สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย
สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ตำแหน่งที่ตั้งของจอร์เจีย (รวมทั้งเซาท์ออสซีเชียและอับฮาเซีย) และคอเคซัสเหนือของรัสเซีย | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
รัสเซีย เซาท์ออสซีเชีย อับฮาเซีย | จอร์เจีย | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
เอดูอาร์ด โคคอยตี ดมิตรี มิดเวเดฟ วลาดีมีร์ ปูติน อะนาโตลี ครูลิออฟ วลาดีมีร์ ชามานอฟ มารัต คูลัคเมตอฟ เวียเชสลัฟ บอรีซอฟ เซียร์เกย์ บากัปช์ |
มีเคอิล ซาคัชวีลี ดาวิต เคเซรัชวีลี ซาซา กอกาวา | ||||||||
กำลัง | |||||||||
ในเซาท์ออสซีเชีย: 10,000 นาย ในอับฮาเซีย: 9,000 นาย[7][8][9] ทหารประจำการ 2,900 นาย[10] ทหารประจำการ 5,000 นาย[11] |
ในเซาท์ออสซีเชีย: 10,000–12,000 นาย | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
เสียชีวิต 72 นาย บาดเจ็บ 283 นาย สูญหาย 3 นาย เป็นเชลย 5 นาย[15][16][17] | เสียชีวิต 171 นาย บาดเจ็บ 1,147 นาย สูญหาย 11 นาย เป็นเชลย 39 นาย[20][15][18][21] | ||||||||
ความสูญเสียฝ่ายพลเรือน: |
สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย หรือสงครามเซาท์ออสซีเชีย (ในรัสเซียมีอีกชื่อหนึ่งว่า สงครามห้าวัน) เป็นความขัดแย้งด้วยอาวุธในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ระหว่างจอร์เจียฝ่ายหนึ่ง กับรัสเซียและรัฐบาลผู้แบ่งแยกของเซาท์ออสซีเชียและอับฮาเซียอีกฝ่ายหนึ่ง
สงครามเซาท์ออสซีเชียเมื่อ พ.ศ. 2534–2535 ระหว่างเชื้อชาติจอร์เจียกับออสเซเตียได้สิ้นสุดลงด้วยพื้นที่เกินกว่าครึ่งเล็กน้อยของเซาท์ออสซีเชียอยู่ภายใต้การควบคุมโดยพฤตินัยของรัฐบาลที่รัสเซียหนุนหลัง หากนานาชาติมิได้ให้การรับรองแต่อย่างใด[33] เซาท์ออสซีเชียส่วนที่เชื้อชาติจอร์เจียอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่นั้นยังอยู่ภายใต้การควบคุมของจอร์เจีย (เขตอะฮัลโกรี และหมู่บ้านส่วนมากรอบซคินวาลี) โดยมีกำลังรักษาสันติภาพร่วมจอร์เจีย นอร์ทออสเซเตียและรัสเซียประจำอยู่ในพื้นที่ สถานการณ์คล้ายคลึงกันอุบัติขึ้นในอับฮาเซียหลังจากสงครามในอับฮาเซียเมื่อ พ.ศ. 2535–2536 ความตึงเครียดได้บานปลายขึ้นระหว่างฤดูร้อนของ พ.ศ. 2551 และเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม รัสเซียตัดสินใจที่จะป้องกันเซาท์ออสซีเชียอย่างเป็นทางการ[34]
ระหว่างคืนวันที่ 7 และ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551 จอร์เจียเปิดฉากการรุกทางทหารขนานใหญ่ต่อเซาท์ออสซีเชีย ในความพยายามที่จะยึดพื้นที่คืน[35] จอร์เจียอ้างว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการสนองต่อเหตุโจมตีต่อผู้รักษาสันติภาพและหมู่บ้านของตนในเซาท์ออสซีเชีย และรัสเซียกำลังเคลื่อนหน่วยทหารที่มิใช่เพื่อการรักษาสันติภาพเข้ามาในพื้นที่ การโจมตีของจอร์เจียเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียในบรรดาผู้รักษาสันติภาพรัสเซีย ผู้ซึ่งต้านทานการโจมตีร่วมกับทหารอาสาสมัครออสเซเตีย จอร์เจียยึดซคินวาลีได้สำเร็จในไม่กี่ชั่วโมง รัสเซียสนองโดยการจัดวางกำลังกองทัพที่ 58 ของรัสเซีย และกำลังพลร่มรัสเซียในเซาท์ออสซีเชีย และเปิดฉากโจมตีทางอากาศต่อกำลังจอร์เจียในเซาท์ออสซีเชียและเป้าหมายทางทหารและการส่งกำลังบำรุงในดินแดนจอร์เจีย รัสเซียอ้างว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการแทรกแซงทางมนุษยธรรมและการบังคับใช้สันติภาพที่จำเป็น[36][37]
กำลังรัสเซียและออสเซเตียสู้รบกับกำลังจอร์เจียทั่วเซาท์ออสซีเชียเป็นเวลาสี่วัน โดยมีการสู้รบหนักที่สุดในซคินวาลี วันที่ 9 สิงหาคม ทัพเรือของรัสเซียปิดล้อมชายฝั่งจอร์เจียบางส่วน และยกนาวิกโยธินขึ้นบกบนชายฝั่งอับฮาเซีย[38] ทัพเรือจอร์เจียพยายามจะขัดขวาง แต่พ่ายแพ้ในการปะทะกันทางทะเล กำลังรัสเซียและอับฮาเซียเปิดแนวรบที่สองโดยการโจมตีหุบโคโดรีที่จอร์เจียครองอยู่[39] กำลังจอร์เจียต้านทานได้เพียงเล็กน้อย และต่อมา กำลังรัสเซียได้ตีโฉบฉวยฐานทัพหลายแห่งในทางตะวันตกของจอร์เจีย หลังการสู้รบอย่างหนักในเซาท์ออสซีเชียเป็นเวลาห้าวัน กำลังจอร์เจียก็ร่นถอย ทำให้รัสเซียสามารถกรีธาเข้าสู่จอร์เจียส่วนที่ไม่พิพาทและยึดครองนครต่าง ๆ ของจอร์เจียได้จำนวนหนึ่ง[40]
สหภาพยุโรปที่มีฝรั่งเศสเป็นประธานเข้าไกล่เกลี่ยสถานการณ์ และคู่กรณีบรรลุความตกลงหยุดยิงขั้นต้นในวันที่ 12 สิงหาคม โดยจอร์เจียลงนามเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมในกรุงทบิลิซี และรัสเซียลงนามเมื่อวันที่ 16 สิงหาคมในกรุงมอสโก หลายสัปดาห์ให้หลังการลงนามในความตกลงหยุดยิงดังกล่าว รัสเซียเริ่มถอนทหารส่วนมากออกจากจอร์เจียส่วนที่ไม่พิพาท รัสเซียได้สถาปนาเขตกันชนรอบอับฮาเซียและเซาท์ออสซีเชีย ตลอดจนตั้งจุดตรวจในดินแดนจอร์เจีย ท้ายที่สุด กำลังเหล่านี้ได้ถูกถอนออกจากจอร์เจียส่วนที่ไม่พิพาท อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ตะวันตกบางคนยืนยันว่า ทหารเหล่านี้ไม่ได้กลับไปประจำยังแนวที่ประจำอยู่เดิมก่อนหน้าที่จะเกิดความขัดแย้งขึ้นตามที่ระบุไว้ในแผนสันติภาพ[41][42] กำลังรัสเซียยังประจำอยู่ในอับฮาเซียและเซาท์ออสซีเชียความตกลงสองฝ่ายกับรัฐบาลทั้งสองดินแดน[43]
ภูมิหลังประวัติศาสตร์
[แก้]บรรพบุรษของชาวออสซีเซียนั้นมาจากอิหร่าน มีถิ่นฐานเดิมอยู่ตามลำแม่น้ำดอน แต่ต้องย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่เทือกเขาคอเคซัสเพราะถูกบุกรุกโดยจักรวรรดิมองโกลในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ภายหลังจากถูกขับไล่ออกจากถิ่นฐานบ้านเกิด ชาวออสซีเซียได้ตั้งรกรากถาวรอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ที่บริเวณสาธารณรัฐนอร์ทออสซีเซีย-อาลาเนีย (ปัจจุบันเป็นดินแดนของรัสเซีย) และเซาท์ออสซีเซีย (ปัจจุบันเป็นดินแดนของจอร์เจีย)[44]
ในปี พ.ศ. 2537 ขณะที่สหภาพโซเวียตกำลังจะล่มสลายนั้น ผู้ที่ต่อต้านสหภาพโซเวียตคือ ซเวียด กัมซาคูร์เดีย ปรากฏตัวเป็นผู้นำของจอร์เจียเป็นคนแรก ในการรณรงค์หาเสียงเป็นประธานาธิบดีบนเวทีปราศรัยแห่งชาติ[45] เขาได้สร้างภาพว่าชาวจอร์เจียพื้นเมือง ซึ่งในขณะนั้นมีประมาณร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมดว่าเป็นประชาชนผู้รักชาติอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นการทำให้ฐานะของชาวเซาท์ออสซีเซียตกต่ำลง
ปลายปี พ.ศ. 2537 ศาลฎีกาของจอร์เจียตัดสินให้ดินแดนเซาท์ออสซีเซียเป็นรัฐอิสระ จึงได้แยกตัวออกมา หลังจากนั้นรัฐบาลในกรุงทบิลิซีกำหนดให้ภาษาจอร์เจียเป็นภาษาประจำชาติ ในขณะที่ชาวออสซีเซียใช้ 2 ภาษาหลักคือ ภาษารัสเซียและภาษาออสซีเซีย[45]
ท่ามกลางความตึงเครียดเนื่องจากความขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติที่เพิ่มขึ้น สงครามเซาท์ออสซีเซียปะทุขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2534 จากเหตุที่กำลังทหารของจอร์เจียบุกเข้าไปในเมืองหลวงซคินวาลี ผลจากสงครามเชื่อกันว่าประชาชนประมาณ 2,000 คนถูกฆ่าตาย[45][46] สงครามนี้ทำให้เกิดดินแดนเซาท์ออสซีเชียที่แยกตัวออกมาจากจอร์เจียและได้เอกราชมาอย่างไม่เป็นทางการ ดินแดนนี้มีชาวจอร์เจียประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด (70,000 คน)[47] หลังจากที่มีคำสั่งหยุดยิงในปี พ.ศ. 2535 ซคินวาลีถูกทอดทิ้งจากดินแดนของจอร์เจียรอบข้าง และรายงานข่าวการทารุณกรรม (ที่มีทั้งการข่มขืนและการฆ่าอย่างทารุณ) เพื่อต่อต้านชาวออสซีเซียนั้นก็วนเวียนอย่างไม่รู้จบ[45] ทหารประจำการของจอร์เจีย รัสเซีย และเซาท์ออสซีเซีย เข้าประจำฐานภายใต้คำสั่งของเจซีซี (JCC) ที่สั่งให้ถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่[48][49] คำสั่งหยุดยิงในปี พ.ศ. 2535 นั้นยังได้กำหนดขอบเขตพื้นที่ของความขัดแย้งรอบเมืองหลวงของเซาท์ออสซีเซีย คือ ซคินวาลี และแนวเขตรักษาความปลอดภัยตามแนวชายแดนอีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2549 มีการลงประชามติเกี่ยวกับการแยกตัวเป็นอิสระของเซาท์ออสซีเซีย ปรากฏว่ามีจำนวนผู้ออกเสียงสนับสนุนให้เซาท์ออสซีเซียเป็นอิสระถึงร้อยละ 99 ทั้ง ๆ ที่ชาวจอร์เจียพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวไม่ได้มีส่วนร่วมในการลงประชามติด้วยเลย และทางจอร์เจียยังกล่าวหารัสเซียด้วยว่า อาคารที่สร้างขึ้นมาใหม่นั้น ถือว่าเป็นการทำให้ดินแดนตรงส่วนนั้นถูกรับรองระหว่างประเทศ และการจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดที่นำโดยเอดูอาร์ด โคคอยตี ซึ่งก่อนหน้านี้เขาได้รับราชการทหารอยู่ใน หน่วยปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย (FSB) และกองทัพรัสเซีย[50][51][52][53] ส่วนการกลับคืนมาของเซาท์ออสซีเซียและอับฮาเซียเพื่อไปอยู่ในอาณัติของจอร์เจียนั้น ได้เป็นเป้าหมายของประธานาธิบดีดมิตรี มิดเวดิฟ ตั้งแต่การปฏิวัติกุหลาบ[54]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Statement by President of Russia Dmitry Medvedev". Russia's President web site. 2008-08-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-02. สืบค้นเมื่อ 2008-08-26.
- ↑ "El Presidente de la República Nicaragua Decreto No. 47-2008" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-09-10. สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.
- ↑ Tavernise, Sabrina; Siegel, Matt (2008-08-16). "Looting and 'ethnic cleansing' in South Ossetia as soldiers look on". Melbourne: Theage.com.au. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-17. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
- ↑ Hider, James (2008-08-28). "Russian-backed paramilitaries 'ethnically cleansing villages'". London: Times Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-27. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
- ↑ "World Report 2009 Book" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-08. สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.
- ↑ RIA Novosti (2008-08-15). "World — S. Ossetia says Georgian refugees unable to return to region". En.rian.ru. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-05. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
- ↑ "The Chronicle of a Caucasian Tragedy". Spiegel.de. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
- ↑ Barabanov, Mikhail (2008-09-12). "The August War between Russia and Georgia". Moscow Defense Brief. Centre for Analysis of Strategies and Technologies. 3 (13). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-22. สืบค้นเมื่อ 24 December 2011.
- ↑ Russia's rapid reaction เก็บถาวร 2009-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน International Institute for Strategic Studies
- ↑ Krasnogir, Sergey (8 August 2008). "Расстановка сил" (ภาษารัสเซีย). Lenta.Ru. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-09. สืบค้นเมื่อ 2008-08-10.
- ↑ "Милитаризм по-кавказски", Nezavisimaya Gazeta
- ↑ Liklikadze, Koba. "Lessons And Losses Of Georgia'S Five-Day War With Russia – The Jamestown Foundation". Jamestown.org. สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.
- ↑ "Full scale war: Georgia fighting continues over South Ossetia – Nachrichten English-News – Welt Online" (ภาษาเยอรมัน). Welt.de. 2008-08-09. สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.
- ↑ "Georgiaupdate.gov.ge". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2012-08-09.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 "Up In Flames" (PDF). Human Rights Watch. 2009-01-23. สืบค้นเมื่อ 2012-06-09.
- ↑ "Russia lost 64 troops in Georgia war, 283 wounded". Uk.reuters.com. 2009-02-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
- ↑ "Georgia holds 12 Russian servicemen captive – RT Top Stories". Rt.com. 2008-08-18. สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 18.0 18.1 Civil.Ge | Official Interim Report on Number of Casualties
- ↑ Rusia interviene en el Cáucaso para quedarse y controlar su espacio vital, El País, 2008-08-17 (สเปน)
- ↑ "List of Killed and Missing Military Servicemen during the Georgian-Russian WAR". Georgia Ministry of Defense. 2012-06-08. สืบค้นเมื่อ 2012-06-08.
- ↑ "12 Georgian soldiers exchanged for convicted criminal". The Messenger. 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
- ↑ Conclusion of the Investigating Committee of the Russian Prosecutor's Office เก็บถาวร 2011-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 3 July 2009
- ↑ "Deceased victims list". Ossetia-war.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-28. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
- ↑ List of killed South Ossetian citizens as of 04.09.08 เก็บถาวร 2008-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Список погибших граждан Южной Осетии на 04.09.08, 4 September 2008 (รัสเซีย); Russia scales down Georgia toll, BBC News, 20 August 2008; Russia says some 18,000 refugees return to S. Ossetia, RIA Novosti 21 August 2008. Accessed 2009-05-28. Archived 2009-05-28.
- ↑ "Ministry of Foreign Affairs of Georgia - CONSEQUENCES OF RUSSIAN AGGRESSION IN GEORGIA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-02. สืบค้นเมื่อ 2012-08-09.
- ↑ "A Summary of Russian Attack". Ministry of Foreign Affairs of Georgia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 August 2014.
- ↑ "Russia trains its missiles on Tbilisi". The Australian. 2008-08-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-20. สืบค้นเมื่อ 24 December 2011.
- ↑ "UNHCR secures safe passage for Georgians fearing further fighting". UNHCR. 15 สิงหาคม 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2019.
- ↑ "UNHCR: 100 tys. przemieszczonych z powodu konfliktu w Gruzji". Polska Agencja Prasowa (ภาษาโปแลนด์). 2008-08-12.
- ↑ Fawkes, Helen (2008-08-20). "Despair among Georgia's displaced". BBC News. สืบค้นเมื่อ 24 December 2011.
- ↑ "Human Rights Watch Counts South Ossetian Casualties, Displaced". Deutsche Welle. 11 August 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-12. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
- ↑ Roots of Georgia-Russia clash run deep, The Christian Science Monitor, 12 August 2008
- ↑ "Charles King, The Five-Day War" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-01. สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.
- ↑ "Russia vows to defend S Ossetia". BBC News. 2008-08-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-19. สืบค้นเมื่อ 2010-03-29.
- ↑ King, Charles (2009-10-11). "Clarity in the Caucasus?". Foreign Affairs. สืบค้นเมื่อ 24 December 2011.
- ↑ "Russia and Eurasia". Heritage.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-28. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
- ↑ Kramer, Andrew E.; Barry, Ellen (2008-08-13). "Russia, in Accord With Georgians, Sets Withdrawal". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 December 2011.
- ↑ Roy Allison, Russia resurgent? Moscow's campaign to ‘force Georgia to peace’ เก็บถาวร 2011-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, in International Affairs, 84: 6 (2008) 1145–1171. Accessed 2009-09-02. 2009-09-05.
- ↑ "Abkhazia launches operation to force Georgian troops out". Thaindian.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-28. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
- ↑ "Day-by-day: Georgia-Russia crisis". BBC News. 2008-08-21. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
- ↑ "Microsoft Word – Russia follow up FINAL sent to TSO _2_.doc" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.
- ↑ Interview de M. Bernard Kouchner à la radio "Echo de Moscou" (1er octobre 2009) เก็บถาวร 2010-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ฝรั่งเศส)
- ↑ "Russia completes troop pullout from S.Ossetia buffer zone". Moscow: RIA Novosti. 8 October 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-09. สืบค้นเมื่อ 2008-10-10.
- ↑ "Q&A: Violence in South Ossetia". BBC News. 2008-08-08. สืบค้นเมื่อ 2008-08-09.
- ↑ 45.0 45.1 45.2 45.3 As Soviet Union Dissolved, Enclave’s Fabric Unraveled NYTimes Retrieved on 06-09-08
- ↑ "We are at war with Russia, declares Georgian leader". The Independent. 2008-08-09. สืบค้นเมื่อ 2008-08-09.
- ↑ Associated Press (2008-08-08). "Facts about South Ossetia". International Herald Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-12. สืบค้นเมื่อ 2008-08-10.
- ↑ http://sojcc.ru/eng_news/911.html เก็บถาวร 2008-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน South-Ossetian part of JCC draws attention to the activities of the Georgian JPKF battalion
- ↑ South Ossetia: Mapping Out Scenarios
- ↑ «Осетины не имеют никакого желания защищать режим Кокойты», Svoboda News, 2008-08-08 (รัสเซีย)
- ↑ Войсками Южной Осетии командует бывший пермский военком генерал-майор เก็บถาวร 2008-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, UralWeb.ru, 11 August 2008 (รัสเซีย)
- ↑ Миндзаев, Михаил: Министр внутренних дел непризнанной республики Южная Осетия, Lenta.Ru, 17.08.2008 (รัสเซีย)
- ↑ Georgia blames Russia of a territorial annexation, Utro, January 18, 2005
- ↑ "Saakashvili: Returning of Abkhazia is the main goal of Georgia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-01-05. สืบค้นเมื่อ 2008-09-20.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]จอร์เจีย
- Chronology of Bombing Facts โดยกระทรวงการต่างประเทศจอร์เจีย.
รัสเซีย
- On the situation around Abkhazia and South Ossetia @ ทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซีย.
หน่วยงานระหว่างประเทศ
- EU Monitoring Mission in Georgia
- OSCE Mission to Georgia (closed)
- รายงานการสอบสวนของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับสงคราม (สิงหาคม พ.ศ. 2551) และปฏิกิริยาจากจอร์เจียและรัสเซียใน Caucasus Analytical Digest No. 10
สื่อมวลชน
- War in Georgia เก็บถาวร 2018-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. รายงานนำเสนอแบบมัลติมีเดียโดย International Crisis Group.
- BBC hub
- Fighting in South Ossetia Photos
- Gallery Boston.com.
- Russian air attacks in Georgia
สารคดี