วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/Wikimania11
หน้าตา
หน้านี้เป็นหน้ากรุของการอภิปรายอภิปรายในอดีต อย่าแก้ไขเนื้อหาของหน้านี้ หากต้องการเริ่มการอภิปรายใหม่หรือรื้อฟื้นการอภิปรายเดิมโปรดใช้หน้าพูดคุยปัจจุบันของหน้านี้ |
วิกิพีเดียไทยในวิกิเมเนีย 2011 ณ เมืองไฮฟา อิสราเอล
- แจ้งให้ทราบว่า taweethaも เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวเพื่อเชื่อมโยงชุมชนวิกิพีเดียไทยกับมูลนิธิวิกิมีเดียและโครงการในภาษาอื่นๆ - เข้าใจว่าเป็นคนแรกและคนเดียวของชุมชนวิกิพีเดียไทยที่เข้าร่วมการประชุม
- จะรายงานความคืบหน้าอื่นๆ ให้ทราบต่อไป ยินดีรับข้อแนะนำและข่าวสารจากวิกิพีเดียไทยตรงนี้เลยนะครับ
2 ส.ค. - Global south meeting
- มีโครงการน่าสนใจที่ผู้ประสานงาน Global south เสนอให้วิกิพีเดียไทยคือ
- รวมกลุ่มกัน ยังไม่ต้องเป็น Chapter ก็ได้ เพื่อความเข้มแข็งในการดำเนินการ เช่น m:Movement_roles_project/groups/WiKansai (มีเพียง 7-8 คน ไม่เพียงพอตั้งมูลนิธิตามกฎหมายญี่ปุ่น)
- ญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนการทำ Chapter เพราะกลัวถูกฟ้องและเสียความเป็นส่วนตัวของกรรมการ แต่มีการรวมกลุ่มอย่างที่ยกตัวอย่างมา
- ผมเล่าให้ฟังว่า www.wikithaiforum.com (ที่ปัจจุบันเข้าถึงไม่ได้แล้ว) รวม unclyclopedia ด้วย เขาทักกันว่าโมเดลนี้แปลก และเหมือนจะไปด้วยกันได้ยาก
- การรวมกลุ่มกันจะทำให้เรามีสิทธิ์ขอใช้ logo ของมูลนิธิเพื่อติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอก (เช่น กระทรวงศึกษาธิการ บริษัท TOT/CAT มหาวิทยาลัย etc.) ในการทำโครงการร่วมกัน
- ให้ลองนึกถึงเรื่อง AsiaOnline และ Tablet computer ของรัฐบาล -- วิกิพีเดียไทยอาจมีส่วนร่วมได้ถ้าเรามีความน่าเชื่อถือและมีผู้แทนให้ติดต่อเป็นกิจลักษณะ
- การรวมกลุ่มกันทำให้เรามีสิทธิ์ขอทุนสนับสนุนเพื่อทำโครงการต่างๆ ได้ (น่าจะอนุมัติได้ไม่ยากเพราะผู้ประสานงานทุนเสนอมาให้ลองทำโดยตรง) อ่านเพิ่มเติมที่ m:Grants:Index
- เช่น การทำ 0ff-line wikipedia โดยใส่ลงในคอมพิวเตอร์เก่าที่ซ่อมแซมและทำให้ดูเหมือนใหม่ (refurbished computer)แล้วส่งให้โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาลที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (หรือใช้กับคนที่ไม่ควรเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เช่น เด็ก หรือผู้มีความเชื่อทางศาสนาบางอย่าง โดยอาจเป็นเวอร์ชันย่นย่อ ตัดตอน และถูกตรวจพิจารณา เอาเรื่องเพศ เรื่องความรุนแรง เรื่องที่สร้างความแตกแยกหรือข้อถกเถียงออก-- มูลนิธิย้ำว่าตรงนี้ไม่ใช่ตัวแทนของ official policy แต่เป็นตัวเลือกของคนที่นำไปใช้)
- รวมกลุ่มกัน ยังไม่ต้องเป็น Chapter ก็ได้ เพื่อความเข้มแข็งในการดำเนินการ เช่น m:Movement_roles_project/groups/WiKansai (มีเพียง 7-8 คน ไม่เพียงพอตั้งมูลนิธิตามกฎหมายญี่ปุ่น)
- ส่วนเรื่องทั่วไปที่ไม่ได้กล่าวถึงวิกิพีเดียไทยโดยตรงคือการเพิ่มการเข้าถึงของผู้ใช้ผ่านวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะความร่วมมือกับสถานศึกษา ภาครัฐและเอกชน (NGOs)
- กำลังเจรจาต่อรองกับบริษัทที่ให้บริการโทรคมนาคมทั่วโลก เพื่อให้เว็บของมูลนิธิวิกิมีเดียเข้าถึงได้ฟรีผ่านโทรศัพท์เช่นเดียวกับ facebook
--taweethaも 20:41, 2 สิงหาคม 2554 (ICT)
การรวมกลุ่มควรจะมีคนถนัดงานบริหารจัดการเป็นแกนหลักสักสองสามคน สถานะปัจจุบันขณะนี้แม้ว่าจะมีคนที่บริหารจัดการได้ แต่เขาเหล่านั้นก็มีงานของตัวเองที่ต้องทำ ไม่ได้ทุ่มเทกับวิกิพีเดียมากนัก --octahedron80 02:34, 3 สิงหาคม 2554 (ICT)
- ใครๆ ก็มีงานของตัวเองที่ต้องทำทั้งนั้นค่ะ ถ้ายังเป็นนักเรียนนักศึกษาก็ต้องเรียน เรียนจบแล้วก็ต้องทำงาน มีครอบครัวพ่อแม่ต้องรับผิดชอบดูแล ไม่มีใครมาทุ่มเท 100% ของชีวิตให้วิกิพีเดียหรอกค่ะ ดังนั้นเราจึงไม่ควรคาดหวังว่าใครจะต้องมาทุ่มเทอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เราควรใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีให้ดีที่สุด จัดสรรเวลา ความถนัด ความช่วยเหลือเท่าที่อาจมีได้จากแต่ละหน่วยย่อย นั่นคือหัวใจของชุมชนอาสาสมัครอยู่แล้ว ไม่ใช่มาคาดหวังว่าหน่วยย่อยนั้นหน่วยย่อยนี้ควรต้องทุ่มเทขนาดเท่านั้นเท่านี้ --Tinuviel | พูดคุย 15:08, 5 สิงหาคม 2554 (ICT)
- ผมก็เห็นด้วยครับที่ว่าทุกคนย่อมมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ แต่ผมเชื่อว่าถ้ามีความตั้งใจ มันก็จะสามารถเดินไปได้ครับ ยกตัวอย่างเช่น งานสมาคม มูลนิธิต่างๆ ก็เป็นงานที่ไม่มีรายได้ ก็ยังทำได้ครับ แต่มันอยู่ที่เราจะต้องชักชวนคนที่มีความตั้งใจ และเสียสละ เข้ามามีส่วนร่วม ที่สำคัญคือ ไม่ใช่ทิ้งภาระให้ตกเป็นของคนเพียงไม่กี่คน มันต้องช่วยกันหลายๆ คน ในรูปแบบเป็น "คณะทำงาน" ยิ่งดี เริ่มต้นง่ายในรูปแบบของ ชมรม ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจนะครับ --Pongsak ksm 17:49, 8 สิงหาคม 2554 (ICT)
- ใครๆ ก็มีงานของตัวเองที่ต้องทำทั้งนั้นค่ะ ถ้ายังเป็นนักเรียนนักศึกษาก็ต้องเรียน เรียนจบแล้วก็ต้องทำงาน มีครอบครัวพ่อแม่ต้องรับผิดชอบดูแล ไม่มีใครมาทุ่มเท 100% ของชีวิตให้วิกิพีเดียหรอกค่ะ ดังนั้นเราจึงไม่ควรคาดหวังว่าใครจะต้องมาทุ่มเทอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เราควรใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีให้ดีที่สุด จัดสรรเวลา ความถนัด ความช่วยเหลือเท่าที่อาจมีได้จากแต่ละหน่วยย่อย นั่นคือหัวใจของชุมชนอาสาสมัครอยู่แล้ว ไม่ใช่มาคาดหวังว่าหน่วยย่อยนั้นหน่วยย่อยนี้ควรต้องทุ่มเทขนาดเท่านั้นเท่านี้ --Tinuviel | พูดคุย 15:08, 5 สิงหาคม 2554 (ICT)
3 ส.ค. - Chapter meeting
- มีการคุยกันอย่างไม่เป็นทางการว่า นอกจาก Chapter ในแต่ละประเทศแล้ว น่าจะรวมกันเป็น กลุ่มระดับ ASEAN หรือ ASIA บ้าง
- มีการคุยกันอย่างไม่เป็นทางการว่าจะจัดการประชุม Wikimania ใน ASEAN/ASIA ในโอกาสต่อไป (ไทยก็มีโอกาสจัดได้เช่นกัน) แต่ถ้าจะทำให้สำเร็จ เราต้องทำให้เป็น ASEAN/ASIA bid ร่วมกันเพื่อให้มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง
- เรื่องการบริหารจัดการอื่นๆ ของ Chapter ยังไม่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดียไทยในปัจจุบัน แต่อาจมีประโยชน์ในอนาคต
--taweethaも 13:46, 3 สิงหาคม 2554 (ICT)
4 ส.ค. - ประชุมวันแรก
- บรรยายเปิดงานโดย en:Yochai Benkler อธิบาย en:Commons-based peer production ที่เป็นรูปแบบใหม่ของการผลิตในทางเศรษฐศาสตร์ และยกวิกิพีเดียให้ดูเป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ
- รายงานข้อมูลและสถิติต่างๆ ของมูลนิธิที่สำคัญ (ดูรายงานที่สนใจได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธิ)
- ช่องว่างระหว่างผู้อ่านกับผู้เขียนมากขึ้น และอัตราการเกิดผู้เขียนใหม่ (ที่เขียนจริงจัง) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะวัดจำนวนทั้งหมดหรือเทียบเป็นอัตราส่วนกับผู้ใช้ใหม่ที่ลงทะเบียน
- ถ้าจะเขียนจริงๆ จะเขียนภายใน 2-3 ชม. หลังจากลงทะเบียน
- 30% ของผู้เขียน 1000 อันดับแรกในภาษาอังกฤษ เคยถูกย้อนหรือเตือนก่อกวนในตอนที่แก้ไขแรกๆ
- ความถี่การแก้ไขเฉลี่ยของแต่ละกลุ่ม ผู้ดูแล > ผู้ใช้ธรรมดา > ไอพี (ไม่ได้ดูเป็นราย แต่ดูค่าเฉลี่ยของแต่ละกลุ่ม) ดังนั้นการผลักไอพีให้ลงทะเบียน และผลักผู้ใช้ธรรมดาให้เป็นผู้ดูแล เป็นทิศทางที่ดี (ไม่สนับสุนนทฤษฎีที่ว่าเป็นผู้ดูแลแล้วเลิกแก้ไข เพราะผู้ดูแลไม่ใช่จุดสิ้นสุด ยังมีสิ่งที่สูงกว่านั้นในระบบอีก)
- มีความพยายามจะจัดตั้ง Wikimedia Asia เมื่อมีความคืบหน้าใดๆ จะได้รายงานให้ทราบต่อไป (ผมได้ subscribe mailing list แล้ว)
- ของเล่นใหม่นามว่า Wikilove is a simple experiment in appreciation. It makes it easy and fun to send barnstars or whimsical messages of appreciation to other users. (บางคนบ่นว่าจะกลายเป็น social media ในไม่ีใช้ แต่ตอนนี้ลองใช้ไปก่อนเพื่อดูผลตอบรับ)
- มูลนิธิฯ กำลังลงทุนในโครงการ India and Brazil editor recruitment ลองดูเพิ่มที่ m:Wikimedia Foundation - India Programs
- แจ้งสถานการณ์ในไทยให้คนอื่นรับทราบ อาจมีการตอบสนองกลับมาจากมูลนิธิอีกทีหนึ่ง หลังจากคุยกันได้ส่งเมลเป็นทางการหาเจ้าหน้าที่ในประเด็นเรื่องโครงการของรัฐบาลไทย
- เรื่อง wikithaiforum ที่รวมชาว uncyclopedia - เขาว่าแปลกดี
- เรื่อง asiaonline - เขาว่าแปลกดีอีกเช่นกัน โอกาสหน้าเราควรสื่อสารถึงมูลนิธิฯ ให้เร็วกว่านี้เพื่อให้มีการตอบสนองและแสดงจุดยืนที่เหมาะสม
- เรื่องนโยบายรัฐบาลใหม่แจกคอมพิวเตอร์ - เขาสนใจอยากจะร่วมมือกับรัฐบาลใส่วิกิพีเดียลงไป
--taweethaも 15:41, 4 สิงหาคม 2554 (ICT)
5 ส.ค. - ประชุมวันที่สอง
- ตัวอย่างกิจกรรมชุมชนวิกิพีเดียจากทั่วโลก
- meetup ทุกเดือน (หลายโครงการทั่วโลก)
- writing/photo contest (หลายโครงการทั่วโลก)
- Workshop สำหรับผู้ใช้ใหม่ (ไต้หวัน) WikiCon สำหรับผู้เขียนประจำ (ฟิลิปินส์) WikiAcad ผสมกันทั้งสองกลุ่ม (ควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย)
- พิมพ์ฺบทความออกมาแล้วไปติดตั้งไว้ตามที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง เจาะรูที่ตัวบทความให้คนเห็นภาพของจริงแทนที่จะพิมพ์ภาพไปด้วย (ฝรั่งเศส)
- จัดกิจกรรมร่วมกับ en:GLAM (industry sector)
- โครงการสำหรับผู้พิการทางสายตา
- ผมให้สัมภาษณ์กับมูลนิธิ เวลาเขาขอรับบริจาคเงิน อาจจะได้เห็นผมขึ้นแบนเนอร์ แต่ผมไม่ได้ขอแบบเหวี่ยงแห คุณช่วยกันได้ในหลายรูปแบบ ทั้งกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์ ถ้ามีกำลังทรัพย์พอและเห็นดีเห็นงามกับเนื้อหางานและตัวมูลนิธิก็ส่งเงินมาช่วยกันได้ อย่าหาว่าผมหาเรื่องไถตังค์คนอ่านนะครับ (โดยเฉพาะไถตังค์เด็ก) ที่ทำก็เพื่อเสรีภาพทางปัญญาและพยายามจะบอกเขาว่าเงินของมูลนิธิ ~ 30M USD ต่อปี จ้างลูกจ้างเกือบร้อยชีวิตปีละ ~ 10M USD ใช้เป็นค่าฮาร์ดแวร์อย่างที่หลายคนคาดหมายไม่ถึงครึ่ง แบบนี้บางคนในประเทศกำลังพัฒนาอาจไม่โอเค แต่มันก็สมเหตุสมผลในความคิดของหลายคนจากประเทศที่พัฒนาแล้ว คิดเอาเองว่าจะช่วยเงินหรือไม่ แต่ผมอัดวิดีโอพูด "ขอบคุณ" ให้แล้วทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
- ฟังบรรยายโครงการ Wikimedia offline
- พบกับแอดมินคนเวียดนาม/ญี่ปุ่น น่าจะแลกเปลี่ยนกันได้ในอนาคต เพราะพบปัญหาหลายอย่างที่คล้ายกัน
- เขาไม่เรียก admin ว่าผู้ดูแล เพราะทำให้คนเกรงกลัวและคิดว่าเป็นฝ่ายถูกเสมอ (รวมทั้งผู้ใช้ใหม่หลายคนมาถึงก็เสนอตัวกันเป็น admin กันทั่วหน้า) เขากลับเลือกใช้คำที่อ่อนน้อม (humble) กว่านั้น ออกไปทำนองว่าผู้ช่วยเหลือ อะไรทำนองนี้ ==> เราน่าจะเอาโจทย์นี้กลับมาคิดบ้าง และเปลี่ยนชื่อจากผู้ใช้เป็นคำอื่นที่ยกย่องด้วยไปเลยในคราวเดียวกัน ?
- ไม่สำเร็จ เสนอแล้วแต่ไม่สำเร็จ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล
- เขาไม่เรียก admin ว่าผู้ดูแล เพราะทำให้คนเกรงกลัวและคิดว่าเป็นฝ่ายถูกเสมอ (รวมทั้งผู้ใช้ใหม่หลายคนมาถึงก็เสนอตัวกันเป็น admin กันทั่วหน้า) เขากลับเลือกใช้คำที่อ่อนน้อม (humble) กว่านั้น ออกไปทำนองว่าผู้ช่วยเหลือ อะไรทำนองนี้ ==> เราน่าจะเอาโจทย์นี้กลับมาคิดบ้าง และเปลี่ยนชื่อจากผู้ใช้เป็นคำอื่นที่ยกย่องด้วยไปเลยในคราวเดียวกัน ?
--taweethaも 14:31, 5 สิงหาคม 2554 (ICT)
6 ส.ค. - ประชุมวันสุดท้าย
- en:Wikipedia:Article_Feedback_Tool (ในทางเทคนิคคือ MediaWiki extension) ไม่ใช่แค่ประเมินอย่างเดียว แต่เป็นวิธีหาคนเขียนใหม่ด้วย (ใส่อีเมลได้ ใส่ข้อคิดเห็นได้ และมีคำแนะนำว่าคุณแก้ไขบทความได้ มีการประเมินเชิงการตลาดว่ามัน "หลอก" คนมาช่วยแก้ไขวิกิพีเดียได้มากกว่าปุ่มแก้ไขด้านบน เพราะมันดู interactive) *** สำคัญมากในอนาคต โปรดติดตามตอนต่อไป ***
- เรื่องการพิมพ์บทความลงบอร์ดขนาดใหญ่แล้ววางตามที่สถานที่สำคัญ (ลบรูป แล้วจะดูให้มองสถานที่นั้นแทน) ของฝรั่งเศสประสบความสำเร็จดี เขากะว่าจะแสดงไว้ 7 วัน แต่มีการก่อกวน offline ด้วยการทำลายป้ายด้วย ประมาณวันที่ 5 (= vandalism มีทุกหนแห่ง ไม่ว่า online หรือ offline) ถ้าเราจะทำต้องคำนึงถึงปัญหานี้ด้วย
- เมื่อเกิด Chapter การจ้างาน การเงิน และ Bureaucracy จะเป็นปัญหาใหญ่ ไม่จำเป็นว่าคนที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขวิกิพีเดียจะบริหารจัดการได้ดี (นำเสนอโดย Argentina Chapter)
- วิกิมีเดียเยอรมนี ใหญ่ที่สุด (ลูกจ้าง 20 คน สมาชิก 700 คน) รวยที่สุด (งบปีละ EUR 1.8 ล้าน) เติบโตเร็วมาก (ปี 2004 เริ่มจากสมาชิก 7 คน) มีเงินมากเสียจนไม่รู้จะทำโครงการอะไร ==> ช่วย chapter อื่นๆ ด้วย
- Fundrasing แน่หล่ะทำทุกอย่างต้องใช้เงิน... ก็ต้องใช้วิธีทางการตลาดหาเงิน ต้อง optimize แบนเนอร์ให้มี click-though และ completion rate สูงที่สุด จะใช้รูปจิมมี่หรือรูปใคร ข้อความแบบไหนถึงจะได้เงินสูงสุดก็ทดลองกันไป ประเด็นที่สำคัญ/น่าสนใจมีดังนี้
- ผู้ฟังรายหนึ่ง เสนอให้มีวิธีบริจาคทางอื่นนอกจากใช้บัตรเครดิต เพราะคนในหลายประเทศ ไม่สามารถเข้าถึง payment facility แบบนี้ได้
- ผู้ฟังอีกรายหนึ่งตั้งประเด็นว่า ต่อให้ไม่มีเงินบริจาค หรือได้เงินไม่ถึง USD30 ล้าน วิกิพีเดียก็อยู่ได้ เพราะค่าฮาร์ดแวร์ไม่ได้แพงเช่นนั้น นอกจากนี้ถ้าทำเป็นลักษณะ en:endowment fund (กองทุนที่เก็บดอกผลอย่างเดียว) วิกิพีเดีย (แบบที่เห็นในปัจจุบัน) ก็จะอยู่ได้ตลอดไป ไม่ต้องไถเงินผู้บริจาค/ผู้อ่านทุกปี การเขียนโฆษณาว่าวิกิพีเดียจะตายแหลมิตายแหลถ้าขาดเงินบริจาคเป็นการชี้นำในทางที่ผิดเพื่อให้ได้เงินมา การนำเงินไปใช้ในโครงการใหม่ๆ เช่น mobile, global south, etc. ไม่ตรงวัตถุประสงค์และไม่ได้รับการรับรองจากผู้บริจาค
- ประธานบอร์ดวิกิมีเดียตอบว่า มูลนิธิมีเงินสำรองดำเนินการได้เพียงหกเดือน (ถ้าดำเนินการแบบปัุจจุบัน) หากไม่มีเงินบริจาคก็ต้องหยุดดำเนินงาน โครงการต่างๆ ที่ดูเหมือนฟุ่มเฟือย (โครงการวิกิพีเดียในประเทศกำลังพัฒนา และการพัฒนาซอฟต์แวร์) ได้รับการรับรองจากผู้บริจาค เพราะรายงานทางการเงินและรายงานการดำเนินการเผยแพร่สู่สาธารณชนอยู่แล้ว มีความโปร่งใส และนโยบายเหล่านี้ก็ได้มาจากวิกิเช่นกัน ไม่ใช่คนจากมูลนิธิคิดขึ้นมาเอง
- เวียดนามมีโครงการต่างๆ ของวิกิมีเดียที่ไม่เลวเลย ลองดูสถิติแล้วจะอึ้งว่าเขาทำได้ น่าจะได้คุยกันมากขึ้น แลกเปลี่ยนปัญหาและทางแก้
- จิมมี่ เวลส์: วิกิพีเดียภาษาใหญ่ๆ อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส เริ่มอิ่มตัวแล้ว จำนวนการแก้ไข/ผู้ใช้ที่ active ไม่เพิ่มขึ้น (หรือลดลงเล็กน้อย) เพราะว่าบทความสมบูรณ์มาก และเพราะผู้ใช้ใหม่ปรับตัวเข้ากับระบบวิกิพีเดียได้ยาก (นโยบายยาวเหยียด ไม่คุ้นภาษาวิกิ และระบบยอมให้ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ทำแล้วมาย้อนทีหลัง จิมมี่โดนย้อนการแก้ไขเมื่อเช้าโดยบอตเพราะลืมอ่านหน้า policy[1])
- ในบรรดาแม่แบบหรือเครื่องมือที่นิยมใช้กัน ส่วนใหญ่ใช้ทำให้เกิดความรู้สึกเชิงลบแก่ผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่ แม่แบบหรือเครื่องมือที่ใช้ในการชื่นชมหรือสร้างความรู้สึกที่ดีกลับมีน้อย ยิ่งแม่แบบหรือเครื่องมือซับซ้อน ความเป็นเชิงลบก็ยิ่งมีมาก
--taweethaも 16:24, 6 สิงหาคม 2554 (ICT)
ปกินกะ
- อาสาสมัครในโครงการวิกิพีเดียที่มาร่วมประชุมมีัลักษณะที่น่าสนใจดังนี้
- ชอบ en:Stroopwafel เป็นชีวิตจิตใจ (m:Association of Stroopwafel Addicts)
- เป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เสรีอื่นๆ เช่น en:Debian และ en:Firefox (เขาชวนให้ใช้ซอฟแวร์เสรีเป็นภาษาไทย ตรงไหนแปลห่วยให้ช่วยกันแจ้งแก้ไข กรณี firefox ให้แจ้งที่นี่) มองเผินๆ เหมือนจะปล้นคนจากวิกิมีเดียไปช่วยทำงานพวกนี้ แต่ผมคิดว่าพอยอมรับได้เมื่อเทียบกับปล้นคนจากวิกิพีเดียไปไร้สาระนุกรม
- ทุกครั้งที่ Sue Gardner เริ่มพูดในงานวิกิเมเนีย จะต้องมีเด็กทารกร้องไห้ทุกครั้ง
- บทความใหม่สืบเนื่องจากงานนี้ เขียนโดยชาววิกิพีเดียไทย (ผมไม่ได้เขียน) เข้าเสนอในโครงการรู้ไหมว่า
- ปฏิบัติการโซโลมอน โดยคุณ Horus (DYK - 7 ส.ค. 54)
- วิกิเมเนีย โดยคุณ B20180 (DYK - 14 ส.ค. 54)
- เมืองไฮฟา โดยคุณ B20180 (DYK - 14 ส.ค. 54)
- สายการบินแอลอัล โดยคุณ Pastman (DYK - 14 ส.ค. 54)
- ชาลอม โดยคุณ Saeng Petchchai (DYK - 10 ก.ย. 54)
--taweethaも 00:15, 9 สิงหาคม 2554 (ICT)
โครงการที่เราอาจทำได้
- รวมกลุ่มพูดคุยกัน
- ในประเทศไทย จะมีการประสานงานกันในช่วงวันที่เท่าไหร่ครับ แล้วเป็นช่วงที่ชาววิกิพีเดียไทยเตรียมสอบหรือเดินทางไปต่างจังหวัดหรือเปล่าครับ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะซ้อนช่วงนี้หรือไม่ จะมีการรวมตัวกันหรือแบ่งงานกันในรูปแบบใดบ้างครับ ส่วนในช่วงนี้ ผมจะปั่นบทความวิกิเมเนียให้ในอาทิตย์นี้ก็แล้วกันนะครับ --B20180 22:17, 4 สิงหาคม 2554 (ICT)
- คิดว่าต้องเริ่มจากการพูดคุยกันก่อน จะออนไลน์ก็ได้ จะ interactive ก็ได้ จะพบกันเป็นตัวๆ ก็ได้ แต่ถ้าคนจำนวนมาก วิธีที่ง่ายที่สุดจะเป็นออนไลน์ แต่ non-interative แบบที่เขียนในศาลาชุมชนอยู่นี่ ผมคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่การสร้างองค์กรมาเพื่อใส่ให้คนที่ต้องการมี ตำแหน่งประธาน รองประธาน เหรัญญิก เลขา ฯลฯ แต่สิ่งที่สำคัญคือพลักดันโครงการต่างๆ ที่มีประโยชน์ให้สำเร็จ หากจำเป็นต้องมีตำแหน่งหรือองค์กรก็ค่อยตั้งไปตามสมควร --taweethaも 02:52, 5 สิงหาคม 2554 (ICT)
- น่าจะทำ Thai-speaking Wikimedians mailing list อย่างใน https://lists.wikimedia.org/mailman/admin ใครช่วยอาสาเป็น moderator หน่อยได้ไหมครับ ? --taweethaも 04:00, 5 สิงหาคม 2554 (ICT)
- ทำเลยดีกว่า ชักช้าไปใย [2] (ช่วยกันโหวตด้วยจะได้ดำเนินการเร็วๆ) ส่วนเมื่อทำเสร็จแล้วไม่รู้ว่าจะคุยอะไรกันให้ดูข้อต่อไปครับ --taweethaも 04:18, 5 สิงหาคม 2554 (ICT)
- สำเร็จ --taweethaも 05:21, 7 สิงหาคม 2554 (ICT)
- ผมเห็นด้วยนะครับ ถ้าจะมีการแลกเปลี่ยน พูดคุยกันให้มากขึ้น รวมถึงการจะมีองค์กรซักรูปแบบหนึ่งขึ้นมาเพื่อเป็นตัวประสานงาน แต่ผมเห็นว่า ถ้าจะมีจริงๆ อยากให้ทำหน้าที่เป็น "คณะทำงาน" มากกว่าเป็น "คณะกรรมการ" หมายถึงว่า ตั้งใจทำงานจริงๆ ไม่ใช่ตั้งเพื่อให้มีชื่อว่าเป็น เท่านั้น --Pongsak ksm 17:53, 8 สิงหาคม 2554 (ICT)
- รื้อฟื้น Signpost (วิกิพีเดีย:สารวิกิพีเดีย โดยคุณ Horus) อาจเปลี่ยนชื่อและปรับรูปแบบ เช่น ใช้ชื่อใหม่ว่า วิกิพีเดียไทยรายเดือน ใส่แต่หัวข้อและลิงก์ ไม่ต้องเขียนเนื้อหาใหม่มาก ไม่แปลจากภาษาอื่น แค่ทำให้คนที่ไม่ค่อยมีเวลาได้ติดตามข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ นโยบายใหม่ที่เกิดขึ้น โครงการที่จะทำร่วมกัน โดยเน้นโครงการวิกิมีเดียภาษาไทยเป็นสำคัญ หรือ นโยบายจากส่วนกลางที่ส่งผลต่อโครงการภาษาไทย ฯลฯ
- เรื่องสารวิกิพีเดีย ถ้าจะให้มีประสิทธิภาพจริง คงต้องมีหน่วยสำหรับเขียนสารโดยเฉพาะ เหมือนเจอร์นัลลิสต์หรือคอลัมนิสต์ เพราะตอนนี้คุณฮอก็เขียนอยู่คนเดียว ขี้เกียจก็ขี้เกียจคนเดียว สารมันก็เลยขาดตอน --octahedron80 19:21, 4 สิงหาคม 2554 (ICT)
- Offline Wikimedia เพื่อแจกให้โรงเรียนต่างๆ ตัวอย่างจาก Kenya ทำโครงการอย่างนี้โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากมูลนิธิ (m:Grants:WM_KE/Wikipedia_for_Schools_Launch USD2600 และ m:Grants:WM_KE/Wikipedia_for_Schools_Project USD6620) โดยเลือกบทความจาก Swahili Wikipedia เขียนลง USB drive แล้วแจกไปตามโรงเรียน (ไม่ทำ CD เพราะคอมพิวเตอร์หลายเครื่องไม่มีเครื่องอ่านแผ่น) ผมคิดว่าเราอาจเชื่อมกับโครงการของรัฐบาลที่จะแจกคอมพิวเตอร์ได้ - งานนี้จะได้ไม่เหมือนกับ Asia Online และเป็นการขยายฐานการเข้าถึงวิกิพีเดียไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว รายละเอียดทางเทคนิคอ่านที่ http://openzim.org และ http://blog.wikimedia.org/tag/openzim
- สนับสนุนข้อนี้ --Tinuviel | พูดคุย 14:40, 5 สิงหาคม 2554 (ICT)
- เห็นด้วย และคิดว่าน่าจะเป็นข้อที่พอทำได้ครับ --Xiengyod 19:52, 5 สิงหาคม 2554 (ICT)
- เห็นด้วยในทางหลักการ แต่ในทางปฎิบัติคงใช้เวลานาน ไม่เกี่ยวกับเรื่องอุปกรณ์นะครับ แต่ผมเห็นว่าควรจะปรับปรุงคุณภาพของบทความที่จะแจกจ่ายให้อยู่ใน Assessment อย่างน้อยระดับดี คุณภาพหรือคัดสรร เพื่อให้ข้อมูลสามารถเอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาได้มากที่สุดครับ แม้เราจะแย้งว่าวิกิพีเดียเป็นคล้าย ๆ กับ Portal (เพราะก็ต้องอ้างจากหนังสืออีกที) แต่เรากำลังขยาย Accessibility ไปให้ทั่วถึง ดังนั้นก็ควรจะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในระดับหนึ่งครับ --∫G′(∞)dx 15:32, 8 สิงหาคม 2554 (ICT)
- ประเด็นนี้น่าสนใจ ทำให้นึกถึงกรณีทำการบ้านส่งของหลายมหาวิทยาลัย ซึ่งก็มีบทความดีๆ หลายบทความเกิดจากการทำการบ้าน เช่นบทความในกลุ่มธรณีวิทยาในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ ไหนๆ ถ้าจะใช้วิกิพีเดียเป็นที่ส่งการบ้าน ทำโครงการความร่วมมือให้เป็นเรื่องเป็นราว น่าจะดี --Tinuviel | พูดคุย 17:57, 8 สิงหาคม 2554 (ICT)
- เห็นด้วยและน่าสนใจครับ ในตัวหลักการถือว่าดีที่เดียวครับ แต่เราต้องปรับปรุงเนื้อหาให้มีความน่าเชื่อถือขึ้น จากประสบการณ์สอนและให้นักเรียนหาข้อมูลด้วยตนเองนั้น พบว่าเด็กจะมีความเชื่อถือในเนื้อหาของวิกิพีเดียมาก โดยมิได้ตรวจสอบข้อมูลหรือแหล่งอ้างอิงใดๆก่อนเลย ประมาณว่า copy มาทั้งบทความ แม้กระทั่งคำว่า "แก้" ยังลืมลบออก หากเราจะเผยแผ่วิกิพีเดียให้เข้าสู่โรงเรียนจริงนั้น เรื่องของข้อมูลต้องตรง เนื้อหาง่ายๆ สั้นๆ กระชับ เพราะเด็กไม่ชอบตัวหนังสือเยอะๆ เปิดมาก็ปิดหนี และที่ผมแนะนำคือ "โครงการวิกิประเทศไทย" ทำได้จะดีครับจะขอเอาไปลงในห้องสมุด --pastman 13:42, 9 สิงหาคม 2554 (ICT)
- โดยส่วนตัวของผมเอง ผมเห็นว่าน่าจะมีการรวมกลุ่มผู้ใช้ที่สนใจเรื่องเดียวกันเป็นกลุ่มย่อย พัฒนาบทความในกลุ่มย่อยของตน (อาจเป็นสถานีย่อย) เพื่อเพิ่มคุณภาพความน่าเชื่อถือเสียก่อน รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยเฉพาะเรื่องนั้นๆให้เป็นแบบเดียวกัน แล้วจึงแจกจ่ายแบบออฟไลน์ ทีละกลุ่มไป จะสร้างความน่าเชื่อถือ และ feed back ที่ดีต่อวิกิพีเดียได้ ดีกว่าแจกไปเป็นชุดใหญ่ ดีบ้าง แย่บ้างปนกันไป ซึ่งผมมาช่วยเขียนวิกิพีเดียจนถึงเดี๋ยวนี้ ก็เพราะความประทับใจแบบนี้เหมือนกันครับ สำหรับผม ยินดีช่วยในเรื่องบทความทางด้านภาษาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครับ --Saeng Petchchai 13:59, 9 สิงหาคม 2554 (ICT)
- ปรับโครงสร้างโครงการวิกิมีเดียในภาษาไทย
- ต้องหาคนอ่านคนเขียนมากขึ้น ทำอย่างไรเดี๋ยวค่อยว่ากัน ลองดูข้างบน
- ลบโครงการบางโครงการที่ไม่จำเป็นในภาษาไทย m:Proposals_for_closing_projects
- http://th.wikinews.org (มีการเสนอให้ปิดและอนุมัติแล้ว ควรเสนอใหม่ให้ลบแทน)
- ปิดกับลบต่างกันอย่างไร? ปิดหมายถึงยังมีเว็บอยู่แต่ไม่ให้ใส่ข้อมูลเพิ่มเหรอครับ ลบหมายถึงหายไปจากโลกเลยเหรอครับ --octahedron80 22:28, 5 สิงหาคม 2554 (ICT)
- ปิดก็คือสถานะปัจจุบัน ไม่สามารถแก้ไขได้อีก (ยกเว้นพวก Steward มาแก้หน้าผู้ใช้โดยไม่รู้ว่าโครงการเขาปิดแล้ว) ลบคือหายไปจากโลกเลย (ยังไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะโครงการที่ปิดไปแล้วมันประกาศไม่ได้ แต่มันต้องประกาศก่อนจึงพิจารณาลบได้) อีกทางเลือกคือขอแอดมินชั่วคราวมาเขียนหน้าแรกทำนองว่าโครงการปิดแล้วโอกาสหน้าพบกันใหม่เมื่อมีความพร้อม (ตัวอย่างตามหน้านี้) และลบบทความข่าวเดิมๆ ออกเสีย เพราะไม่ค่อยได้เรื่องกันสักเท่าใด และทำหน้าแรกให้เชื่อมโยงกลับมาวิกิพีเดียและโครงการอื่นๆ --taweethaも 01:08, 6 สิงหาคม 2554 (ICT)
- ไม่สำเร็จ ปัจจุบัน Thai wikinews กลับเช้า incubator ไปแล้ว คงไม่ต้องปิดแต่อย่างใด --taweethaも (พูดคุย) 07:10, 26 มีนาคม 2556 (ICT)
- http://th.wikinews.org (มีการเสนอให้ปิดและอนุมัติแล้ว ควรเสนอใหม่ให้ลบแทน)
- ขอ adminship ให้กับคนในโครงการที่เหลือ (ที่ร้าง) เพื่อต่อต้าน spam/vandalism - ถามคุณ B20180 แล้ว เห็นว่าพอจะยอมรับหน้าที่ได้ - จึงขอไปทาง meta มีกำหนด 1 ปี - m:Steward_requests/Permissions จะได้รับการแต่งตั้งในวันที่ 12 ส.ค. ถ้าไม่มีผู้คัดค้าน
- http://th.wikisource.org
- http://th.wiktionary.org
- http://th.wikibooks.org
- http://th.wikiquote.org
- สำเร็จ ได้รับอนุมัติทุกโครงการแล้ว โครงการละ 3 เดือน เนื่องจากไม่ได้ 1 ปีตามที่ขอ อาจจัดเป็น rotation หรือต่ออายุในโอกาสต่อไป
- ส่งเสริมผู้ใช้ที่มี potential สูงในวิกิพีเดียไทยให้มี commitment/engagement มากขึ้น โดยเสนอเป็นผู้ดูแลใหม่สองท่าน (Xiengyod และ Pongsak ksm)
- สำเร็จ ได้รับเลือกจากชุมชนและแต่งตั้งแล้วโดยคุณ Sry85 --taweethaも 13:46, 20 สิงหาคม 2554 (ICT)
--taweethaも 15:51, 3 สิงหาคม 2554 (ICT)