ข้ามไปเนื้อหา

ปลาหมอแคระอพิสโตแกรมมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สกุลอพิสโตแกรมมา)
ปลาหมอแคระอพิสโตแกรมมา
ปลาหมอแคระอกาสซิสสิอาย (A. agassizii)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Cichlidae
วงศ์ย่อย: Geophaginae
สกุล: Apistogramma
Regan, 1913
ชนิดต้นแบบ
Mesops taeniatus (♀)
Günther, 1862[1]
ชนิด
ดูในเนื้อหา
ชื่อพ้อง
  • Heterogramma Regan, 1906
  • Pintoichthys Fowler, 1954

ปลาหมอแคระอพิสโตแกรมมา เป็นปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Apistogramma (/อะ-พิส-โต-แกรม-มา/) จัดเป็นปลาขนาดเล็กในวงศ์นี้ จัดได้เป็นว่าปลาหมอแคระสกุลหนึ่ง

มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ แพร่กระจายพันธุ์และอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดของน้ำค่อนข้างต่ำ (ต่ำกว่า 6.5 pH) จัดเป็นปลาที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมอย่างมาก สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด มีลักษณะรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวเพรียวยาว สีสันสดใสมากโดยเฉพาะในปลาเพศผู้ ครีบอกเรียวยาวปลายแหลม รวมทั้งครีบหลังที่ดูโดดเด่น ปลายหางแหลม มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างเพศผู้กับเพศเมีย กล่าวคือ เพศผู้มีสีสันที่สดสวยกว่าและมีขนาดลำตัวที่สวยกว่า แต่เมื่อตกใจสีจะซีดได้ ขนาดเมื่อโตเต็มที่แล้วจะมีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 2 นิ้ว

เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในตู้เลี้ยง โดยเฉพาะการเลี้ยงในตู้ไม้น้ำ มีอุปนิสัยเรียบร้อย ไม่ก้าวร้าว และไม่ทำลายต้นไม้ในตู้ มีพฤติกรรมในการขยายพันธุ์ โดยวางไข่ติดกับผนังถ้ำหรือโขดหินในแบบกลับหัว ซึ่งรูปแบบการวางไข่อาจจะแตกต่างไปตามชนิด ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์ ปลาเพศผู้จะอวดสีและครีบแข่งกันเพื่อดึงดูดความสนใจจากปลาเพศเมีย ปลาเพศเมียอายุน้อยอาจวางไข่ได้ประมาณ 20 ฟอง ขณะที่ตัวที่มีอายุมากและสมบูรณ์พร้อมจะวางไข่ได้ถึง 100 ฟอง เมื่อฟักออกเป็นตัวแล้ว เพศเมียจะเป็นฝ่ายดูแลลูก โดยไม่ให้ปลาเพศผู้เข้ามายุ่งเกี่ยว ถึงแม้ว่าอาจมีเพศผู้บางตัวสามารถเลี้ยงลูกได้เช่นกัน ในหลายชนิดสามารถผสมพันธุ์แบบหมู่ คือ เพศผู้หนึ่งตัวต่อเพศเมียหลายตัวได้ ในขณะที่บางชนิดจะผสมพันธุ์กันแบบคู่ต่อคู่

ปลาในสกุลนี้ชนิดที่นิยมเลี้ยงได้แก่ชนิด A. agassizii, A. hongsloi และ A. viejita เป็นต้น[2]

ปลาหมอสีในสกุลนี้ จัดเป็นปลาที่มีวงจรชีวิตสั้น หลายชนิดสามารถผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่มีอายุเพียง 3-4 เดือน

การจำแนก

[แก้]

ประมาณ 85 ชนิด[3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Regan, C.T. 1913: Fishes from the River Ucayali, Peru, collected by W. Mounsey. Annals and magazine of natural history (Series 8) 12(69): 281-283.
  2. Apistogramma and Dwarf Cichlids in the Aquarium (อังกฤษ)
  3. 3.0 3.1 3.2 Römer, U. & Hahn, I. (2013): Apistogramma aguarico sp. n.: A new species of geophagine cichlid fish (Teleostei: Perciformes) from the Ecuadorian and Peruvian río Napo system Vertebrate Zoology, 63 (2): 171-181. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Romer2013" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  4. 4.0 4.1 Schindler, I. & Staeck, W. (2013): Description of Apistogramma helkeri sp. n., a new geophagine dwarf cichlid (Teleostei: Cichlidae) from the lower río Cuao (Orinoco drainage) in Venezuela. Vertebrate Zoology, 63 (3): 301-306.
  5. Römer, U., Beninde, J., Duponchelle, F., Vela Díaz, A., Ortega, H., Hahn, I., Soares, D.P., Cachay, C.D., Dávila, C.R.G., Cornejo, S.S. & Renno, J.-F. (2012): Description of Apistogramma allpahuayo sp. n., a new dwarf cichlid species (Teleostei: Perciformes: Geophaginae) from in and around the Reserva Nacional Allpahuayo Mishana, Loreto, Peru. Vertebrate Zoology, 62 (2): 189–212.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Apistogramma ที่วิกิสปีชีส์