ข้ามไปเนื้อหา

สงครามคองโกครั้งที่หนึ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามคองโกครั้งที่หนึ่ง
ส่วนหนึ่งของ หลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา ผลกระทบจากสงครามกลางเมืองบุรุนดีและสงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่สอง

แผนที่แสดงการรุก AFDL
วันที่24 ตุลาคม ค.ศ. 1996 – 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1997
(6 เดือน 3 สัปดาห์ 1 วัน)
สถานที่
ซาอีร์ และกระจายไปยังประเทศยูกันดาและซูดาน[5]
ผล AFDL ชนะ
คู่สงคราม

 ซาอีร์

 ซูดาน[1]
 ชาด[2]
กองกำลังอาสาสมัคร:
รวันดา อดีตกำลังป้องกันรวันดา/กองทัพเพื่อการปลดปล่อยรวันดา
อินเตราฮัมเว
CNDD-FDD[3]
UNITA[4]
ADF[5]
FLNC[6]
สนับสนุน:
 ฝรั่งเศส[7][8]
 สาธารณรัฐแอฟริกากลาง[8]
 จีน[9]
 อิสราเอล[9]
 คูเวต (ปฏิเสธ)[9]


มาอี-มาอี[a]

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก AFDL
 รวันดา
 ยูกันดา[13]
 บุรุนดี[14]
 แองโกลา[14]
ซูดานใต้ SPLA[1]
 เอริเทรีย[15]
สนับสนุน:
 แอฟริกาใต้[16]
 แซมเบีย[17]
 ซิมบับเว[16]
 เอธิโอเปีย[18]
 แทนซาเนีย[19]
 สหรัฐ (ในทางลับ)[20]


มาอี-มาอี[a]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สาธารณรัฐซาอีร์ โมบูตู เซเซ เซโก
สาธารณรัฐซาอีร์ ดอนาเซียง มาเฮเล ลีเอโก โบคุนกู โทษประหารชีวิต
สาธารณรัฐซาอีร์ คริสตีย็อง ตาแวร์นีเย
ซูดาน อุมัร อัลบะชีร
โฌนัส ซาวิมบี
รวันดา พอล รวาราคาบีเย
รวันดา รอแบร์ คาจูกา
รวันดา ทาซีส เรนซาโฮ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก โลร็อง-เดซีเร กาบีลา
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก อ็องเดร คิซาเซ อึงกันดู 
รวันดา พอล คากาเม
รวันดา เจมส์ คาบาเรเบ
ยูกันดา โยเวรี มูเซเวนี
บุรุนดี ปีแยร์ บูโยยา
แองโกลา ฌูแซ เอดัวร์ดู ดุช ซังตุช
กำลัง
ซาอีร์: ป. 50,000[b]
อินเตราฮัมเว: 40,000 – 100,000 รวมทั้งหมด[22]
UNITA: ป.1,000[22] – 2,000[6]
AFDL: 57,000[23]
รวันดา: 3,500–4,000[23][24]
แองโกลา: 3,000+[24]
เอริเทรีย: 1 กองพัน[25]
ความสูญเสีย
10,000–15,000 ถูกฆ่า
10,000 แปรพักตร์[24]
ยอมจำนนหลายพันคน
3,000–5,000 ถูกฆ่า
250,000[26]–800,000 เสียชีวิต
222,000 ผู้ลี้ภัยสูญหาย[27]

สงครามคองโกครั้งที่หนึ่ง หรือ สงครามโลกครั้งที่หนึ่งของแอฟริกา[28] เป็นสงครามกลางเมืองและความขัดแย้งนานาชาติที่เกิดขึ้นในประเทศซาอีร์ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกปัจจุบัน) ระหว่างค.ศ. 1996–1997 และยังลุกลามในประเทศซูดานและยูกันดา สงครามถึงจุดสูงสุดเมื่อกองกำลังต่างชาติบุกครองซาอีร์และแทนที่ประธานาธิบดีโมบูตู เซเซ เซโกด้วยโลร็อง-เดซีเร กาบีลา ผู้นำพันธมิตรกองทัพประชาธิปไตยเพื่อปลดปล่อยคองโก (AFDL) ต่อมาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกาบีลากับพันธมิตรนำไปสู่สงครามคองโกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1998–2003)

คริสต์ทศวรรษ 1990 ซาอีร์ที่ประสบความขัดแย้งภายใน ระบอบเผด็จการและเศรษฐกิจเสื่อมถอยยาวนานกำลังจะล่มสลาย ภาคตะวันออกของประเทศสั่นคลอนเนื่องจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดารุกล้ำชายแดน รวมถึงความขัดแย้งระดับภูมิภาคที่ไม่ได้รับการแก้ไขมาตั้งแต่วิกฤตการณ์คองโก หน่วยงานรัฐหลายพื้นที่ไร้ประสิทธิภาพ เกิดการต่อสู้ในหมู่กองกำลังอาสาสมัคร ขุนศึกและกลุ่มกบฏ ประชาชนซาอีร์กระสับกระส่ายและคับแค้นใจการปกครองที่ฉ้อฉล ในขณะที่กองทัพอยู่ในสภาพย่ำแย่[29][21] ด้านประธานาธิบดีโมบูตูซึ่งป่วยระยะสุดท้ายไม่สามารถรักษากลุ่มแยกต่าง ๆ ในรัฐบาลไว้ได้อีกต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นสงครามเย็นที่สิ้นสุดยังทำให้จุดยืนในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ของโมบูตูซึ่งเคยทำให้เขาได้รับความช่วยเหลือจากต่างชาติหมดความหมาย[30][20]

สถานการณ์ย่ำแย่ลงเมื่อรวันดารุกรานซาอีร์ในค.ศ. 1996 เพื่อปราบกลุ่มกบฏที่ลี้ภัยเข้ามา การบุกครองถูกยกระดับเมื่อยูกันดา บุรุนดี แองโกลาและเอริเทรียเข้าร่วมด้วย รวมถึงมีการรวมกลุ่มกบฏต่อต้านโมบูตู[31] ซาอีร์พยายามตอบโต้โดยได้รับการสนับสนุนจากซูดาน แต่รัฐบาลโมบูตูกลับล่มสลายภายในเวลาไม่กี่เดือน[32] แม้สงครามคองโกครั้งที่หนึ่งจะสู้รบไม่นาน แต่สร้างความเสียหายในวงกว้าง มีผู้เสียชีวิตในสงครามนี้หลายแสนคน[33]

หลังโมบูตูถูกโค่นอำนาจในค.ศ. 1997 มีการตั้งรัฐบาลใหม่และซาอีร์ถูกเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก" อย่างไรก็ตามเกิดความตึงเครียดระหว่างกาบีลากับชาติที่เคยช่วยทำสงคราม เขาสั่งขับไล่ทหารรวันดา ยูกันดาและบุรุนดีออกจากคองโก[34] ก่อนจะหันไปผูกมิตรกับแองโกลา นามิเบีย ซิมบับเวและแซมเบีย พันธมิตรสามฝ่ายร่วมกับการบุกครองภาคตะวันออกของคองโกครั้งที่สองของรวันดาเปิดฉากสงครามคองโกครั้งที่สองในปีต่อมา[35]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 เดิมกองกำลังอาสาสมัครมาอี-มาอีในซาอีร์ตะวันออกหลายกลุ่มร่วมมือกับรวันดาและ AFDL เพื่อต่อต้านนักรบและผู้ลี้ภัยฮูตู[10] แต่ทันทีที่ฮูตูส่วนใหญ่ถูกขับไล่ มาอี-มาอีหลายกลุ่มหันมาสู้รบกับรวันดาและ AFDL[11] อย่างไรก็ตามยังมีมาอี-มาอีบางส่วนที่ต่อต้านฮูตูร่วมมือกับรวันดาและ AFDL ต่อไป[12]
  2. Officially, the FAZ had ป. 80,000 soldiers by the war's start,[21] though the actual number was closer to about 50,000.[21][22] Of these, just 25,000 were in a condition to fight, whereas the rest was likely to flee or desert upon the first signs of combat.[21]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Prunier (2004), pp. 376–377.
  2. Toïngar, Ésaïe (2014). Idriss Deby and the Darfur Conflict. p. 119. In 1996, President Mobutu of Zaire requested that mercenaries be sent from Chad to help defend his government from rebel forces led by Lauren Desiré Kabila. ... When a number of the troops were ambushed by Kabila and killed in defense of Mobutu's government, Mobutu paid Déby a fee in honor of their service.
  3. Prunier (2009), pp. 116–118.
  4. Duke, Lynne (20 พฤษภาคม 1997). "Congo Begins Process of Rebuilding Nation". The Washington Post. p. A10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2011. Guerrillas of Angola's former rebel movement UNITA, long supported by Mobutu in an unsuccessful war against Angola's government, also fought for Mobutu against Kabila's forces.
  5. 5.0 5.1 Prunier (2004), pp. 375–377.
  6. 6.0 6.1 Reyntjens, Filip (2009). The Great African War. Cambridge University Press. pp. 112–113.
  7. "Strategic Review for Southern Africa". University of Pretoria. 20–21. 1998. As the conflict developed, France provided financial support to Mobutu and pushed hard for foreign intervention. However, under US pressure, France eventually terminated its call for intervention.
  8. 8.0 8.1 Carayannis, Tatiana (2015). Making Sense of the Central African Republic. Zed Books. In the waning days of Mobutu's rule, while Kabila's Rwandan- and Ugandan-backed putsch was rapidly making its way across Congo, France sought to prop up Mobutu's dying regime through covert military aid to the ailing dictator ... This covert aid was facilitated by Patassé
  9. 9.0 9.1 9.2 Reyntjens, Filip (2009). The Great African War. Cambridge University Press. p. 112.
  10. Prunier (2009), pp. 117, 130, 143.
  11. Prunier (2009), p. 130.
  12. Prunier (2009), p. 143.
  13. Prunier (2004), pp. 375–376.
  14. 14.0 14.1 Duke, Lynne (15 เมษายน 1997). "Passive Protest Stops Zaire's Capital Cold". The Washington Post. p. A14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2011. Kabila's forces – which are indeed backed by Rwanda, Angola, Uganda and Burundi, diplomats say – are slowly advancing toward the capital from the eastern half of the country, where they have captured all the regions that produce Zaire's diamonds, gold, copper and cobalt.
  15. Plaut (2016), pp. 54–55.
  16. 16.0 16.1 "Consensual Democracy" in Post-genocide Rwanda. International Crisis Group. 2001. p. 8. In that first struggle in the Congo, Rwanda, allied with Uganda, Angola, Zimbabwe, South Africa and Burundi, had brought Laurent Désiré Kabila to power in Kinshasa
  17. Reyntjens, Filip. The Great African War: Congo and Regional Geopolitics, 1996–2006. Cambridge: Cambridge UP, 2009. p. 65-66
  18. Usanov, Artur (2013). Coltan, Congo and Conflict. Hague Centre for Strategic Studies. p. 36.
  19. Makikagile, Godfrey (2006). Nyerere and Africa. New Africa Press. p. 173.
  20. 20.0 20.1 Prunier (2009), pp. 118, 126–127.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 Prunier (2009), p. 128.
  22. 22.0 22.1 22.2 Thom, William G. (1999). "Congo-Zaire's 1996–97 Civil War in the Context of Evolving Patterns of Military Conflict in Africa in the Era of Independence". XIX (2). Journal of Conflict Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 สิงหาคม 2006. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  23. 23.0 23.1 This number was self-declared and was not independently verified. Johnson, Dominic: Kongo — Kriege, Korruption und die Kunst des Überlebens, Brandes & Apsel, Frankfurt am Main, 2. Auflage 2009 ISBN 978-3-86099-743-7
  24. 24.0 24.1 24.2 Abbott (2014), p. 35.
  25. Plaut (2016), p. 55.
  26. https://www.amnesty.org/ailib/aipub/1998/AFR/16203698.html[ลิงก์เสีย]
  27. CDI: The Center for Defense Information, The Defense Monitor, "The World At War: January 1, 1998".
  28. Prunier (2009), p. 72.
  29. Abbott (2014), pp. 23–24, 33.
  30. Abbott (2014), pp. 23–24, 33–35.
  31. Abbott (2014), pp. 33–35.
  32. Abbott (2014), pp. 34–35.
  33. Prunier (2009), pp. 143–148.
  34. "History of the Conflict". www.easterncongo.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-29. สืบค้นเมื่อ 2020-03-11.
  35. "The Second Congo War". ThoughtCo. January 26, 2019. สืบค้นเมื่อ January 21, 2022.

อ่านเพิ่ม

[แก้]