วิทยา สำเร็จ
ประเทศ (กีฬา) | ไทย | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
วันเกิด | 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1964 | ||||||||
เดี่ยว | |||||||||
สถิติอาชีพ | 2-3 (Davis Cup) | ||||||||
อันดับสูงสุด | 963 (10 กันยายน 1990) | ||||||||
คู่ | |||||||||
สถิติอาชีพ | 21-13 (Davis Cup) | ||||||||
อันดับสูงสุด | 789 (14 พฤษภาคม 2001) | ||||||||
รายการเหรียญรางวัล
|
ร้อยตรี วิทยา สำเร็จ นักเทนนิสชาวไทย
ประวัติ
[แก้]วิทยาเติบโตมาจากการเป็นเด็กเก็บลูกเทนนิสตามสนาม และใช้เวลาว่างในการฝึกซ้อมด้วยตัวเอง จนได้รับการสนับสนุนให้เล่นเทนนิสทีมชาติ
วิทยามีบุตรชาย คือ กษิดิศ สำเร็จ ซึ่งเป็นนักเทนนิสทีมชาติไทยเช่นเดียวกัน
ผลงาน
[แก้]วิทยาเป็นตัวแทนทีมชาติในการแข่งขันเทนนิสเป็นเวลาหลายปี ได้เหรียญทองจากซีเกมส์ ถึง 5 เหรียญ โดยครั้งสุดท้ายเป็นเหรียญทองประเภทคู่ ในซีเกมส์ครั้งที่ 21 คู่กับ ดนัย อุดมโชค เมื่อ พ.ศ. 2544 ในวัย 37 ปี
วิทยาได้เหรียญทองแดงในประเภททีมชายจากการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 1986 ที่ประเทศเกาหลีใต้ และเหรียญทองประเภทคู่ผสมจากการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 1990 ที่ประเทศจีน
วิทยาเริ่มเล่นอาชีพในปี พ.ศ. 2530 วิทยา เล่นเทนนิสอาชีพในระดับฟิวเจอร์ คู่กับนราธร ศรีชาพันธุ์ ได้รางวัลชนะเลิศหลายครั้งในช่วงปี 2541 - 2543 และเลิกเล่นอาชีพในปี พ.ศ. 2544
ปัจจุบันเป็นผู้ฝึกสอนเทนนิสทีมชาติไทย และเป็นผู้ฝึกสอนให้กับ สุชานัน วิรัชประเสริฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2553 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นจตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓ (ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ รวมทั้งสิ้น ๗,๐๑๕ ราย) เล่ม 112 ตอนที่ 17ข วันที่ 4 ธันวาคม 2538