรัญญประเทศ–พระตะบอง) | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | พ.ศ. 2496 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
|
สถานีรถไฟพระตะบอง (เขมร: ស្ថានីយ៍រថភ្លើងបាត់ដំបង) เป็นสถานีรถไฟหลักของเมืองพระตะบอง จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา อยู่ในเส้นทางรถไฟสายตะวันตกของประเทศ เปิดให้บริการตั้งแต่ พ.ศ. 2496 ดำเนินกิจการโดยรถไฟหลวงกัมพูชา (Chemins de Fer Royaux du Cambodge) ปัจจุบันดำเนินกิจการโดยรอยัลเรลเวย์ (อังกฤษ: Royal Railway) สถานีรถไฟนี้เป็นจุดเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟพนมเปญกับสถานีรถไฟกรุงเทพของประเทศไทย
ประวัติ
[แก้]เส้นทางรถไฟของสถานีรถไฟพระตะบองสร้างโดยรัฐบาลไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นส่วนต่อขยายของทางรถไฟสายอรัญญประเทศ–มงคลบุรี ที่ขยายเข้าเมืองพระตะบอง รัฐบาลไทยได้ทำการเวนคืนที่ดินในจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดพิบูลสงคราม และจังหวัดพระตะบองเพื่อก่อสร้างเส้นทางใน พ.ศ. 2485–2487[1][2] โดยมีทหารญี่ปุ่นทำหน้าที่บุกเบิกเส้นทางให้ แต่ครั้นสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. 2489 รัฐบาลไทยต้องคืนดินแดนและเส้นทางที่เคยสร้างไว้คืนแก่ฝรั่งเศส[3] ในช่วงสงครามกลางเมืองกัมพูชา ทางรถไฟเส้นนี้ได้รับความเสียหายหนักจากปืนใหญ่ และถูกทำลายอีกครั้งในยุคเขมรแดง[4]
ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 การเดินทางระหว่างพนมเปญ–พระตะบองมีระยะทางราว 300 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 14 ชั่วโมง แต่การเดินทางโดยรถไฟนี้จะใช้เวลาเดินทาง 2-3 วัน และอันตรายมากกว่า[4] การเดินรถหยุดลงใน พ.ศ. 2552 เพราะสภาพรางรถไฟทรุดโทรมเกินไป และเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ปัจจุบันมีการเดินรถไปชายแดนไทยที่สถานีรถไฟปอยเปต และมีแผนที่จะเชื่อมโยงการเดินรถระหว่างกรุงเทพฯ–พนมเปญ[5]
สิ่งก่อสร้าง
[แก้]ตัวอาคารสถานีได้รับการบูรณะและทาสีใหม่ ส่วนนาฬิกาเหนือประตูทางเข้าตายตั้งแต่เมื่อไรไม่ปรากฏ และเข็มนาฬิกาหยุดไว้ในเวลา 08.02 น. ส่วนรางรถไฟในเขตสถานีถูกซ่อมแซมใหม่เมื่อ พ.ศ. 2561 นอกจากนี้ยังมีซากโกดัง และกระท่อมสัญญาณรถไฟที่พังเสียหายตามกาลเวลา ซึ่งบางส่วนมีคนบุกรุกเข้าไปอาศัย เก็บของ หรือทำพาณิชยกรรมในนั้น[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระราชกริสดีกา กำหนดเขตที่ดินไนบริเวนที่ที่จะเวนคืน ไนท้องที่อำเพออรัญประเทส จังหวัดปราจีนบุรี อำเพอสรีโสภน จังหวัดพิบูลสงคราม และอำเพอมงคลบุรี อำเพอเมืองพระตะบอง อำเพออธึกเทวเดช จังหวัดพระตะบอง พุทธสักราช 2485" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 59 (73 ก): 2251. 24 พฤศจิกายน 2485.
- ↑ "พระราชกริสดีกา กำหนดเขตที่ดินไนบริเวนที่ที่จะเวนคืน ไนท้องที่อำเพออรัญประเทส จังหวัดปราจีนบุรี อำเพอสรีโสภน จังหวัดพิบูลสงคราม และอำเพอมงคลบุรี อำเพอเมืองพระตะบอง อำเพอรนนภากาส จังหวัดพระตะบอง พุทธสักราช 2487" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 61 (72 ก): 1146. 24 พฤศจิกายน 2487.
- ↑ อภิญญ ตะวันออก (6 กันยายน 2560). "แด่หนุ่มสาว (12) / กาลครั้งหนึ่ง ณ ทางรถไฟไทย-กัมพูชา". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 4.0 4.1 4.2 Battambang Railway Station. เก็บถาวร 17 พฤศจิกายน 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2 November 2016. Downloaded on 16 November 2017.
- ↑ Seat61: Seat61 News August 2018 Downloaded on 3 August 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สถานีรถไฟพระตะบอง