วิกิพีเดีย:เสนอบทความคุณภาพ/สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
หน้าตา
- สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ถูกเสนอเมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2550 และจะได้รับการพิจารณาภายในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
เสนอชื่อ Patiwat 23:18, 25 เมษายน 2007
- สนับสนุนให้เป็นบทความคุณภาพ (ไม่ต้องปรับปรุงแล้ว)
- Lerdsuwa 17:31, 25 เมษายน 2007 (UTC)
- Paru ~パル~ 03:37, 30 เมษายน 2007 (UTC)
bact' 02:03, 1 พฤษภาคม 2007 (UTC)- ขอดูเรื่องข้อมูลขัดแย้งก่อนนะครับ -- bact' 15:24, 16 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- -- ปู้ใจ้:Tmd | อู้จา 04:32, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- สนับสนุนให้เป็นบทความคุณภาพ (หลังจากปรับปรุงแล้ว)
- --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 05:10, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- kinkku ● ananas 11:27, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- Oh~my goDnesS 14:42, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC) โดยรวมแล้วบทความมีความสมบูรณ์ค่อนข้างดีครับ ถ้าจะมีปัญหานิดหน่อยก็คือเรื่องข้อมูลเมื่อแรกบรรพชาเท่านั้น เดี๋ยวผมจะลองตรวจสอบไปยังวัดสระเกศอีกที อนึ่งผมได้ทำการแก้ไขการใช้ถ้อยคำและราชาศัพท์เล็กน้อย โดยพลการ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
น่าจะปรับแก้เฉพาะส่วนที่ข้อมูลยังหาข้อยุติไม่ได้ และยังขัดแย้งนอกนั้นสมบูรณ์ดี โหวตให้ครับ
- เสนอแนะการปรับปรุง
- วิกิลิงก์แดงเป็นจำนวนมาก --Tmd 21:20, 29 เมษายน 2007 (UTC)
- แก้ไปบ้างแล้ว โดยเฉพาะ สมณศักดิ์ และระดับการศึกษาต่างๆ ที่เหลือก็มีแต่ลิงก์เกี่ยวกับพระครู Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 19:35, 30 เมษายน 2007 (UTC)
- แก้ให้ไม่แดงแล้วก็จริง แต่มีบางวิกิลิงก์บางอันเช่น เปรียญธรรม 5 ประโยค เปลี่ยนทางไปที่ ประโยค ซึ่งใช้ไม่ได้ เดี๋ยวผมจะช่วยแก้และเติมในส่วนนี้ให้ ^_^--Tmd 18:13, 3 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- แก้ไปบ้างแล้ว โดยเฉพาะ สมณศักดิ์ และระดับการศึกษาต่างๆ ที่เหลือก็มีแต่ลิงก์เกี่ยวกับพระครู Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 19:35, 30 เมษายน 2007 (UTC)
- คำศัพท์ ช่วยตรวจคำศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์ด้วยครับ ซึ่งถ้าจำไม่ผิดคำศัพท์ของพระสงฆ์แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสำหรับพระสงฆ์ปกติ อย่างที่เห็นคร่าว ๆ สำหรับสมเด็จพระสังฆราชจะใช้ประชวรครับ ไม่ใช่ทรงอาพาธนะครับ ยังไงรบกวนช่วย ๆ กันตรวจสอบดูจุดอื่น ๆ ด้วยครับ
- แก้แล้วครับ สำหรับสมเด็จพระสังฆราช. ในเมื่อสมเด็จเกี่ยวเป็นแค่ รักษาการแทนพระสังฆราช และประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ก็คงไม่ต้องใช้ราชาศัพท์. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 19:36, 9 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ผมได้ช่วยแก้ ทรงอาพาธ เป็น ประชวรให้บางจุดที่ยังเหลือแล้วนะคับ สำหรับสมเด็จเกี่ยวนั้น ไม่ใช่พระสังฆราช คงใช้คำราชาศัพท์ไม่ได้แน่นอนครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 05:08, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- แก้แล้วครับ สำหรับสมเด็จพระสังฆราช. ในเมื่อสมเด็จเกี่ยวเป็นแค่ รักษาการแทนพระสังฆราช และประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ก็คงไม่ต้องใช้ราชาศัพท์. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 19:36, 9 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- การเขียนเชิงเรซูเม ในบทความนี้มีหัวข้อหลัก 5 หัวข้อ แต่ 3 หัวข้อ คือ สมณศักดิ์ งานด้านวิชาการและการบริหารคณะสงฆ์ และ ผลงานด้านหนังสือ นั้น มีรูปแบบการเขียนในเชิงเรซูเม ซึ่งเห็นว่ากำลังเป็นที่อภิปรายกันอยู่ว่าเหมาะสมที่จะเอามาเขียนในวิกิพีเดียหรือเปล่า โดยสามารถเข้าร่วมอภิปรายได้ที่ คุยเรื่องแม่แบบ:เรซูเม ซึ่งเท่าที่ได้ติดตามมานั้น ได้มีการลบข้อความที่เขียนในเชิงเรซูเมออกบางส่วนแล้ว โดยถ้าบทความนี้ได้รับการพิจารณาเป็นบทความคุณภาพ จะทำให้เป็นการยอมรับการเขียนในรูปแบบเรซูเมไปโดยปริยาย ดังนั้น ผมจึงคิดว่าเราน่าจะร่วมกันพิจารณาดูว่าเราจะยอมรับการเชิงเรซูเมหรือเปล่าก่อนจะดีมากกว่านะครับ
- แก้แล้วสำหรับผลงานด้านหนังสือ กำลังจะแก้สำหรับส่วนอื่นๆ. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 20:10, 9 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- แก้แล้วครับ สำหรับงานด้านวิชาการและการบริหารคณะสงฆ์ ส่วนสมณศักดิ์ คิดว่าเป็น bullet point จะดีกว่า เพราะมีอยู่ไม่กี่ ลำดับ และการเป็น bullet จะช่วยให้เห็นว่าได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานแต่งตั้ง สมณศักดิ์ แต่ละประเภทในปีใหน (ช่วยเื่รื่องการเปรียบเทียบความอาวุโส). Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 22:12, 9 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- สำหรับสณศักดิ์ คงไว้แบบนี้ก็ได้ครับ เห็นด้วยนะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 05:34, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- เชิงอรรถ บทความนี้มีศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยอยู่บางส่วนที่อาจจะทำให้อ่านไม่เข้าใจสำหรับคนทั่วไป นั่นคือ อาวุโสโดยสมณศักดิ์ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะทำเป็นเชิงอรรถอธิบายว่ามันคืออะไร และมีข้อแตกต่างจาก "อาวุโสโดยพรรษา" ยังไงนะครับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านที่ไม่คุ้นเคยกับคำพวกนี้นะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 21:08, 8 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- แก้แล้วครับ โดยอธิบายความสำคัญของวิธีการนับความอาวุโส. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 21:08, 9 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ข้อมูลขัดแย้งกับอ้างอิง
- การบวชเป็นสามเณร เห็นที่ใส่อ้างอิงมากล่าวว่าบวชเป็นสามเณรเมื่อ "วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2489 ที่วัดสว่างอารมณ์ " ซึ่งสมเด็จเกี่ยวเกิดแต่ในบทความเขียนว่า "เมื่ออายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดภูเขาทอง " อย่างไรก็ตาม เมื่อตามมาดูอ้างอิงอันที่ 2 กลับระบุว่า " เมื่ออายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดภูเขาทอง " ข้อมูลตรงนี้ขัดแย้งกันอยู่นะครับ ยังไงรบกวนตรวจสอบหน่อยนะครับ ว่าอันไหนเป็นอันถูกต้องและน่าเชื่อถือกว่า
- เจอแหล่งอ้างอิงที่สาม จากนสพ.มติชนรายวัน และแหล่งอ้างอิงที่สี่ จากนสพ.มติชนรายวัน เช่นกัน (คนละบทความ) ระบุตรงกับ dhammathai.org ว่า บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2484 (อายุ 13 ปี 3 เดือน) ดังนั้นผมจะแก้ตามแหล่งอ้างอิงเสียงข้างมาก (ถ้าเสียงข้างมาก ผิดช่วยบอกด้วย) ส่วนที่เหลือ ก็แก้ไปเพื่อความคงเส้นคงวา. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 08:33, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- อันนี้ผมก็ไม่ทราบอ่ะครับว่าอันไหนผิดอันไหนถูกอะครับ ผมไม่ค่อยทราบเรื่องของสมเด็จเกี่ยวมากนัก แต่ที่ผมเห็นนั้น คือ แหล่งข้อมูล 3 แหล่ง(รวมที่คุณ Patiwat กรุณาหามาเพิ่ม) ซึ่งมันค่อนข้างที่จะแตกต่างกันอย่างมาก ได้แก่
- เวปธรรมะไทย ระบุว่า สมเด็จเกี่ยวเกิดเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2471 บวชเป็นสามเณรเมื่อ 6 มิถุนายน พ.ศ.2489 ที่วัดสว่างอารมณ์สรุปคือ บวชเมื่ออายุ 18 ปี โดยมีอธิการพัฒน์เจ้าอาวาสวัดภูเขาทองเป็นพระอุปัชฌาย์ แต่บวชที่วัดสว่างอารมณ์
- เวปจากมหาวิทยาลัยราขภัฏสุราษฎร์ธานี ระบุว่า บวชเมื่ออายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดภูเขาทอง
- เวปมติชน (ซึ่งผมไม่รู้ว่าจะนับรวมเป็น 1 หรือเปล่า เพราะมาจากแหล่งเดียวกันนะครับ ข้อมูลอาจจะเหมือนกัน) ระบุว่า บรรพชาเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2484 ที่วัดสว่างอารมณ์ มีเจ้าอธิการพัฒน์ วัดสว่างอารมณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ สรุปคือ บวชเมื่ออายุ 13 ปี ที่วัดสว่างอารมณ์ โดยมี อธิการพัฒน์ วัดสว่างอารมณ์ บรรพชาให้
- ดังนั้น จึงมีประเด็นคือ บรรพชาเมื่อไหร่กันแน่ และพระอธิการพัฒน์ นี่ตกลงอยู่วัดไหน วิธีแก้ ผมว่าน่าจะหาอ้างอิงมาอีก 1 ที่ไม่ใช่จากเวปทั้ง 3 แห่งมายืนยันเพิ่มนะครับ อ้อ อย่าลืมใส่แหล่งข้อมูลอ้างอิงไว้ด้วยครับ ที่จริงบทความนี้ผมยังตรวจสอบได้ไม่ครบ เดี๋ยวถ้าตรวจเพิ่มแล้วจะมาช่วยปรับปรุงอีกนะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 09:06, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- อันนี้ผมก็ไม่ทราบอ่ะครับว่าอันไหนผิดอันไหนถูกอะครับ ผมไม่ค่อยทราบเรื่องของสมเด็จเกี่ยวมากนัก แต่ที่ผมเห็นนั้น คือ แหล่งข้อมูล 3 แหล่ง(รวมที่คุณ Patiwat กรุณาหามาเพิ่ม) ซึ่งมันค่อนข้างที่จะแตกต่างกันอย่างมาก ได้แก่
- เจอแหล่งอ้างอิงที่สาม จากนสพ.มติชนรายวัน และแหล่งอ้างอิงที่สี่ จากนสพ.มติชนรายวัน เช่นกัน (คนละบทความ) ระบุตรงกับ dhammathai.org ว่า บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2484 (อายุ 13 ปี 3 เดือน) ดังนั้นผมจะแก้ตามแหล่งอ้างอิงเสียงข้างมาก (ถ้าเสียงข้างมาก ผิดช่วยบอกด้วย) ส่วนที่เหลือ ก็แก้ไปเพื่อความคงเส้นคงวา. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 08:33, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- การบวชเป็นสามเณร เห็นที่ใส่อ้างอิงมากล่าวว่าบวชเป็นสามเณรเมื่อ "วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2489 ที่วัดสว่างอารมณ์ " ซึ่งสมเด็จเกี่ยวเกิดแต่ในบทความเขียนว่า "เมื่ออายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดภูเขาทอง " อย่างไรก็ตาม เมื่อตามมาดูอ้างอิงอันที่ 2 กลับระบุว่า " เมื่ออายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดภูเขาทอง " ข้อมูลตรงนี้ขัดแย้งกันอยู่นะครับ ยังไงรบกวนตรวจสอบหน่อยนะครับ ว่าอันไหนเป็นอันถูกต้องและน่าเชื่อถือกว่า
- รายละเอียดว่า พระอธิการพัฒน์ อยู่วัดใหน ผมว่าเอาออกดีกว่า เพราำะหลวงพ่อพัฒน์ มีความเกี่ยวพันกับวัดมากกว่าหนึ่งวัดในสุราษฎร์ธานี. ส่วนเรื่องการหาแหล่งอ้างอิงอื่น กำลังค้นอยู่ครับ. ป.ล. เรื่องนี้ก็ทำให้ปวดหัวเหมือนกัน แต่ก็ำพยายามนึกอยู่ว่าวิกิพีเดียเน้นความสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ มากกว่าความเป็นจริง. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 20:43, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- 4. เวปสยามรัฐ ระบุว่า บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2489 ที่วัดสว่างอารมณ์ มีอธิการพัฒน์ เจ้าอาวาสวัดภูเขาทองเป็นพระอุปัชฌาย์ (ตรงกับเวปธรรมะไทย)
- 5. เวปวัดสระเกศฯเอง ระบุว่า บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2484 ที่วัดสว่างอารมณ์ (ตรงกับเวปมติชน)
ให้เปรียบเทียบง่ายๆ
แหล่งอ้ิางอิง | บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ | บรรพชาเป็นสามเณร ที่ | พระอุปัชฌาย์ |
วัดสระเกศฯ | 6 มิถุนายน พ.ศ.2484 (อายุ 13 ปี) | วัดสว่างอารมณ์ | (ไม่ระบุ) |
นสพ.มติชน | 6 มิถุนายน พ.ศ.2484 (อายุ 13 ปี) | วัดสว่างอารมณ์ | เจ้าอธิการพัฒน์ วัดสว่างอารมณ์ |
มหาวิทยาลัยราขภัฏสุราษฎร์ธานี | อายุ 12 ปี | วัดภูเขาทอง | (ไม่ระบุ) |
ธรรมะไทย | 6 มิถุนายน พ.ศ.2489 (อายุ 18 ปี) | วัดสว่างอารมณ์ | เจ้าอธิการพัฒน์ เจ้าอาวาสวัดภูเขาทอง |
นสพ.สยามรัฐ | 6 มิถุนายน พ.ศ.2489 (อายุ 18 ปี) | วัดสว่างอารมณ์ | เจ้าอธิการพัฒน์ เจ้าอาวาสวัดภูเขาทอง |
- ผมว่าตอนนี้มี 3 ทางเลือกกับสภาพ ราโชมอน ที่เห็นกัน
- ไม่ระบุว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ บรรพชาเป็นสามเณร ปีใหนวัดใหน
- ระบุว่า บรรพชาเป็นสามเณร ปีใหนวัดใหน โดยอ้างแหล่งอิงอิงเพียงชุดเดียว จะเป็น เวปวัดสระเกศฯ/มติชน หรือ เวปสยามรัฐ/ธรรมะไทย หรือ เวปจากมหาวิทยาลัยราขภัฏสุราษฎร์ธานี ก็ได้ ผมไม่อยากชั่งความน่าเชื่อถือของแหล่งอ้างอิงเหล่านี้ (เพราะน่าเชื่อถือหมด)
- ระบุทั้งข้อมูลทั้งหมด โดย บอกให้ชัดเจนว่า ข้อมูลใหนมาจากอ้างอิงใหน
- ผมว่าทางเลือกที่ 3 น่าจะตรงหลักวิกิพีเดียมากกว่า. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 22:31, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ต้องขอชี้แจงนิดหนึ่งนะครับ ที่มาของปัญหานี้ คือ การเขียนบทความอย่างหนึ่ง แล้วใส่อ้างอิงอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าเขียนตรงกับที่ได้อ้างอิงมาก็คงไม่ต้องมานั่งปวดสมองกันนะครับ สำหรับผมแล้วถ้าลองพิจารณาดูเวปธรรมะไทยและสยามรัฐนั้น ข้อมูล copy กันมา ดังนั้น จึงนับเป็น 1 อันก็พอ เช่นเดียวกันกับเวปมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานีและเวปวัดสระเกศ ที่ข้อมูลเหมือนจะ copy กันมาเช่นกัน ส่วนตัวผมชอบที่จะอ้างอิงเวปที่เกี่ยวข้องกับบทความมากที่สุด (ขอเลือกข้อ 2 นะครับ) ผมคิดว่าเวปวัดสระเกศเกี่ยวโดยตรงกับสมเด็จเกี่ยวมากที่สุดครับ เพราะท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ แล้วอาจจะซ่อนข้อความ <!--มีการอภิปรายเรื่องนี้ ๆ อยู่ที่หน้าพูดคุย -->เพื่อป้องกันการแก้ข้อมูลในกรณีแหล่งอ้างอิงไม่ตรงกัน จะได้เปิดโอกาสให้คนอื่นที่รู้กว่าเรามาพูดคุยกันด้วยในตัว ส่วนพระอุปัชฌาย์นั้น ก้ระบุเพียงเจ้าอธิการพัฒน์เป็นผู้บรรพชาให้ก็พอ นอกนั้นไม่ต้องก็ได้มังครับ เพราะไม่น่าจะทำให้บทความเสียหายอะไร บรรพชาที่วัดสว่างอารมณ์ค่อนข้างจะแน่นอนละครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 04:30, 11 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- เห็นด้วยกับท่าน ScorpianPK ครับ ข้อมูลของวัดสระเกศเอง ดูจะมีความถูกต้องของข้อมูลและน่าเชื่อถือมากที่สุด กว่าข้อมูลภายนอกวัด -- ปู้ใจ้:Tmd | อู้จา 05:04, 11 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- โดยส่วนตัวลองเปิดข้อมูลดูแล้ว (ยกเว้นเว็บมหาวิทยาลัยฯที่้เปิดไม่ได้) ออกจะให้น้ำหนักกับเว็บของวัดมากกว่านิดหน่อย แต่ก็ไม่มีความรู้้เรื่องนี้ ถ้าเกิดว่ามีข้อมูลใดที่ถูกต้องหรือมีความแน่นอน น่าเชื่ิอถือกว่า ก็อาจจะระบุไปข้อมูลเดียว แตุ่ถ้ืาไม่แน่นอน วิธีที่สามก็น่าจะตรงกับหลักวิกิพีเดียอย่างที่คุณ Patiwat ว่า (ไม่ต้องตัดสินใจ ให้ผู้อ่านชั่งน้ำหนักเอง) kinkku ● ananas 08:00, 11 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- โดยรวมผมให้น้ำหนักข้อมูลจากของวัดมากกว่าครับ เพราะน่าจะเป็นแหล่งของข้อมูลต้นทาง ที่บทความอื่นๆเอาไปเขียนต่ออีกทีครับ ตามความเห็นผมใส่ข้อมูลเดียวได้ครับ ส่วนเรื่องพระอุปัชฌาย์ว่าจากวัดไหนที่ทางวัดสระเกตไม่ได้ระบุ อาจใส่ในส่วนเชิงอรรถได้ครับ ว่ามีข้อมูลขัดแย้งกันว่ามาจากวัดไหนและก็ใส่แหล่งอ้างอิง -- Lerdsuwa 07:25, 12 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ได้แก้ตามคำแนะนำแล้ว โดยในตัวบทความ ระบุข้อมูลตามวัด และใส่รายละเอียดของข้อมูลตามแหล่งข้อมูลอื่นในเชิงอรรถ. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 21:42, 19 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ตรงไหนที่เกิดข้อขัดแย้งและได้รับการแก้ไขไปแล้วใส่อ้างอิงไว้ก็จะดีนะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 10:41, 20 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ในเชิงอรรถมีทั้งคำอธิบายและแหล่งอ้างอิง. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 03:44, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- "โยมมารดานำไปฝากไว้กับท่านพระครูอรุณกิจโกศล (หลวงพ่อพริ้ง) " แต่ในอ้างอิงกล่าวว่า "โยมบิดา ได้พาสามเณรเกี่ยวไปฝากกับหลวงพ่อพริ้ง ( พระครูอรุณกิจโกศล ) " ซึ่งตรงนี้เหมือนกันข้อแรกครับ คือ แหล่งอ้างอิงให้ข้อมูลที่ต่างกัน
- แก้เป็น "บิดา มารดา" ไปแล้ว. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 08:50, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ใส่อ้างอิงไปด้วยแล้วกันครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 10:41, 20 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- เรียบร้อย ข้อมูลที่แตกต่างกันไปได้อธิบายในเชิงอรรถ พร้อมทั้งระบุแหล่งอ้่างอิง. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 03:44, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ใส่อ้างอิงไปด้วยแล้วกันครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 10:41, 20 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- แก้เป็น "บิดา มารดา" ไปแล้ว. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 08:50, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- "โยมมารดานำไปฝากไว้กับท่านพระครูอรุณกิจโกศล (หลวงพ่อพริ้ง) " แต่ในอ้างอิงกล่าวว่า "โยมบิดา ได้พาสามเณรเกี่ยวไปฝากกับหลวงพ่อพริ้ง ( พระครูอรุณกิจโกศล ) " ซึ่งตรงนี้เหมือนกันข้อแรกครับ คือ แหล่งอ้างอิงให้ข้อมูลที่ต่างกัน
- การเขียนในบางตำแหน่งเป็นลักษณะ copy and paste มานะครับ อย่างที่เห็นก็ตรง เช่น
- อ้างอิง เขียนว่า "ทว่าต่อจากนั้นไม่นาน ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร ถูกเครื่องบิน ทิ้งระเบิดอย่างหนัก หลวงพ่อพริ้งจึงมารับตัวกลับ และพาไปฝากท่านอาจารย์มหากลั่น ศึกษาต่อที่พุมเรียง อำเภอไชยา เมื่อสงครามสงบ หลวงพ่อพริ้งจึงพาไปฝากที่วัดสระเกศอีกครั้งหนึ่ง แต่ท่านอาจารย์เกตุ ได้ลา สิกขาบทไปเสียแล้ว ท่านจึงพาไฟฝากไว้กับ พระครูปลัดเพียบ ( ซึ่งต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ และเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ต่อจากสมเด็จพระสังฆราชอยู่ ญาโณทยมหาเถระ )"
- บทความ เขียนว่า "ไม่นาน ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง กรุงเทพมหานครถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดอย่างหนัก หลวงพ่อพริ้งจึงมารับตัวกลับ และพาไปฝากท่านอาจารย์มหากลั่น ศึกษาต่อที่พุมเรียง อำเภอไชยา เมื่อสงครามสงบ หลวงพ่อพริ้งจึงพาไปฝากที่วัดสระเกศอีกครั้งหนึ่ง แต่ท่านอาจารย์เกตุ ได้ลา สิกขาบทไปแล้ว ท่านจึงพาฝากไว้กับ พระครูปลัดเพียบ (ซึ่งต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ และเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ต่อจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ฯ (อยู่ ญาโณทโย))"
- ได้ลองเรียบเรียงเขียนใหม่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม โครงสร้างย่อหน้าก็ไม่ได้เปลี่ยนจากเดิมมากนัก เพราะเป็นการเล่าเหตุการตามลำดับเวลา. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 08:18, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ขอชี้แจงการลบป้าย"ต้องการแหล่งอ้างอิง"ออก ตรงข้อความ "เป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดของมหาเถรสมาคม" ในบทนำ พอดีอ้างอิงตรงนี้มีอยู่สองแหล่ง คือ หมายเลข 10 กับ 11 (อ้างในตัวบทความในส่วนที่พูดถึงความอาวุโส) แต่ไม่อยากให้มีอ้างอิงมากในบทนำ เพราะจะทำให้รก. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 09:06, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ผมว่าตรงนี้เป็นบทเริ่มของบทความครับ ซึ่งการกล่าวถึงความเป็นที่สุด น่าจะต้องมีอ้างอิงเสมอ โดยควรจะอ้างอิงครั้งแรกที่เขียนข้อความนั้น ๆ โดยเมื่อเขียนในครั้งต่อไป เราก็ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงครับ หรือมีความเห็นอื่นว่ายังไง เกี่ยวกับวิธีการใส่อ้างอิงครับผม--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 09:30, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- เป็นไปได้ว่า บทนำนั้นเป็นเหมือนส่วนที่สรุปเนื้อในบทความมา และเนื้อหาในบทความมีอ้างอิงอยู่แล้ว แต่ใส่ในบทนำด้วยผมก็คิดว่าไม่มีปัญหาอะไรครับ kinkku ● ananas 11:27, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- เกร็งว่าถ้าทำอย่างนั้น บทนำคงจะมีประมาณ 30 อ้่างอิง และบทความไม่มีอ้่างอิงเลย เพราะบทนำเป็นที่สรุปข้อมูลสำคัญของทั้งบทความ และแต่ละข้อมูลสำคัญของบทความ มีอ้างอิงอย่างน้ิอยหนึ่งแหล่ง. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 19:28, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- เปรียบเทียบกับ บทความคุณภาพอื่นๆ ประมาณครึ่งหนึ่งของบทนำจะไม่ไม่มีอ้างอิงเลย (ถึงแม้จะมีข้อมูลสำคัญและกล่าวถึงความเป็นที่สุด) และบทนำที่มีอ้างอิงบ้าง ก็มีอย่างไม่คงเส้นคงวา คืิอบางข้อมูลสำคัญมี บางข้อมูลสำคัญไม่มี. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 19:36, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ผมว่าตรงนี้เป็นบทเริ่มของบทความครับ ซึ่งการกล่าวถึงความเป็นที่สุด น่าจะต้องมีอ้างอิงเสมอ โดยควรจะอ้างอิงครั้งแรกที่เขียนข้อความนั้น ๆ โดยเมื่อเขียนในครั้งต่อไป เราก็ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงครับ หรือมีความเห็นอื่นว่ายังไง เกี่ยวกับวิธีการใส่อ้างอิงครับผม--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 09:30, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- นี้คือบทนำถ้าจะใส่อ้างอิงสำหรับทุกข้อมูลสำคัญอย่างคงเส้นคงวา ผมว่ามันดูไม่ค่อยจะได้
- สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) (นามเดิม: เกี่ยว โชคชัย)[1] เป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดของมหาเถรสมาคม[2][3] เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม[4] และเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร[5] เป็นพระสงฆ์มหานิกาย[6] เคยรักษาการแทนพระสังฆราช[7] และปัจจุบันเป็นประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[8]
- สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2471 ณ บ้านเฉวง ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี[9] บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดภูเขาทอง อำเภอเกาะสมุย ได้อุปสมบทที่วัดสระเกศ เมื่อปี พ.ศ. 2492[10][11][12]
- สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 9 และเป็นเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. 2508[13] เมื่อปี พ.ศ. 2516 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานแต่งตั้งเป็น รองสมเด็จพระราชาคณะ ที่ พระธรรมคุณาภรณ์ และเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม[14] เมื่อปี พ.ศ. 2533 สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ิเลื่อนเป็น สมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์[15] ในปี พ.ศ. 2540 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนามหาเถรสมาคม[16]
- เนื่องจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชมีพระอาการประชวร[17][18] และเสด็จเข้าประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2545 ทำให้เข้าร่วมงานพระศาสนาไม่สะดวก[19] มหาเถรสมาคม จึงได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ในต้นปี พ.ศ. 2547[20][21] ต่อมาการแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด มหาเถรสมาคม จึงมีมติให้แต่งตั้ง คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวร โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์[22] ทำหน้าที่ประธาน การแต่งตั้งดังกล่าวทั้งสองครั้ง ถูกต่อต้านอย่างแรงจากกลุ่ม หลวงตาบัว นายสนธิ ลิ้มทองกุล และนายทองก้อน วงศ์สมุทร[23][24][25]
- ข้อสังเกตุ:
- ถ้าจะใส่ ก็ควรจะใส่ให้คงเส้นคงวา ไม่ใช่ว่าบางข้อมูลสำคัญในบทนำมีอ้างอิง บางข้อมูลสำคัญในบทนำไม่มีอ้างอิง ไม่งั้นคนอ่านจะไว้ใจข้อมูลในบทนำมีอ้างอิง และไม่เชื่อถือข้อมูลในบทนำที่ไม่มีอ้างอิง (ทั้งๆที่ทั้งหมดมีอ้างอิงอย่างครบถ้วนในตัวบทความ)
- ไม่มีบทความคุณภาพ หรือ บทความคัดสรรใดๆ ที่มีีอ้่างอิงสำหรับทุกข้อมูลสำคัญในบทนำ
- มันอ่านแล้วรกตาอย่างไรก็ไม่รู้
- จึงขอให้คุณ kinkku กับ Scorpion ช่วยพิจารณาตรงนี้ใหม่ครับ. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 19:55, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- เกรงว่าคุณ Patiwat อาจจะเข้าใจเจตนาผมคลาดเคลื่อนไปหน่อย ผมไม่ได้ต้องการการอ้างอิงทุกจุดในส่วนของบทนำ เพียงแต่ข้อความอันกล่าวว่าเป็นที่สุดต่าง ๆ นั้น ควรจะอ้างอิงไว้ในตอนแรกเท่านั้นครับ นอกนั้นคงไม่ค่อยมีปัญหาถ้าจะอ้างอิงไว้ในส่วนบทความ และผมคิดว่า ถ้าผมจำไม่คลาดเคลื่อนนัก ผมก็คอมเม้นบทความที่เขียนแสดงความเป็นที่สุดนั้น ควรจะใส่อ้างอิงไว้เสมอนะครับ เพียงแต่เขาไม่เอามาเขียนไว้ที่บทนำเท่านั้นเอง และถ้าไม่ผิดนักในสมเด็จเกี่ยวในส่วนบทนำผมใส่ตเองการอ้างอิงเฉพาะส่วนแคข้อความที่บ่งบอกว่าเป็นที่สุดไม่ใช่หรือ (ที่คุณ Patiwat ยกตัวอย่างการอ้างอิงมานั้น ออกจะดูเกินจากความเป็นจริงไปมากมายนัก เพราะผมก็เห็นว่าแม้กระทั่งในตัวบทความเอง คุณ Patiwat ก็มิได้อ้างอิงขนาดที่คุณ Patiwat ได้ยกตัวอย่างมานะครับ)--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 19:58, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ก็ยังคิดอยู่ดีว่า ถ้าบางข้อมูล (ที่เป็นที่สุด) มีอ้างอิง แต่บางข้อมูล (ที่อาจเป็นที่โต้เถียง อย่างเช่น "สมเด็จพระญาณสังวรฯ ประชวร" หรือ "ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากกลุ่ม หลวงตาบัว etc.") ไม่มีอ้างอิง จะทำให้ข้อมูลที่ไม่มีอ้างอิงในบทนำดูมีความน่าเชื่อถือน้อยลง. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 21:17, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- อย่างนี้ดีกว่า: อะไรในบทนำที่เป็นที่สุด หรือที่อาจจะทำให้เกิดการโต้เถียง จะใส่อ้างอิงไว้ตั้งแต่บทนำ แต่อะไรในบทนำที่เป็นข้อมูลสำคัญ ที่ไม่น่าจะเถียงกันมาก จะใส่ไว้ในตัวบทความดีก่วา. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 21:27, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ก็น่าจะดีนะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 04:30, 11 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ได้แก้เรียบร้อยแล้ว. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 18:22, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ก็น่าจะดีนะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 04:30, 11 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- อย่างนี้ดีกว่า: อะไรในบทนำที่เป็นที่สุด หรือที่อาจจะทำให้เกิดการโต้เถียง จะใส่อ้างอิงไว้ตั้งแต่บทนำ แต่อะไรในบทนำที่เป็นข้อมูลสำคัญ ที่ไม่น่าจะเถียงกันมาก จะใส่ไว้ในตัวบทความดีก่วา. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 21:27, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ก็ยังคิดอยู่ดีว่า ถ้าบางข้อมูล (ที่เป็นที่สุด) มีอ้างอิง แต่บางข้อมูล (ที่อาจเป็นที่โต้เถียง อย่างเช่น "สมเด็จพระญาณสังวรฯ ประชวร" หรือ "ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากกลุ่ม หลวงตาบัว etc.") ไม่มีอ้างอิง จะทำให้ข้อมูลที่ไม่มีอ้างอิงในบทนำดูมีความน่าเชื่อถือน้อยลง. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 21:17, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- เกรงว่าคุณ Patiwat อาจจะเข้าใจเจตนาผมคลาดเคลื่อนไปหน่อย ผมไม่ได้ต้องการการอ้างอิงทุกจุดในส่วนของบทนำ เพียงแต่ข้อความอันกล่าวว่าเป็นที่สุดต่าง ๆ นั้น ควรจะอ้างอิงไว้ในตอนแรกเท่านั้นครับ นอกนั้นคงไม่ค่อยมีปัญหาถ้าจะอ้างอิงไว้ในส่วนบทความ และผมคิดว่า ถ้าผมจำไม่คลาดเคลื่อนนัก ผมก็คอมเม้นบทความที่เขียนแสดงความเป็นที่สุดนั้น ควรจะใส่อ้างอิงไว้เสมอนะครับ เพียงแต่เขาไม่เอามาเขียนไว้ที่บทนำเท่านั้นเอง และถ้าไม่ผิดนักในสมเด็จเกี่ยวในส่วนบทนำผมใส่ตเองการอ้างอิงเฉพาะส่วนแคข้อความที่บ่งบอกว่าเป็นที่สุดไม่ใช่หรือ (ที่คุณ Patiwat ยกตัวอย่างการอ้างอิงมานั้น ออกจะดูเกินจากความเป็นจริงไปมากมายนัก เพราะผมก็เห็นว่าแม้กระทั่งในตัวบทความเอง คุณ Patiwat ก็มิได้อ้างอิงขนาดที่คุณ Patiwat ได้ยกตัวอย่างมานะครับ)--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 19:58, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดและอาวุโสโดยพรรษาสูงสุด คือ สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิธฯ กรุงเทพฯ ไม่ใช่หรือ--Sundae 18:32, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ช่วยบอกแหล่งอ้างอิงให้หน่อยได้มั้ยครับ พอดีมี แหล่งอ้างอิงสองแหล่ง ([[1]], [[2]]) ที่บอกว่าสมเด็จเกี่ยวอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุด. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 19:32, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- แก้บทความไปแล้วนะครับ ขอบคุณ Sundae ที่ช่วยเสนอแนะการปรับปรุง พอดีแหล่งอ้างอิงทั้งสองแหล่งที่ใช้ผิด พระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดของมหาเถรสมาคมคือ สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม แต่สมเด็จพระพุทธปาพจนบดีมีอายุถึง 99 พรรษา (ชาตกาล 2 มีนาคม พ.ศ.2451) และอาพาธ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ บางแหล่งข่าวจึงเรียก สมเด็จพระพุฒาจารย์ ว่าเป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุด ซึ่งเป็นการเรียกที่ผิด. ผมแก้ไขในทุดจุดที่มีการพูดถึงความเป็นอาวุโสสูงสุดแล้ว. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 20:13, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- หัวข้อ "รักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราช" ผมหาข้อมูลมาเพิ่มให้นะครับ การแต่งตั้งครั้งแรกนั้น แต่งตั้งโดย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ลงนามโดย วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ไม่น่าจะใช่มหาเถระสมาคมนะครับ[3] ตำแหน่งครั้งที่ 2 ถึงจะแต่งตั้งโดยมหาเถระสมาคมหรือเปล่าครับ [4] อันนี้ผมไม่แน่ใจนะครับ แต่ก็หาข้อมูลมาให้คุณ Patiwat ลองพิจารณาดู อีกเรื่องครับ ตรงรูปหนังสือ “ขอรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช” แต่ก่อนผมเห็นมีเขียนถึงข้อวิจารณ์ว่าอาจจะเป็นของปลอม ข้อความตรงนั้นหายไปไหนเหรอครับ ที่จริงน่าจะเอามาใส่ในหัวข้อ "ข้อวิจารณ์ กรณีแต่งตั้งประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช" ด้วยนะครับ เพราะเห็นเอาหนังสือนี้มาใช้อ้างอิงในบทความด้วย --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 18:24, 22 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ข้อก่ลาวหาว่าลายมือเขียน “ทราบและเห็นชอบ” ไม่ได้เป็นของสมเด็จพระสังฆราช แต่เป็นของ พระเทพสารเวที ถูกลบไปเมื่ิอเดืิอนที่แล้ว ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม ผมใส่กลับไปแล้วในหัวข้ิอ "รักษาการแทนพระสังฆราช" เพราะว่าเกี่ยวกับการแต่งตั้งรักษาการแทนพระสังฆราช ไม่ใช่ การแต่งตั้งประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช. ขอบคุณ ScorpianPK ที่ช่วยสังเกตุ. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 21:33, 22 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ได้แก้ไขข้อมูลเรื่ององค์กรแต่งตั้ง พร้อมทั้งเติมราชกิจจานุเบกษาเป็นอ้่างอิงแล้วครับ ขอบคุณที่ให้ข้อมูลเพิ่มครับ. Patiwat ไฟล์:74px-Lotus-buddha.svg.png 22:21, 22 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder
- ↑ placeholder