สกุลศิลปะอูตางาวะ
สกุลศิลปะอูตางาวะ (ญี่ปุ่น: 歌川派 อังกฤษ: Utagawa school) คือกลุ่มศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้อูกิโยะชาวญี่ปุ่นที่ก่อตั้งขึ้นโดยโทโยฮารุ โดยมีลูกศิษย์ชื่อโทโยกูนิที่ 1 เป็นผู้ดำเนินกิจการต่อมาหลังจากโทโยฮารุเสียชีวิตไปแล้ว และยกระดับงานของกลุ่มจนกระทั่งกลายเป็นกลุ่มศิลปินที่มีอำนาจและมีชื่อเสียงมากที่สุดในการสร้างงานภาพพิมพ์แกะไม้มาจนตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19
ลูกศิษย์ของอูตางาวะก็ได้แก่ฮิโรชิเงะ คูนิซาดะ คูนิโยชิ และโยชิโตชิ
สำนักศิลปินอูตางาวะได้รับความสำเร็จและเป็นที่รู้จักจนกระทั่งว่ากว่าครึ่งหนึ่งของภาพอูกิโยะที่ยังมีเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากตระกูลการพิมพ์ที่ว่านี้
โทโยฮารุผู้ก่อตั้งตระกูลการพิมพ์นำเอาวิธีการเขียนแบบทัศนมิติของตะวันตกมาใช้ในงานเขียนซึ่งเป็นแนวใหม่ในการสร้างงานศิลปะของญี่ปุ่น ผู้ดำเนินตามรอยของโทโยฮารุคนต่อมาที่รวมทั้งอูตางาวะ โทโยฮิโระ และอูตางาวะ โทโยกูนิเขียนในลักษณะที่เป็นการแสดงออกมากขึ้น และยวนอารมณ์ (sensuous style) มากขึ้นกว่างานของโทโยฮารุ และมีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพประเภทต่าง ๆ โทโยฮิโระในการออกแบบภูมิทัศน์ และโทโยกูนิในการออกแบบภาพพิมพ์ของดาราคาบูกิ ต่อมาจิตรกรของสำนักศิลปินอูตางาวะก็มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพประเภทอื่น ๆ เช่นภาพพิมพ์ของนักรบ และ งานล้อเรื่องปริศนา (mythic parodies)[1]
สำนักศิลปินอูตางาวะและชื่อศิลปินสืบทอด
[แก้]ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นผู้ฝึกงานผู้ประสบความสำเร็จจะได้รับชื่อศิลปิน (“gō” (“โก”)) บางส่วนจากปรมาจารย์[1] “โก” ของสำนักศิลปินอูตางาวะมีตั้งแต่อันดับอาวุโสที่สุดไปจนถึงอันดับที่ต่ำที่สุด เมื่อผู้ที่มีอาวุโสที่สุดเสียชีวิตไป ศิลปินที่ยังมีชีวิตอยู่ต่างก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นมาตามลำดับ
ผู้เป็นหัวหน้าสำนักศิลปินอูตางาวะโดยทั่วไปแล้วก็จะใช้ “โก” (และลงชื่อในภาพเขียน) ว่า “โทโยกูนิ” เมื่อคูนิซาดะที่ 1 ประกาศตนเป็นหัวหน้าของตระกูลอูตางาวะราวปี ค.ศ. 1842) ก็เริ่มลงชื่อว่า “โทโยกูนิ” และผู้อาวุโสรองลงมา โคโจโระ ซึ่งเป็นชื่อเดิมที่คูนิซาดะที่ 1 ใช้ก็ลงชื่อตนเองว่า “คูนิซาดะ” หรือในกรณีก็เป็นคูนิซาดะที่ 2
ผู้อาวุโสรองลงมาก็เริ่มลงชื่อว่า “คูนิมาซะ” หรือในกรณีก็เป็นคูนิมาซะที่ 4 ซึ่งเป็น “โก” เดิมของโคโจโระก่อนที่จะมาใช้ชื่อ “คูนิซาดะที่ 2” (คูนิมาซะเดิมเป็นลูกศิษย์ของโทโยกูนิที่ 1)
รายชื่อสมาชิกบางท่านของสำนักศิลปินอูตางาวะ:
- โทโยกูนิ (ที่ 1)
- โทโยชิเงะ -> โทโยกูนิ (ที่ 2)
- คูนิซาดะ (ที่ 1) -> โทโยกูนิ (ที่ 3)
- โคโจโระ -> คูนิมาซะ (ที่ 3) -> คูนิซาดะ (ที่ 2) -> โทโยกูนิ (ที่ 4)
- โคโจโระ (ที่ 2) -> คูนิมาซะ (ที่ 4) -> คูนิซาดะ (III) -> โทโยกูนิ (ที่ 5)
โทโยกูนิที่ 2 สองคน
[แก้]ปัญหาที่ซับซ้อนเกิดขึ้นเมื่อมีศิลปินสองคนที่ต่างก็ใช้ชื่อ “โทโยกูนิที่ 2” ด้วยกันทั้งสองคน
“โทโยกูนิที่ 2” คนแรกคือโทโยชิเงะ ลูกศิษย์ผู้มีฝีมือปานกลางและลูกเขยของโทโยกูนิที่ 1 ผู้กลายมาเป็นหัวหน้าของสำนักอูตางาวะหลังจากการเสียชีวิตของโทโยกูนิที่ 1
คูนิซาดะที่ 1 (โทโยกูนิที่ 3) ผู้ไม่ลงรอยกับโทโยชิเงะ จึงไม่ยอมรับโทโยชิเงะว่าเป็นหัวหน้าของสำนัก เพราะคูนิซาดะมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นลูกศิษย์เอก และเป็นผู้ที่สมควรจะได้รับชื่อของอาจารย์หลังจากที่ท่านเสียชีวิตไปแล้ว และมีความรู้สึกว่าโทโยชิเงะได้ตำแหน่งเป็นหัวหน้าสำนักเพราะความเกี่ยวพันทางครอบครัวมิใช่ด้วยความสามารถ
เมื่อคูนิซาดะที่ 1 ใช้ชื่อ “โทโยกูนิ” (ราวปี ค.ศ. 1842) ก็กำจัดชื่อ “โทโยกูนิที่ 2” จากประวัติของสำนัก และลงชื่อตนเองว่า “โทโยกูนิที่ 2” อยู่ชั่วระยะหนึ่ง แต่ในปัจจุบันคูนิซาดะที่ 1 ถือว่าเป็น “โทโยกูนิที่ 3”
การที่คูนิซาดะที่ 1 ลงชื่อว่า “โทโยกูนิที่ 2” เป็นผลทำให้โคโจโระผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักต่อมาใช้ชื่อ “โทโยกูนิที่ 3” ที่ควรจะเป็น “โทโยกูนิที่ 4” และ โคโจโระที่ 2 ต่อมาก็ลงชื่อว่า “โทโยกูนิที่ 4” แต่ในปัจจุบันโคโจโระที่ 2 ลำดับใหม่เป็น “โทโยกูนิที่ 5”
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Johnson, Ken, [http://www.nytimes.com/2008/03/22/arts/design/22prin.html?_r=1&ref=design&oref=slogin "Fleeting Pleasures of Life In Vibrant Woodcut Prints", art review in The New York Times, 22 March 2008. Retrieved 26 March 2008
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สำนักศิลปินอูตางาวะ
- Kuniyoshi Project
- Chazen Museum of Art at the University of Wisconsin, Madison, has a collection of more than 4,000 Japanese prints in its E. B. Van Vleck Collection