ข้ามไปเนื้อหา

วี (เครื่องเล่นวิดีโอเกม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Wii
Wii logo
Wii logo
Wii with Wii Remote
ผู้พัฒนานินเท็นโด
ผู้ผลิตฟ็อกซ์คอนน์
ชนิดเครื่องเล่นวิดีโอเกม
ยุคยุคที่เจ็ด
วางจำหน่าย19 พฤศจิกายน 2006
ยอดจำหน่ายทั่วโลก: 70.93 ล้าน (ณ วันที่ 31 มีนาคม 2010) [1] (details)
สื่อแผ่นดิสก์เกมวีขนาด 12 ซม.
แผ่นดิสก์เกมคิวบ์ ขนาด 8 ซม.
ซีพียูไอบีเอ็ม พาวเวอร์พีซี -based[2] "Broadway"
สื่อบันทึกข้อมูลหน่วยความจำภายใน 512 MB
SD card, SDHC card
Nintendo GameCube Memory Card
กราฟิกการ์ดATI "Hollywood"
ที่บังคับวีรีโมต, วีบาลานซ์บอร์ด, นินเทนโด เกมคิวบ์ คอนโทลเลอร์, นินเทนโด ดีเอส
การเชื่อมต่อไวไฟ
บลูทูธ
2 × ยูเอสบี 2.0[3]
แลน โดยผ่านตัวแปลงจากยูเอสบี
บริการออนไลน์นินเท็นโดไวไฟคอนเน็กชัน, วีคอนเนกต์24, วีช็อปแชนแนล
เกมที่ขายดีที่สุดวีสปอตส์ (pack-in, except in Japan and South Korea) 60.69 ล้าน (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2009) [4]
วีเพลย์, 26.71 ล้าน (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2009) [4]
การรองรับเครื่องรุ่นก่อนนินเทนโด เกมคิวบ์
รุ่นก่อนหน้าเกมคิวบ์
รุ่นถัดไปวียู

วี (Wii) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมรุ่นที่ 5 ของบริษัทนินเท็นโด ภายใต้ชื่อรหัสพัฒนาว่า เรฟโวลูชัน (Revolution) ซึ่งเป็นรุ่นที่จะออกมาถัดจากเครื่อง เกมคิวบ์ โดยที่จอยแพดที่ใช้ควบคุม จะเป็นรูปทรงเหมือน รีโมตโทรทัศน์ และเกมที่ใช้เล่นก็จะใช้การควบคุม โดยการเคลื่อนไหวจอยแพดนี้ ไปในทิศทางต่าง ๆ อีกด้วย

เครื่องเล่นวีสามารถเล่นเกมของ เกมคิวบ์ได้ทันที และยังสามารถเล่นเกมของแฟมิคอม ซูเปอร์แฟมิคอม และ นินเท็นโด 64 ได้ผ่านระบบเกมที่สามารถ ดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ต

ประวัติ

[แก้]

เครื่องเล่นวี เริ่มถูกคิดค้นในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นเวลาที่ เครื่องเล่นเกมคิวบ์เปิดตัว จากการสัมภาษณ์ของ นายชิเงรุ มิยาโมโตะ เกี่ยวกับแนวคิดในการมุ่งเน้น ไปที่วิธีใหม่ ๆ สำหรับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เล่น "เป็นที่ยอมรับกันว่า พลังประมวลผลของเครื่องเล่นเกม ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง ของเครื่องเล่นเกม เราไม่สามารถมีเครื่องทรงพลังหลาย ๆ เครื่อง แข่งขันกันเอง มันก็เหมือนกับมีแต่ ไดโนเสาร์ดุร้าย ที่ต่อสู้กันเอง จนสูญพันธุ์ไปหมด"[5]

สองปีต่อมาโปรแกรมเมอร์เกมเอนจินและเกมดีไซเนอร์ ได้ร่วมกันพัฒนาแนวคิดนี้ ก่อน พ.ศ. 2548 ก็มีการพัฒนา ที่บังคับเป็นผลสำเร็จ แต่งานเปิดตัวในปีนั้นได้ถูกยกเลิกไป นายมิยาโมโต้กล่าวว่า "เรายังมีปัญหาที่ต้องแก้ไข เราจึงตัดสินใจไม่เปิดเผยที่บังคับ แต่เราจะแสดงแค่ตัวเครื่องเท่านั้น"[5] ต่อมาประธานบริษัทนินเทนโด นายซาโตรุ อิวาตะ จึงได้แสดงวีโมต ในเดือนกันยายนที่โตเกียวเกมโชว์[6]

เครื่องเล่นนินเท็นโด ดีเอส ได้ถูกกล่าวว่า เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ของการออกแบบเครื่องเล่นวี ดีไซเนอร์ เคนอิจิโร อาชิดะ ย้ำว่า "เรามีเครื่องเล่นนินเทนโด ดีเอส ในใจเวลาเราออกแบบเครื่องเล่นวี เราคิดจะใช้จอสัมผัส แบบเดียวกัน และยังสร้างเครื่องต้นแบบออกมาด้วย" ในที่สุดความคิดนี้ก็ถูกปฏิเสธ เนื่องจากมันจะทำให้ เครื่องเกมทั้งสองเหมือนกันเกินไป นายมิยาโมโต้กล่าวไว้ด้วยว่า "ถ้าเครื่อง ดีเอส ไม่ประสบความสำเร็จ เราคงจะไม่ผลิตเครื่องเล่นวีออกมา" [5]

ชื่อ

[แก้]

เครื่องเล่นวี รู้จักในชื่อโค้ดเนมว่า "รีโวลูชัน" (Revolution) จนกระทั่งถึงวันที่ 27 เมษายน 2549 ก่อนงานประชุมเกม E3 [7] บริษัทนินเทนโดระบุว่าชื่อของเครื่องคือ "วี" ไม่ใช่ "นินเทนโดวี" เครื่องเล่นวี เป็นเครื่องเล่นเกมเครื่องแรก ของนินเทนโดที่ทำตลาด นอกประเทศญี่ปุ่น โดยไม่มีชื่อบริษัท เป็นเครื่องหมายการค้า นินเทนโดสะกด "Wii" ด้วยตัว "i" ตัวเล็กทั้งสองตัว โดยต้องการให้คล้ายกับ คนสองคนยืนอยู่ข้าง ๆ กัน แสดงถึงผู้เล่นที่มารวมกัน และอาจแสดงถึง ที่บังคับของเครื่องได้อีกด้วย [8] บริษัทได้ให้เหตุผลหลายอย่าง ในงานประกาศชื่อวี แต่ที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดก็คือ: วีฟังดูเหมือนกับ 'we' (พวกเรา) ซึ่งเน้นว่า เป็นเครื่องเล่นเกมสำหรับทุกคน วีเป็นชื่อที่จดจำได้ง่าย สำหรับคนทั่วโลก ไม่ว่าเขาจะพูดภาษาอะไรก็ตาม ไม่มีความสับสน ไม่ต้องมีตัวย่อ แค่วี[8]

แม้ว่านินเทนโดจะได้อธิบายถึงที่มาของชื่อไปแล้ว นักพัฒนาเกมบางคน และนักข่าวก็ยังกล่าวถึง การเปลี่ยนชื่อในแง่ลบ พวกเขาชอบชื่อ "รีโวลูชัน" มากกว่าชื่อ "วี" [9] และกลัวว่า ชื่อวีจะแสดงถึง ความไม่เอาจริงเอาจัง ของเครื่องเล่นเกม [10] สำนักข่าว บีบีซี รายงานหลังจาก วันประกาศชื่อเครื่องว่า มีการล้อเลียนชื่อปรากฏอยู่ ทั่วอินเทอร์เน็ต [11] ประธานบริษัทนินเทนโดในอเมริกา เรกจี้ ฟิลส์-เอเม่ ยอมรับถึงผลตอบสนอง ในช่วงแรก ทั้งยังอธิบายการเปลี่ยนแปลงอีกว่า:

ชื่อ รีโวลูชัน ไม่ได้เป็นชื่อที่เหมาะสมที่สุด มันเป็นชื่อที่ยาว และในบางสังคม มันยังอ่านได้ยากอีกด้วย เราจึงต้องการชื่อที่สั้น ตรงประเด็น ง่ายต่อการออกเสียง และไม่ซ้ำใคร นั่นเป็นแนวคิดในการสร้างชื่อ วี ขึ้นมา[12]

นินเท็นโดปกป้องการเลือกชื่อ วี แทนที่ รีโวลูชัน และตอบโต้นักวิจารณ์ทั้งหลายว่า "มีชีวิตอยู่กับมัน หลับไปกับมัน กินกับมัน เดินหน้าไปกับมัน"[13]

งานเปิดตัว

[แก้]

ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2549 นินเทนโดได้ประกาศข้อมูลการจำหน่ายของที่ญี่ปุ่น, อเมริกาเหนือและใต้, ออสเตรเลเชีย (โอเชียเนีย), เอเชีย และยุโรป รวมไปถึงวันที่ขาย ราคา และจำนวนเครื่อง ก่อนหน้านั้นนินเท็นโดได้เปิดเผยว่ามีการวางแผนที่จะผลิต เครื่องเล่นเกม 6 ล้านเครื่อง และเกม 17 ล้านเกม ในช่วงปีงบประมาณ ซึ่งปิดยอดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2550[14] และยังบอกอีกว่า คาดว่าจะสามารถผลิต เครื่องเล่นเกมได้มากกว่า 4 ล้านเครื่องก่อนสิ้นปี พ.ศ. 2549[15] มีการประกาศว่า เครื่องเล่นเกมส่วนใหญ่จะถูกส่งไปที่อเมริกา [16] และเกมทั้งหมด 33 เกมจะเปิดขายก่อนสิ้นปี 2549 [17] ตามรายงาน ประเทศอังกฤษได้ประสบปัญหา ขาดแคลนเครื่องเล่นเกม โดยร้านค้าต่าง ๆ และร้านออนไลน์ ไม่สามารถจำหน่าย ให้ลูกค้าที่สั่งจองล่วงหน้า ได้ครบจำนวนในวันเปิดตัว 8 ธันวาคม พ.ศ. 2549[18] ในเดือนมีนาคม 2550 ร้านค้าบางร้านในอังกฤษ ยังคงประสบปัญหาขาดแคลนเครื่องเล่นเกม [19] ในเดือน มิถุนายน 2550 ความต้องการซื้อเครื่องเล่นเกม ยังคงมากกว่าจำนวนเครื่องที่ได้รับในประเทศอเมริกา [20]

นินเทนโดประกาศว่า จะมีการเปิดตัวเครื่องเล่นเกมใน เกาหลีใต้ ในวันที่ 26 เมษายน 2551 และจีนภายในปี 2551 [21][22][23]

ตัวเครื่อง

[แก้]
เครื่องเล่นวี (บนสุด) เปรียบเทียบขนาดกับ เกมคิวบ์, นินเทนโด 64, ซูเปอร์นินเทนโด, และ แฟมิคอม

เครื่องเล่นวี เป็นเครื่องเล่นเกมที่มีขนาดเล็กที่สุด ของนินเทนโด ตัวเครื่องมีขนาดกว้าง 44 มม (1.73 นิ้ว) , สูง 157 มม (6.18 นิ้ว) , หนา 215.4 มม (8.48 นิ้ว) ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับกล่องดีวีดี 3 กล่องรวมกัน ขาตั้งที่มากับเครื่อง มีขนาดกว้าง 55.4 มม (2.18 นิ้ว) , สูง 44 มม (1.73 นิ้ว) และ หนา 225.6 มม (8.88 นิ้ว) รวมทั้งหมดหนัก 1.2 กก (2.7 ปอนด์)[24] นับเป็นเครื่องเล่นเกม ที่มีน้ำหนักเบาที่สุดของ เครื่องเล่นเกมรุ่นที่ 7 ตัวเครื่องสามารถวางได้ ทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง รหัสของชิ้นส่วนประกอบ และ อุปกรณ์เพิ่มเติม ขึ้นต้นด้วย "RVL" มาจากโค้ดเนม "รีโวลูชัน" (Revolution)[25]

ด้านหน้าของตัวเครื่องประกอบด้วย ช่องใส่แผ่นดิสก์เรืองแสง ซึ่งสามารถใส่แผ่นดิสก์วี ขนาด 12 ซม หรือ แผ่นดิสก์เกมคิวบ์ แสงสีฟ้าในช่องใส่แผ่นดิสก์จะเรืองแสง เป็นเวลาสั้น ๆ เมื่อเปิดเครื่อง และวูบวาบเมื่อมีข้อมูลเข้ามาจาก WiiConnect24. หลังจากเฟิร์มแวร์อัปเดต เวอร์ชัน 3.0 ช่องใส่แผ่นดิสก์จะมีแสงทุกครั้ง เมื่อใส่หรือถอดแผ่นดิสก์ เวลาไม่มีข้อมูลเข้า หรือเวลาเล่นเกม จะไม่มีแสงที่ช่องใส่แผ่นดิสก์ ยูเอสบี พอร์ท 2 อันอยู่ด้านหลังของตัวเครื่อง ช่องใส่ เอสดีการ์ด ถูกซ่อนอยู่ด้านหลังฝาปิด ด้านหน้าของตัวเครื่อง แผ่นเอสดีการ์ด สามารถใช้สำหรับอัปโหลด รูปภาพ หรือใช้เก็บสำรอง เซฟเกม และ เกมเวอร์ชัวคอนโซล เนื่องจากระบบการจัดการสิทธิทางดิจิทัล ข้อมูลของเวอร์ชัวคอนโซล จะนำไปใช้กับเครื่องอื่นไม่ได้ ใช้ได้เฉพาะเครื่องที่ ดาวน์โหลดมาเท่านั้น [26] ในการใช้ช่องใส่เอสดีการ์ด สำหรับเซฟเกม ต้องมีการอัปเดตซอฟต์แวร์ก่อนด้วยการดาวน์โหลดแพทช์ ดังนั้นเครื่องที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต ก็จะไม่สามารถเซฟเกมไว้ใน เอสดีการ์ดได้ เอสดีการ์ดสามารถใช้สร้างเพลงภายในเกม จากไฟล์เอ็มพี3 อย่างเช่นในเกม Excite Truck และยังสร้างเพลงสำหรับสไลด์โชว์ ในโฟโต้แชนแนลได้อีกด้วย นินเทนโดได้แสดงตัวเครื่อง และวีรีโมท ในสีขาว, ดำ, เงิน, เขียวมะนาว, และแดง [27][28] แต่ที่มีขายขณะนี้มีแค่สีขาว นายชิเงรุ มิยาโมโตะ ย้ำว่าสีอื่น ๆ จะมีขายเมื่อ ไม่มีปัญหาผลิตไม่ทันแล้ว [29]

ชุดเปิดตัวเครื่องเล่นวี ประกอบด้วย ตัวเครื่อง ขาตั้งสำหรับตั้งตัวเครื่องในแนวตั้ง, วีโมต 1 อัน, วีเซนเซอร์บาร์ 1 อัน, ขาตั้งเซนเซอร์บาร์ 1 อัน, พาวเวอร์อแดปเตอร์ 1 อัน, ถ่านไฟฉาย AA 2 ก้อน, สายต่อวิดีโอชนิด composite 1 เส้น, หนังสือคู่มือการใช้งาน, และ (ยกเว้นที่ขายในญี่ปุ่น) เกมวีสปอร์ต

ผู้ประกาศข่าวของนินเทนโดกล่าวว่า บริษัทมีแผนที่จะเปิดตัวเครื่องเล่นวี ที่สามารถเล่นดีวีดีได้ในปี 2550 [30] แม้ว่าจะใช้แค่ซอฟต์แวร์ เท่านั้นก็สามารถเล่นดีวีดีได้ มัน"ต้องมีมากกว่าแค่เฟิร์มแวร์อัพเกรด" จึงไม่สามารถทำผ่านเครือข่าย WiiConnect24 ได้ [30]

วีโมต

[แก้]
วีรีโมต

วีรีโมต (บางครั้งเรียกว่า วีโมต (Wiimote) ซึ่งแปลงมาจากคำว่า รีโมต (remote) ) เป็นที่บังคับหลักของเครื่องวีที่ใช้ในเกมหลัก ๆ ของเครื่อง และมีอยู่ในชุดการขายพื้นฐาน ประกอบด้วยสองส่วนคือ วีรีโมต มีรูปทรงเหมือนรีโมตโทรทัศน์ โดยมีคุณสมบัติหลักคือมีเซนเซอร์ในการตรวจจับการเคลื่อนไหว และควบคุมการเล่นเกมโดยการเคลื่อนไหวรีโมตนี้ไปในทิศทางต่าง ๆ และต้องวางตัวตรวจจับความเคลื่อนไหว (Wii Sensor Bar) ไว้ด้านบนของโทรทัศน์ที่ใช้เล่น และจอยอนาล็อกหรือที่เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่านุนชะคุ (Nunchuk) ใช้เชื่อมต่อกับวีรีโมต ใช้ในการบังคับทิศทางต่าง ๆ

สเป็กเครื่อง

[แก้]

นินเทนโดได้ประกาศ รายละเอียดเพียงเล็กน้อย เกี่ยวกับระบบของวี แต่ข้อมูลสำคัญ ๆ บางอันได้รั่วไหล มาจากสำนักข่าว แม้ว่ารายงานเหล่านี้ จะไม่ได้รับการยืนยัน อย่างเป็นทางการ มันพอจะบอกได้ว่า ตัวเครื่องเป็นการต่อเติม หรือการพัฒนามาจาก เครื่องเล่นเกมคิวบ์ ยิ่งไปกว่านั้น จากการวิเคราะห์พบว่า เครื่องเล่นวีมีความสามารถ ประมาณ 1.5 ถึง 2 เท่าของเครื่องรุ่นก่อน [2][31]

ที่บังคับเพิ่มเติม

[แก้]

ที่บังคับเพิ่มเติม มักใช้เพื่อเพิ่มอรรถรสในการเล่นให้สมจริงยิ่งขึ้น เช่น ที่บังคับในเกมขับรถไฟ พวงมาลัยรถยนต์ (Wii Wheel) หรือที่ลั่นไก (Wii Zapper) ที่ใช้ต่อเข้ากับตอนล่างของวี รีโมต ใช้ในการยิงปืน


ปัญหาด้านเทคนิค

[แก้]

เฟิร์มแวร์อัปเดต อันแรกทาง WiiConnect24 มีผลทำให้ เครื่องบางเครื่องใช้งานไม่ได้ เจ้าของเครื่องต้องส่งเครื่อง กลับไปให้นินเทนโดซ่อม (ถ้าต้องการเก็บเซฟเกมเอาไว้) หรือว่าเปลี่ยนเครื่องใหม่ [41]

ปัญหาลิขสิทธิ์

[แก้]

บริษัท อินเตอร์ลิงก์ อิเล็กทรอนิกส์ (Interlink Electronics) ยื่นฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์ต่อนินเทนโด โดยชี้ไปที่การทำงานของ วีรีโมต โดยกล่าวว่าทำให้บริษัท สูญเสียค่าลิขสิทธิ์ ลดยอดขาย และขาดกำไร เนื่องจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ของนินเทนโด [42] ห้างหุ้นส่วน อนาสเคป (Anascape Ltd) บริษัทในเท็กซัส ก็ยื่นฟ้องร้องต่อนินเทนโด เรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ [43] บริษัท กรีนเวลลิ่ง (Green Welling LLP) ฟ้องร้องต่อนินเทนโด เรื่องสายรัดข้อมือที่ขาดง่าย [44] บริษัทในเท็กซัสชื่อ โลนสตาร์ อินเวนชัน (Lonestar Inventions) ก็ฟ้องร้องนินเทนโด โดยกล่าวว่าบริษัท ลอกเลียนแบบลิขสิทธิ์ของบริษัท ในการออกแบบตัวเก็บประจุ และใช้ในเครื่องเล่นวี [45]

มีบริษัทจีนชื่อ LetVGO ผลิตเครื่องเล่นเกมที่ใช้จอยรีโมต คล้ายกับ วีโมต มีเกมในตัว 12 เกม และใช้ CPU แบบง่าย ๆ ความเร็ว 2.4 GHz โดยใช้ชื่อว่า Vii ซึ่งในขณะนี้มีขายเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น และยังไม่ถูก Nintendo ฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์[46][47]

ต่อมามีเครื่อง Wii เลียนแบบอีกรุ่นหนึ่ง[48] ซึ่งรุ่นนี้มีการรุกจำหน่ายในญี่ปุ่นด้วย โดยใช้ชื่อว่า Sport Vii โดยมีเกมเก็บอยู่ในตลับเกม รูปร่างคล้ายตลับ เกมบอยแอดวานซ์

วีบาลานซ์บอร์ด

[แก้]

วีบาลานซ์บอร์ด (Wii Balance Board) เป็นอุปกรณ์สำหรับทรงตัวซึ่งจะมีเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวของเท้าผู้ เล่นรวมไปถึงตรวจจับสมดุลของน้ำหนักเท้าทั้งสองข้างด้วย เพื่อนำไปใช้ควบคุมการเล่นเกมที่ต้องอาศัยการทรงตัวต่าง ๆ อย่างเช่นเกม WiiFit เกมออกกำลังกายที่จะทำออกมาพร้อมกับกระดานทรงตัวนี้

วีโมชันพลัส

[แก้]

วีโมชันพลัส (Wii Motion Plus) เป็นอุปกรณ์เสริมของ วีรีโมต ช่วยทำให้มีความแม่นยำมากขึ้นแต่จะมีผลกับเกมใหม่ ๆ ที่รองรับเท่านั้นจะวางขายในวันที่ 8 มิถุนายน 2009 พร้อมกับเกม วีสปอร์ตรีสอร์ท (Wii Sports Resort)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Consolidated Financial Highlights" (PDF). Nintendo. 2010-03-31. p. 23. สืบค้นเมื่อ 2010-05-07.
  2. 2.0 2.1 "Wii: The Total Story". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-18. สืบค้นเมื่อ 2006-11-20.
  3. McDonough, Amy. "Wii Get It Now: Technical Specs from 1UP.com". 1up.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-22. สืบค้นเมื่อ 2008-05-02.
  4. 4.0 4.1 "Financial Results Briefing for the Six-Month Period ended December 2009" (PDF). Nintendo. 2009-10-31. p. 11. สืบค้นเมื่อ 2010-01-29.
  5. 5.0 5.1 5.2 Kenji Hall. "The Big Ideas Behind Nintendo's Wii". BusinessWeek. สืบค้นเมื่อ 2007-02-02.
  6. Sinclair, Brendan; Torres, Ricardo (September 16, 2005). "TGS 2005: Iwata speaks". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 29, 2007. สืบค้นเมื่อ September 24, 2006.
  7. "Nintendo Revolution Renamed To Nintendo Wii". Console Watcher. Console Watcher. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-05. สืบค้นเมื่อ 2006-11-03.
  8. 8.0 8.1 "Breaking: Nintendo Announces New Revolution Name - 'Wii'". Gamasutra. CMP. สืบค้นเมื่อ 2006-09-16.
  9. Parmy Olson. "Wii Reactions: Developers Comment". Forbes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-25. สืบค้นเมื่อ 2007-03-10.
  10. "Iwata's Nintendo Lampooned for 'Wii'". BBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-19. สืบค้นเมื่อ 2007-03-10.
  11. "Nintendo name swap sparks satire". BBC. สืบค้นเมื่อ 2007-03-14.
  12. Donahoe, Michael; Bettenhausen, Shane (July 2006). "War of the Words". EGM. p. 25.
  13. Casamassina, Matt (April 27, 2006). "Nintendo Talks to IGN about Wii". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 21, 2007. สืบค้นเมื่อ March 14, 2007.
  14. "Nintendo Co., Ltd. Corporate Management Policy Briefing". Nintendo. สืบค้นเมื่อ 2006-11-11.
  15. Bozon, Mark (2006-09-26). "Nintendo Sets the Record Straight". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-23. สืบค้นเมื่อ 2007-09-24.
  16. "Nintendo to Sell Wii Console in November". Gadget Guru. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2006-10-29.
  17. Rodriguez, Steven (November 14, 2006). "The Twenty Wii Launch Games". Planet GameCube. สืบค้นเมื่อ 2006-11-14.
  18. "Wii shortages frustrating gamers". BBC. 2006-12-08. สืบค้นเมื่อ 2006-12-08.
  19. "UK Wiis "Like Gold Dust"". IGN. 2007-03-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-10. สืบค้นเมื่อ 2007-04-18.
  20. "Demand for Wii still outpaces supply". komo-tv. 2007-06-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-18. สืบค้นเมื่อ 2007-07-01.
  21. "Nintendo's Wii to Hit South Korea and China". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-16. สืบค้นเมื่อ 2008-04-14.
  22. Wii Launch Center - DS, Wii heading to Korea - News at GameSpot
  23. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-29. สืบค้นเมื่อ 2008-04-14.
  24. Allen, Danny (November 17, 2006). "A closer look at the Nintendo Wii". PC World. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2008. สืบค้นเมื่อ December 1, 2020.
  25. "Wii controller world tour". NGamer. July 13, 2007. p. 8.
  26. "Nintendo Forums: SD CARD ISSUE (from one system to another)". December 10, 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-12-10.
  27. "Wii Colors". Revolution Report. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-16. สืบค้นเมื่อ 2006-07-15.
  28. "Wii Remote Colors". news.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-02. สืบค้นเมื่อ 2006-07-15.
  29. Wii Quotables เก็บถาวร 2012-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน IGN.com. Retrieved on March 10 2007.
  30. 30.0 30.1 "GameDaily BIZ: Confirmed: Nintendo to Release DVD-Enabled Wii in 2007". 2006-11-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-06. สืบค้นเมื่อ 2006-11-14.
  31. Casamassina, Matt. "IGN's Nintendo Wii FAQ". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-10. สืบค้นเมื่อ 2006-11-11.
  32. 32.0 32.1 "IGN: Revolution's Horsepower". IGN. 2006-03-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-22. สืบค้นเมื่อ 2006-12-23.
  33. "Wii??? (Wii??)" (ภาษาญี่ปุ่น). Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-15. สืบค้นเมื่อ 2006-05-22.
  34. "PS3 VS Wii, Comparisons of Core LSI Chip Areas". TechOn!. 2006-11-27. สืบค้นเมื่อ 2006-12-15.
  35. Burman, Rob (2007-08-08). "Keyboard Functionality Added to Wii". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-23. สืบค้นเมื่อ 2007-08-08.
  36. Casamassina, Matt (2006-09-20). "IGN's Nintendo Wii FAQ". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-02. สืบค้นเมื่อ 2007-01-25.
  37. Casamassina, Matt (2006-07-17). "Macronix Supplies Wii". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-22. สืบค้นเมื่อ 2006-07-18.
  38. consolewatcher.com Wii Component Cable Supports 480p Output
  39. "What is Wii?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-08. สืบค้นเมื่อ 2007-09-18.
  40. "Dolby Technology to Power the Sound of the Wii Console" (Press release). Dolby Laboratories. 2006-09-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-20. สืบค้นเมื่อ 2006-09-23.
  41. "Wii Connect 24 Kills Wiis". ComputerAndVideoGames.com.
  42. Micah Seff (2006-12-08). "Nintendo Sued for Patent Infringement". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-13. สืบค้นเมื่อ 2006-12-08.
  43. INQUIRER staff (2006-08-03). "Microsoft, Nintendo sued over games controller". The Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-24. สืบค้นเมื่อ 2006-12-08.
  44. "Nintendo Recalls Defective Wii Wrist Straps After Class Action Filed by Green Welling LLP". Business Wire. 2006-12-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-05. สืบค้นเมื่อ 2007-03-23.
  45. "Lonestar sues Nintendo over Wii capacitor design". Engadget/Wall Street journal. 2006-06-18. สืบค้นเมื่อ 2007-06-19.
  46. "ผู้จัดการออนไลน์ - "เวยลี่ปั้ง"เครื่องเกม Vii จีนที่ดูเหมือน Wii ญี่ปุ่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-17. สืบค้นเมื่อ 2008-09-12.
  47. เว็บไซต์ของผู้ผลิด Vii http://www.letvgo.com/vii.htm เก็บถาวร 2008-01-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  48. http://www.youtube.com/watch?v=wed_bW8iiEw

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]