ศาสนาในประเทศโซมาเลีย
ศาสนาหลักในประเทศโซมาเลียคือศาสนาอิสลาม[2] และมีชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาคริสต์ พื้นเมืองแอฟริกา และอื่น ๆ
ศาสนาประจำชาติ
[แก้]อิสลาม
[แก้]พลเมืองส่วนใหญ่ในประเทศโซมาเลียเป็นมุสลิม[3] บางข้อมูลระบุว่ามีผู้นับถือนิกายซุนนีถึงร้อยละ 99 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งดำเนินตามสำนัก[[ชาฟิอี][4] อย่างไรก็ตาม การสำรวจของสำนักวิจัยพิวในประเทศจิบูตี ประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันตกเฉียงเหนือที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวโซมาลี พบว่ามีรายงานมุสลิมในบริเวณนั้นนับถือนิกายซุนนีร้อยละ 77 ไม่อิงนิกายร้อยละ 8 ชีอะฮ์ร้อยละ 2 ไม่ระบุคำตอบร้อยละ 13 และรายงานเพิ่มเติมในภูมิภาคโซมาลีระบุว่ามีผู้นับถือร้อยละ 2 ที่นับถือนิกายส่วนน้อย (เช่น อิบาฎียะฮ์, คอรานิซึม ฯลฯ)[5][6][7] ลัทธิศูฟี รหัสยลัทธิของศาสนาอิสลาม ยังเป็นที่ยอมรับอย่างดี โดยมี jama'a ท้องถิ่น (zawiya) จากสำนักศูฟี tariiqa หลายกลุ่ม[8] รัฐธรรมนูญโซมาเลีย มาตราที่ 3 ระบุให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และชะรีอะฮ์เป็นแหล่งที่มาพื้นฐานสำหรับกฎหมายระดับชาติ นอกจากนี้ยังกำหนดว่าจะต้องไม่มีกฎหมายใดที่ไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของชะรีอะฮ์ที่สามารถนำมาบังคับใช้ได้ มาตราที่ 11 รับรองสิทธิและเสรีภาพที่เท่าเทียมกันจากการกดขี่ข่มเหงพลเมืองทุกคนก่อนกฎหมายโดยไม่คำนึงถึงศาสนา นอกจากนี้ มาตรา 17 คุ้มครองเสรีภาพในการนับถือศาสนา[9]
ประวัติ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชนกลุ่มน้อย
[แก้]คริสต์
[แก้]ศาสนาคริสต์เข้ามายังพื้นที่ชายฝั่งโซมาเลียในคริสต์ศตวรรษที่ 7[10]
ณ ค.ศ. 2021 มีชาวคริสต์ท้องถิ่นอย่างน้อยไม่กี่คนในโซมาลีแลนด์[11]
มุขมณฑลโมกาดิชูรายงานว่ามีผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกอย่างเป็นทางการประมาณ 100 คนในโซมาเลียเมื่อ ค.ศ. 2004[12]
ความเชื่อพื้นเมือง
[แก้]สำนักวิจัยพิวรายงานว่า ประชากรโซมาเลียน้อยกว่าร้อยละ 0.01 ใน ค.ศ. 2010 นับถือศาสนาพื้นเมืองหรือศาสนาพื้นเมืองแอฟริกา[13]
อื่น ๆ
[แก้]สำนักวิจัยพิวรายงานว่ามีประชากรโซมาเลียน้อยกว่าร้อยละ 0.01 ใน ค.ศ. 2010 นับถือศาสนาฮินดู พุทธ หรือไม่มีศาสนา[13]
เสรีภาพในการนับถือศาสนา
[แก้]รัฐธรรมนูญโซมาเลียให้สิทธิของบุคคลในการนับถือศาสนาของตน ทำให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ห้ามเผยแพร่ศาสนาอื่นใดนอกจากศาสนาอิสลาม (แม้ว่าไม่ได้ห้ามการเปลี่ยนศาสนาโดยตรง) และกำหนดกฎหมายทั้งหมดต้องเป็นไปตามหลักการทั่วไปของกฎหมายศาสนาอิสลาม โดยไม่มีการยกเว้นสำหรับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม รัฐบาลกลางโซมาเลียมีความสามารถในการบังคับใช้กฎหมายจำกัดเพียงเกรตเตอร์โมกาดิชู พื้นที่อื่นในโซมาเลียส่วนใหญ่อยู่นอกเขตควบคุม[14] รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดให้ประธานาธิบดีต้องเป็นมุสลิม (แต่ไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งคนอื่น ๆ) ไม่มีสถานที่สักการะสาธารณะสำหรับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมในประเทศ นอกจากท่าอากาศยานนานาชาติ[14]
เนื่องจากสงครามกลางเมืองโซมาเลีย การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาโดยรัฐบาลปกครองตนเองหลายแห่งในภูมิภาคนั้นไม่สอดคล้องกัน โดยทั่วไป ฝ่ายตุลาการในพื้นที่ส่วนใหญ่จะอาศัย xeer (กฎหมายจารีตประเพณี) ชะรีอะฮ์ และประมวลกฎหมายอาญา[14]
ใน ค.ศ. 2023 ประเทศนี้ได้คะแนนเสรีภาพทางศาสนาในระดับศูนย์จาก 4[15] และในปีเดียวกัน ประเทศนี้ได้รับการจัดอันดับเป็นสถานที่ที่เลวร้ายที่สุดสำหรับชาวคริสต์เป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียงเกาหลีเหนือ[16]
มุมมองสังคม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Religions in Somalia | PEW-GRF". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-05.
- ↑ "Religions in Somalia | PEW-GRF". www.globalreligiousfutures.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-05. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
- ↑ "Middle East Policy Council – Muslim Populations Worldwide". Mepc.org. 2005-12-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-14. สืบค้นเมื่อ 2010-06-27.
- ↑ Oldfield, EC (1993). The Endemic Infectious Diseases of Somalia. Clinical Infectious Diseases. Vol. 16. p. 133. doi:10.1093/clinids/16.supplement_3.s132. PMID 8443330.
and at least 90% are Sunni Muslims. However, deep divisions exist among competing clan-families, clans, and lineages. The history of Somalia is a long and repetitive story of conflicts
- ↑ "Religious Identity Among Muslims". Pew Research Center's Religion & Public Life Project (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2012-08-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-07.
- ↑ Filesi, Teobaldo. "MOGADISCIO: TANTI SECOLI FA." Africa: Rivista trimestrale di studi e documentazione dell’Istituto italiano per l’Africa e l’Oriente 51.2 (1996): 263-272.
- ↑ Abdullahi, Mohamed Diriye (2001). Culture and customs of Somalia. Greenwood. pp. 1. ISBN 978-0-313-31333-2.
- ↑ I. M. Lewis, Saints and Somalis: popular Islam in a clan-based society, (The Red Sea Press: 1998), pp. 8–9.
- ↑ "The Federal Republic of Somalia - Provisional Constitution". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
- ↑ Aweis A Ali (May 2021). "A Brief History of Christianity in the Somali Peninsula" – โดยทาง ResearchGate.
- ↑ "Somaliland Christians released after offences-against-Islam charges dismissed". 8 June 2021.
- ↑ "Diocese of Mogadiscio". Catholic-Hierarchy.org. David M. Cheney. สืบค้นเมื่อ 23 January 2015.
- ↑ 13.0 13.1 "The Global Religious Landscape, Religious groups 2010" (PDF). Pew Research Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 9, 2013. สืบค้นเมื่อ 27 December 2013.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 US State Dept 2022 International Religious Freedom Report for Somalia เก็บถาวร 2018-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Freedom House website, retrieved 2023-08-08
- ↑ "Open Doors website, retrieved 2023-08-08". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-02-29. สืบค้นเมื่อ 2024-05-20.