วิทยาลัยประมงสมุทรสาคร
วิทยาลัยประมงสมุทรสาคร (อังกฤษ : Samut Sakhon Fisheries College ) เป็นวิทยาลัยด้านการประมง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร โดยเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ ประกาศนียบีตรวิชาชีพ (ปวช.), ประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ชื่อย่อ | วป.สค. / SKFC |
---|---|
คติพจน์ | มีฝีมือ ถือคุณธรรม นำอาชีพ |
ประเภท | รัฐบาล - วิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา |
สถาปนา | 17 ธันวาคม 2551 |
ผู้อำนวยการวิทยาลัย | นางปนัดดา กิตติวงศ์ธรรม |
ที่ตั้ง | |
เว็บไซต์ | www.skfc.ac.th |
ประวัติ
[แก้]วิทยาลัยประมงสมุทรสาคร ซึ่งได้รับการสนับสนุนก่อตั้งสถานศึกษาและบริจาคที่ดินโดย คุณยายเทียบ วิยาภรณ์ ขอพระราชทานน้อมเกล้า ถวายที่ดินต่อกองงานในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เพื่อนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระราชวินิจฉัยต่อกองงานในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี แจ้งความหนังสือสำนักเลขาธิการที่ รก.0008/45075 ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ทรงเลือกแนวทาง จัดตั้งวิทยาลัยประมงอยู่ในความดูแลของสำนักคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
และในปีงบประมาณ 2549 สำนักคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจะจัดสรรงบประมาณ งบลงทุนสิ่งก่อสร้าง ทำการก่อสร้างอาคารชั่วคราว อาคารชั้นเดียวขนาดพื้นที่ 288 ตารางเมตร จำนวน 2 หลัง และได้เปิดทำการเรียน การสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)ประเภทวิชาประมง สาขาประมงทะเล ตั้งแต่ปีการศึกษา 2549
และในปีการศึกษา 2552 ได้เปิดทำการเรียน การสอน ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาประมง สาขาควบคุมการเดินเรือ โดยฝากเรียนไว้ที่วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร ในปีการศึกษา 2552 มีนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพจำนวน 38 คน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำนวน 11 คน
สำนักคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยประมงสมุทรสาครขึ้น เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2551 และได้มอบหมายให้นายเลอพงษ์ พิไสยสามนต์เขต ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงสมุทรสาครไปจนกว่า สำนักคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจะบรรจุตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลกรทางศึกษาผู้ที่ได้รับคัดเลือก ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ต่อมาสำนักคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีคำสั่งสำนักคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่ 1109/2552 ได้แต่งตั้ง นายสุชา ราชฉวาง มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการตั้งแต่ วันที่ 26 มิถุนายน 2552 และได้ดำเนินงาน ขยาย ปรับปรุง พัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม[1]
เปิดสอน
[แก้]ปัจจุบันทำการเรียนการสอน ดังนี้
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
[แก้]รับนักเรียนจบ ม.3 เรียนต่อ 3 ปี
- สาขาวิชาการบัญชี
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (อศ.กช.)
- สาขาวิชาช่างเกษตร
- สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ
- สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
[แก้]รับนักเรียนจบ ม.6 หรือ ปวช. เรียนต่อ 2 ปี
- สาขาวิชาการบัญชี
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
- สาขาวิชาการเดินเรือ
- สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ
- สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ[2]