วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/ภาษา/พฤษภาคม 2552
หน้านี้เป็นหน้ากรุของการอภิปรายอภิปรายในอดีต อย่าแก้ไขเนื้อหาของหน้านี้ หากต้องการเริ่มการอภิปรายใหม่หรือรื้อฟื้นการอภิปรายเดิมโปรดใช้หน้าพูดคุยปัจจุบันของหน้านี้ |
การทำบุญ
การทำบุญ ไหว้พระ ตักบาตร สำหรับผู้หญิงห้ามทำในวันที่มีประจำเดือนจริงหรือเปล่าคะ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.9.116.99 (พูดคุย | ตรวจ) 09:51, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
- แล้วทำไมถึงคิดว่าทำไม่ได้หล่ะจ๊ะ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 16:59, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
- สำหรับเรื่องนี้ผมเองก็ยังไม่เคยได้ยินมาก่อนเช่นกันครับ ไม่ทราบว่า ไปเอาความเชื่อเหล่านี้มาจากแหล่งใด ผมขอเดาว่า สมัยก่อนไม่มีผ้าอนามัยเหมือนในปัจจุบัน การที่มีเลือดไหล (โดยไม่ได้เจตนาดังเช่นในกรณีดังกล่าว) ในขณะที่ทำบุญทางศาสนา อาจถูกมองในแง่ลบ เช่น มองในแง่ของความเชื่อ (ว่าเป็นความไม่มงคล) เป็นต้น ก็เป็นได้ เลยมีคนที่กล่าวเช่นนั้น ส่วนความเชื่ออื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับทางศาสนาแต่เกี่ยวกับประจำเดือน ก็ยังพอมีเหลืออยู่บ้าง ซึ่งในปัจจุบัน บางความเชื่อ (ที่ไม่เกี่ยวกับทางศาสนา) ดังกล่าว ก็มีการพิสูจน์ได้ว่า (หรือถือได้ว่า) ไม่เป็นความจริง --115.67.248.59 18:13, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
เฉาฉุย
เฉาฉุยแปลว่าอะไรครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 222.123.240.237 (พูดคุย | ตรวจ) 15:07, 9 พฤษภาคม 2552 (ICT)
เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว แปลว่าปากเสีย (เฉา=เหม็นเน่า) --Kaew 22:15, 10 พฤษภาคม 2552 (ICT)
นิรโทษกรรมกับพระราชทานอภัยโทษ
นิรโทษกรรมกับพระราชทานอภัยโทษแตกต่างกันอย่างไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 114.128.163.79 (พูดคุย | ตรวจ) 12:43, 11 พฤษภาคม 2552 (ICT)
นิรโทษกรรม มาจาก นิร+โทษกรรม เป็นการทำให้การกระทำนั้นไม่เป็นโทษ มักจะกระทำโดยรัฐบาล หรือ หน่วยงานนานาชาติ องค์การนิรโทษกรรมสากล ตัวอย่างการนิรโทษกรรมได้แก่ การออกกฎหมายหลังเหตุการณ์วุ่นวาย พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 ให้ทั้งฝ่ายรัฐและประชาชนที่เข้าร่วมเหตุการณ์ฆ่าฟันกันบาดเจ็บล้มตายไม่มีความผิด
พระราชทานอภัยโทษ มาจาก พระราชทาน บอกว่าผู้ให้เป็นกษัตริย์ อภัยโทษ ยกโทษให้ เมื่อผู้กระทำผิดถูกศาลพิพากษาถึงที่สุด และได้ขอพระราชทานอภัยโทษ พระมหากษัตริย์ในระบอบการปกครองบางรูปแบบก็ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจใจการพระราชทานอภัยโทษ ตัวอย่างในประเทศไทย สำหรับคดีฆาตกรรม เช่น หมอวิสุทธิ์ หรือคดีที่ออกจะเกี่ยบกับพระมหากษัตริย์โดยตรงให้ดูที่ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ --Kaew 19:56, 11 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ราคาพาร์
ราคาพาร์หมายถึงอะไรครับ
PAR value... http://en.wikipedia.org/wiki/Par_value แปลเป็นไทยคือราคาหน้าตั๋ว... ตอน initial offering หรือการซื้อขาย เสนอขาย (ต่อประชาชน) ครั้งแรก ราคามันมักจะอยู่ที่พาร์ แต่พอบริษัทห้างร้านดำเนินกิจการไป มีกำไรขาดทุนโอกาส... ราคาซื้อขายของตราสารทุน (หรือหนี้) ดังกล่าวจึงเป็นไปตามอุปกสงค์อุปกทานของตลาด... --Kaew 17:29, 12 พฤษภาคม 2552 (ICT)
เผด็จการรัฐสภา
เผด็จการรัฐสภาหมายถึงอะไร พิเศษ:เรื่องที่เขียน/114.128.101.210
- คือการที่ใรสักคนสามารถรวบอำนาจในรัฐสภาเอาไว้ได้ทั้งหมด และใช้อำนาจที่มีในลักษณะเผด็จการผ่านสภาผู้แทนจ๊ะ อ่านรายละเอียดได้ที่บทความฮิตเลอร์ กับ นาซีเยอรมนีจ๊ะ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 20:54, 12 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ญ.ส.
ทำไมต้องตั้งว่า ญ.ส. ล่ะค่ะ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.149.101.226 (พูดคุย | ตรวจ) 02:02, 13 พฤษภาคม 2552 (ICT)
คุณพูดถึงอะไรครับ ถ้าเป็นอักษรย่อโรงเรียนก็คงย่อมาจากชื่อโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนนั้นเป็นคนกำหนดขึ้นมาเอง ย่อเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ เหมือนอย่างกรุงเทพมหานคร ก็ย่อเป็น กทม คุณจะไปย่อเป็น กขค ได้เหรอครับ --Octra Dagostino 09:10, 13 พฤษภาคม 2552 (ICT)
แอดมิชชั่น
นักเรียนที่สอบแอดมิชชั่นสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์จะได้ทุกคนหรือเปล่า --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 117.47.142.192 (พูดคุย | ตรวจ) 10:57, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
- ผมไม่รู้ว่าคุณถามถึง ม. อะไรนะครับ แต่ผม (ออกความเห็นว่า) เชื่อว่าการสอบเข้า ม. โดยส่วนใหญ่น่าจะคัดจากการสอบข้อเขียนอยู่แล้ว เนื่องจากการสอบสัมภาษณ์ มักจะไม่ถามคำถามเหมือนตอนทำข้อสอบ (เช่นการถามจำพวกโจทย์ เป็นต้น) เขาน่าจะเน้นดูพฤติกรรมและความเหมาะสมของตัวบุคคลมากกว่า ซึ่งก็ขึ้นกับการตอบของคุณด้วย ถ้าตอบได้อย่างเหมาะสม สุภาพ หรืออื่น ๆ (ในการสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย หลังจากแอดมิชชันหรือโควตาได้มาแล้ว) ก็น่าจะไม่คัดออกครับ (ผมลองพูดอย่างนี้ เพราะเคยได้ยินมาอีกทีว่ามีผู้ที่กระทำตนไม่เหมาะสม หรือไม่สุภาพ แล้วไม่ผ่านการสัมภาษณ์) (และตอนที่ผมสอบสัมภาษณ์ โควตา มช. เมื่อปีการศึกษา 2549 ก็เจอมาในลักษณะนี้คือไม่ได้ถามเป็นข้อสอบหรือโจทย์ (อันนี้ยกตัวอย่างของคณะผม ม.ผม เมื่อสมัยดังกล่าว เขารับ นศ. ใหม่ ค่อนข้างมาก จึงมีว่าที่นักศึกษาใหม่เข้าสอบสัมภาษณ์เยอะ จึงใช้อาจารย์หลายคน ทำหน้าที่พร้อมกัน คือหลายคนได้เข้าให้สัมภาษณ์ในเวลาเดียวกัน, อาจารย์หนึ่งคน สัมภาษณ์ว่าที่ นศ. คราวละหนึ่งคน, ว่าที่ นศ.น่าจะถูกสัมภาษณ์คนละไ่ม่เกินสิบนาที หรือสิบห้านาที), ดูพฤติกรรมและความตั้งใจของผู้ถูกสัมภาษณ์เสียมากกว่า อาจารย์ผู้ถามอาจมีการทดลองถามเรื่องส่วนตัวบ้างเล็กน้อย เป็นต้น) ถ้าเป็นการประกาศผลสอบข้อเขียนหรือผลการคัดเลือกแล้วจึงเรียกมาสอบสัมภาษณ์ เว้นแต่กรณีที่มีการระบุไว้ในทำนองที่ว่าจะมีการเจตนาจะคัดคนออกด้วยวิธีนี้ --118.172.211.29 23:47, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ปกติไม่ค่อยมีใครตกสัมภาษณ์หรอก --Octra Dagostino 12:02, 15 พฤษภาคม 2552 (ICT)
- ก็มีนะ ถ้าผิดปกติสุด ๆ ไงหล่ะ ๕๕๕๕ (ขำ ๆ นะ แต่จำได้ว่าคณะวิศวะจุฬาเคยรับเด็กอัจฉริยะแต่เอ๋อเข้าเรียน อันนี้เพื่อนที่เรียนรุ่นนั้นเล่าให้ฟังแต่ไม่ยืนยันความถูกต้องของข้อมูล แต่อย่างน้อย คุณมาถามได้ ก็แสดงว่าไม่น่าจะผิดปกติมากหรอก) --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 22:14, 17 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ยากรุ้ ผนกะทบจากเสดโลหะคะ ด่วนด้วยคะ ช่วยทีคะ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.137.137.49 (พูดคุย | ตรวจ) 14:07, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
สิทธิ ต่างจาก สิทธิ์
สิทธิ ต่างจาก สิทธิ์ อย่างไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 203.148.162.195 (พูดคุย | ตรวจ) 04:25, 15 พฤษภาคม 2552 (ICT)
สิทธิ, สิทธิ์ [สิดทิ, สิด] น. อำนาจอันชอบธรรม เช่น บุคคลมีสิทธิและ หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เขามีสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้. (ป., ส.); (กฎ) อำนาจที่จะกระทำการใด ๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับ การรับรองจากกฎหมาย. (อ. right). ตอบ มีความหมายเหมือนกัน เป็นคำนามเหมือนกัน แต่ผมคิดว่าอาจจะขึ้นกับความเหมาะสม หรือขึ้นกับลักษณะของประโยคเสียมากกว่าว่าจะใช้คำใดครับ --118.172.211.242 11:57, 15 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ในอดีตโบราณและปัจจุบันนี้ ดินแดนอียิปต์ใช้ภาษาใดเป็นภาษาพูด --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 122.154.3.252 (พูดคุย | ตรวจ) 07:17, 15 พฤษภาคม 2552 (ICT)
จบแล้วทำงานอะไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.26.127.165 (พูดคุย | ตรวจ) 03:26, 16 พฤษภาคม 2552 (ICT)
Parfum อ่านว่าอะไร
คำว่า Parfum ที่ใช้บนขวดน้ำหอม เราจะอ่านได้ว่าอะไรคะ ในภาษาฝรั่งเศสอะค่ะ พาค์ฟุม รึป่าวคะ
และคำว่า Eau de Toilliete อ่านว่าอะไรค่ะ ในภาษาฝรั่งเศส
ขอบคุณที่ตอบนะคะ --118.172.94.151 22:42, 19 พฤษภาคม 2552 (ICT) เนีย
- ทราบแต่เพียงว่า Parfum แปลว่า Perfume ก็คือน้ำหอมนั่นเองครับ และจากบทความน้ำหอม เขาเขียนว่า Eau de Toilette คือน้ำหอม ที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอม ในสัดส่วนที่ 4-8 % (ไม่ตรงกับของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเท่าใดนัก เขาเขียนว่า Eau de Toilette (EdT) : 5-15% (typical ~10%) aromatic compounds --118.172.165.150 15:14, 20 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ปาร์ (ค) เฟิง /parˈfœ̃/ แปลว่าน้ำหอม กับ โอเดอตัวแลต /ˌoʊ də twɑˈlɛt; Fr. oʊdə twaˈlɛt/ แปลว่า น้ำในห้องน้ำ --Octra Dagostino 15:20, 20 พฤษภาคม 2552 (ICT)
Bar
I have a bar. --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.26.136.84 (พูดคุย | ตรวจ) 10:28, 22 พฤษภาคม 2552 (ICT)
What's that for? --Octra Dagostino 14:57, 23 พฤษภาคม 2552 (ICT)
Are you gay? --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 17:57, 25 พฤษภาคม 2552 (ICT)
เสาตอม่อ
คำว่า "เสาตอม่อ"ภาษาจีนเขียนยังไงคะ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 124.122.77.248 (พูดคุย | ตรวจ) 07:49, 23 พฤษภาคม 2552 (ICT)
支柱 (zhī zhù), 撐材/撑材 (chēng cái) --Octra Dagostino 13:14, 24 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ความหมายชื่อ
วิยะดีแปลว่า --วิยะดี --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 115.67.89.188 (พูดคุย | ตรวจ) 06:04, 24 พฤษภาคม 2552 (ICT)
โดราเอม่อน เขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นว่าไรอ่ะครับ
โดราเอม่อนเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นว่าไงอ่ะครับ ถ้าคุณบอกชื่อโนบิตะด้วยผมจะขอบคุณมากเลยครับ ฝากด้วยนะครับ ^ 0^ จากแฟนตัวยงโดเรม่อน22:12, 27 พฤษภาคม 2552 (ICT) ~~
เรื่องที่คุณถามถึง ในบทความมีเขียนไว้อยู่แล้วนะครับ --Octra Dagostino 22:45, 27 พฤษภาคม 2552 (ICT)
คำว่า ครุจิต หมายถึงอะไร
คืออาจารย์ให้เขียนเรียงความ คำว่า ครุจิต อ่ะ
แต่ยังไม่รู้ว่ามันมีความหมายว่ายังงัยอ่ะเลยเขียนไม่ได้
- อาจเป็นการสะกดผิด หรือจดมาผิด ก็เป็นได้ เพราะพอเซิร์ชคำว่าครุจิตในกูเกิลแล้ว จะเห็นมีแต่การใช้คำนี้เพราะเป็นชื่อบุคคลต่าง ๆ ที่ใช้นามสกุล "ครุจิต" --113.53.167.152 10:20, 29 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ครุ แปลว่า หนัก ครับ ตรงข้ามกับ ลหุที่แปลว่าเบา ครุจิต อาจจะแปลว่าจิตหนักแน่นก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถามอาจารย์ให้แน่ใจดีที่สุดครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 21:29, 1 มิถุนายน 2552 (ICT)
ครู มาจากคำว่า คุรุ แปลว่าหนัก ศาสนาซิกข์ (รากศัพท์มาจากสิกขา แปลว่าศึกษา) ก็มีศาสดาเรียกว่าคุรุ เช่นกัน เอาเป็นว่า คุรุ นี่เกี่ยวกับครู แปลรวม ๆ เดา ๆ เอาก็คือว่า จิตวิญญาณความเป็นครูกระมัง --taweethaも 18:17, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
จริงด้วย นึกถึงคำพูดครูภาษาไทยเลยว่า "คนเป็นครูต้องมีจิตหนักแน่น (ครุ) " ขอบคุณครับ (แต่ผมไม่ใช่ครูหรอกนะ) --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 11:46, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)
เขาว่ากันว่าตอนอังกฤษไปยึดอินเดียยังเอาคำนี้ไปใช้ในภาษาตนเองด้วย เข้าทำนองที่ชนะสงครามแต่พ่ายแพ้ทางวัฒนาธรรม คำที่เอาเข้าไปในภาษาอังกฤษคือ guru แล้วกลับมาเป็นไทยอีกกลายเป็น กุรู ฟังไม่ค่อยไพเราะเท่าไหร่ --taweethaも 17:51, 8 มิถุนายน 2552 (ICT)