ข้ามไปเนื้อหา

สถานีย่อย:ฟิสิกส์/บทความยอดเยี่ยมทั้งหมด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กุมภาพันธ์ 2550

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) (14 มีนาคม พ.ศ. 2422 - 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวเยอรมันที่มีสัญชาติสวิสและอเมริกัน (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2464 จากการอธิบายปฏิกิริยาโฟโตอิเล็กทริก และจาก "การทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี" อ่านต่อ...


ที่เก็บถาวร

มีนาคม 2550

อุณหพลศาสตร์ เป็นสาขาของฟิสิกส์ ที่ศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวกับ ความร้อน อุณหภูมิ งาน และพลังงาน ในช่วงแรกการศึกษาอุณหพลศาสตร์เกิดจากการศึกษาเรื่องเครื่องจักรความร้อน ต่อมาในภายหลัง นักวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักว่า อุณหพลศาสตร์ครอบคลุมถึงกระบวนการการเปลี่ยนแปลงมหาศาล ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ทั้งในโลกตลอดจนทั้งจักรวาล เช่น การทำนายถึงจุดกำเนิดและดับสูญของจักรวาลด้วยกฎข้อที่ 2 ของอุณหพลศาสตร์ และการบ่งบอกทิศทางของเวลา (direction of time) ด้วยการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี อุณหพลศาสตร์เป็นสาขาหลักทางฟิสิกส์นับแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา อ่านต่อ...


บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ที่เก็บถาวร

พฤษภาคม 2550

มักซ์ คาร์ล แอร์นสต์ ลุดวิก พลังค์ (Max Karl Ernst Ludwig Planck) (23 เมษายน พ.ศ. 2401 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2490) เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ผู้บุกเบิกการศึกษาทฤษฎีควอนตัม อันเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาฟิสิกส์สมัยใหม่ แม้ในชีวิตตอนแรกของเขาจะดูราบรื่น โดยเขามีความสามารถทั้งทางดนตรีและฟิสิกส์ แต่เขากลับเดินไปในเส้นทางแห่งนักฟิสิกส์ทฤษฎี จนเขาได้ตั้งทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่สำคัญต่อฟิสิกส์สมัยใหม่ นั่นคือ กฎการแผ่รังสีของวัตถุดำของพลังค์ รวมถึงค่าคงตัวของพลังค์ ซึ่งนับว่าขาดไม่ได้เลยสำหรับการศึกษากลศาสตร์ควอนตัม ทว่าบั้นปลายกลับเต็มไปด้วยความสิ้นหวังจากภัยสงคราม เขาต้องสูญเสียภรรยาคนแรก และบุตรที่เกิดกับภรรยาคนแรกไปทั้งหมด จนเหลือเพียงตัวเขา ภรรยาคนที่สอง และบุตรชายที่เกิดกับภรรยาคนที่สองเพียงคนเดียว ถึงกระนั้น มักซ์ พลังค์ ก็ยังไม่ออกจากประเทศเยอรมนีอันเป็นบ้านเกิดของเขาไปยังดินแดนอื่น อ่านต่อ...


บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: อุณหพลศาสตร์ - อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ที่เก็บถาวร

กรกฎาคม 2550

เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) (4 มกราคม พ.ศ. 2186-31 มีนาคม พ.ศ. 2270 (ตามปฏิทินเกรกอเรียน) หรือ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2185- 20 มีนาคม พ.ศ. 2270 ตามปฏิทินจูเลียน) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ นิวตันเกิดที่เมืองวูลสธอร์ป ลิงคอนไชร์ ประเทศอังกฤษ อ่านต่อ...


บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: มักซ์ พลังค์ - อุณหพลศาสตร์ - อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ที่เก็บถาวร

กันยายน 2550
สตีเฟน ฮอว์คิง
สตีเฟน ฮอว์คิง

สตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking; เกิด 8 มกราคม พ.ศ. 2485) เป็นศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้รับการยกย่องว่า เป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ไม่กี่คนในยุคปัจจุบันที่เข้าใจ และสามารถอธิบายทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ ได้ ฮอว์คิงเป็นผู้แต่งหนังสือ ประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) และ จักรวาลในเปลือกนัท (The Universe in a Nutshell) ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนังสือที่อธิบายเรื่องยากๆ อย่าง ควอนตัมฟิสิกส์ ให้คนทั่วไปอ่านได้ อ่านต่อ...


บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: ไอแซก นิวตัน - มักซ์ พลังค์ - อุณหพลศาสตร์
ที่เก็บถาวร

พฤศจิกายน 2550
สตีเฟน ฮอว์คิง
สตีเฟน ฮอว์คิง

วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ประจำมหาวิทยาลัยเวิร์ซแบร์ก ผู้ค้นพบและสร้างรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีช่วงคลื่น ขนาดที่รู้จักในปัจจุบันว่ารังสีเอกซ์ (x-rays) หรือ รังสีเรนต์เกน เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438ความสำเร็จที่ทำให้เรินต์เกนได้รับรางวัลโนเบลรางวัลแรก เมื่อ พ.ศ. 2444

เรินต์เกน ที่สะกดในภาษาเยอรมันว่า "Röntgen" มักสะกดเป็นภาษาอังกฤษโดยทั่วไปว่า "Roentgen" ดังนั้น ในเอกสารวิชาการและการแพทย์เกือบทั้งหมดจึงใช้คำสะกดว่า "Roentgen" อ่านต่อ...


บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: สตีเฟน ฮอว์คิง - ไอแซก นิวตัน - มักซ์ พลังค์
ที่เก็บถาวร

ธันวาคม 2550

ตัวต้านทาน หรือ รีซิสเตอร์ (resistor) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดสองขั้ว ที่สร้างความต่างศักย์ทางไฟฟ้าขึ้นคร่อมขั้วทั้งสอง โดยมีสัดส่วนมากน้อยตามกระแสที่ไหลผ่าน อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ และปริมาณกระแสไฟฟ้า ก็คือ ค่าความต้านทานทางไฟฟ้า หรือค่าความต้านทาน

หน่วยค่าความต้านทานไฟฟ้าตามระบบเอสไอ คือ โอห์ม อุปกรณ์ที่มีความต้านทาน ค่า 1 โอห์ม หากมีความต่างศักย์ 1 โวลต์ไหลผ่าน จะให้กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ ซึ่งเท่ากับการไหลของประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ (ประมาณ 6.241506 × 1018 อิเล็กตรอน) ต่อวินาที อ่านต่อ...


บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน - สตีเฟน ฮอว์คิง - ไอแซก นิวตัน
ที่เก็บถาวร

มีนาคม 2551

สนามแม่เหล็ก อาจเกิดขึ้นได้จากกระแสไฟฟ้า หรือในทางกลศาสตร์ควอนตัมนั้น สปินของอนุภาคต่างๆ ก็ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กเช่นกัน ซึ่งสนามอย่างหลังนี่เองเป็นที่มาของสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กถาวรต่างๆ

สนามแม่เหล็กคือปริมาณที่บ่งบอกแรงกระทำบนประจุที่กำลังเคลื่อนที่ สนามแม่เหล็กเป็นสนามเวกเตอร์และทิศของสนามแม่เหล็ก ณ ตำแน่งใดๆ คือทิศที่เข็มของเข็มทิศวางตัวอย่างสมดุล อ่านต่อ...


บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: ตัวต้านทาน - วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน - สตีเฟน ฮอว์คิง
ที่เก็บถาวร