ฉนวนกาซา
ฉนวนกาซา قِطَاعُ غَزَّةَ Qiṭāʿu Ġazzah | |
---|---|
ธงชาติปาเลสไตน์ | |
สถานะ |
|
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | นครกาซา 31°31′N 34°27′E / 31.517°N 34.450°E |
ภาษาราชการ | อาหรับ |
กลุ่มชาติพันธุ์ | ชาวปาเลสไตน์ |
พื้นที่ | |
• รวม | 365 ตารางกิโลเมตร (141 ตารางไมล์) |
ประชากร | |
• 2020 ประมาณ | 2,047,969[2] |
5,046 ต่อตารางกิโลเมตร (13,069.1 ต่อตารางไมล์) | |
สกุลเงิน |
|
เขตเวลา | UTC+2 (เวลามาตรฐานปาเลสไตน์) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+3 (เวลาออมแสงปาเลสไตน์) |
รหัสโทรศัพท์ | +970 |
รหัส ISO 3166 | PS |
|
ฉนวนกาซา (อังกฤษ: Gaza Strip; อาหรับ: قِطَاعُ غَزَّةَ, [qi.tˤaːʕ ɣaz.zah]; ฮีบรู: רצועת עזה, [r'tsu'at 'áza]) เรียกสั้น ๆ ว่า กาซา เป็นดินแดนแทรกของปาเลสไตน์ที่ชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน[3][4] มีชายแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับอียิปต์ และทางตะวันออกกับเหนือติดกับอิสราเอล ฉนวนกาซากับเวสต์แบงก์เป็นดินแดนที่อ้างสิทธิ์โดยรัฐปาเลสไตน์โดยนิตินัย
ดินแดนนี้มีความยาว 41 กิโลเมตร (25 ไมล์) กว้าง 6 ถึง 12 กิโลเมตร (3.7 ถึง 7.5 ไมล์) และมีพื้นที่รวม 365 ตารางกิโลเมตร (141 ตารางไมล์)[5][6] ซึ่งมีประชากรชาวปาเลสไตน์ประมาณ 1.85 ล้านคน[7] ในพื้นที่ 362 ตารางกิโลเมตร ทำให้เป็นพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 3 ของโลก[8][9] กาซามีอัตราการเติบโตของประชากรรายปีที่ 2.91% (ประมาณ ค.ศ. 2014) ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 13 ของโลก และมักระบุว่าแออัดเกินไป[6][10]
ปัจจุบันยังไม่มีชาติใดให้การรับรองฉนวนกาซาว่าเป็นดินแดนที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง บางส่วนได้ถือว่าฉนวนกาซาเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของอิสราเอล ซึ่งอิสราเอลได้ให้การปฏิเสธหลังจากถอนทหารไปเมื่อ ค.ศ. 2005 อย่างไรก็ตามอิสราเอลได้ควบคุมการเข้าออกฉนวนกาซาทั้งทางน้ำและทางอากาศ
ภูมิศาสตร์
[แก้]ในทางภูมิศาสตร์ ฉนวนกาซาถือเป็นดินแดนของปาเลสไตน์ โดยมีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นความยาวประมาณ 11 กิโลเมตรติดกับประเทศอียิปต์ ทางเหนือและตะวันออกติดกับประเทศอิสราเอลเป็นระยะทางราว 51 กิโลเมตร ทางตะวันตกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นระยะทางชายฝั่งประมาณ 41 กิโลเมตร
สภาพภูมิอากาศในบริเวณนี้มีความชื้นในอากาศต่ำ และมีช่วงฤดูหนาวที่ค่อนข้างอุ่น และฤดูร้อนอาจจะส่งผลรุนแรงถึงวิกฤตการณ์ภัยแล้งได้ ด้านทรัพยากรณ์ธรรมชาติ รวมถึงพื้นแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก (ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด) และไม่นานนี้ได้มีการขุดพบก๊าซธรรมชาติด้วย
ประวัติศาสตร์
[แก้]พรมแดนของฉนวนกาซาถูกแบ่งโดยกองกำลังป้องกันอิสราเอลและอียิปต์หลังจากสงครามอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ. 1948 ซึ่งส่งผลทีหลังให้สหราชอาณาจักรเลิกการครอบครองปาเลสไตน์ หลังจากนั้นฉนวนกาซาถูกปกครองโดยอียิปต์ (อิสราเอลได้ครอบครองเป็นเวลาสั้นๆ คือ 4 เดือน ในช่วงวิกฤตการณ์คลองสุเอซ) แต่เมื่ออิสราเอลชนะสงครามหกวัน ใน ค.ศ. 1967 ฉนวนกาซาเป็นหนึ่งในดินแดนที่อียิปต์เสียให้อิสราเอล
ค.ศ. 1993 อิสราเอลและปาเลสไตน์ได้ตกลงกันเซ็นสนธิสัญญาออสโล ซึ่งมีใจความว่าอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์มีอำนาจในการปกครองตัวเอง (อย่างจำกัด) ในเขตฉนวนกาซา ใน ค.ศ. 2005 ภายใต้การนำของประธานาธิบดีอาเรียล ชารอน อิสราเอลได้ดำเนินการถอนทหารและประชาชนชาวอิสราเอล ที่อาศัยอยู่ในฉนวนกาซาทั้งหมด ซึ่งหมายถึงการหมดอำนาจปกครองของอิสราเอลที่ยาวนานมาถึง 36 ปี
ปัจจุบันอิสราเอลยังควบคุมการเข้าออกฉนวนกาซาจากภายนอก ส่วนสถานะทางการเมืองระหว่างประเทศของฉนวนกาซายังไม่ได้ข้อยุติ โดยสามารถมองได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของชาวปาเลสไตน์ ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 มีชาวปาเลสไตน์ เสียชีวิต 55 คน จากการประท้วงครั้งใหญ่[11]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Mideast accord: the overview; Rabin and Arafat sign accord ending Israel's 27-year hold on Jericho and the Gaza Strip". Chris Hedges, New York Times, 5 May 1994.
- ↑ "الجهاز المركزي للاحصاء الفلسطيني | المؤشرات". pcbs.gov.ps. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-10. สืบค้นเมื่อ 2022-07-02.
- ↑ "Israel-Palestinian conflict: Life in the Gaza Strip". BBC News. 20 May 2021.
an enclave bounded by the Mediterranean Sea, Israel and Egypt.
- ↑ James Kraska, 'Rule Selection in the Case of Israel's Blockade of Gaza:Law of Naval Warfare or Law of Sea?,' in M.N. Schmitt, Louise Arimatsu, Tim McCormack (eds.,) Yearbook of International Humanitarian Law, Springer Science & Business Media, 2011 pp.367–395, p.387:'There are no Israeli troops in Gaza, which everybody regards as a self-governing enclave cut from the Middle East.'
- ↑ Arnon, Arie (Autumn 2007). "Israeli Policy towards the Occupied Palestinian Territories: The Economic Dimension, 1967–2007" (PDF). Middle East Journal. 61 (4): 575. doi:10.3751/61.4.11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-30.
- ↑ 6.0 6.1 Gaza Strip Entry at the CIA World Factbook
- ↑ "Table 3: Projected Population in the State of Palestine by Governorate, End Year 2015. PCBS, Palestinians at the End of 2015, p. 36" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-05-08. สืบค้นเมื่อ 2022-07-02.
- ↑ Thomas E. Copeland, Drawing a Line in the Sea: The Gaza Flotilla Incident and the Israeli-Palestinian Conflict, Lexington Books, 2011 p.25
- ↑ Doug Suisman, Steven Simon, Glenn Robinson, C. Ross Anthony, Michael Schoenbaum (eds.) The Arc: A Formal Structure for a Palestinian State, Rand Corporation, 2007 p.79
- ↑ The Palestinians: In Search of a Just Peace – Page 52, Cheryl Rubenberg – 2003
- ↑ 70 ปี อิสราเอล: ตายแล้ว 55 ประท้วงเปิดสถานทูตสหรัฐฯ ในเยรูซาเลมวันก่อตั้งประเทศ