ข้ามไปเนื้อหา

ศาลเจ้าฮกหงวนก้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาลเจ้าฮกหงวนก้ง (จีน: 福元宮)
ชื่อสามัญอ๊ามฮกหงวนก้ง,อ๊ามวงเวียน
ที่ตั้ง1 ถนนตลิ่งชัน ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ไทย ประเทศไทย 83000
นิกายศาสนาเต๋า
จุดสนใจจิตกรรมฝาพนังแบบจีน
กิจกรรมเทศกาลพ้อต่อ สารทจีน เทศกาลตรุษจีน เทศกาลกินเจ
การถ่ายภาพไม่ควรใช้แฟลช
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

ศาลเจ้าฮกหงวนก้ง (จีน: 福元宮; พินอิน: Fúyuán gōng; เป่อ่วยยี: hok-gôan-kiong;), ศาลเจ้าจีนเก่าแก่ของจังหวัดภูเก็ต บูชาเฉ่งจุ้ยจ้อซูก้ง (จีน: 清水祖師; พินอิน: Qīngshuǐ zǔshī; เป่อ่วยยี: Chheng-chúi-Chó͘-su; 1047-1101), หรือคนฮกเกี้ยนนิยมเรียกว่า จ้อซูก้ง (จีน: 祖師公; เป่อ่วยยี: Chó͘-su-kong) สร้างโดยชาวฮกเกี้ยน ที่เข้ามาทำงานเหมืองแร่ดีบุก ปลายสมัยราชวงศ์ชิง

ประวัติ

[แก้]

ศาลเจ้าฮกหงวนก้ง สร้างเมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่จากหลักฐานป้ายเก่าของทางศาลเจ้า อนุมานได้ว่าศาลเจ้าแห่งนี้ได้บูรณะขึ้นมาใหม่จากหลังเดิมที่ชำรุดเมื่อสมัยปีรัชศกที่ 13 ของจักรพรรดิถงจื้อ (จีน: 同治皇帝) แห่งราชวงศ์ชิง ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2417 ชาวฮกเกี้ยนจากเมืองเฉวียนโจว (จีน: 泉州) มณฑลฮกเกี้ยน ที่อพยพเข้ามาเป็นแรงงานเหมืองแร่ดีบุก ได้นำผงธูปและรูปแกะสลักของพระเถระเฉ่งจุ้ยจ้อซู (จีน: 清水祖師) มาจากประเทศจีน ในฐานเทพเจ้าจากบ้านเกิด

จากบันทึกของขุนชนานิเทศ ศาลเจ้านี้ย้ายมาแล้ว 3 ครั้ง รวม 4 สถานที่ ดังนี้ สถานที่แรก เดิมเป็นตึกศาลเจ้าจีนโรงใหญ่ เรียกว่า “จอซู้ก๋งอ่ำ” ตั้งอยู่ในหมู่บ้านบางเหนียวเหนือ ต่อมาได้มีการสัมปทานสถานที่ดังกล่าวในการทำเหมืองแร่ จึงได้มาปลูกโรงจาก ไว้รูปจอซู้ก๋งอ่ำชั่วคราวที่ใกล้สะพานพระอร่าม เป็นสถานที่ที่ 2 ซึ่งต่อมาได้เกิดไฟไหม้ จึงย้ายไปยังศาลเจ้าปุดจ้อ เป็นสถานที่ที่ 3 ตำแหน่งศาลเจ้าในปัจจุบัน นับเป็นสถานที่ที่ 4 ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนสุรินทร์ (หอนาฬิกา) จ.ภูเก็ต สร้างขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2468 โดย ขุนชนานิเทศ (ชาวจีนที่อพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยน)[1] และหลวงอร่ามสาครเขตร์ [2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ขุนชนานิเทศ (เซียวเชอะ ทองตัน)". phuketcity.info.
  2. Thailand, Museum. "ศาลเจ้าจ้อซู้ก๋ง :: Museum Thailand". www.museumthailand.com.