ข้ามไปเนื้อหา

สกุลเฮมอิบากรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สกุลเฮมอิบากรัส
ปลากดคัง หรือ ปลาคัง (H. wyckioides) เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในสกุล
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Siluriformes
วงศ์: Bagridae
สกุล: Hemibagrus
Bleeker, 1862
ชนิดต้นแบบ
Silurus bajad
(Forsskål, 1775)
ชนิด
ชื่อพ้อง
  • Macropterobagrus
    Nichols, 1925
  • Brachymystus
    Fowler, 1937

สกุลเฮมอิบากรัส เป็นสกุลของปลาหนังในวงศ์ปลากด (Bagridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Hemibagrus (/เฮม-อิ-บา-กรัส/) นับว่าเป็นปลากดสกุลหนึ่งที่มีขนาดใหญ่พอสมควร

เดิมทีสกุลนี้ผู้ตั้งชื่อ ปีเตอร์ บลีกเกอร์ ชาวดัตช์ ได้ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1862 โดยกำหนดให้ชนิด Bagrus nemurus เป็นต้นแบบของสกุล แต่ว่านักมีนวิทยารุ่นหลังหลายท่าน เช่น ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ เมื่อปี ค.ศ. 1989 ได้กล่าวว่าเป็นชื่อพ้องของสกุล Mystus ดังนั้นในข้อมูลเก่า ปลาหลายชนิดในสกุลนี้จะใช้ชื่อสกุลว่า Mystus

แต่ในปัจจุบัน มัวรีซ คอทเทเลต เมื่อปี ค.ศ. 2001, เค. ปีเตอร์ อู๋ และ ฮ็อก ฮี อู๋ เมื่อปี ค.ศ. 1995 ได้ยืนยันว่า สกุลเฮมอิบากรัสนี้มีความแตกต่างจากสกุลมีสทัสพอสมควร คือ ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายของครีบหลังมีขอบเรียบ ไม่เป็นฟันเลื่อย และปลาในสกุลเฮมอิบากรัสนี้จะมีความยาวเต็มที่เกินกว่า 50 เซนติเมตรทั้งนั้น จึงได้เปลี่ยนมาใช้จนถึงปัจจุบัน

ส่วนสกุล Bagrus หลุยส์ ออกุสติน กิลโยม บลอค นักชีววิทยาชาวฝรั่งเศส ผู้ตั้งชื่อสกุลมิได้กำหนดให้ชนิดไหนเป็นต้นแบบของสกุล ต่อมา ไบลีย์ และ สจวร์ต ในปี ค.ศ. 1893 ได้กำหนดให้ Silurus bajad เป็นต้นแบบสกุล[2]

ปลาในสกุลเฮมอิบากรัส ถือว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลากดคัง (H. wyckioides) ที่มีน้ำหนักเต็มที่ได้ถึง 80 กิโลกรัม[3] จึงนิยมตกกันเป็นเกมกีฬาและบริโภคกันเป็นปลาเศรษฐกิจ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้ จากลุ่มแม่น้ำคงคาและพรหมบุตร, ตอนใต้ของจีน, อินโดจีน ไปจนถึงเขตชีวภาพซุนดา

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. จาก ITIS.gov (อังกฤษ)
  2. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, สาระน่ารู้ปลาน้ำไทย เล่ม ๑ (พ.ศ. 2547) หน้า 242 ISBN 974-00-8701-9
  3. ["เอกสาร[[ดาวน์โหลด]] (อังกฤษ)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-06-17. สืบค้นเมื่อ 2011-10-05. เอกสารดาวน์โหลด (อังกฤษ)]