ข้ามไปเนื้อหา

ศาลเจ้ากวนอูไฮ่โจว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาลเจ้ากวนอูไฮ่โจว
ศาสนา
ศาสนาลัทธิเต๋า
ที่ตั้ง
ที่ตั้งเมืองเซี่ยโจว นครยฺวิ่นเฉิง มณฑลชานซี[1]
ประเทศจีน
สถาปัตยกรรม
เริ่มก่อตั้งค.ศ. 589[2]

ศาลเจ้ากวนอูไฮ่โจว หรือ ศาลเจ้ากวานตี้ไฮ่โจว[3][4] (จีนตัวย่อ: 解州关帝庙; จีนตัวเต็ม: 解州關帝廟) เป็นศาลเจ้าที่ตั้งอยู่ในเมืองเซี่ยโจว (解州; การออกเสียงในท้องถิ่น: ไฮ่โจว) เขตเหยียนหู นครยฺวิ่นเฉิง มณฑลชานซี[5] ได้รับการยกย่องเป็น "มหาบรรพบุรุษของศาลเจ้าที่สร้างอุทิศให้กวนอู" (关庙之祖)[6] ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นศาลเจ้านักรบและอาคารลัทธิเต๋าในแบบวังที่ยังเหลือหลงอยู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน[7]

ศาลเจ้ากวนอูไฮ่โจวเป็นศาลเจ้ากวนอู (关帝庙) ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน[8] มีพื้นที่ทั้งหมด 220,000 ตารางเมตร และมีห้องมากกว่า 200 ห้อง[9]

ประวัติ

[แก้]

ศาลเจ้ากวนอูไฮ่โจวถูกสร้างขึ้นในศักราชไคหฺวาง (开皇) ปีที่ 9 (ค.ศ. 589) ในยุคราชวงศ์สุย จากนั้นได้รับการขยายและสร้างใหม่ในยุคราชวงศ์ซ่งและราชวงศ์หมิง[10]

ศาลเจ้ากวนอูไฮ่โจวถูกไฟไหม้ในศักราชคังซี (康熙) ปีที่ 41 ในยุคราชวงศ์ชิง และได้รับการบูรณะหลงจากผ่านไปกว่าสิบปี[11]

การอนุรักษ์

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1957 ศาลเจ้ากวนอูไฮ่โจวได้รับการกำหนดโดยคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนประจำมณฑลชานซีให้เป็นโบราณสถานสำคัญทางวัฒนธรรมที่ได้รับการคุ้มครองระดับมณฑลในมณฑลชานซีชุดแรก[12]

ในปี ค.ศ. 1988[13] ศาลเจ้ากวนอูไฮ่โจวได้รับการระบุในรายชื่อของสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ได้รับการคุ้มครองในระดับชาติในประเทศจีน[14]

คลังภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Eight boutique lines leisure tour of Shanxi". Xinhuanet.com. 2015-07-24.[ลิงก์เสีย]
  2. Hu Miaosen; Jiang Zhuping (2005). China Building Map. Bright Daily Press. pp. 98–. ISBN 978-7-80145-913-8.
  3. Stanley Henning (9 March 2018). Henning's Scholarly Works on Chinese Combative Traditions. Via Media Publishing. pp. 73–. ISBN 978-1-986369-24-4.
  4. "Haizhou Guandi Temple Cultural Resource Development of Cultural Industry Perspective". China National Knowledge Infrastructure. 2017-10-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-13. สืบค้นเมื่อ 2021-03-08.
  5. "Haizhou Emperor Guan Temple (photoes)". Sohu News. 2007-05-13.
  6. Michael DeMarco (17 August 2016). Bagua and Xingyi: An Intersection of the Straight and Curved. Via Media Publishing. pp. 128–. ISBN 978-1-893765-33-7.
  7. "National Day Long Vacation Shanxi waiting for you to come". Science Guide. 2019-09-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-08.
  8. "More than 40 stone monkeys "hide" in China's largest Emperor Guan Temple". Xinhuanet.com. Feb 25, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 10, 2021. สืบค้นเมื่อ March 8, 2021.
  9. "Aerial photography of Haizhou Guandi Temple in Shanxi". China News Service. 2016-09-26.
  10. "Shanxi promotes tourism in Northeast China". China Daily. 2015-06-25.
  11. "Haizhou Guandi Temple in Yuncheng". China News Service. 2007-05-26.
  12. "Haizhou Emperor Guan Temple". China National Knowledge Infrastructure. 2016-10-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2021-03-08.
  13. ""Guan Sheng Cultural Complex" heritage application materials will be submitted to the State Administration of Cultural Heritage". China News Service. 2014-03-27.
  14. "Shanxi Haizhou Emperor Guan Temple Scenic Area". Xinhuanet.com. 2018-05-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 9, 2021.