ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์/มิถุนายน 2552

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


excel

ต้องการเขียนสูตรเปลี่ยนตัวท้ายสุดของข้อความ จาก m เป็น m. ทำอย่างไรครับ ขอบคุณครับ (ข้อความพันกว่ารายการ) พิเศษ:เรื่องที่เขียน/222.123.152.153

ผมไม่แน่ใจเคสของคุณนะ แต่ว่าวิธีการคือให้กด ctrl +h จะมีหน้าต่างย่อย "ค้นหาและแทนที่ขึ้นมา" ให้ใส่ m ในช่อง "สิ่งที่ค้นหา" และ m. ใน "สิ่งที่ต้องการแทนที่" แล้วเลือก "แทนที่" ครับ จากนั้นคุณต้องพิจารณาเป็นจุด ๆ ที่โปรแกรมถามไปว่าใช่ส่วนที่คุณต้องการแก้หรือเปล่าครับ การเลือก "แทนที่ทั้งหมด"นั้นให้ใช้ในกรณีที่คุณมั่นใจว่า ข้อความที่ค้นหานั้นต้องการให้ถูกแทนที่ทั้งหมดครับ ระวังให้ดี

เทคนิกอื่น ๆ นั้น ผมแนะนำเว็บของไมโครซอฟ์ท ออฟฟิตเองครับ http://office.microsoft.com/th-th/default.aspx --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 11:31, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)

ปริมาณฟอสฟอรัสในเนื้อแกะที่ควรไรบต่อวันมีปริมาณเท่าไร?

อยากจะทราบว่า ในเนื้อแกะมีฟอสฟอรัสใน 1จาน?

ชลลดา--203.146.145.186 11:38, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)

Michael Faraday

Michael Faraday คือใคร ----118.173.2.133 12:23, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)

ดูที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Michael_Faraday (บทความภาษาอังกฤษในวิกิพีเดีย) และหากมีการแปลเนื้อหาเป็นภาษาไทยจากหน้าวิกิพีเดียดังกล่าวเพิ่มเติม ก็สามารถใส่ (เฉพาะที่แปลเป็นไทยแล้ว) ได้ที่บทความไมเคิล ฟาราเดย์ เช่นกันครับ (ในกรณีที่จะใส่เนื้อหาเพิ่มลงไปในวิกิพีเดียภาษาไทยนั้น ขอย้ำว่าควรเป็น 1. เนื้อหาที่แปลมาจากวิกิพีเดีย ไม่ว่าจะเวอร์ชันภาษาใดก็ตาม หรือ 2. เป็นการเรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งข้อมูลอื่น ดังเหตุผลในหน้า วิกิพีเดีย:ลิขสิทธิ์ (ตามลิงก์ แล้วเลื่อนลงมา) ครับ) --lovekrittaya (พูดคุย) 13:48, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)

Iodine value เป็นค่าที่ได้จากการทำปฏิกิริยาของไอโอดีนที่ตำแหน่งพันธะใดของสาร?

ไอโอดีนจะเข้าทำปฏิกิริยากับสารที่ตำแหน่งพันธะคู่ หรือพันธะสาม ของคาร์บอน ใช่หรือไม่คะ นอกจากนี้ไอโอดีนสามารถเข้าทำปฏิกิริยากับสารอะโรมาติกได้หรือไม่คะ --58.9.132.91 01:50, 5 มิถุนายน 2552 (ICT) Lek

เนื่องจากไอโอดีนเป็นธาตุหมู่ 7 ซึ่งขาดอิเล็กตรอนเพียงตัวเดียวจะครบ 8 ดังนั้นไอโอดีนหนึ่งอะตอมสามารถสร้างพันธะเดี่ยวกับอะตอมของธาตุอื่นได้เพียงอันเดียวเท่านั้น ส่วนคาร์บอนเป็นธาตุหมู่ 4 ขาดอิเล็กตรอนอีก 4 สามารถเกิดพันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสามก็ได้ ขึ้นอยู่กับอะตอมอื่นที่มาต่อว่าจะให้อิเล็กตรอนมาเท่าไร ตัวอย่างสารที่มีแต่ C กับ I เช่น Carbon tetraiodide (CI4) --Octra Dagostino 01:56, 5 มิถุนายน 2552 (ICT)

สำหรับเรื่องการต่อไอโอดีนเข้ากับสารอะโรมาติกนั้นทำได้อยู่แล้ว เพราะอะตอมไอโอดีนต้องการพันธะเดี่ยวหนึ่งพันธะ หากเอาไปแทนที่อะตอมของไฮโดรเจนก็จะลงตัว เพราะอะตอมไฮโดรเจนก็เกิดพันธะเดี่ยวเหมือนกัน เช่นสารนี้ Iodobenzene (C6H5I) --Octra Dagostino 02:16, 5 มิถุนายน 2552 (ICT)

ลืมตอบเรื่องสำคัญไปครับ Iodine value คือปริมาณในหน่วยกรัมของไอโอดีนที่สามารถดูดกลืนโดยสารอื่น 100 กรัม ไอโอดีนจะไปแยกพันธะคู่ในสารอื่นที่สามารถรวมตัวกับไอโอดีนได้ และสีของไอโอดีนก็จะหายไป ไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องเป็นพันธะคู่ของคาร์บอน--Octra Dagostino 12:32, 5 มิถุนายน 2552 (ICT)

Iodine value มักใช้กับน้ำมันนะครับ เป็นการบ่งบอกความไม่อิ่มตัวของน้ำมัน เป็นการบอกปริมาณพันธะคู่หรือพันธะสามที่อยู่ในน้ำมัน ปกติแล้วไม่คำนึงถึงสารอะโรมาติก แต่ถ้าจะให้พูดถึงแล้วขอบอกว่าไม่ทำปฏิกิริยาครับ เพราะว่าวงแหวนอะโรมาติกมีความเสถียรกว่าปกติจากการเกิด resonance ความจริงแล้วไม่ใช่เพียงแต่ Iodine ที่จะทำหน้าที่นี่ได้ อันหมู่ฮาโลเจนทั้งหมู่ก็ทำได้ และทางปฏิบัติแล้ว เราจะไม่ใช้ไอโอดีนในการทำปฏิกิริยาเพราะมันช้า พึงใช้สารที่ว่องไวต่อปฏิกิริยากว่า และเมื่อได้ผลการทดลองแล้วจึงคำนวณกลับเป็นปริมาณไอโอดีนในภายหลัง --taweethaも 19:30, 6 มิถุนายน 2552 (ICT)


ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบค่ะ ขอบคุณที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆนะคะ ว่าแต่ ที่บอกมาว่าเราจะไม่ใช้ไอโอดีนในการทำปฏิกิริยาเพราะมันช้า พึงใช้สารที่ว่องไวต่อปฏิกิริยากว่า และเมื่อได้ผลการทดลองแล้วจึงคำนวณกลับเป็นปริมาณไอโอดีนในภายหลัง มันทำอย่างไรคะ ใช้สารอะไรแทน คำนวณอย่างไร บอกได้มั้ยคะ คือว่าจะไปทดลองน่ะค่ะเพื่อตรวจสอบคุณภาพของน้ำมันจากพลาสติกที่ได้จากการไพโรไลซิส กำลังหาว่าคุณสมบัติใดบ้างที่ควรจะตรวจสอบ และวิธีที่ใช้ตรวจสอบน่ะค่ะ คืออยากรู้ว่าคุณสมบัติจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างอ่ะค่ะ ถ้ามีข้อมูลก็ช่วยแนะนำบ้างนะคะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ --Lek

อ่านภาษาอังกฤษหรือเปล่าครับ ลิงก์ให้ไว้ข้างบนอยู่แล้ว en:Iodine value มีความว่า In a typical procedure the acid is treated with an excess of the Hanus solution which is a solution of iodobromine (BrI) (or Wij's iodine solution which a solution of iodine monochloride (ICl) in glacial acetic acid). Unreacted iodobromine (or iodine monochloride) is reacted with potassium iodide which converts it to iodine. The iodine concentration is then determined by titration with sodium thiosulfate. ถ้าอยากทำให้ได้มาตรฐานก็ใช้วิธีของ ASTM อีกเช่นกัน ก็ต้องบอกอีกว่าอ่านภาษาอังกฤษครับ หรือไม่เข้าไปหาอาจารย์เคมีวิเคราะห์ในมหาวิทยาลัย แต่ถ้าคุณคนถามเป็นอาจารย์เคมีวิเคราะห์ในมหาวิทยาลัยเสียแล้ว ก็คงจบกันแค่นี้ --taweethaも 23:23, 23 มิถุนายน 2552 (ICT)

แร่แพลทินัมพบในจังหวัดใด --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 113.53.176.233 (พูดคุย | ตรวจ) 13:43, 6 มิถุนายน 2552 (ICT)

เซตว่างเป็นเซตจำกัดหรือเซตอนันต์ เพราะเหตุใด

เซตว่างเป็นเซตจำกัดหรือเซตอนันต์ เพราะเหตุใด *-* --114.128.82.23 18:28, 8 มิถุนายน 2552 (ICT)

จำกัดแน่นอน เพราะจำนวนสมาชิกเป็นศูนย์ ศูนย์ไม่ใช่อนันต์ --taweethaも 18:31, 8 มิถุนายน 2552 (ICT)
อนันต์ (infinite/infinity) หมายความว่า มีมากจนนับไม่ได้ ไม่ได้หมายถึง ไม่มีจึงนับไม่ได้ --Octra Dagostino 09:22, 9 มิถุนายน 2552 (ICT)
(จำกัด) เพราะ ไม่มีจำนวนสมาชิก

หลักเกณฑ์ของตัวหารที่มีค่าน้อย

อยากได้ที่มาของหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

  1. ทุกจำนวนหารด้วย 1 ลงตัวเสมอ คนถามไม่ได้ถาม แต่แทรกให้เลขข้อตรงกับตัวเลข
  2. จำนวนหารด้วย 2 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ เลขโดดหลักสุดท้าย หารด้วย 2 ลงตัว
  3. จำนวนหารด้วย 3 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ ผลบวกของเลขโดดทุกหลัก หารด้วย 3 ลงตัว
  4. จำนวนหารด้วย 4 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ จำนวนที่เป็นเลขโดด 2 หลักสุดท้าย หารด้วย 4 ลงตัว
  5. จำนวนหารด้วย 5 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ เลขโดดหลักสุดท้ายคือ 0 หรือ 5
  6. จำนวนหารด้วย 6 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ จำนวนนั้นหารด้วย 2 และ 3 ลงตัว
  7. จำนวนหารด้วย 7 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ ผลลัพธ์ของการนำ 2 เท่าของเลขโดดหลักสุดท้าย ไปลบจำนวนที่นำหลักสุดท้ายทิ้งไป หารด้วย 7 ลงตัว (เช่น 364 หารด้วย 7 ลงตัว เพราะ 36-2×4 = 28 หารด้วย 7 ลงตัว)
  8. จำนวนหารด้วย 8 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ จำนวนที่เป็นเลขโดด 3 หลักสุดท้าย หารด้วย 8 ลงตัว
  9. จำนวนหารด้วย 9 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ ผลบวกของเลขโดดทุกหลัก หารด้วย 9 ลงตัว
  10. จำนวนหารด้วย 10 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ เลขโดดหลักสุดท้ายคือ 0
  11. จำนวนหารด้วย 11 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ ผลบวกสลับของเลขโดดทุกหลัก หารด้วย 11 ลงตัว (เช่น 182919 หารด้วย 11 ลงตัวเพราะ 1-8+2-9+1-9 = -22 หารด้วย 11 ลงตัว)
  12. จำนวนหารด้วย 12 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ จำนวนนั้นหารด้วย 3 และ 4 ลงตัว
  13. จำนวนหารด้วย 13 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ ผลลัพธ์ของการนำ 9 เท่าของเลขโดดหลักสุดท้าย ไปลบจำนวนที่ลบหลักสุดท้ายทิ้งไป หารด้วย 13 ลงตัว (เช่น 858 หารด้วย 13 ลงตัว เพราะ 85-9×8 = 13 หารด้วย 13 ลงตัว)
  14. จำนวนหารด้วย 14 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ จำนวนนั้นหารด้วย 2 และ 7 ลงตัว
  15. จำนวนหารด้วย 15 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ จำนวนนั้นหารด้วย 3 และ 5 ลงตัว

จาก nut atthakorn --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 117.47.128.81 (พูดคุย | ตรวจ) 22:11, 13 มิถุนายน 2552 (ICT)

  • ข้อที่ง่ายที่สุด คือ พวกที่ใช้เงื่อนไขว่าหารด้วยเลขอื่นลงตัว 6 12 14 15 เป็นการแยกตัวประกอบ เช่น 2*3=6 3*4=12 ....
  • ถัดมาคือพวกพิจารณาเลขหลักสุดท้าย ได้แก่ 2 5 10 ถ้าพิจาณาแยกจำนวน x ออกเป็น 10b+a พิจารณาแต่ a ก็พอ เพราะส่วน 10b นั้นคือ 2*5*a หารด้วย 2 หรือ 5 หรือ 10 ลงตัวอยู่แล้ว
  • ถัดมาคือพวกพิจารณาสองหลักสุดท้าย ได้แก่ 4 ถ้าพิจารณาแยกจำนวน x ออกเป็น 100b+a พิจารณาแต่ a ก็พอ เพราะส่วน 100b นั้นคือ หารด้วย 4 ลงตัวอยู่แล้ว
  • ถัดมาคือพวกพิจารณาสามหลักสุดท้าย ได้แก่ 8 ถ้าพิจารณาแยกจำนวน x ออกเป็น 1000b+a พิจารณาแต่ a ก็พอ เพราะส่วน 1000b นั้นคือ หารด้วย 8 ลงตัวอยู่แล้ว
  • ถัดมาคือพวกพิจารณาผลบวกรวมทุกหลัก ได้แก่ 3 9 ถ้าพิจารณาแยกจำนวน x ออกเป็น 100c+10b+a = 99c+9b+ (a+b+c) พิจารณาแต่ a+b+c ก็พอเพราะส่วน 99c+9b หารด้วย 3 หรือ 9 ลงตัวอยู่แล้ว
  • ถัดมาเป็นพวกที่เอาหลักหลังออกไป ได้แก่ 7 และ 13
    • ถ้าพิจารณาแยกจำนวน x ออกเป็น 10b+a = 7b+3b+a พิจารณาแต่ 3b+a ว่าหารด้วย 7 ได้ลงตัวก็พอ ถ้า 3b+a หารด้วย 7 ลงตัว 9b+3a ก็เช่นกัน เอา 10b+a ลบด้วย 9b+3a จะได้สูตรของเลข 7
    • ถ้าพิจารณาแยกจำนวน x ออกเป็น 10b+a = 13b-3b+13a-12a พิจารณาแต่ -3b-12a ว่าหารด้วย 13 ได้ลงตัวก็พอ ถ้า -3b-12a หารด้วย 13 ลงตัว b+4a=b+13a-9a ก็เช่นกัน พิจารณาเพียง b-9a จะได้สูตรของเลข 13
  • สุดท้ายยากหน่อย คือ 11 แยกจำนวน x ออกเป็น 1000d+100c+10b+a=1001d+99c+11b+ (-d+c-b+a) เทคนิคเดิมคือ 1001 99 11 หารด้วย 11 ลงตัวแล้ว จึงพิจารณาแต่ผลบวกสลับ อยากไรก็ตาม ต้องพิสูจน์อีกว่า 1001 99 11 หารด้วย 11 ลงตัวโดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
    • กรณี 99 9999 999999 เห็นชัดเจนอยู่แล้วว่ามาจาก 11 คูณด้วย 9 909 90909 ...
    • กรณี 11 1001 100001 เห็นว่ามาจาก 11 คูณด้วย 1 91 9091 909091 มองดีๆ แบบนี้จะง่ายกว่าคือ 1001=11+990=11*91=11* (90+1) 100001=1001+99000=11*9091=11* (9000+91)

จบสักที --taweethaも 23:03, 13 มิถุนายน 2552 (ICT)

ทั้งหมดข้างบนนั่นเป็นผลสรุปจากการสังเกตครับ --Octra Dagostino 12:28, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)

ดูเพิ่มเติมที่ ตัวหาร ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต การแยกตัวประกอบ ที่แท้คำถามก็มาจากวิกิพีเดียนี่เอง --taweethaも 14:29, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)

0 องศาเซลเซียส

0 องศาเซลเซียสเท่ากับกี่องศาฟาเรนไฮต์ ครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 117.47.28.160 (พูดคุย | ตรวจ) 12:19, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)

32°F --Octra Dagostino 12:29, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)

ถ้าเราจะสร้างตึกให้สูงถึงชั้นบรรยากาศที่มีสภาพไร้น้ำหนักจะต้องใช้เวลาสักกี่ปี

ถ้าเราจะสร้างตึกให้สูงถึงชั้นบรรยากาศที่มีสภาพไร้น้ำหนักจะต้องใช้เวลาสักกี่ปี _-_

--203.156.38.132 10:18, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)

เวลาหน่ะ ไม่สำคัญหรอกครับ สำคัญที่งปประมาณ แต่ที่สำคัญ เนื่องจากว่าตึงที่คุณว่ามันจะสูงมาก คงจะโงนน่าดู ซึ่ง ความเป็นไปได้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน ทำไม่ได้ครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 17:16, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)

แต่จะว่าไปแล้ว ณ เวลานี้ เราก็อยู่ในชั้นบรรยากาศนี่เนอะ แต่ว่าจุดที่มีสภาพไร้น้ำหนักนี่ ก็นอกโลก นอกชั้นบรรยากาศแหละครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 17:17, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)

ตึกสูงขนาดนั้น คงเจอแรงเหวี่ยงมหาศาลเมื่อโลกหมุน ยอดเขาที่ว่าสูงที่สุดในโลก ยังมีขนาดเท่าเม็ดทรายที่ติดอยู่บนลูกบอลเท่านั้นเอง --Octra Dagostino 11:03, 23 มิถุนายน 2552 (ICT)

ถ้าสร้างจากตัวโลกขึ้นไป มันก็คงต้องเป็นแท่งที่ยาวมากและมีมวลมาก อันว่ามีมวลมาก... มันก็หมายความว่าเราะไม่มีทางจะได้สภาวะไร้น้ำหนัก เพราะมวลตึกมันสร้างแรงดึงดูดซะเอง นอกนากนี้จะพูดว่า สภาวะไร้น้ำหนัก (en:zero-gravity) คงจะเป็นไปได้ยาก ที่อาจพบเป็นไปได้อาจจะเป็น ภาวะที่ผลของแรงโน้มถ่วงมีน้อย (en:microgravity) --taweethaも 11:22, 23 มิถุนายน 2552 (ICT)

1/2ออนซ์มีกี่ซีซีค่ะ (ลลิดา)

28.413 063 มิลลิลิตร หารด้วยสองครับ --taweethaも 08:52, 20 มิถุนายน 2552 (ICT)

ตอบคุณลลิดา เข้า Google แล้วพิมพ์ในช่องค้นหาว่า 0.5 ounce in cc แล้วคลิกปุ่ม"ค้นหาด้วย Google" --115.67.232.207 13:20, 20 มิถุนายน 2552 (ICT)
ขอบคุณคุณไอพีที่มาช่วยตอบ แต่ว่ามันไม่เหมือนกันครับ ตัวเลขผมยกให้มามันเป็น Imperial fluid ounce แต่ใช้ Google มันกลายเป็น US ไปเฉยเลย --taweethaも 12:54, 22 มิถุนายน 2552 (ICT)
ใช้คำนี้แทนครับ "0.5 uk ounce in cc" หวังว่าคงจะได้คำตอบ ถ้าไม่ใส่ uk มันจะเป็น us แน่นอนอยู่แล้ว เพราะกูเกิลตั้งอยู่ที่อเมริกา --Octra Dagostino 10:58, 23 มิถุนายน 2552 (ICT)

pressure gauge=80KPa,z=เท่าไร

Both a gauge and a manometer are attached to a gas tank to measure its pressure. If the reading on the pressure gauge is 80 KPa, determine the distance between the twq fluid levels of the manometer if the fluid is (a) mercury(rho=13600kg/m^3) or (b) water (rho=1000kg/m^3) (h=!)เท่าไร-->--125.25.36.63 02:06, 20 มิถุนายน 2552 (ICT)

This approach is going to be generalised for easy of usage.

Refer to basic fundamental pressure equation

P = ρ g h -- eq 1

where:

P is the pressure (kPa)
ρ is the liquid density (kg / m^3)
g is the local gravitational accerelation (m/s^2)
h is the liquid head or level difference (m)

Donate subscript w as water and hg is mercury

As pressure is constant for measuring, thus

Pw = Phg

ρ w g hw = ρhg g hhg

Since both of them are applied on the same place, local gravitational accerelation is equal. The equation can be reformed as shown below.

ρ w hw = ρhg hhg

Then Porpotion can be found below.

ρ whg= hhg / hw

liquid's densities are given, then replace into the equation.

hhg / hw = 1000/13600 --- eq 2

Then replace given values into eq1 and used the result for the eq 2.

Just a cake!

Oh! Be aware! I entrapped some mistake here, preventing copy and paste action.--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 17:39, 21 มิถุนายน 2552 (ICT)

วิทยาศาสตร์ประยุกต์คืออะไร มีอะไรบ้าง

วิทยาศาสตร์ประยุกต์คืออะไร มีอะไรบ้าง--118.173.108.95 10:51, 20 มิถุนายน 2552 (ICT)

ทางแรกเปิดราคาขายจักรยานไว้2600บาทโดยคิดกำไรไว้30เปอร์เซนต์อยากทราบว่าจะหาต้นทุนของจักรยานได้ยังไงครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 222.123.123.217 (พูดคุย | ตรวจ) 14:30, 21 มิถุนายน 2552 (ICT)

คิดว่า 2600 บาทนั่นคือ 130% จะได้ ต้นทุน =100% = 2000 บาท --202.28.27.3 16:32, 21 มิถุนายน 2552 (ICT)
2600 รวมภาษีมูลค่าเพิ่มหรือยัง? ปกติราคาขายของจะรวมอยู่แล้ว การคิดในข้อนี้จึงต้องหักแวทไปก่อน แต่ด้วยตัวเลขที่ให้มาเหมือนโจทย์เลขในชั้นเรียนทั่วไป ไม่เหมือนในชีวิตจริงเท่าไหร่ --taweethaも 14:29, 24 มิถุนายน 2552 (ICT)

คุณสมบัติของน้ำมันที่ผลิตได้จากพลาสติกโดยการไพโรไลซิสที่ควรต้องตรวจสอบ

คือว่าจะไปทดลองน่ะค่ะเพื่อตรวจสอบคุณภาพของน้ำมันจากพลาสติกที่ได้จากการไพโรไลซิส กำลังหาว่าคุณสมบัติใดบ้างที่ควรจะตรวจสอบ และวิธีที่ใช้ตรวจสอบน่ะค่ะ คืออยากรู้ว่าค่าหรือลักษณะของคุณสมบัติจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างอ่ะค่ะ ถ้ามีข้อมูลก็ช่วยแนะนำบ้างนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ --Lek

--58.9.125.239 02:05, 23 มิถุนายน 2552 (ICT)

จะเอาน้ำมันไปทำอะไรหล่ะครับ? ไปทำเชื้อเพลิง? และใช้อะไรเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาหล่ะครับ? ซีโอไลต์หรือเปล่า? เห็นทำอยู่ที่ลาดกระบัง สมมติว่าจะไปใช้ทำอย่างที่ว่า สิ่งที่ควรวัดคร่าวๆ คือไปตรวจดูว่ามีสารประกอบประเภทอัลเคนที่มีคาร์บอน.. อะตอม อยู่สักเท่าไหร่ มีพวกไม่อิ่มตัวธรรมดาเท่าไหร่ และมีอะโรมาติกเท่าไหร่ มาตรฐานจริงจังพร้อมวิธีตรวจวัดอย่างละเอียดให้ไปดูจากมาตรฐาน ASTM ค้นจากเน็ตก่อน และจะไปเอาของจริงคงต้องไปเอาที่จุฬา ห้องสมุดวิศวะฯ สมัยที่ไปเหมือนจำได้ว่าไม่ต้องจ่ายค่าเข้าและเปิดวันเสาร์ด้วย คร่าวๆ ประมาณนี้ครับ ส่วนที่ถามว่าใช้อะไรเร่งปฏิกิริยา เพราะอาจจะต้องวัดพิเศษเพิ่มเติมตรงที่ว่าของที่เราใส่ไปเร่งปฏิกิริยานั้นมันปนเปื้อออกมาในผลิตภัณฑ์สักกี่มากน้อย--taweethaも 23:18, 23 มิถุนายน 2552 (ICT)

มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ที่นักวิทยาศาสตร์จะสร้างสายเคเบิลขนาดเล็ก เพื่อเป็นลิฟไ

มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่นักวิทยาศาสตร์จะสร้างสายเคเบิลขนาดเล็ก เพื่อเป็นลิฟไปสู่อวกาศ--aum PLE19-->--202.44.130.19 14:18, 24 มิถุนายน 2552 (ICT)

ยากครับ แค่น้ำหนักสายเคเบิลก็คงมากมหาศาลแล้ว อีกประการหนี่งคือมันต้องยีดกับอะไรบางอย่าง อะไรบางอย่างนี่ กว่าจะส่งขึ้นไปได้ก็อีกยากโข อยากเดินทางข้ามไปข้ามมาในอวกาศเร็วๆ ทำไมไม่ใช้ รูหนอน (en:wormhole) หล่ะครับ --taweethaも 14:24, 24 มิถุนายน 2552 (ICT)

มองในแง่ของโครงสร้างเพื่อการสร้างลิฟต์สู่อวกาศ คำตอบคือ เป็นไปไม่ได้ครับ ส่วนในแง่ของสายเคเบิลที่สามารถรับน้ำหนักได้มหาศาลนั้น กำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยครับ ส่วนจะไปขนาดไหนนั้น ยังไม่ทราบ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 17:57, 24 มิถุนายน 2552 (ICT)

Nootkatone

อยากทราบว่า สาร Nootkatone คืออะไร มีประโยชน์อะไร และใช้ทำอะไร --115.67.102.122 22:20, 26 มิถุนายน 2552 (ICT)]]

ตามนี้ en:Nootkatone เป็นคีโตนพบได้ในเกรปฟรุต มี 3 en:chiral center--taweethaも 15:28, 27 มิถุนายน 2552 (ICT)

distillation

วิธี squeeze-steam distillation และ direct-steam distillation มีวิธีการทำแบบไหน และแตกต่างกันอย่างไร--115.67.102.122 22:30, 26 มิถุนายน 2552 (ICT)

อ่านที่นี่ en:Fragrance extraction และที่นี่ (โหลดบทความวิจัยต้องใช้เน็ตมหาวิทยาลัยครัย หรือถ้ารวยก็ซื้อเองไปเลย) squeeze-steam distillation เหมือนจะมาใหม่และไม่ใช่เทคนิคหลัก แต่ทำให้นึกถึง en:Screw_press และ en:Ram press (food) --taweethaも 15:35, 27 มิถุนายน 2552 (ICT)

ร่างกายลำเลียงแร่ธาตุเข้าสู่เซลล์วิธีใดเป็นส่วนใหญ่

ร่างกายลำเลียงแร่ธาตุเข้าสู่เซลล์ด้วยวิธืใดเป็นส่วนใหญ่--124.121.63.114 15:15, 28 มิถุนายน 2552 (ICT)

  1. แบบไม่ใช้พลังงาน ได้แก่ การแพร่ (en:diffusion) และ ออสโมซิส (en:osmosis) (= การแพร่ของน้ำ)
  2. แบบใช้พลังงานได้แก่ en:phagocytosis (การกินของเซลล์) และ en:pinocytosis (การดื่มของเซลล์)

ถามว่าอะไรส่วนใหญ่ ยากพอสมควร แต่ต้องถามว่าแร่ธาตุที่คุณกล่าวถึงหมายถึงอะไรก่อนครับ --taweethaも 16:00, 28 มิถุนายน 2552 (ICT)

ด่วนๆๆๆช่วยแปลข้อความนี้ให้หน่อย

TEOS, NH4OH aqueous solution and ethanol (EtOH) were used (Merck Co.) and the water used for the sample preparation was purified by both ion-exchange and distillation. Reagents were mixed into the two starting time solutions of ethanol: (І) TEOS/ EtOH; and (ІІ) NH4OH/ H2O/ EtOH. The contents of the solutions (І) and (ІІ) were adjusted so that the concentrations of TEOS, H2O, and NH4OH would be at the prescribed concentrations. The solutions were prepared in a glove box at room temperature under dry air. The humidity in the glove box was kept below a few percent [5]. The solutions (Ι) and (ΙΙ) were mixed with each other at 298 K, and the mixture was stirred vigorously by hand for approximately 6s. The glycerol was added directly to the water/ammonia/ethanol mixture prior to the addition of TEOS. Depending on different molar ratio of reagents, the condensation reaction began after various times. This could be easily observed, because, after the invisible hydrolysis reaction forming silicic acid, the condensation of the supersaturated silicic acid was indicated by an increasing opalescence of the mixture starting 2-10 minutes after adding the TEOS. After this transformation, a turbid white suspension formed after a few minutes more. Samples for SEM and TEM observation were prepared by diluting the sample liquid with ethanol and dispersing with ultrasound --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.137.217.251 (พูดคุย | ตรวจ) 16:03, 30 มิถุนายน 2552 (ICT)

การทดลองนี้ใช้สารละลายแอมโมเนียม TEOS และเอทานอล จากบริษัทเมอร์ค ส่วนน้ำที่ใช้กรองด้วยระบบแลกเปลี่ยนไอออน ตัวทำปฏิกิริยาที่ใช้ผสมเตรียมไว้เป็นสองส่วนคือ

  1. TEOS/ EtOH และ
  2. NH4OH/ H2O/ EtOH

โดยผสมไว้ในความเข้มข้นที่หมาะสม สารละลายนี้เตรียมในตู้ปราศจากความชื้นที่อุณหภูมิห้อง สารละลายหมายเลข 1 ถูกผสมเข้ากับสารละลายหมายเลข 2 ที่ 298.15 K (แปลให้เทห์กว่าต้นฉบับ) และคนอย่างแรงให้เข้ากันเป็นเวลา 6 วินาที กลีเซอรอลถูกเติมลงไปในสารละลาย 2 ก่อนที่จะใส่ TEOS

ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนโดยโมลของสารที่ทำปฏิกิริยา ปฏิกิริยาควบแน่นจะเกิดขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน... -- พอแล้วครับ วิกิพีเดียไม่ใช่ที่สอนการบ้าน --taweethaも 20:47, 30 มิถุนายน 2552 (ICT)

กูเกิ้ลทรานสเลทแปลว่า

TEOS, NH4OH น้ำโซลูชันและข้าพระพุทธเจ้า (EtOH) ได้ใช้ (Merck จำกัด) และน้ำที่นำไปใช้ในการเตรียมเป็นตัวอย่างบริสุทธิ์โดยทั้ง-แลกเปลี่ยนไอออน และการกลั่น. Reagents ถูกผสมเข้าสองเริ่มเวลาโซลูชันของข้าพระพุทธเจ้า: (І) TEOS / EtOH และ (ІІ) NH4OH / H2O / EtOH. เนื้อหาของโซลูชัน (І) และ (ІІ) ได้ปรับเพื่อให้ concentrations ของ TEOS, H2O และจะ NH4OH ที่กําหนด concentrations. โซลูชันที่ถูกเตรียมไว้ในกล่องถุงมือที่อุณหภูมิห้องใต้แห้งอากาศ. ที่ความชื้นในกล่องถุงมือถูกเก็บไว้ด้านล่างไม่กี่เปอร์เซ็นต์ [5]. ที่โซลูชัน (Ι) และ (ΙΙ) มาผสมกันที่ 298 เคและผสมคือคนเขม้นขะมักด้วยมือประมาณ 6s. ที่ glycerol ถูกเพิ่มโดยตรงน้ำ / แอมโมเนีย / ข้าพระพุทธเจ้าผสมก่อนที่จะเพิ่ม TEOS. ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของกราม reagents ที่ควบแน่นปฏิกิริยาเริ่มหลังจากหลายครั้ง. ซึ่งอาจเป็นได้อย่างง่ายดายปฏิบัติเพราะหลังจากล่องหน hydrolysis ปฏิกิริยารูป silicic กรดที่ควบแน่นของ supersaturated silicic กรดถูกระบุโดยการเพิ่มการมีสีเหลือบของผสมเริ่มต้น 2-10 นาทีหลังจากที่เพิ่ม TEOS. หลังจากนี้แปลงเป็นสีขาวขุ่นระงับรูปแบบหลังจากรอสักครู่เพิ่มเติม. ตัวอย่าง SEM และ TEM สังเกตถูกจัดทำโดย diluting ตัวอย่างของเหลวกับข้าพระพุทธเจ้าและการกระจายกับเสียงพ้น

ตลกดี --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 10:22, 1 กรกฎาคม 2552 (ICT)

นั่นน่ะสิครับ เอทานอล แปลเป็นข้าพระพุทธเจ้า (I) ได้อย่างไร มีดิกฯที่ไหนนิยามอย่างนี้บ้างเนี่ย (แนะนำกูเกิล ควรล้มเลิกโครงการแปล(ง)ภาษา ไทยเป็นอังกฤษ และ อังกฤษเป็นไทย ไปเลยจะดีกว่า ฝรั่งไม่รู้ว่า ภาษาไทยกับอังกฤษ ให้บอตแปลงกลับไปกลับมาแบบนั้นมันไม่มีทางทำได้ดี ทั้งสองภาษามีรูปแบบที่แตกต่างกันมาก มีช่องว่างทางภาษาที่แตกต่างกันมาก คำศัพท์และการนิยามก็มีจุดที่ต่างกันมาก ฯลฯ) --202.28.27.3 12:14, 1 กรกฎาคม 2552 (ICT)
มันเป็นความท้าทายของโปรแกรมเมอร์เขา แต่ก็นะ โปรแกรมออกมาใหม่รุ่นแรก ๆ ก็งี้แหละ พลาดกันได้ แต่บอกให้เลิกเลยเพราะความล้มเหลวแต่เริ่มแรก แล้วเมื่อไรการพัฒนาจะเกิดหล่ะครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 12:20, 1 กรกฎาคม 2552 (ICT)
เป็นเพียงความเห็นส่วนตัว คิดว่าการแปลไทยเป็นอังกฤษ โดยบอตนั้น ไม่สามารถ(และไม่มีทาง)ที่จะแปลได้ดีเหมือนเอาจีน เกาหลี ญี่ปุ่น มาแปลเป็นอังกฤษอย่างแน่นอน จึงคิดว่ากูเกิล(และอีกหลายๆเจ้า)ควรวางมือจากฟังก์ชันแปลไทยครับ (ชาวต่างชาติ จึงมักไม่เข้าใจ ว่าคนไทยเขียนอะไรกัน (โหมดแปลไทยเป็นอังกฤษ) หรือดูหนังแล้วมีแต่ซับนรกเต็มไปหมด(โหมดแปลอังกฤษเป็นไทย)นี่ก็เช่นเดียวกัน) (ยิ่งเอาเอทานอลมาปนกับข้าพระพุทธเจ้าด้วยนี่ ไม่รู้เอามาปนกันได้ยังไง) --202.28.27.3 12:31, 1 กรกฎาคม 2552 (ICT)
(เข้ามาเขียนใหม่) อย่างไรก็ตาม ถูกของคุณขี้เมาอยู่อย่างหนึ่งว่า "มี" (โปรแกรมและการพัฒนาโปรแกรม) ดีกว่า "ไม่มี" ครับ โดยเฉพาะประโยคที่ง่าย ก็เป็นไปได้ที่มันพอจะแปลถูกได้บ้าง แต่ ethanol กับ ข้าพระพุทธเจ้า เป็นบั๊กที่เหลือเชื่อจริงๆ --202.28.27.3 12:45, 1 กรกฎาคม 2552 (ICT)

ส้มโอ

อยากได้รูปและข้อมูลของ ส้มโอ 2 ชนิดนี้ค่ะ shatian shaddock , sweet shaddock --115.67.230.202 21:18, 30 มิถุนายน 2552 (ICT)

google มีเพียบเลยครับ แล้วก็มีเรื่องการสกัดน้ำมันหอมระเหยที่คุณกำลังจะทำอยู่ด้วย --taweethaも 21:30, 30 มิถุนายน 2552 (ICT)