ข้ามไปเนื้อหา

สตาร์ วอร์ส (ภาพยนตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สตาร์ วอร์ส 4)
สตาร์ วอร์ส
ใบปิดภาพยนตร์โดยทอม ยัง
กำกับจอร์จ ลูคัส
เขียนบทจอร์จ ลูคัส
อำนวยการสร้างแกรี เคิร์ทซ์
นักแสดงนำ
กำกับภาพกิลเบิร์ต เทย์เลอร์
ตัดต่อ
ดนตรีประกอบจอห์น วิลเลียมส์
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์
วันฉาย
  • 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1977 (1977-05-25) (สหรัฐ)
ความยาว121 นาที[1]
ประเทศสหรัฐ[2]
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3][4]
ทำเงิน775.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]

สตาร์ วอร์ส (อังกฤษ: Star Wars) (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 4 ความหวังใหม่ (อังกฤษ: Star Wars: Episode IV – A New Hope)) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวมหากาพย์บันเทิงคดีอวกาศ ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1977 เขียนบทและกำกับโดย จอร์จ ลูคัส สร้างโดยลูคัสฟิล์มและจัดจำหน่ายโดยทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ แสดงนำโดย มาร์ค ฮามิลล์, แฮร์ริสัน ฟอร์ด, แคร์รี ฟิชเชอร์, ปีเตอร์ คุชิง, อเล็ก กินเนสส์, เดวิด พราวส์, เจมส์ เอิร์ล โจนส์, แอนโทนี แดเนียลส์, เคนนี เบเกอร์และปีเตอร์ เมย์ฮิว เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของแฟรนไชส์และใน สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม และเป็นตอนที่สี่ใน "มหากาพย์สกายวอล์คเกอร์"

ลูคัสมีแนวคิดของภาพยนตร์บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์แบบเดียวกับ แฟลชกอร์ดอน ช่วงเวลาที่เขาเพึ่งถ่ายทำ THX 1138 (1971) ภาพยนตร์เรื่องแรกของเขาเสร็จและเริ่มทำงานร่างบทแรกหลังการฉายของ อเมริกันกราฟฟิติ (1973) สตาร์ วอร์ส เน้นไปที่การเดินทางของ ลุค สกายวอล์คเกอร์ (แฮมิลล์) พร้อมกับ ฮาน โซโล (ฟอร์ด) และอดีตอาจารย์เจได โอบีวัน เคโนบี (กินเนสส์) พยายามปลดปล่อยและช่วยเหลือผู้นำฝ่ายกบฏ เจ้าหญิงเลอา (ฟิชเชอร์) จากเงื้อมมือของจักรวรรดิกาแลกติกและซิธลอร์ด ดาร์ธ เวเดอร์ (พราวส์, ให้เสียงโดย โจนส์) เหล่าวีรบุรุษได้เข้าร่วมกับพันธมิตรกบฏเพื่อพยายามทำลายดาวมรณะ สถานีอวกาศขนาดเท่าดวงดาวของเอมไพร์

สตาร์ วอร์ส ฉายในโรงภาพยนตร์ไม่กี่แห่งในสหรัฐเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1977 ก่อนจะได้รับความนิยมจนกลายเป็นภาพยนตร์บล็อกบัสเตอร์ นำไปสู่การฉายในวงกว้าง ภาพยนตร์ได้การตอบรับดีมากจากนักวิจารณ์ โดยเฉพาะเรื่องเทคนิคภาพที่ก้าวล้ำ ภาพยนตร์ทำเงินทั้งหมด 775 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำเงินแซง จอว์ส (1975) และกลายเป็น ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด จนกระทั่งการฉายของ อี.ที. เพื่อนรัก (1982) เมื่อปรับอัตราเงินเฟ้อแล้ว สตาร์ วอร์ส เป็นภาพยนตร์ที่เงินสูงสุดอันดับที่สองในอเมริกาเหนือ (ตามหลัง วิมานลอย) และ ภาพยนตร์ที่เงินสูงสุดอันดับที่สี่ในโลก ภาพยนตร์ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์จำนวนสิบสาขา (รวมถึง สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม) โดยชนะเลิศเจ็ดสาขา ในปี ค.ศ. 1989 ภาพยนตร์กลายเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ยี่สิบห้าเรื่องแรกที่ถูกเลือกโดยหอสมุดรัฐสภาของสหรัฐให้เก็บรักษาไว้ในหอทะเบียนภาพยนตร์แห่งชาติ ในฐานะที่ภาพยนตร์ "มีวัฒนธรรม, ประวัติศาสตร์, หรือ มีความสุนทรีย์อย่างมีนัยสำคัญ"[5][6] นอกจากนี้ยังเป็นภาพยนตร์ที่ใหม่ที่สุดในหอทะเบียนในขณะนั้นและเป็นภาพยนตร์เรื่องเดียวที่ถูกเลือกจากทศวรรษ 1970 ในปี ค.ศ. 2004 อัลบั้มดนตรีประกอบของภาพยนตร์ได้รับการบรรจุในหอทะเบียนบันทึกเสียงแห่งชาติของสหรัฐ ปัจจุบัน สตาร์ วอร์ส ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์

ภาพยนตร์มีการฉายใหม่อยู่หลายครั้งด้วยการสนับสนุนจากลูคัส โดยเห็นได้ชัดที่สุดจากภาพยนตร์ "ฉบับพิเศษ" ฉลองครบรอบ 20 ปี ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น การปรับปรุงภาพด้วยการใช้ภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์, การเปลี่ยนแปลงบทสนทนา, การตัดต่อฉาก, การทำดนตรีประกอบใหม่และการเพิ่มฉากใหม่ ภาพยนตร์กลายเป็น "วัฒนธรรมประชานิยม" และทำให้เกิดสื่อต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ นวนิยาย, การ์ตูน, วิดีโอเกม, เครื่องเล่นสวนสนุกและสินค้าจากภาพยนตร์ เช่น ของเล่น, เกม, เสื้อผ้าและผลงานอื่น ๆ อีกมากมาย ความสำเร็จของภาพยนตร์นำไปสู่การสร้างภาคต่อสองภาคที่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านคำวิจารณ์และรายได้ ได้แก่ สตาร์ วอร์ส 2 (1980) และ สตาร์ วอร์ส 3: ชัยชนะของเจได (1983) ซึ่งต่อมาได้มีการสร้าง ไตรภาคต้น, ไตรภาคต่อ, ภาพยนตร์เนื้อเรื่องแยกสองเรื่องและรายการโทรทัศน์อีกมากมาย

โครงเรื่อง

[แก้]

กาแลกซีอยู่ในช่วงสงครามกลางเมือง สายลับฝ่ายกบฏได้ขโมยแบบแปลนดาวมรณะของจักรวรรดิกาแลกติก ซึ่งเป็นสถานีอวกาศขนาดเท่าดวงจันทร์ที่สามารถทำลายดาวเคราะห์ทั้งดวงได้ เจ้าหญิงเลอา เป็นหนึ่งในผู้นำของฝ่ายกบฏอย่างลับ ๆ ได้รับแบบแปลนดังกล่าว แต่ยานของเธอถูกดักโดยยานพิฆาตดาราของจักรวรรดิ ภายใต้การควบคุมของ ซิธลอร์ด ดาร์ธ เวเดอร์ ผู้ไร้ความปรานี ก่อนที่เลอาจะถูกจับ เธอซ่อนแบบแปลนไว้ในหน่วยความจำของแอสโตรเมคดรอยด์ อาร์ทูดีทู ซึ่งได้หนีออกจากยานไปพร้อมกับโพรโทคอลดรอยด์ ซีทรีพีโอ ด้วยแคปซูลหนีภัยลงไปยังดาวเคราะห์ทะเลทราย ทาทูอีน

ดรอยด์ทั้งสองถูกจับโดยพ่อค้าเผ่าจาวา และได้ขายให้กับชาวไร่ความชื้น โอเวน, เบรูและหลานชายของพวกเขา ลุค สกายวอล์คเกอร์ ขณะที่ลุคกำลังทำความสะอาดอาร์ทูดีทู ลุคบังเอิญไปกดปุ่มทำให้ปรากฏภาพโฮโลแกรมของเลอา ซึ่งเธอได้ข้อความช่วยเหลือจาก โอบีวัน เคโนบี ลุครู้จัก “เฒ่าเบน” เคโนบี ซึ่งเป็นฤๅษีแก่ที่อาศัยอยู่แถวนี้ เขาถามลุงของเขาว่ารู้อะไรเรื่องนี้บ้างไหม แต่ลุงของเขาตัดจบประเด็นดังกล่าว เช้าวันต่อมา ลุคออกตามหาอาร์ทูดีทูซึ่งหายตัวไป ขณะที่กำลังตามหาเขา ลุคได้พบกับเฒ่าเบน ซึ่งเขาได้เปิดเผยว่าชื่อจริงของเขาคือ โอบีวัน เบนเล่าเรื่องราวในอดีตของเขา เมื่อสมัยยังมีอัศวินเจได อดีตผู้รักษาสันติภาพของสาธารณรัฐกาแลกติก เป็นผู้ที่สามารถพลังทำสิ่งต่าง ๆ จนกระทั่งถูกกวาดล้างโดยจักรวรรดิกาแลกติก ลุครับรู้ว่าพ่อของเขาต่อสู้ร่วมกับโอบีวันในฐานะอัศวินเจได จนกระทั่งเวเดอร์ อดีตศิษย์ของโอบีวัน เข้าสู่ด้านมืดของพลังและฆ่าพ่อของลุค ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ลุงของลุคบอกเขา โอบีวันให้ของขวัญลุคเป็น กระบี่แสง อดีตอาวุธของพ่อลุค

อาร์ทูดีทูเล่นข้อความของเลอาให้โอบีวันดู ในข้อความเธอขอร้องให้นำแบบแปลนดาวมรณะไปยังดาวเกิดของเธอ อัลเดอราน และมอบให้กับพ่อของเธอ เพื่อวิเคราะห์ โอบีวันชวนลุคให้ไปกับเขาที่อัลเดอรานและเรียนรู้วิธึแห่งพลัง แต่ลุคปฏิเสธ บอกว่าลุงและป้าของเขายังต้องการลุค เมื่อลุคกลับมาถึงบ้าน เขาพบว่าสตอร์มทรูปเปอร์ได้ฆ่าลุงและป้าของเขาและทำลายไร่ของพวกเขาเพื่อตามหาดรอยด์ ทำให้ลุคไม่มีทางเลือก ต้องเดินทางไปกับโอบีวัน พวกเขาเดินทางไปร้านอาหารในมอสไอส์ลีย์ พวกเขาได้จ้างนักขนของเถื่อน ฮาน โซโล เพื่อพาพวกเขาไปอัลเดอราน ฮานถูกดักโดย กรีโด นักล่าค่าหัวซึ่งทำงานให้กับนักเลงท้องถิ่น แจบบา เดอะ ฮัทท์ ซึ่งฮานติดหนี้กับเขา การเผชิญหน้ากันจบที่ฮานฆ่ากรีโด โอบีวัน, ลุค, อาร์ทูดีทู, ซีทรีพีโอ, ฮานและนักบินผู้ช่วยชาววูกกีของเขา ชิวแบคคา หนีออกจากทาทูอีนโดยขึ้นยานอวกาศของพวกเขา มิลเลนเนียม ฟอลคอน

ผู้บัญชาการดาวมรณะ แกรนด์ มอฟฟ์ ทาร์คิน สั่งให้ทำลายอัลเดอราน ดาวเกิดของเลอา โดยใช้เลเซอร์ขนาดใหญ่เพื่อเป็นการแสดงพลัง[7] ลูกเรือยาน ฟอลคอน พบว่าอัลเดอรานกลายเป็นเศษซากไปแล้วและถูกจับโดยลำแสงดึงดูดของดาวมรณะ ขณะที่โอบีวันไปปิดลำแสงดึงดูด ลุคค้นพบว่าเลอาถูกจำคุกในดาวมรณะและมีกำหนดการจะประหาร ลุค, ฮานและชิวแบคคาไปช่วยเหลือเจ้าหญิง ก่อนที่จะหลบหนีได้สำเร็จ เมื่อโอบีวันทำภารกิจของเขาสำเร็จ และเห็นว่าทั้งสี่คนต้องการเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อให้สามารถขึ้นยาน ฟอลคอน โดยโอบีวันได้สละชีวิตตัวเองในการดวลกระบี่แสงกับดาร์ธ เวเดอร์ เมื่อพวกเขาออกจากโรงเก็บยานได้สำเร็จ แต่ก็มียานทายไฟต์เตอร์ติตตามมาสี่ลำ ซึ่งพวกเขาเอาชนะได้ทั้งหมด ฝ่ายจักรวรรดิได้ซ่อนเครื่องติดตามไว้ในยาน ฟอลคอน ทำให้ติดตามพวกเขาไปยังฐานลับที่ดาว ยาวิน 4

แบบแปลนของเลอาแสดงให้เห็นว่า ดาวมรณะสามารถถูกทำลายได้ด้วยการยิงตอร์ปิโดเข้าไปในปล่องระบายความร้อนขนาดสองเมตร ซึ่งตรงเข้าไปยังเตาปฏิกรณ์ก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ฮานเก็บเงินรางวัลของเขาหลังช่วยเหลือเลอา ตั้งใจจะกลับไปใช้หนี้แจบบา ลุคเข้าร่วมฝูงบินของฝ่ายกบฏในการโจมตีดาวมรณะที่กำลังจะมาถึง ฝ่ายกบฏสูญเสียอย่างหนักหลังไม่ประสบความสำเร็จในการวิ่งในร่อง เวเดอร์นำฝูงบินของทายไฟต์เตอร์และเตรียมโจมตียานเอ็กซ์วิงของลุค แต่ฮานกลับมาและโจมตียานไฟต์เตอร์ของจักรวรรดิ ทำให้เวเดอร์ลอยเคว้งไปในอวกาศ ลุคได้รับคำแนะนำจากวิญญาณของโอบีวัน ลุคได้ปิดคอมพิวเตอร์ระบุเป้าหมายและใช้พลังพาตอร์ปิโดเข้าไปในปล่องระบายความร้อน ดาวมรณะระเบิดก่อนจะยิงใส่ฐานกบฏ ทำให้ทาร์คินและทหารจักรวรรดิที่อยู่บนดาวมรณะเสียชีวิต ในพิธีฉลองชัยชนะที่ฐาน เลอามอบเหรียญรางวัลให้ลุคและฮาน สำหรับความกล้าหาญของพวกเขา

นักแสดง

[แก้]
  • มาร์ค ฮามิลล์ เป็น ลุค สกายวอล์คเกอร์: ชายหนุ่มที่ถูกเลี้ยงดูโดยลุงกับป้าบนดาวเคราะห์ทาทูอีน ใฝ่ฝันอยากจะเป็นบางสิ่งที่มากกว่าที่เป็นอยู่ และอยากจะเรียนรู้วิถีแห่งอัศวินเจได ลูคัสต้องการจะคัดนักแสดงหนุ่มที่ยังไม่มีประสบการณ์การแสดงมากนัก เพื่อมาแสดงเป็นเป็นลุค (ในตอนนั้นใช้ชื่อว่า ลุค สตาร์คิลเลอร์) โดยเขาตามหานักแสดงที่สามารถสื่อความเฉลียวฉลาดและความมั่นคงออกมาได้ ส่วนทางฮามิลล์นั้นขณะที่ทดสอบอ่านบทเขาพบว่าบทภาพยนตร์ที่ได้รับนั้นแปลกมาก เนื่องจากมีแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับอวกาศสอดแทรกอยู่มาก เขาจึงเลือกที่จะอ่านบทแบบตรงไปตรงมา และได้รับเลือกแสดงเป็นลุค เอาชนะผู้ร่วมคัดบทคนอื่นอย่าง วิลเลียม แคตต์ ผู้ซึ่งต่อมาได้รับบทในภาพยนตร์เรื่อง สาวสยอง ซึ่งกำกับโดย ไบรอัน เดอ ปาลมา (ลูคัสใช้ช่วงการคัดเลือกนักแสดงร่วมกันกับปาลมา ซึ่งเป็นเพื่อนที่รู้จักกันมานาน)[8][9]
  • แฮร์ริสัน ฟอร์ด เป็น ฮาน โซโล: นักขนของเถื่อนผู้ทะนงตน ถูกจ้างโดยโอบีวันและลุคให้พาพวกเขาไปยังดาวอัลเดอราน ด้วยยาน มิลเลนเนียม ฟอลคอน ของเขาพร้อมกับนักบินผู้ช่วย ชิวแบคคา ในตอนแรกลูคัสปฏิเสธคัดเลือกฟอร์ดให้มารับบทนี้ เพราะเขาต้องการ "นักแสดงหน้าใหม่" ฟอร์ดเคยทำงานร่วมกับลูคัสใน อเมริกันกราฟฟิติ ลูคัสขอให้ฟอร์ดช่วยในการคัดเลือกนักแสดง โดยการอ่านบทพูดร่วมกับนักแสดงคนอื่น ๆ และอธิบายถึงแนวคิดและประวัติเบื้องหลังของฉากที่พวกเขากำลังอ่านอยู่ จนในที่สุด ลูคัสก็เลือกฟอร์ดให้มารับบทนี้ หลังประทับใจในการแสดงของเขา เอาชนะนักแสดงคนอื่น ๆ ที่เข้ามาคัดบทนี้ ได้แก่ เคิร์ต รัสเซลล์, นิก โนลต์,[9] ซิลเวสเตอร์ สตอลโลน,[10] บิล เมอร์เรย์,[11][12] คริสโตเฟอร์ วอลเคน, เบิร์ต เรย์โนลส์, แจ็ก นิโคลสัน, อัล ปาชิโน, สตีฟ มาร์ติน, เชวี เชสและเพอร์รี คิง (ต่อมาเขาได้แสดงเป็น ฮาน โซโล ในละครวิทยุ)[8][13]
  • แคร์รี ฟิชเชอร์ เป็น เจ้าหญิงเลอา: วุฒิสมาชิกของวุฒิสภาจักรวรรดิและหนึ่งในผู้นำฝ่ายพันธมิตรกบฏ มีนักแสดงหญิงสาวหลายคนในฮอลลิวูดเข้ามาคัดบทเป็นเจ้าหญิงเลอา ได้แก่ เอมี เออร์วิง,[9] เทอร์รี นันน์ (เธอเป็นนักร้องด้วย), ซินดี วิลเลียมส์,[8] แคเรน อัลเลน,[9] และ โจดี ฟอสเตอร์ โดยฟอสเตอร์นั้นปฏิเสธรับบทนี้เพราะว่าเธอติดสัญญากับดิสนีย์และกำลังทำงานภาพยนตร์สองเรื่องในเวลานั้น[14] ฟิชเชอร์ได้รับเลือกให้รับบทนี้ โดยมีเงื่อนไขว่าเธอต้องลดน้ำหนักลง 10 ปอนด์ (4.53 กิโลกรัม)[15]
  • ปีเตอร์ คุชชิง เป็น แกรนด์ มอฟฟ์ ทาร์คิน: ผู้บัญชาการของดาวมรณะ แต่เดิมลูคัสตั้งใจให้คุชชิงรับบทเป็นโอบีวัน เคโนบี แต่ลูคัสเชื่อว่า "โครงหน้าของเขา" เหมาะสมกับบทแกรนด์ มอฟฟ์ ทาร์คินมากกว่า ลูคัสให้ความเห็นเกี่ยวกับการแสดงของคุชชิงว่า "[เขา] เป็นนักแสดงที่ดี เป็นที่ชื่นชอบและหลงใหลโดยคนหนุ่มสาวและคนไปชมภาพยนตร์แนวนี้ ผมรู้สึกว่าเขาจะเป็นที่จดจำอย่างน้อยก็อีก 350 ปี ข้างหน้า" คุชชิงให้ความเห็นเกี่ยวกับบทของเขาเป็นเรื่องตลกว่า: "ผมมักจะสงสัยว่า 'แกรนด์ มอฟฟ์' คืออะไร มันเหมือนเสียงของอะไรสักอย่างบินออกมาจากตู้"[16]
  • อเล็ก กินเนสส์ เป็น โอบีวัน 'เบน' เคโนบี: อาจารย์เจไดเฒ่าและอดีตอาจารย์ของ ดาร์ธ เวเดอร์ เป็นคนแนะนำลุคให้รู้จักพลัง การตัดสินใจของลูคัสที่ต้องการคัดเลือกนักแสดงที่ "ไม่รู้จัก" ไม่ได้รับการสนับสนุกจากเพื่อนของเขา ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลาและสตูดิโอ ลูคัสรู้สึกว่าโอบีวัน เคโนบีควรแสดงโดยนักแสดงที่มีชื่อเสียง ผู้อำนวยการสร้าง แกรี เคิร์ตซ์ กล่าวว่า "บทของอเล็ก กินเนสส์ต้องการตัวละครที่มีความมั่งคงและจริงจัง ซึ่งหมายความว่าเราต้องการนักแสดงที่แข็งแกร่งมาก ๆ ในการแสดงบทนั้น"[8] ก่อนกินเนสส์จะได้รับคัดเลือก นักแสดงชาวญี่ปุ่น โทชิโร มิฟูเนะ (เคยแสดงในภาพยนตร์ของ อากิระ คูโรซาวะ หลายเรื่อง) ได้รับการพิจารณาสำหรับบทบาท[9][17] มิกะ คิตางาวะ ลูกสาวของมิฟูเนะ กล่าวว่า พ่อของเธอปฏิเสธข้อเสนอของลูคัส สำหรับบทเคโนบีและดาร์ธ เวเดอร์ เพราะว่า "เขากังวลว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นอย่างไงและมันอาจจะทำให้ภาพลักษณ์ของซามูไรเสื่อมลง ... ในเวลานั้นหนังไซไฟยังคงดูค่อนข้างถูกเนื่องจากเอฟเฟกต์ไม่ก้าวหน้าและเขามีความภาคภูมิใจของซามูไรเยอะมาก"[18] กินเนสส์เป็นหนึ่งในนักแสดงไม่กี่คนที่เชื่อว่าภาพยนตร์จะประสบความสำเร็จ เขาเจรจาในข้อตกลงส่วนแบ่งร้อยละ 2.25 จากหนึ่งในห้าของค่าสิทธิที่จ่ายให้กับลูคัส ซึ่งทำให้เขาร่ำรวยมากในเวลาต่อมา เขาตกลงจะแสดงเป็นเคโนบีภายใต้เงื่อนไขว่า เขาจะไม่ต้องทำการประชาสัมพันธ์ใด ๆ เพื่อส่งเสริมภาพยนตร์[19] ลูคัสให้เครดิตเขาในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักแสดงและทีมงานให้ทำงานหนัก กล่าวว่ากินเนสส์มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของการถ่ายทำภาพยนตร์[20] แฮริสัน ฟอร์ด กล่าวว่า "สำหรับผม มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่ได้ดูอเล็ก กินเนสส์ เขาเตรียมพร้อมเสมอ, เป็นมืออาชีพอยู่ตลอดเวลา, ใจดีกับนักแสดงคนอื่นเสมอ เขามีความชัดเจนในหัวของเขาว่าเขาจะนำเสนอเรื่องราวได้อย่างไร"[8]
  • แอนโธนี แดเนียลส์ เป็น ซีทรีพีโอ: โพรโทคอลดรอยด์ซึ่ง "สามารถสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว มากกว่าหกล้านรูปแบบการสื่อสาร" แดเนียลส์ไปคัดเลือกบทบาทและได้รับเลือกให้แสดงเป็นซีทรีพีโอ เขาบอกว่าเขาต้องการบทดังกล่าวหลังเห็นภาพวาดตัวละครของ ราล์ฟ แมกคอร์รี แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางบนใบหน้าของหุ่นยนต์ ทำให้แดเนียลส์อยากช่วยเหลือเขา[8][21] ในตอนแรก ลูคัสไม่ได้ตั้งใจจะใช้เสียงพูดของแดเนียลส์เป็นเสียงพูดของซีทรีพีโอ มีนักพากย์ที่เป็นที่รู้จักสามสิบคน มาอ่านบทเป็นเสียงพากย์ของดรอยด์ แดเนียลส์กล่าวว่า หนึ่งในนักพากย์หลัก บางแหล่งข้อมูลเชื่อว่าเป็น สแตน ฟรีเบิร์ก แนะนำให้แดเนียลส์เป็นคนพากย์เสียง[8][22]
  • เคนนี เบเกอร์ เป็น อาร์ทูดีทู: แอสโตรเมคดรอยด์ เป็นผู้ถือแบบแปลนของดาวมรณะและข้อความลับของเจ้าหญิงเลอาเพื่อส่งให้กับโอบีวัน ขณะที่กำลังถ่ายทำภาพยนตร์ที่ลอนดอน มีการคัดเลือกนักแสดงเพิ่มเติม เคนนี เบเกอร์ กำลังแสดงละครตลกกับคู่หูของเขา แจ็ก เพอร์วิส รู้ว่าทีมงานภาพยนตร์กำลังมองหาคนตัวเล็กที่สามารถเข้าไปอยู่ในตัวหุ่นยนต์และสามารถบังคับตัวหุ่นยนต์ได้ เบเกอร์ ในเวลานั้นสูง 3 ฟุต 8 นิ้ว (1.12 เมตร) ได้รับการคัดเลือกทันทีหลังได้พบกับจอร์จ ลูคัส เขากล่าว "เขาเห็นผมเดินเข้ามาและพูดว่า 'เขาใช้ได้เลย' เพราะผมเป็นคนที่ตัวเล็กที่สุดในตอนที่พวกเขากำลังค้นหาในเวลานั้น" เขาปฏิเสธบทดังกล่าวสามครั้ง เพราะลังเลว่าหน้าของเขาจะไม่ปรากฏในภาพยนตร์และหวังที่จะสานต่อความสำเร็จของการแสดงตลกของเขา ซึ่งในเวลานั้นเริ่มนำมาออกอากาศทางโทรทัศน์แล้ว[23] เสียงของอาร์ทูดีทูสร้างโดย นักออกแบบเสียง เบน เบิร์ตต์ โดยเลียนแบบ "เสียงทารก" บันทึกเสียงนี้เหมือนได้ยินผ่านโทรศัพท์ภายในและสร้างการผสมเสียงครั้งสุดท้ายด้วย เครื่องสังเคราะห์เสียง[24]
  • ปีเตอร์ เมย์ฮิว เป็น ชิวแบคคา: วูกกีอายุ 200 ปี คู่หูของฮาน โซโลและนักบินผู้ช่วยของยาน มิลเลนเนียม ฟอลคอน เมย์ฮิวได้ยินข่าวการคัดเลือกนักแสดงของ สตาร์ วอร์ส ซึ่งถ่ายทำที่ลอนดอน เขาจึงตัดสินใจไปคัดเลือก ขณะนั้นเขาสูง 3 ฟุต 8 นิ้ว (1.12 เมตร) และเขาได้รับบทเป็นชิวแบคคาทันทีหลังเขายืนขึ้นเพื่อทักทายลูคัส[8][25] เขาเล่าว่า "ผมนั่งอยู่บนโซฟาตัวหนึ่ง กำลังรอจอร์จ เมื่อประตูเปิดและจอร์จเดินเข้ามาพร้อมกับแกรีที่อยู่ข้างหลังเขา ดังนั้น โดยธรรมชาติแล้ว ผมควรทำอย่างไรละ ผมเติบโตที่อังกฤษ เมื่อมีคนผ่านเข้ามาทางประตู ผมจึงยืนขึ้น จอร์จทำหน้า "หืมม [มองขึ้น]" แล้วหันไปหาแกรีแล้วพูดว่า "ผมคิดว่าเราพบเขาแล้วละ""[8] เขามีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการแสดงในสองบทบาท: ชิวแบคคาหรือดาร์ธ เวเดอร์ เขาเลือกชิวแบคคาเพราะเขาอยากแสดงเป็นฮีโร นักแสดงชาวอังกฤษ เดวิด พราวส์ จึงได้รับบทดาร์ธ เวเดอร์[25] เมย์ฮิวนำการแสดงของชิวแบคคามาจากท่าทางของสัตว์ที่เขาเห็นในสวนสัตว์สาธารณะ[19]
  • เดวิด พราวส์ เป็น ดาร์ธ เวเดอร์: ซิธลอร์ดของจักรวรรดิกาแลกติก ผู้มีเป้าหมายต้องการทำลายพันธมิตรกบฏ
    • เจมส์ เอิร์ล โจนส์ เป็น เสียงของดาร์ธ เวเดอร์ โดยเขาไม่มีชื่อในเครดิต ลูคัสแต่เดิมตั้งใจให้ ออร์สัน เวลส์ เป็นคนให้เสียงตัวละคร หลังไม่พอใจพราวส์ เนื่องจากสำเนียงอังกฤษตะวันตกของเขา (ทำให้เขาได้รับชื่อเล่นภายในเหล่านักแสดงว่า "ดาร์ธ ฟาร์เมอร์")[24] อย่างไรก็ตาม ลูคัสคิดว่าเสียงของเวลส์จะดูคุ้นเคยกับผู้ชมมากเกินไป ลูคัสตัดสินใจคัดเลือกโจนส์ นักแสดงซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักในเวลานั้น[8][9]

นักแสดงคนอื่น ประกอบด้วย ฟิล บราวน์และเชลาห์ เฟรเซอร์ เป็นลุงโอเวนและป้าเบรูของลุค, แจ็ก เพอร์วิส คู่หูแสดงตลกของเคนนี เบเกอร์ แสดงเป็นหัวหน้าจาวาในภาพยนตร์, เอดดี เบิร์น เป็น วานเดน วิลลาร์ด, นายพลฝ่ายกบฏ[26] เดนิส ลอว์สันและการ์ริก เฮเกิน เป็น นักบินฝ่ายกบฏ เวดจ์ แอนทิลลิสและบิกก์ส ดาร์กไลต์เทอร์ (เพื่อนสมัยเด็กของลุค) ตามลำดับ, ดอน เฮนเดอร์สันและเลสลี สโกฟิลด์ เป็น นายพลฝ่ายจักรวรรดิ แคสซิโอ แทกก์และมอร์แอดมิน บาสต์ ตามลำดับ, ริชาร์ด เลพาร์เมนเทียร์ เป็น พลเอก มอตติ[27] อเลกซ์ แมกครินเดิล เป็น นายพล แจน โดดอนนา, อัลฟี เคอร์ติส เป็น ด็อกเตอร์ เอวาซาน, ปีเตอร์ เกดดิส เป็น กัปตัน เรย์มัส แอนทิลลิส และ ไมเคิล ลีดเดอร์ ได้รับบทบาทเล็กน้อยเป็นสตอร์มทรูปเปอร์ที่หมวกของเขาชนกับประตูอย่างไม่ได้ตั้งใจ[28][29]

การสร้าง

[แก้]

การพัฒนา

[แก้]
ผู้กำกับและเขียนบท จอร์จ ลูคัส กำลังอธิบายกับผู้ฟังเมื่อปี ค.ศ. 2007 ถึงความยากลำบากในการเสนอ สตาร์ วอร์ส ซึ่งได้รับการปฏิเสธอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ ซื้อแนวคิดของภาพยนตร์ "แปลกเล็กน้อย" ของเขา[30]

ลูคัสมีแนวคิดเกี่ยวกับภาพยนตร์แนวอวกาศ-แฟนตาซีในปี ค.ศ. 1971 หลังจากเขากำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของเขา THX 1138 เสร็จ[31] อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่าเขามีแนวคิดนี้มานานแล้ว[32] ลูคัสเชื่อว่าโทนของภาพยนตร์ที่ดูสิ้นหวังของ THX 1138 ทำให้ได้รับการตอบรับที่ไม่ดี ลูคัสเลือกทำ สตาร์ วอร์ส ไปในทางมองโลกในแง่ดีมากขึ้น ด้วยโทนของภาพยนตร์คือความสนุกและการผจญภัย[33] แต่เดิม ลูคัสต้องการดัดแปลง แฟลชกอร์ดอน การ์ตูนผจญภัยในอวกาศและภาพยนตร์ฉายเป็นตอน เป็นภาพยนตร์ของเขาเอง ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เขาหลงใหลตั้งแต่เด็ก[34] เขากล่าว

ผมรัก แฟลชกอร์ดอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพยนตร์ที่ฉายเป็นตอน ... แน่นอน ตอนนี้ผมรู้ว่าพวกเขาทำมันได้ไม่ดีและก็แย่มาก ... รักพวกเขามากขนาดนั้นเมื่อพวกเขาแย่เหลือเกิน, ผมเริ่มสงสัยว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าพวกเขาทำได้ดี[35]

ที่เทศกาลภาพยนตร์กาน หลังลูคัสถ่ายทำภาพยนตร์ THX 1138 เสร็จ ลูคัสได้ข้อตกลงในการพัฒนาภาพยนตร์สองเรื่องกับยูไนเต็ดอาร์ตติสต์ โดยสองเรื่องดังกล่าวคือ อเมริกันกราฟฟิติ และ ภาพยนตร์บันเทิงคดีแนวอวกาศยังไม่มีชื่อ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก แฟลชกอร์ดอน [36] เขาพยายามซื้อสิทธิ์ในการสร้างภาพยนตร์ของ แฟลชกอร์ดอน แต่เขาไม่สามารถจ่ายได้[35] ลูคัสเล่าในภายหลัง:

ผมอยากจะสร้างภาพยนตร์ แฟลชกอร์ดอน ใส่ทุกสิ่งทุกอย่างเข้าไปให้มันพิเศษ แต่ผมไม่สามารถซื้อสิทธิ์ของตัวละครได้ ดังนั้นผมจึงเริ่มค้นคว้าวิจัยและกลับไปและพบว่า อเลกซ์ เรย์มอนด์ (ผู้วาดการ์ตูน แฟลชกอร์ดอน ต้นฉบับในหนังสือพิมพ์) ได้แนวคิดของเขามาจากไหน ผมค้นพบว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานของ เอ็ดการ์ ไรซ์ เบอร์โรส์ (ผู้แต่ง ทาร์ซาน) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหนังสือชุด จอห์น คาร์เตอร์ ออฟ มาร์ส ของเขา ผมอ่านหนังสือชุดนั้นแล้วพบว่าเบอร์โรส์ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก นวนิยายแนววิทยาศาสตร์-แฟนตาซี ชื่อว่า กัลลิเวอร์ออนมาร์ส เขียนโดย เอ็ดวิน อาร์โนลด์ และตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1905 เป็นเรื่องราวแรกของแนวนี้ที่ผมสามารถติดตามได้ ผมคิดว่า ฌูล แวร์น ก็ใกล้เคียง แต่เขาไม่มีวีรบุรุษต่อสู้กับสัตว์ประหลาดในอวกาศหรือการผจญภัยบนดาวเคราะห์อื่น แนวใหม่ทั้งหมดนี้พัฒนาขึ้นจากแนวคิดนั้น[31]

แผนของลูคัสในช่วงแรกคือต้องการจะซื้อสิทธิ์ในการสร้างภาพยนตร์ แฟลชกอร์ดอน ภาพยนตร์ฉายเป็นตอนและการ์ตูนในช่วงทศวรรษ 1930 และ 1940

ผู้กำกับ ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา ซึ่งไปกับลูคัสในความพยายามที่จะซื้อสิทธิ์ แฟลชกอร์ดอน คอปโปลาเล่าในปี ค.ศ. 1999 ว่า: "[จอร์จ] นั้นเศร้ามาก เพราะเขาเพึ่งกลับมาและพวกเขาไม่ต้องการขาย แฟลชกอร์ดอน ให้เขาและเขาพูดว่า 'ดี, ผมจะคิดค้นด้วยตัวผมเอง'"[35][37] ลูคัสเดินทางไปยูไนเต็ดอาร์ตติสต์และแสดงบทภาพยนตร์เรื่อง อเมริกันกราฟฟิติ ให้พวกเขาดู ซึ่งก็ได้รับการปฏิเสธ ต่อมาภาพยนตร์ดังกล่าวได้รับความสนใจจากยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์[37] ยูไนเต็ดอาร์ตติสต์ยังปฏิเสธแนวคิดภาพยนตร์บันเทิงคดีแนวอวกาศของลูคัส ซึ่งเขาได้เก็บแนวคิดนี้เข้ากรุไปในช่วงเวลานั้น[38] หลังใช้เวลาสองปีในการถ่ายทำ อเมริกันกราฟฟิติ ลูคัสหันกลับมาสนใจภาพยนตร์บันเทิงคดีแนวอวกาศของเขาอีกครั้ง[31][37] เขาได้รับแรงบันดาลใจจากการเมืองในยุคนั้น ต่อมาเขากล่าวว่า “มันเกี่ยวกับสงครามเวียดนามจริง ๆ และนั่นเป็นช่วงเวลาที่นิกสันพยายามจะเป็นประธานาธิบดีอีกสมัย [ที่สอง] ซึ่งผมกำลังคิดเชิงประวัติศาสตร์ว่าระบอบประชาธิปไตยกลายเป็นระบอบเผด็จการได้อย่างไร?”[39][40]

ลูคัสเริ่มทำงานเขียนในเดือนมกราคม ค.ศ. 1973 "แปดชั่วโมงต่อวัน, ห้าวันต่อสัปดาห์",[31] โดยการจดบันทึกเล็ก ๆ คิดค้นคำแปลก ๆ และกำหนดลักษณะนิสัยตัวละครถ้าเป็นไปได้ ลูคัสจะทิ้งสิ่งเหล่านี้จำนวนมากเมื่อถึงเวลาที่บทภาพยนตร์สุดท้ายถูกเขียน แต่เขาได้รวมชื่อและสถานที่หลายแห่งไว้ในบทภาพยนตร์สุดท้ายหรือภาคต่อของภาพยนตร์ เขาใช้ชื่อและแนวคิดเริ่มต้นเหล่านี้เพื่อรวบรวมสรุปย่อสองหน้าที่มีชื่อว่า เจอร์นัลออฟเดอะวิลล์ส ซึ่งเล่าเรื่องราวการฝึกฝนของ ซีเจ ธอร์ป ศิษย์ของเมซ วินดู ในตำนาน เพื่อกลายเป็น "เจได-เบนดู" คอมมานโดอวกาศ[41] ลูคัสกังวลว่าเรื่องราวของเขาจะยากเกินกว่าจะเข้าใจ[42] ลูคัสจึงเริ่มเขียนบทร่างจำนวน 13 หน้า เรียกว่า เดอะสตาร์วอร์ส เมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1973 ซึ่งมีเรื่องราวคล้ายคลึงกับภาพยนตร์เรื่อง เดอะฮิดเดนฟอร์เทรสส์ ของคูโรซาวะ เมื่อปี ค.ศ. 1958[43]

แกรี เคิร์ตซ์ ผู้อำนวยการสร้าง สตาร์ วอร์ส (ภาพในปี ค.ศ. 2002)

หลังยูไนเต็ดอาร์ตติสต์ปฏิเสธที่จะออกทุนสร้างภาพยนตร์ ลูคัสและผู้อำนวยการสร้าง แกรี เคิร์ตซ์ เสนอบทร่างภาพยนตร์ให้กับ ยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์ สตูดิโอที่เคยออกทุนสร้างให้กับภาพยนตร์เรื่อง อเมริกันกราฟฟิติ อย่างไรก็ตาม มันถูกปฏิเสธไม่ได้สร้างเพราะแนวคิดของภาพยนตร์นั้น "แปลกเล็กน้อย" และพวกเขากล่าวว่าลูคัสควรทำภาคต่อของ อเมริกันกราฟฟิติ มากกว่า[30] วอลต์ดิสนีย์โปรดักชันส์ ก็ปฏิเสธภาพยนตร์เรื่องนี้เช่นกัน[44]

ลูคัสกล่าวว่า "ผมเป็นคนนอกของฮอลลีวูดมาโดยตลอด พวกเขาคิดว่าผมทำแต่หนังแปลก ๆ"[30] เคิร์ตซ์กล่าวว่า ลู วอสเซอร์แมน หัวหน้าสตูดิโอ "ไม่ได้นึกถึงนิยายวิทยาศาสตร์มากนักในเวลานั้น, ไม่คิดว่ามันจะมีอนาคตมากนักกับผู้ชมกลุ่มนั้น"[45] เคิร์ตซ์กล่าวว่า "นิยายวิทยาศาสตร์ไม่เป็นที่นิยมในช่วงกลางยุค 70 ... สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติคือผู้บริหารสตูดิโอกำลังมองหาสิ่งที่ได้รับความนิยมเมื่อปีที่แล้ว, แทนที่จะพยายามมองไปข้างหน้ากับสิ่งที่อาจได้รับความนิยมในปีหน้า"[46] ลูคัสอธิบายในปี ค.ศ. 1977 เกี่ยวกับภาพยนตร์ว่าไม่ใช่ "เรื่องในอนาคต" และ มันเป็นเรื่อง "แฟนตาซีที่ใกล้เคียงกับ พี่น้องตระกูลกริมม์ มากกว่าที่จะเป็น 2001" เขาเสริม: "เหตุผลหลักของผมในการสร้างภาพยนตร์คือต้องการให้ชีวิตแฟนตาซีที่ซื่อสัตย์และบริสุทธิ์แก่คนหนุ่มสาว ในแบบที่รุ่นของผมเคยมี เรามีภาพยนตร์แนวตะวันตก, แนวโจรสลัด, ทุกแนวที่ยอดเยี่ยม ตอนนี้พวกเขามี เดอะซิกซ์มิลเลียนดอลลาร์แมน และ โคจัก แล้วความรัก, การผจญภัยและความสนุกที่เคยอยู่ในภาพยนตร์ทุกเรื่องที่สร้างนั้นอยู่ที่ไหน?"[30] เคิร์ตซ์กล่าวว่า "ถึงแม้ว่า สตาร์ วอร์ส จะไม่ใช่ [นิยายวิทยาศาสตร์ปัจจุบันในเวลานั้น] เลย, แต่ก็ถูกจัดให้อยู่ในแนวนั้น"[45]

นอกจากนี้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับทุนสร้างของโครงการที่อาจจะสูง ลูคัสและเคิร์ตซ์กล่าวในการนำเสนอโครงการของภาพยนตร์ว่า "ทุนต่ำ, แนวเดียวกับ โรเจอร์ คอร์แมน, และทุนสร้างจะไม่สูงไปมากกว่า—อืม, แต่เดิมเราเสนอประมาณ 8 ล้าน, สุดท้ายก็สูงขึ้นไปถึงประมาณ 10 ล้าน, ตัวเลขทั้งสองถือเป็นทุนสร้างที่ต่ำมากสำหรับมาตรฐานของฮอลลีวูดในขณะนั้น"[45] หลังดีสนีย์ปฏิเสธโครงการดังกล่าว[44] ลูคัสและเคิร์ตซ์ยืนกรานในการหาสตูดิโอเพื่อมาสนับสนุนภาพยนตร์เพราะ "คนอื่นได้อ่านมันแล้วก็พูดว่า 'ใช่, มันอาจเป็นความคิดที่ดี'"[45] ลูคัสโน้มน้าว แอลัน แลดด์ จูเนียร์ ประธานของทเวนตีเซนจูรีฟอกซ์ และในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1973 ลูคัสได้ตกลงเซ็นสัญญาเพื่อเขียนบทและกำกับภาพยนตร์ ถึงแม้ว่าแลดด์จะไม่เข้าใจด้านเทคนิคของโครงการ เขาเชื่อว่าลูคัสนั้นมีความสามารถ ต่อมา ลูคัสกล่าวว่าแลดด์ "ลงทุนในตัวผม, เขาไม่ได้ลงทุนในภาพยนตร์"[8] ลูคัสได้รับเงินจำนวน 150,000 ดอลลาร์สหรัฐจากสัญญาดังกล่าว[19] การตอบรับที่ดีของ อเมริกันกราฟฟิติ ทำให้ลูคัสขอเจรจาสัญญาใหม่ของเขากับแลดด์และขอสิทธิ์ในการสร้างภาพยนตร์ภาคต่อในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1973 สำหรับลูคัส สัญญาใหม่นี้ปกป้องเรื่องราวที่ไม่ได้เขียนของ สตาร์ วอร์ส และกำไรส่วนใหญ่จากการขายสินค้า[8]: 19 

การฉายและการวางจำหน่าย

[แก้]

สตาร์ วอร์ส ในช่วงแรกนั้นฉายในโรงภาพยนตร์ไม่กี่แห่ง จนกระทั่งได้มีการฉายในวงกว้างมากขึ้น จนกลายเป็นภาพยนตร์บ็อกซ์บลัสเตอร์และกลายเป็นความสำเร็จที่เป็นประวัติการณ์ของทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ ต่อมาได้การฉายใหม่และวางจำหน่ายโฮมวิดีโอ

รอบปฐมทัศน์และการฉายช่วงแรก

[แก้]

การฉายใหม่ในโรงภาพยนตร์

[แก้]

การเพิ่มชื่อตอน

[แก้]

ข้อความ เอพพิโซด 4 (Episode IV) และ ความหวังใหม่ (A New Hope) ปรากฏครั้งแรกบนหน้าปกหนังสือของบทภาพยนตร์ ดิอาร์ตออฟสตาร์ วอร์ส เมื่อปี ค.ศ. 1979[a] และมีการเพิ่มข้อความนี้ลงในข้อความคลานเปิดเรื่องในการฉายใหม่[19][48] แหล่งข้อมูลอย่างเป็นทางการระบุว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในการฉายใหม่ในโรงภาพยนตร์เมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1981[49][50][b]

มีการเพิ่มชื่อตอนในข้อความคลานเปิดเรื่องใน สตาร์ วอร์ส 2 ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1980 โดยระบุว่าเป็น "เอพพิโซด 5"[51][52] ลูคัสเคยกล่าวว่า "สตาร์ วอร์ส เป็นเรื่องราวลำดับที่สี่ในมหากาพย์และมันควรถูกเรียกว่า 'สตาร์ วอร์ส, เอพพิโซด 4: ความหวังใหม่'" แต่เขาตัดระบบตัวเลขออกไปเพื่อไม่ให้ผู้ชมสับสน[53]

การฉายในประเทศไทย

[แก้]

เนื่องจากรัฐบาลในสมัยนั้นต้องการปกป้องอุตสาหกรรมภาพยนตร์ภายในประเทศ ด้วยการขึ้นภาษีฟิล์มภาพยนตร์ต่างประเทศมากเกินกว่าปกติ ทำให้มีการลักลอบฟิล์มเข้ามาฉาย โดยเปลี่ยนชื่อภาพยนตร์เป็นชื่อภาษาอังกฤษว่า The War of The World (ชื่อเดียวกับภาพยนตร์เมื่อปี ค.ศ. 1953) และชื่อภาษาไทยว่า สงครามชิงจ้าวโลก จนกระทั่งได้มีการฉายอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1979 ในชื่อ สตาร์ วอร์ส[54]

การตอบรับ

[แก้]

บ็อกซ์ออฟฟิศ

[แก้]

สตาร์ วอร์ส ยังคงเป็นหนึ่งภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จในด้านการเงินมากที่สุดตลอดกาล ภาพยนตร์เปิดตัวในวันพุธในโรงภาพยนตร์ 32 แห่ง ก่อนจะขยายเพิ่มเป็น 43 แห่งในวันศุกร์และทำเงิน 2,556,418 ดอลลาร์สหรัฐในหกวันแรกจนถึงวันหยุดสุดสัปดาห์ของวันแห่งการรำลึก[55] (12.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ในปี ค.ศ. 2023) ต่อมาก็ค่อย ๆ เพิ่มโรงฉายมากขึ้น โดยทำเงิน 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์หลังมีการฉายในวงกว้างมากขึ้น (35.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ในปี ค.ศ. 2023)[3] สตาร์ วอร์ส ทำเงินแซง จอว์ส เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในอเมริกาเหนือ หลังฉายแค่หกเดือน[56] จนในที่สุดภาพยนตร์ก็ทำเงินในประเทศมากกว่า 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระหว่างการฉายครั้งแรก (1.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ในปี ค.ศ. 2023)[57] สตาร์ วอร์ส เข้าสู่การฉายทั่วโลกในช่วงปลายปี ค.ศ. 1978 และเมื่อรวมกับเงินที่ทำได้จากในประเทศและทั่วโลก[58] ภาพยนตร์ทำเงินทั้งหมด 410 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.699 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ในปี ค.ศ. 2018)[59]

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1978 ในขณะที่ภาพยนตร์ยังคงฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ 38 แห่งในสหรัฐ ภาพยนตร์ได้ขยายการฉายในโรงภาพยนตร์เป็น 1,744 แห่งทั่วประเทศเพื่อสรุปการอิ่มตัวของภาพยนตร์และสร้างสถิติใหม่ของการฉายในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ของสหรัฐที่ 10,202,726 ดอลลาร์สหรัฐ[60][61][62] ยอดรวมของภาพยนตร์ก่อนการขยายโรงฉายฯ คือ 221,280,994 ดอลลาร์สหรัฐ การขยายทำเงินเพิ่มเติมที่ 43,774,911 ดอลลาร์สหรัฐ รวมกันแล้วเท่ากับ 265,055,905 ดอลลาร์สหรัฐ การฉายใหม่ในปี ค.ศ. 1979 (22,455,262 ดอลลาร์สหรัฐ), 1981 (17,247,363 ดอลลาร์สหรัฐ), และ 1982 (17,981,612 ดอลลาร์สหรัฐ) รวมกันแล้วภาพยนตร์ทำเงินในสหรัฐและแคนาดาที่ 323 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[63][64] และรวมกับเงินที่ทำได้จากทั่วโลก ภาพยนตร์ทำเงินที่ 530 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[65] กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด จนกระทั่ง อี.ที. เพื่อนรัก ทำลายสถิติในปี ค.ศ. 1983[66]

รางวัล

[แก้]
องค์กร สาขา ผู้เสนอชื่อ ผล
รางวัลออสการ์ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แกรี เคิร์ตซ์ เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จอร์จ ลูคัส เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม อเล็ก กินเนสส์ เสนอชื่อเข้าชิง
บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ย จอร์จ ลูคัส เสนอชื่อเข้าชิง
ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม จอห์น มอลโล ชนะ
ลำดับภาพยอดเยี่ยม พอล เฮิร์ช ชนะ
มาร์เชีย ลูคัส ชนะ
ริชาร์ด ชิว ชนะ
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม จอห์น วิลเลียมส์ ชนะ
ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม จอห์น แบร์รี ชนะ
นอร์แมน เรย์โนลด์ส ชนะ
เลสลี ดิลลีย์ ชนะ
โรเจอร์ คริสเตียน ชนะ
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม ดอน แมกดูกัลล์ ชนะ
เรย์ เวสต์ ชนะ
บอบ มิงเลอร์ ชนะ
เดเรก บอลล์ ชนะ
เทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม จอห์น สเตียร์ส ชนะ
จอห์น ไดก์สตรา ชนะ
ริชาร์ด เอดลันด์ ชนะ
แกรนต์ แมกคูน ชนะ
รอเบิร์ต บลาเลก ชนะ
รางวัลความสำเร็จเกียรติยศ เบน เบิร์ตต์ ชนะ

หมายเหตุ

[แก้]
  1. The main title page for the film's script had the lines of text and graphical elements: STAR WARS; double horizontal lines; EPISODE; IV; A NEW HOPE; FROM THE; JOURNAL OF THE WHILLS; BY; GEORGE LUCAS; 12 height sequenced character images from R2-D2 to Chewbacca; REVISED FOURTH DRAFT; JANUARY 15, 1976; horizontal line; LUCASFILM LTD.; 7 [page#][47] The script, interspersed with illustrations, then spans 128 pages of the 175-page book.
  2. One account[52] places the title change at the film's re-release in July 1978. (Hearn 2005, p. 124)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Star Wars". British Board of Film Classification. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 27, 2016. สืบค้นเมื่อ May 25, 2013.
  2. "Star Wars (1977)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 9, 2017.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Star Wars (1977)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 12, 2012. สืบค้นเมื่อ March 2, 2012.
  4. Cyriaque Lamar (January 13, 2012). "Behold, the 1977 budget breakdown for Star Wars". io9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2016. สืบค้นเมื่อ March 3, 2016.
  5. "ENTERTAINMENT: Film Registry Picks First 25 Movies". Los Angeles Times. Washington, D.C. September 19, 1989. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2020. สืบค้นเมื่อ April 22, 2020.
  6. "Complete National Film Registry Listing". National Film Preservation Board. Library of Congress. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2016. สืบค้นเมื่อ November 9, 2018.
  7. Anderson, Kevin J. (1995). The Illustrated Star Wars Universe. New York: Bantam Books. pp. 204–5. ISBN 0-553-09302-9.
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 Empire of Dreams: The Story of the Star Wars Trilogy. Star Wars Trilogy Box Set DVD documentary. [2004]
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 Russo, Tom. "The Force Wasn't With Them". Premiere. Hachette Filipacchi Media U.S. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 8, 2006. สืบค้นเมื่อ October 3, 2006.
  10. Alison, Nastasi (August 5, 2010). "Imagine That: Sly Stallone Auditioned for Han Solo". cinematical.com. Moviefone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 6, 2010. สืบค้นเมื่อ August 6, 2012.
  11. Evans, Bradford (February 17, 2011). "The Lost Roles of Bill Murray". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 20, 2015. สืบค้นเมื่อ May 25, 2015.
  12. Farr, John (September 19, 2014). "Bill Murray and the Roles That Got Away". HuffPost. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 11, 2016. สืบค้นเมื่อ May 25, 2015.
  13. "Is it true about Burt Reynolds and Han Solo?". About.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 25, 2005. สืบค้นเมื่อ October 3, 2006.
  14. Weller, Scott. "Princess Jodie and the Haunting of Carrie Fisher". Star Wars Aficionado Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 26, 2011. สืบค้นเมื่อ July 8, 2013.
  15. "Carrie Fisher Told To Lose Weight For 'Star Wars' Role". The Huffington Post. AOL. November 8, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2014. สืบค้นเมื่อ May 8, 2014.
  16. Sietz, Dan (April 18, 2013). "'Peter Cushing: A Life In Film' Is A Genre Geek's Dream". Uproxx. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2014. สืบค้นเมื่อ May 9, 2014.
  17. Ashcraft, Brian. "How Star Wars Might've Had a Different Darth Vader". Kotaku. Gawker Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 8, 2015. สืบค้นเมื่อ December 5, 2015.
  18. Lee, Benjamin (December 4, 2015). "Toshiro Mifune turned down Obi-Wan Kenobi and Darth Vader roles". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2015. สืบค้นเมื่อ December 6, 2015.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 "30 pieces of trivia about Star Wars". bbc.co.uk. BBC. May 23, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2014. สืบค้นเมื่อ May 9, 2014.
  20. Guinness 1986, p. 214.
  21. "Biography: Anthony Daniels". StarWars.com. Lucasfilm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 11, 2006. สืบค้นเมื่อ October 3, 2006.
  22. The Characters of Star Wars. Star Wars Trilogy DVD Box Set: Bonus Materials. [2004]
  23. Williams, Andrew (October 27, 2009). "Kenny Baker". Metro. DMG Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 1, 2014. สืบค้นเมื่อ May 9, 2014.
  24. 24.0 24.1 Lucas, George (writer/director). (2004). DVD commentary for Star Wars: Episode IV – A New Hope. [DVD]. 20th Century Fox Home Entertainment.
  25. 25.0 25.1 "Peter Mayhew – Biography". Yahoo! Movies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 9, 2006. สืบค้นเมื่อ October 3, 2006.
  26. Sansweet, Stephen J.; Hidalgo, Pablo; Vitas, Bob; Wallace, Daniel; Cassidy, Chris; Franklin, Mary; Kushins, Josh (April 26, 2008). The Complete Star Wars Encyclopedia. Vol. III. Ballantine Books. p. 330. ISBN 9780345477637. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 25, 2018. สืบค้นเมื่อ October 25, 2018.
  27. Westbrook, Caroline (April 17, 2013). "Star Wars actor Richard LeParmentier – aka Admiral Motti – dies aged 66". Metro. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 25, 2018. สืบค้นเมื่อ October 25, 2018.
  28. Cooper, Gael Fashingbauer (August 26, 2016). "Stormtrooper who bonked head in original Star Wars movie has died". CNET. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 30, 2016. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
  29. McGrath, Rachel (August 24, 2016). "Michael Leader Dead: 'EastEnders' Team Pay Tribute Pay Tribute As Actor Who Played Milkman Dies". The Huffington Post UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 9, 2016. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
  30. 30.0 30.1 30.2 30.3 Clarke, Gerald (May 30, 1977). "Star Wars: The Year's Best Movie". Time. New York City, NY: Time Inc. 109 (22): 57. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 27, 2015. สืบค้นเมื่อ December 26, 2015.
  31. 31.0 31.1 31.2 31.3 Staff. "A young, enthusiastic crew employs far-out technology to put a rollicking intergalactic fantasy onto the screen". American Cinematographer. American Society of Cinematographers. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2016. สืบค้นเมื่อ May 17, 2014.
  32. Rinzler 2007, p. 2.
  33. Windham, Ryder; Wallace, Daniel; Hidalgo, Pablo (2016). Star Wars: Year by Year: A Visual Chronicle (Updated and expanded ed.). New York: DK Publishing, Inc. p. 32. ISBN 9781465452580. OCLC 1003722820.
  34. Mark Hamill #23 – Rare Interview (20 July 1977) – The 'Good Guys'. June 25, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 10, 2016. สืบค้นเมื่อ December 1, 2015 – โดยทาง YouTube.
  35. 35.0 35.1 35.2 Macek, J.C., III (February 21, 2013). "Abandoned 'Star Wars' Plot Points Episode II: The Force Behind the Scenes". PopMatters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 13, 2013. สืบค้นเมื่อ December 28, 2018.
  36. Rinzler, J.W. (2008). The Making of Star Wars: The Definitive Story Behind the Original Film (Reprinted ed.). London: Ebury. p. 5. ISBN 9780091924997. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 28, 2014. สืบค้นเมื่อ April 22, 2016.
  37. 37.0 37.1 37.2 Vallely, Jean (June 12, 1980). "The Empire Strikes Back and So Does Filmmaker George Lucas With His Sequel to Star Wars". Rolling Stone. Wenner Media LLC.
  38. Hearn 2005, pp. 54–55.
  39. reporter, Mark Caro, Tribune entertainment. "'Star Wars' inadvertently hits too close to U.S.'s role". chicagotribune.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 18, 2018. สืบค้นเมื่อ September 17, 2018.
  40. Beckwith, Ryan Teague. "George Lucas Wrote 'Star Wars' as a Liberal Warning. Then Conservatives Struck Back". Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2018. สืบค้นเมื่อ September 17, 2018.
  41. Rinzler 2007, p. 8.
  42. Baxter 1999, p. 142.
  43. Kaminski 2008, p. 50.
  44. 44.0 44.1 Smith, Kyle (September 21, 2014). "How 'Star Wars' was secretly George Lucas' Vietnam protest". The New York Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 22, 2014. สืบค้นเมื่อ September 22, 2014.
  45. 45.0 45.1 45.2 45.3 Kurtz, Gary (November 11, 2002). "An Interview with Gary Kurtz". IGN. p. 3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2014. สืบค้นเมื่อ May 11, 2014.
  46. Kurtz, Gary (November 11, 2002). "An Interview with Gary Kurtz". IGN. p. 1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 13, 2014. สืบค้นเมื่อ May 11, 2014.
  47. Titelman, Carol; Hoffman, Valerie, บ.ก. (1979). The Art of Star wars (1st ed.). New York: Ballantine Books. ISBN 9780345282736.
  48. "Star Wars: Episode IV – A New Hope". Lucasfilm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2014. สืบค้นเมื่อ December 22, 2014.
  49. "Star Wars: Episode IV A New Hope - Opening Crawl - Star Wars: Episode IV A New Hope". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 24, 2018. สืบค้นเมื่อ August 24, 2018.
  50. Saporito, Jeff (November 11, 2015). "Why was "Star Wars Episode IV: A New Hope" originally released under another title". ScreenPrism. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 18, 2018. สืบค้นเมื่อ November 7, 2018.
  51. Clark, Mark (2015). Star Wars FAQ: Everything Left to Know About the Trilogy That Changed the Movies. Hal Leonard Corporation. ISBN 9781495046087. สืบค้นเมื่อ April 21, 2016.
  52. 52.0 52.1 Britt, Ryan (April 11, 2018). "When Did 'Star Wars' Become 'A New Hope?' 37 Years Ago, Everything Changed". Inverse. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 24, 2018. สืบค้นเมื่อ August 24, 2018. ... four years after the original film hit theaters, it was released again. And this time, it was called Star Wars Episode IV: A New Hope.
  53. Craig Miller, บ.ก. (1980). "Interview: George Lucas" (PDF). Bantha Tracks. Universal City, CA: Lucasfilm, Ltd. (8): 1–2. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 23, 2013. สืบค้นเมื่อ October 15, 2018. Star Wars was the fourth story in the saga and was to have been called 'Star Wars, Episode Four: A New Hope.' But I decided people wouldn't understand the numbering system so we dropped it. For Empire, though, we're putting back the number and will call it 'Episode Five: The Empire Strikes Back'.
  54. RITHDEE, KONG (2015-12-14). "The force is strong with this one". bangkokpost. สืบค้นเมื่อ 2020-08-02.
  55. "Star Wars' B.O. Hits Wow $2.5 Mil". Variety. June 1, 1977. p. 1.
  56. Los Angeles (AP) (December 1, 1972). "'Star Wars' the new box office champ". The Modesto Bee. The McClatchy Company. p. C-12.
  57. Hollywood (AP) (September 7, 1978). "Grease lead summer films as top box-office draw". The StarPhoenix. Postmedia Network Inc. p. 10.
  58. New York (AP) (May 26, 1978). "Scariness of Jaws 2 unknown quantity". The StarPhoenix. Postmedia Network Inc. p. 21.
  59. Harmetz, Aljean (May 18, 1980). "The Saga Beyond 'Star Wars'". The New York Times. The New York Times Company. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 20, 2013. สืบค้นเมื่อ January 30, 2012.
  60. Murphy, A.D. (July 21, 1978). "'Star Wars' Proves There's Plenty of Life in Deluxers". Daily Variety. p. 1
  61. "'Wars' Domestic Weekend B.O. Hits $10.2 Mil For New Record". Daily Variety. July 26, 1978.
  62. "Weekend Records Through the Years". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 7, 2018. สืบค้นเมื่อ March 12, 2018.
  63. "'Star Wars' B.O. History". Variety. May 17, 1999. p. 30.
  64. Los Angeles (AP) (February 15, 1997). "'Star Wars' takes box office lead over 'E.T.'". Lubbock Avalanche-Journal. Morris Communications. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2012. สืบค้นเมื่อ March 6, 2012.
  65. Wuntch, Philip (July 19, 1985). "Return of E.T." The Dallas Morning News. A. H. Belo Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 17, 2013. สืบค้นเมื่อ March 6, 2012.
  66. Dirks, Tim. "Top Films of All-Time: Part 1 – Box-Office Blockbusters". Filmsite.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2013. สืบค้นเมื่อ March 4, 2012.

ผลงานที่อ้างถึง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]