วิบูลย์ เร้าเสถียร
วิบูลย์ เร้าเสถียร | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 22 เมษายน พ.ศ. 2522 – 22 เมษายน พ.ศ. 2524 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 เมษายน พ.ศ. 2467 อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
เสียชีวิต | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2548 (81 ปี) |
คู่สมรส | บำรุงรัตน์ วิบูลย์จันทร์ (สมรส 2497) |
บุตร | 5 คน |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนเสนาธิการทหารบก วิทยาลัยเสนาธิการทหาร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2527 |
ยศ | พลโท |
ผ่านศึก | สงครามมหาเอเซียบูรพา สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม |
พลโท วิบูลย์ เร้าเสถียร (24 เมษายน พ.ศ. 2467 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2548) เป็นนายทหารชาวไทย และนักการเมือง, อดีตสมาชิกวุฒิสภา และราชองครักษ์พิเศษ
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พลโท วิบูลย์ เร้าเสถียร[1] เกิดวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2467 ณ ตำบลคลองสวนพู อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของฟองและเหนียม เร้าเสถียร
วิบูลย์ เร้าเสถียร ได้สมรสกับบำรุงรัตน์ เร้าเสถียร (สกุลเดิม วิบูลย์จันทร์) เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 มีบุตรทั้งหมด 5 คน คือ
- จินตนา ประมิติธนการ
- พลตรี นรนิติ เร้าเสถียร
- พลตรี กฤษดา เร้าเสถียร
- พลโท วรพจน์ เร้าเสถียร
- ยุวดี เร้าเสถียร
การศึกษา
[แก้]ในประเทศ
[แก้]- โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- พ.ศ. 2483 – พ.ศ. 2485 : โรงเรียนเตรียมทหารบก รุ่นที่ 3
- พ.ศ. 2485 : โรงเรียนเทคนิคทหารบก รุ่นที่ 9
- พ.ศ. 2492 : หลักสูตรผู้บังคับหมวด ส.พัน. ป.กรมทหารสื่อสาร
- พ.ศ. 2495 : โรงเรียนทหารปืนใหญ่ ผู้บังคับกองร้อย รุ่นที่ 1 ของ MAAG
- พ.ศ. 2496 – พ.ศ. 2498 : โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 33
- พ.ศ. 2505 : หลักสูตรการจัดการงานส่งบำรุงกำลังชั้นสูง รุ่นที่ 6, โรงเรียนส่งกำลังบำรุง กองทัพบก
- พ.ศ. 2518 : วิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ 17
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 18
นอกประเทศ
[แก้]- พ.ศ. 2504 : หลักสูตรการปรนนิบัติบำรุง สำหรับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ โรงเรียนยานเกราะ, ค่ายน็อกซ์ กองทัพบกสหรัฐ
- พ.ศ. 2503 – พ.ศ. 2504 : หลักสูตรนายทหารฝ่ายเสนาธิการ (หลักสูตรเร่งรัด) วิทยาลัยเสนาธิการทหารบก, ค่ายเลเวนเวิร์ธ กองทัพบกสหรัฐ โดยทุน เอ็ม.เอ.พี
การทำงาน
[แก้]พลโท วิบูลย์ เร้าเสถียร เคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญ เช่น[1]
ตำแหน่งทหาร
[แก้]- พ.ศ. 2521 : รองเสนาธิการกองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[2]
- พ.ศ. 2525 : ผู้อำนวยการสารสนเทศ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[3]
ตำแหน่งพิเศษ
[แก้]- พ.ศ. 2501 : นายทหารติดต่อ ประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ ณ กรุงโซล
- พ.ศ. 2512 : หัวหน้ากองยุทธการ กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
- พ.ศ. 2512 : ช่วยราชการ กองบัญชาการทหารสูงสุด ส่วนหน้า
- พ.ศ. 2514 : กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ
- พ.ศ. 2518 : ราชองครักษ์เวร
- พ.ศ. 2519 : กรรมการธนาคารทหารไทย
- พ.ศ. 2522 : ราชองครักษ์พิเศษ
- พ.ศ. 2525 : กรรมการธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- พ.ศ. 2529 : กรรมการเอไอเอ
- พ.ศ. 2535 : กรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ตำแหน่งการเมือง
[แก้]- พ.ศ. 2519 : สมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน[4]
- พ.ศ. 2520 : ผู้ช่วยเลขาธิการสภานโนบายแห่งชาติ
- พ.ศ. 2522 : วุฒิสภาไทย ชุดที่ 5[5]
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]พลโท วิบูลย์ เร้าเสถียร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เวลา 10.30 น. ที่บ้านพัก เนื่องจากโรคอัมพฤกษ์ สิริอายุได้ 81 ปี 43 วัน มีการสวดพระอภิธรรมศพที่วัดเสมียนนารี และงานพระราชทานเพลิงศพมีขึ้น ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พลโท วิบูลย์ เร้าเสถียร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[8]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[9]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[10]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[11]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[12]
- พ.ศ. 2500 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[13]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เกาหลีใต้ :
- เวียดนามใต้ :
- พ.ศ. 2513 – เครื่องอิสริยาภรณ์ราชการดีเด่นเวียดนาม ชั้นที่ 2 (ทหารบก)
- พ.ศ. 2513 – เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนาม ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2513 – ซิฟเวิลแอคเชิน ยูนิท ไซเทเชิน
- พ.ศ. 2513 – เหรียญรณรงค์เวียดนาม
- พ.ศ. 2513 – เหรียญบริการโยธาธิการ สื่อสาร และการขนส่ง ชั้นที่ 2
- พ.ศ. 2513 – เหรียญปฏิบัติการจิตวิทยา ชั้นที่ 2
- พ.ศ. 2513 – เหรียญเชิดชูเกียรติทหารผ่านศึก ชั้นที่ 2
- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2514 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปังกวน เนการา ชั้นที่ 4[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 (2548). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลโท วิบูลย์ เร้าเสถียร ม.ว.ม., ป.ช. ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร วันพฤหัสบดี ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2548 เวลา 16.00 น.. บริษัท ธรรมสาร.
- ↑ 58 ปี หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกาษ, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๖๑ ง หน้า ๑, ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๔๕ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๒ พฤษจิกายน ๒๕๑๙
- ↑ "วุฒิสภา ชุดที่ ๕ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๒๒)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-03-23. สืบค้นเมื่อ 2024-06-13.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๕๔ ง หน้า ๑๔๓๖, ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๖, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๗๑๖, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๐
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1971.